ผลต่างระหว่างรุ่นของ "สุจาริณี วิวัชรวงศ์"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
สุจาริณี
บรรทัด 65: บรรทัด 65:


หลังหม่อมสุจาริณีหลบหนีไปยังต่างประเทศ เธอและพระโอรสทั้งสี่องค์ถูกถอดจากฐานันดรศักดิ์และตำแหน่ง และใช้นามสกุลพระราชทานว่า '''วิวัชรวงศ์''' ขณะที่หม่อมเจ้าบุษย์น้ำเพชร พระธิดาองค์เล็ก ได้กลับสู่[[ประเทศไทย]]โดยอยู่ในการดูแลของ[[สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร]]<ref>{{cite web |url=http://www.vogue.it/uomo-vogue/people-stars/2013/11/principessa-sirivannavari-nariratana-di-thailandia#ad-image310019|title=Principessa Sirivannavari Nariratana di Thailandia|author= |date=20 พฤศจิกายน 2556|work= |publisher=L'Uomo Vogue Italia|accessdate=23 พฤศจิกายน 2556}} {{it icon}} </ref> ปัจจุบันคือ[[สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา]]<ref>{{cite journal|journal= ราชกิจจานุเบกษา |volume= 122 |issue= 10ข |pages= 1 |title= พระบรมราชโองการ ประกาศสถาปนาพระอิสริยยศ พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าสิริวัณณวรีนารีรัตน์ พระธิดาในสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช ฯ สยามมกุฎราชกุมาร |url= http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2548/00166794.PDF |date= 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2548 |language= ไทย }}</ref><ref>เจฟฟรี่ ไฟน์สโตน. ''จุฬาลงกรณราชสันตติวงศ์ พระบรมราชวงศ์แห่งประเทศไทย.'' พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: พิษณุโลกการพิมพ์,2532. หน้า 275 - 276</ref> ส่วนสุจาริณีและพระโอรสทั้งสี่องค์ได้พำนักใน[[สหรัฐ]]จนถึงปัจจุบัน<ref>{{cite web|url= http://www.telegraph.co.uk/news/worldnews/asia/thailand/11292066/Thailands-future-uncertain-as-princess-loses-royal-status.html |title= Thailand's future uncertain as princess loses royal status |author= Harriet Alexander |date= 13 December 2014 | work= Telegraph |language=|accessdate= 6 April 2015}}</ref>
หลังหม่อมสุจาริณีหลบหนีไปยังต่างประเทศ เธอและพระโอรสทั้งสี่องค์ถูกถอดจากฐานันดรศักดิ์และตำแหน่ง และใช้นามสกุลพระราชทานว่า '''วิวัชรวงศ์''' ขณะที่หม่อมเจ้าบุษย์น้ำเพชร พระธิดาองค์เล็ก ได้กลับสู่[[ประเทศไทย]]โดยอยู่ในการดูแลของ[[สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร]]<ref>{{cite web |url=http://www.vogue.it/uomo-vogue/people-stars/2013/11/principessa-sirivannavari-nariratana-di-thailandia#ad-image310019|title=Principessa Sirivannavari Nariratana di Thailandia|author= |date=20 พฤศจิกายน 2556|work= |publisher=L'Uomo Vogue Italia|accessdate=23 พฤศจิกายน 2556}} {{it icon}} </ref> ปัจจุบันคือ[[สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา]]<ref>{{cite journal|journal= ราชกิจจานุเบกษา |volume= 122 |issue= 10ข |pages= 1 |title= พระบรมราชโองการ ประกาศสถาปนาพระอิสริยยศ พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าสิริวัณณวรีนารีรัตน์ พระธิดาในสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช ฯ สยามมกุฎราชกุมาร |url= http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2548/00166794.PDF |date= 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2548 |language= ไทย }}</ref><ref>เจฟฟรี่ ไฟน์สโตน. ''จุฬาลงกรณราชสันตติวงศ์ พระบรมราชวงศ์แห่งประเทศไทย.'' พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: พิษณุโลกการพิมพ์,2532. หน้า 275 - 276</ref> ส่วนสุจาริณีและพระโอรสทั้งสี่องค์ได้พำนักใน[[สหรัฐ]]จนถึงปัจจุบัน<ref>{{cite web|url= http://www.telegraph.co.uk/news/worldnews/asia/thailand/11292066/Thailands-future-uncertain-as-princess-loses-royal-status.html |title= Thailand's future uncertain as princess loses royal status |author= Harriet Alexander |date= 13 December 2014 | work= Telegraph |language=|accessdate= 6 April 2015}}</ref>
==ฐานะหลังงานพระราชพิธีบรมราชาภิเษก==

[[พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว]]ทรงมีพระราชกระแสรับสั่งกับ[[สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตน์ราชกัญญา]] ว่า"พ่อจะพาแม่เจ้ามาหาลูกนะหญิง" จึงส่งมีพระราชบัญชาให้ เปลี่ยนยศคุณสุจาริณี วิวัชรวงศ์ ขึ้นเป็น ท่านผู้หญิง สุจาริณี วิวัชรวงศ์ พระชนนี ไม่ได้ดำรงสถานะเป็นพระราชวงศ์ เพียงแต่เป็นพระชนนีใน[[สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตน์ราชกัญญา]]
== ผลงาน ==
== ผลงาน ==
=== ภาพยนตร์ ===
=== ภาพยนตร์ ===

รุ่นแก้ไขเมื่อ 10:06, 11 สิงหาคม 2562

สุจาริณี วิวัชรวงศ์
ไฟล์:Yuvadhida Polpraserth.jpg
สารนิเทศภูมิหลัง
เกิด26 พฤษภาคม พ.ศ. 2505 (61 ปี)
ยุวธิดา ผลประเสริฐ
คู่สมรสพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว
(พ.ศ. 2537–2539)
อาชีพนักแสดงหญิง
ปีที่แสดงพ.ศ. 2520–2522
ผลงานเด่น
  • กาหลง จาก เลือดในดิน (2520)
  • ช้อย จาก แสนแสบ (2521)

พันตรีหญิง[1]สุจาริณี วิวัชรวงศ์ (26 พฤษภาคม พ.ศ. 2505) หรือเดิมคือ หม่อมสุจาริณี มหิดล ณ อยุธยา[2][3] เคยเป็นหม่อมในพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ขณะดำรงพระอิสริยยศเป็นสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร และเป็นอดีตนักแสดงหญิงชาวไทย มีชื่อแรกเกิดว่า ยุวธิดา ผลประเสริฐ และเคยใช้ชื่อในการแสดงว่แก้ไขยุวธิดา สุรัสวดี มีผลงานการแสดงภาพยนตร์และละครจำนวนหนึ่งช่วงปี พ.ศ. 2520–2522 แล้วออกจากวงการบันเทิง ท่านเป็นพระชนนีใน สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา [4]

ปัจจุบันสุจาริณีและพระราชโอรสทั้งสี่องค์ ได้แก่ จุฑาวัชร วิวัชรวงศ์, วัชรเรศร วิวัชรวงศ์, จักรีวัชร วิวัชรวงศ์ และวัชรวีร์ วิวัชรวงศ์ พำนักอยู่สหรัฐ[5] ซึ่งทั้งสี่องค์ถูกถอดจากฐานันดรศักดิ์ชั้นหม่อมเจ้า

ประวัติ

ชีวิตตอนต้น

สุจาริณีมีชื่อแต่แรกเกิดว่า ยุวธิดา ผลประเสริฐ เป็นธิดาของธนิต ผลประเสริฐ และเยาวลักษณ์ โกมารกุล ณ นคร ท่านสำเร็จการศึกษาจากวิทยาลัยนาฏศิลป

ธนิต ผลประเสริฐ (ชื่อเดิม เรือง[6]) บิดาของเธอเป็นอดีตนักแต่งเพลงและนักดนตรีของวงดนตรีสุนทราภรณ์ ซึ่งก่อนหน้านี้เขาได้สมัครเป็นหน่วยกล่อมขวัญในกองทัพไทยช่วงสงครามเกาหลี[7]และสงครามเวียดนาม[6] ทั้งนี้บันทึกจากหนังสือ "อนุสรณ์สุนทราภรณ์ครอบรอบ 30 ปี" ระบุว่าธนิตเขียนทำนองเพลงให้วงดนตรีสุนทราภรณ์จำนวน 300 – 400 เพลง[6] ส่วนมารดาเป็นอดีตนักร้องวงดนตรีสุนทราภรณ์ มีผลงานเพลงจำนวนหนึ่ง[8]

ในวงการบันเทิง

สุจาริณีเข้าสู่วงการแสดงจากการชักนำของศรินทิพย์ ศิริวรรณ โดยใช้ชื่อในการแสดงว่า ยุวธิดา สุรัสวดี และยุวธิดา ผลประเสริฐ ที่เป็นชื่อจริงด้วย แสดงละครโทรทัศน์เรื่อง "กฎแห่งกรรม" และ "มนุษย์ประหลาด" จากนั้นรับบทตัวประกอบในภาพยนตร์ "15 หยก ๆ 16 ไม่หย่อน" (พ.ศ. 2520) กำกับโดยชนะ คราประยูร และบทรองใน "เลือดในดิน" (พ.ศ. 2520) คู่กับสรพงศ์ ชาตรี และอรัญญา นามวงศ์ กำกับโดยสมสกุล ยงประยูร[9] และได้รับบทนำเป็น ช้อย ในภาพยนตร์เรื่อง "แสนแสบ" (พ.ศ. 2521) คู่กับไพโรจน์ สังวริบุตร กำกับโดยไพรัช กสิวัฒน์ "ไอ้ถึก" (พ.ศ. 2522) คู่กับสรพงศ์ ชาตรี กำกับโดยจรัล พรหมรังสี อำนวยการสร้างโดยชาญ มีศรี [9] และ "หัวใจที่จมดิน" (พ.ศ. 2522) กำกับโดยเชาว์ มีคุณสุต คู่กับพิศมัย วิไลศักดิ์, พิศาล อัครเศรณี, อุเทน บุญยงค์ และมารศรี ณ บางช้าง [10][11][12]

ช่วงเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2522 ยุวธิดาได้ออกจากวงการบันเทิง โดยปรากฏตามข่าวเพียงว่า "เธอ ยุวธิดา ผลประเสริฐ อดีตนางเอกดาวรุ่งหันหลังให้กับวงการบันเทิงด้วยความจำเป็นหลายประการ..."[4]

อภิเษกสมรสและการหย่า

พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ขณะนั้นยังดำรงพระอิสริยยศที่ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร และอภิเษกสมรสกับพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี กรมหมื่นสุทธนารีนาถแล้ว ได้มีปฏิสันถารกับสุจาริณีที่ขณะนั้นเป็นนักแสดงสาวที่มีชื่อเสียง และมีความสัมพันธ์ต่อกันช่วงปี พ.ศ. 2522-2530 ก่อนอภิเษกสมรสกัน สุจาริณีได้ให้ประสูติพระโอรส-ธิดา จำนวนห้าพระองค์ ได้แก่[13][14]

  1. จุฑาวัชร วิวัชรวงศ์ หรือ ท่านชายอ้วน (29 สิงหาคม พ.ศ. 2522)[15] สมรสกับริยา กอห์ฟ (Riya Gough)
  2. วัชรเรศร วิวัชรวงศ์ หรือ ท่านชายอ้น (27 พฤษภาคม พ.ศ. 2524)[16]
  3. จักรีวัชร วิวัชรวงศ์ หรือ ท่านชายอ่อง (26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2526)[17]
  4. วัชรวีร์ วิวัชรวงศ์ หรือ ท่านชายอิน (14 มิถุนายน พ.ศ. 2528)[18]
  5. สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา หรือ เจ้าฟ้าหญิงสิริวัณฯ (8 มกราคม พ.ศ. 2530)

ล่วงมาในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2537 ทั้งสองได้อภิเษกสมรส โดยมีพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร กับสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีเสด็จพระราชดำเนินมา แต่สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวงมิได้เสด็จพระราชดำเนินด้วย หลังพระราชพิธีอภิเษกสมรสจึงเปลี่ยนชื่อเป็น หม่อมสุจาริณี มหิดล ณ อยุธยา ทั้งยังได้รับการแต่งตั้งสถาปนาให้มียศเป็น พันตรีหญิง แห่งกองทัพบกไทย และปรากฏตัวร่วมกับสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมารในพระราชพิธีต่าง ๆ หลังพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีเมื่อพ.ศ. 2539 หม่อมสุจาริณีและพระโอรส-ธิดาทั้งห้าพระองค์ได้หลบหนีไปยังประเทศอังกฤษด้วยเหตุขัดแย้งกับสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร ทำให้พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงติดใบประกาศรอบพระตำหนักนนทบุรีกล่าวหาว่าหม่อมสุจาริณีคบชู้กับพลอากาศเอกอนันต์ รอดสำคัญ ทหารอากาศวัย 60 ปี[19] ตามมาด้วยการถอดยศทหารอากาศคนดังกล่าว ด้วยข้อหาผิดวินัยและหลบหนีคดีอาญา[20][21]

หลังหม่อมสุจาริณีหลบหนีไปยังต่างประเทศ เธอและพระโอรสทั้งสี่องค์ถูกถอดจากฐานันดรศักดิ์และตำแหน่ง และใช้นามสกุลพระราชทานว่า วิวัชรวงศ์ ขณะที่หม่อมเจ้าบุษย์น้ำเพชร พระธิดาองค์เล็ก ได้กลับสู่ประเทศไทยโดยอยู่ในการดูแลของสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร[22] ปัจจุบันคือสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา[23][24] ส่วนสุจาริณีและพระโอรสทั้งสี่องค์ได้พำนักในสหรัฐจนถึงปัจจุบัน[25]

ฐานะหลังงานพระราชพิธีบรมราชาภิเษก

พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงมีพระราชกระแสรับสั่งกับสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตน์ราชกัญญา ว่า"พ่อจะพาแม่เจ้ามาหาลูกนะหญิง" จึงส่งมีพระราชบัญชาให้ เปลี่ยนยศคุณสุจาริณี วิวัชรวงศ์ ขึ้นเป็น ท่านผู้หญิง สุจาริณี วิวัชรวงศ์ พระชนนี ไม่ได้ดำรงสถานะเป็นพระราชวงศ์ เพียงแต่เป็นพระชนนีในสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตน์ราชกัญญา

ผลงาน

ภาพยนตร์

ปี เรื่อง บทบาท
2520 15 หยก ๆ 16 ไม่หย่อน
เลือดในดิน กาหลง
2521 แสนแสบ ช้อย
2522 ไอ้ถึก
หัวใจที่จมดิน
รอยไถ

ละคร

ปี เรื่อง บทบาท
กฎแห่งกรรม
มนุษย์ประหลาด
2520 คมพยาบาท น้อย
2521 ป่าฆาตกร

อ้างอิง

  1. หนังสือราชกิจจานุเบกษา หน้า27 22 มกราคม 2536 พระราชทานยศทหารเป็น หญิง สุจาริณี วิวัชรวงศ์
  2. https://www.kidteung.com/%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%99%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%B9%E0%B9%89/%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%82%E0%B8%AD%E0%B8%A3%E0%B8%AA%E0%B9%81%E0%B8%A5%E0%B8%B0%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%98%E0%B8%B4%E0%B8%94%E0%B8%B2%E0%B8%97%E0%B8%B1%E0%B9%89%E0%B8%877%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%84%E0%B9%8C.html
  3. http://hot.muslimthaipost.com/news/28847
  4. 4.0 4.1 อนุทินดารา. ไทยรัฐ. 27 สิงหาคม 2522. หน้า 4
  5. Pavin Chachavalpongpun (15 December 2014). "A Thai Princess' Fairy Tale Comes to an End". The Diplomat. สืบค้นเมื่อ 6 April 2015.
  6. 6.0 6.1 6.2 บ้านคนรักสุนทราภรณ์ (24 มิถุนายน 2553). เสี้ยวหนึ่งของชีวิต กับ ครูธนิต ผลประเสริฐ. เรียกดูเมื่อ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556
  7. คีตา พญาไท (10 มิถุนายน 2553). ครูแก้ว อัจฉริยะกุล กับ ครูธนิต ผลประเสริฐ. เรียกดูเมื่อ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556
  8. ศิวัสว์ ผุลลาภิวัฒน์. "ประวัติเพลงคณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย". สโมสรนิสิตเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. สืบค้นเมื่อ 9 ธันวาคม 2559. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  9. 9.0 9.1 http://www.thaifilm.com/forumDetail.asp?topicID=2663
  10. http://www.imdb.com/title/tt0219821/
  11. http://movies.yahoo.com/movie/1809357015/info
  12. http://www.tcm.com/tcmdb/title.jsp?stid=484856&atid=0&category=overview
  13. Jeffrey Finestone. The royal family of Thailand: the descendants of King Chulalongkorn. Bangkok : Phitsanulok Pub. Co. 1989, p. 275-276
  14. Mom Sucharini Vivajrawongse (née Yuvadhida Polpraserth)
  15. HSH Prince Chudhavajra
  16. HSH Prince Vajaresra
  17. HSH Prince Chakrivajra
  18. HSH Prince Vajravira
  19. Christy Campbell (20 October 1996). "Adultery princess casts shadow on untouchables". Web archive. The Telegraph. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 24 October 1996. สืบค้นเมื่อ 20 July 2011. When the Queen and Prince Philip arrive in Bangkok next week to begin their state visit to Thailand they will find sanctuary from media salaciousness.
  20. "ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ให้นายทหารออกจากประจำการ และพ้นจากราชองครักษ์พิเศษ" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 113 (44ง): 4. 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2539. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |date= (help)
  21. "ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง ถอดยศทหาร (พลอากาศเอก อนันต์ รอดสำคัญ)" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 113 (24ข): 57. 18 ธันวาคม พ.ศ. 2539. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |date= (help)
  22. "Principessa Sirivannavari Nariratana di Thailandia". L'Uomo Vogue Italia. 20 พฤศจิกายน 2556. สืบค้นเมื่อ 23 พฤศจิกายน 2556. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help) (อิตาลี)
  23. "พระบรมราชโองการ ประกาศสถาปนาพระอิสริยยศ พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าสิริวัณณวรีนารีรัตน์ พระธิดาในสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช ฯ สยามมกุฎราชกุมาร" (PDF). ราชกิจจานุเบกษา. 122 (10ข): 1. 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2548. {{cite journal}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |date= (help)
  24. เจฟฟรี่ ไฟน์สโตน. จุฬาลงกรณราชสันตติวงศ์ พระบรมราชวงศ์แห่งประเทศไทย. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ: พิษณุโลกการพิมพ์,2532. หน้า 275 - 276
  25. Harriet Alexander (13 December 2014). "Thailand's future uncertain as princess loses royal status". Telegraph. สืบค้นเมื่อ 6 April 2015.

แหล่งข้อมูลอื่น