ข้ามไปเนื้อหา

ผลต่างระหว่างรุ่นของ "พันท้ายนรสิงห์"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Jaybroom (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ไม่มีความย่อการแก้ไข
บรรทัด 9: บรรทัด 9:
เมื่อครั้งที่พระเจ้าเสือ เสด็จโดยเรือพระที่นั่งเอกไชย ประพาสเพื่อทรงเบ็ด ณ ปากน้ำเมืองสาครบุรี เมื่อเรือพระที่นั่งถึงตำบลโคกขามซึ่งเป็นคลองคดเคี้ยวและมีกระแสน้ำเชี่ยวกราก พันท้ายนรสิงห์ซึ่งถือท้ายเรือพระที่นั่งมิสามารถคัดแก้ไขได้ทัน โขนเรือพระที่นั่งกระทบกับกิ่งไม้หักตกลงไปในน้ำ พันท้ายนรสิงห์จึงได้กระโดดขึ้นฝั่งแล้วกราบทูลให้ทรงลงพระอาญาตามพระกำหนดถึงสามครั้งด้วยกัน เนื่องจากในครั้งแรก พระเจ้าเสือพระราชทานอภัยโทษ เพราะเห็นว่าเป็นอุบัติเหตุสุดวิสัย ครั้งที่สองก็รับสั่งให้สร้างรูปปั้นปลอมแล้วตัดหัวรูปปั้นนั้นแทน แต่ท้ายสุดก็ได้ตรัสสั่งให้[[ประหารชีวิต]]ด้วยการตัดศีรษะพันท้ายนรสิงห์ตามคำขอ ในเวลาเช้าตรู่ ตรงกับวันขึ้น 9 ค่ำ เดือน 3 พ.ศ. 2241 แล้วสร้างศาลไม้ขนาดเล็ก ลักษณะเป็นศาลไม้ในสมัยปัจจุบัน หลังคามุงกระเบื้องดินเผาหางมน พื้นศาลเป็นไม้ยกชั้น 2 ชั้น มีเสารองรับ 6 เสา พร้อมกับศีรษะของพันท้ายนรสิงห์และโขนเรือเอกไชยขึ้นตั้งไว้บูชาพร้อมกัน<ref name=พัน/>
เมื่อครั้งที่พระเจ้าเสือ เสด็จโดยเรือพระที่นั่งเอกไชย ประพาสเพื่อทรงเบ็ด ณ ปากน้ำเมืองสาครบุรี เมื่อเรือพระที่นั่งถึงตำบลโคกขามซึ่งเป็นคลองคดเคี้ยวและมีกระแสน้ำเชี่ยวกราก พันท้ายนรสิงห์ซึ่งถือท้ายเรือพระที่นั่งมิสามารถคัดแก้ไขได้ทัน โขนเรือพระที่นั่งกระทบกับกิ่งไม้หักตกลงไปในน้ำ พันท้ายนรสิงห์จึงได้กระโดดขึ้นฝั่งแล้วกราบทูลให้ทรงลงพระอาญาตามพระกำหนดถึงสามครั้งด้วยกัน เนื่องจากในครั้งแรก พระเจ้าเสือพระราชทานอภัยโทษ เพราะเห็นว่าเป็นอุบัติเหตุสุดวิสัย ครั้งที่สองก็รับสั่งให้สร้างรูปปั้นปลอมแล้วตัดหัวรูปปั้นนั้นแทน แต่ท้ายสุดก็ได้ตรัสสั่งให้[[ประหารชีวิต]]ด้วยการตัดศีรษะพันท้ายนรสิงห์ตามคำขอ ในเวลาเช้าตรู่ ตรงกับวันขึ้น 9 ค่ำ เดือน 3 พ.ศ. 2241 แล้วสร้างศาลไม้ขนาดเล็ก ลักษณะเป็นศาลไม้ในสมัยปัจจุบัน หลังคามุงกระเบื้องดินเผาหางมน พื้นศาลเป็นไม้ยกชั้น 2 ชั้น มีเสารองรับ 6 เสา พร้อมกับศีรษะของพันท้ายนรสิงห์และโขนเรือเอกไชยขึ้นตั้งไว้บูชาพร้อมกัน<ref name=พัน/>


ภายหลังพระเจ้าเสือได้ทรงให้พระยาราชสงคราม คุมไพร่พลจำนวน 3,000 คน ทำการขุดคลองลัดคลองโคกขามที่คดเคี้ยว ไปออกที่บริเวณแม่น้ำท่าจีน กว้าง 5 วา ลึก 6 ศอก สร้างเสร็จในสมัยพระเจ้าอยู่หัวท้ายสระ พ.ศ. 2252 ได้พระราชทานนามคลองนี้ว่าคลองสนามไชย ต่อมาเรียกเป็น[[คลองมหาชัย]] ซึ่งเป็นที่มาของชื่อเมืองมหาชัย แต่ชาวบ้านเรียกว่าคลองถ่าน ปัจจุบันชาวบ้านฝั่งธนบุรี เรียกชื่อว่า คลองด่าน
ภายหลังพระเจ้าเสือได้ทรงให้พระยาราชสงคราม คุมไพร่พลจำนวน 3,000 คน ทำการขุดคลองลัดคลองโคกขามที่คดเคี้ยว ไปออกที่บริเวณแม่น้ำท่าจีน กว้าง 5 วา ลึก 6 ศอก สร้างเสร็จในสมัยพระเจ้าอยู่หัวท้ายสระ พ.ศ. 2252 ได้พระราชทานนามคลองนี้ว่าคลองสนามไชย ต่อมาเรียกเป็น[[คลองมหาชัย]] ซึ่งเป็นที่มาของชื่อเมืองมหาชัย แต่ชาวบ้านเรียกว่าคลองถ่าน ปัจจุบันชาวบ้านฝั่งธนบุรี เรียกชื่อว่า คลองด่าน อิอิ


== มรดกสืบทอด ==
== มรดกสืบทอด ==

รุ่นแก้ไขเมื่อ 17:48, 5 มกราคม 2562

รูปเคารพพันท้ายนรสิงห์ ที่ศาลพันท้ายนรสิงห์ ภายในอุทยานประวัติศาสตร์พันท้ายนรสิงห์

พันท้ายนรสิงห์ เป็นนายท้ายเรือในรัชสมัยพระเจ้าเสือ หรือสมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ 8 พระมหากษัตริย์พระองค์ที่ 2 แห่งราชวงศ์บ้านพลูหลวง ตอนปลายอาณาจักรอยุธยา โดยพันท้ายนรสิงห์เป็นผู้มีชื่อเสียงด้านความซื่อสัตย์[1]

ประวัติ

พระราชพงศาวดาร

ตามพระราชพงศาวดาร บันทึกว่า พันท้ายนรสิงห์ มีชื่อเดิมว่า "สิน" เป็นชาวบ้านนรสิงห์ แขวงเมืองวิเศษชัยชาญ (ปัจจุบัน คือ อำเภอป่าโมก จังหวัดอ่างทอง) มีภรรยาชื่อ "นวล" หรือ "ศรีนวล" ได้รู้จักกับพระเจ้าเสือด้วยการแข่งขันชกมวยไทยกัน เมื่อพระองค์แปลงองค์มาเป็นชาวบ้านธรรมดาและทรงโปรดในอุปนิสัยใจคอ ต่อมาได้กลายมาเป็นนายท้ายเรือพระที่นั่งของพระเจ้าเสือ ในบรรดาศักดิ์ พัน

เมื่อครั้งที่พระเจ้าเสือ เสด็จโดยเรือพระที่นั่งเอกไชย ประพาสเพื่อทรงเบ็ด ณ ปากน้ำเมืองสาครบุรี เมื่อเรือพระที่นั่งถึงตำบลโคกขามซึ่งเป็นคลองคดเคี้ยวและมีกระแสน้ำเชี่ยวกราก พันท้ายนรสิงห์ซึ่งถือท้ายเรือพระที่นั่งมิสามารถคัดแก้ไขได้ทัน โขนเรือพระที่นั่งกระทบกับกิ่งไม้หักตกลงไปในน้ำ พันท้ายนรสิงห์จึงได้กระโดดขึ้นฝั่งแล้วกราบทูลให้ทรงลงพระอาญาตามพระกำหนดถึงสามครั้งด้วยกัน เนื่องจากในครั้งแรก พระเจ้าเสือพระราชทานอภัยโทษ เพราะเห็นว่าเป็นอุบัติเหตุสุดวิสัย ครั้งที่สองก็รับสั่งให้สร้างรูปปั้นปลอมแล้วตัดหัวรูปปั้นนั้นแทน แต่ท้ายสุดก็ได้ตรัสสั่งให้ประหารชีวิตด้วยการตัดศีรษะพันท้ายนรสิงห์ตามคำขอ ในเวลาเช้าตรู่ ตรงกับวันขึ้น 9 ค่ำ เดือน 3 พ.ศ. 2241 แล้วสร้างศาลไม้ขนาดเล็ก ลักษณะเป็นศาลไม้ในสมัยปัจจุบัน หลังคามุงกระเบื้องดินเผาหางมน พื้นศาลเป็นไม้ยกชั้น 2 ชั้น มีเสารองรับ 6 เสา พร้อมกับศีรษะของพันท้ายนรสิงห์และโขนเรือเอกไชยขึ้นตั้งไว้บูชาพร้อมกัน[2]

ภายหลังพระเจ้าเสือได้ทรงให้พระยาราชสงคราม คุมไพร่พลจำนวน 3,000 คน ทำการขุดคลองลัดคลองโคกขามที่คดเคี้ยว ไปออกที่บริเวณแม่น้ำท่าจีน กว้าง 5 วา ลึก 6 ศอก สร้างเสร็จในสมัยพระเจ้าอยู่หัวท้ายสระ พ.ศ. 2252 ได้พระราชทานนามคลองนี้ว่าคลองสนามไชย ต่อมาเรียกเป็นคลองมหาชัย ซึ่งเป็นที่มาของชื่อเมืองมหาชัย แต่ชาวบ้านเรียกว่าคลองถ่าน ปัจจุบันชาวบ้านฝั่งธนบุรี เรียกชื่อว่า คลองด่าน อิอิ

มรดกสืบทอด

ปัจจุบันมีสถานที่รำลึกหรือเกี่ยวเนื่องกับพันท้ายนรสิงห์หลายแห่ง ได้แก่

ศาลพันท้ายนรสิงห์ ภายในอุทยานประวัติศาสตร์พันท้ายนรสิงห์ ตำบลพันท้ายนรสิงห์ อำเภอเมืองสมุทรสาคร จังหวัดสมุทรสาคร

ศาลพันท้ายนรสิงห์

ศาลพันท้ายนรสิงห์ แห่งแรกตั้งอยู่บริเวณปากคลองโคกขาม ตำบลพันท้ายนรสิงห์ อำเภอเมืองสมุทรสาคร จังหวัดสมุทรสาคร (พิกัดภูมิศาสตร์13°34′24.6″N 100°20′44.8″E / 13.573500°N 100.345778°E / 13.573500; 100.345778) เชื่อว่าเป็นศาลพันท้ายนรสิงห์ที่เก่าแก่ที่สุดและเป็นจุดที่เชื่อว่าพันท้ายนรสิงห์ถูกประหารชีวิต ตัวศาลเดิมนั้นได้ผุพังไปตามกาลเวลาและถูกน้ำกัดเซาะตลิ่ง จึงได้มีการสร้างใหม่ และมีศาลในลักษณะศาลเพียงตาที่มีขา 6 ขา ที่ตั้งอยู่หน้าตัวศาลใหญ่ สร้างโดย พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภาณุพันธุ์ยุคล เมื่อปี พ.ศ. 2493 จากการที่ได้สร้างภาพยนตร์เรื่องพันท้ายนรสิงห์ในปีเดียวกัน รูปเคารพพันท้ายนรสิงห์ในศาลแห่งนี้ สร้างขึ้นจากไม้จันทร์หอม[2]

วัดโคกขาม

วัดโคกขาม ตำบลโคกขาม อำเภอเมืองสมุทรสาคร จังหวัดสมุทรสาคร (พิกัดภูมิศาสตร์13°34′10.2″N 100°20′36.9″E / 13.569500°N 100.343583°E / 13.569500; 100.343583) ก็เป็นอีกแห่งหนึ่งที่เชื่อว่าเป็นจุดที่พันท้ายนรสิงห์ถูกประหารชีวิตด้วยเช่นกัน[2]

อุทยานประวัติศาสตร์พันท้ายนรสิงห์

เป็นอีกหนึ่งสถาณที่ ซึ่งเป็นที่ตั้งของศาลพันท้ายนรสิงห์ ตั้งอยู่ที่บ้านพันท้ายนรสิงห์ ตำบลพันท้ายนรสิงห์ อำเภอเมืองสมุทรสาคร จังหวัดสมุทรสาคร (พิกัดภูมิศาสตร์13°31′58.34″N 100°22′43.43″E / 13.5328722°N 100.3787306°E / 13.5328722; 100.3787306) เป็นอีกจุดหนึ่งที่เชื่อว่าพันท้ายนรสิงห์ถูกประหารชีวิต เนื่องจากกรมศิลปากรร่วมด้วยคณาจารย์โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัยได้งมพบท่อนไม้ท่อนหนึ่ง พร้อมกับไม้ที่ยาวราว 80 เซนติเมตร ที่เชื่อว่าเป็นโขนเรือเอกไชย ซึ่งมีร่องรอยความเสียหาย และเมื่อได้ผ่านการตรวจสอบทางวิทยาศาสตร์แล้วพบว่า ตรงกับสมัยที่พันท้ายนรสิงห์ถูกประหารชีวิต จึงเชื่อว่าท่อนไม้นั้นเป็นหลักประหารชีวิตพันท้ายนรสิงห์ และยังมีศาลเจ้าแม่ศรีนวล ผู้ที่เชื่อว่าเป็นภรรยาของพันท้ายนรสิงห์ และมีรูปเหมือนของพระเจ้าเสือและพันท้ายนรสิงห์ที่ทูลขอพระราชทานอาญาโทษประหารชีวิต[2]

ศาลพันท้ายนรสิงห์แห่งนี้ถูกประกาศขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานของชาติ ในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 72 ตอนที่ 2 เมื่อวันที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2498 กรมศิลปากรได้ดำเนินการจัดสร้างศาลพันท้ายนรสิงห์ขึ้นอยู่ถัดจากศาลเก่าที่พังลงมาไม่มากนัก โดยกันอาณาบริเวณรอบ ๆ ศาลไว้ประมาณ 100 ไร่ เพื่อจัดตั้งเป็น "อุทยานประวัติศาสตร์พันท้ายนรสิงห์" ภายในศาลมีรูปเคารพของพันท้ายนรสิงห์ขนาดเท่าของจริงในท่าถือท้ายคัดเรือ ที่สร้างขึ้นและนำมาประดิษฐานไว้เมื่อปี พ.ศ. 2519[2]

ผู้ที่ศรัทธากราบไหว้พันท้ายนรสิงห์จะเรียกพันท้ายนรสิงห์ด้วยความเคารพว่า "พ่อพันท้าย" และเชื่อว่าสามารถบนบานสักการะขอได้ในทุกเรื่อง ยกเว้นเรื่องการเกณฑ์ทหาร ที่บนบานขอแล้วจะไม่ประสบความสำเร็จ[2]

อนุสาวรีย์พันท้ายนรสิงห์

จากบันทึกประวัติศาสตร์อ้างถึงถิ่นฐานเดิมว่าเป็นชาวบ้านนรสิงห์ แขวงเมืองวิเศษชัยชาญ เพื่อเป็นการรำลึกถึงความสำคัญของบรรพบุรุษชาวอ่างทอง จึงได้มีการร่วมกันจัดสร้างอนุสาวรีย์พันท้ายนรสิงห์ ขึ้นที่วัดนรสิงห์ ตำบลนรสิงห์ อำเภอป่าโมก จังหวัดอ่างทอง และทำพิธีเปิดอนุสาวรีย์ขึ้นในวันที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2532 [3]

การแข่งขันมวยไทย

วันที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557 ได้มีการจัดการแข่งขันมวยไทยนานาชาติ ชิงแชมป์เข็มขัดพันท้ายนรสิงห์ขึ้นเป็นครั้งแรกที่จังหวัดสมุทรสาคร[4][5]

ในวัฒนธรรมร่วมสมัย

จากเรื่องราวของพันท้ายนรสิงห์ ได้มีการจัดนำเสนอในรูปแบบต่าง ๆ อาทิ ละครเวที, ภาพยนตร์, ละครโทรทัศน์, หุ่นกระบอกไทย[6] และหนังสือการ์ตูน[7]

รูปแบบการนำเสนอ ปี พันท้ายนรสิงห์ นวล พระเจ้าเสือ
ละครเวที พ.ศ. 2488 สุรสิทธิ์ สัตยวงศ์ สุพรรณ บูรณะพิมพ์ จอก ดอกจันทร์
ภาพยนตร์ พ.ศ. 2493 ชูชัย พระขรรค์ชัย ถนอม อัครเศรณี
ละครเวที พ.ศ. 2508 กำธร สุวรรณปิยะศิริ นงลักษณ์ โรจนพรรณ ฉลอง สิมะเสถียร
ละครโทรทัศน์ พ.ศ. 2515 ถนอม อัครเศรณี
ละครโทรทัศน์ พ.ศ. 2521 นิรุตติ์ ศิริจรรยา ดวงใจ หทัยกาญจน์ ตรัยเทพ เทวะผลิน
ภาพยนตร์ พ.ศ. 2525 สรพงษ์ ชาตรี อาภาพร กรทิพย์ สมบัติ เมทะนี
ละครเวที พ.ศ. 2532 ศรัณยู วงษ์กระจ่าง นาถยา แดงบุหงา พิศาล อัครเศรณี
ละครโทรทัศน์ พ.ศ. 2543 ธีรภัทร์ สัจจกุล พิยดา อัครเศรณี พงษ์พัฒน์ วชิรบรรจง
ภาพยนตร์ พ.ศ. 2558 พงศกร เมตตาริกานนท์ พิมดาว พานิชสมัย พันเอกวันชนะ สวัสดี
ละครโทรทัศน์ พ.ศ. 2559

ละครเวที

  • ละครเวทีครั้งแรกในปี พ.ศ. 2488 พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภาณุพันธุ์ยุคล ทรงนิพนธ์เป็นบทละครเวทีพันท้ายนรสิงห์ โดยเล่าเรื่องที่แต่งขึ้นจากเรื่องเกร็ดในพงศาวดารและประวัติศาสตร์สมัยรัชกาลพระเจ้าเสือ กรุงศรีอยุธยาตอนปลาย แสดงโดยคณะศิวารมณ์ นำโดย สุรสิทธิ์ สัตยวงศ์ เป็น พันท้ายนรสิงห์, สุพรรณ บูรณะพิมพ์ เป็น นวล, จอก ดอกจันทร์ เป็น พระเจ้าเสือ มีเพลงประกอบคือเพลง น้ำตาแสงไต้ เป็นเพลงประกอบในฉากพันท้ายนรสิงห์และนวลร่ำลากัน ละครเวทีได้รับความนิยมอย่างสูงสุดในช่วงสงครามและหลังสงครามโลกครั้งที่ 2
  • ปี พ.ศ. 2508 ได้นำมาสร้างเป็นละครเวทีพิเศษเพื่อการกุศลของสมาคมต่อต้านยาเสพติดแห่งประเทศไทย แสดงที่หอประชุมใหญ่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ นำแสดงโดย กำธร สุวรรณปิยะศิริ รับบทเป็น พันท้ายนรสิงห์ และ นงลักษณ์ โรจนพรรณ รับบทเป็น นวล ฉลอง สิมะเสถียร แสดงเป็นพระเจ้าเสือ
  • ปี พ.ศ. 2532 จัดแสดงละครเวที พันท้ายนรสิงห์ขึ้น ณ ศาลาเฉลิมไทย เพื่อเป็นอนุสรณ์ในการอำลา ศาลาเฉลิมไทย นำแสดงโดย ศรัณยู วงษ์กระจ่าง รับบทเป็น พันท้ายนรสิงห์ นาถยา แดงบุหงา รับบทเป็น นวล และ พิศาล อัครเศรณี รับบทเป็น พระเจ้าเสือ
  • ละครเวทีพันท้ายนรสิงห์ มีการนำมาสร้างอีกหลายต่อหลายครั้ง โดยสร้างจากบทละครเวทีของพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภาณุพันธุ์ยุคล

ภาพยนตร์

ละครโทรทัศน์

ในตอนแรกละครเรื่องนี้จะออกอากาศทางช่อง 3 เนื่องจาก พงศกร เมตตาริกานนท์ ผู้รับบท พันท้ายนรสิงห์ เป็นนักแสดงในสังกัดช่อง 3 แต่ด้วยปัญหาเรื่องช่วงเวลาออกอากาศทำให้ท่านมุ้ยทรงนำพันท้ายนรสิงห์ไปตัดต่อและฉายเป็นภาพยนตร์ ต่อมา หม่อมราชวงศ์เฉลิมชาตรี ยุคล หรือ คุณชายอดัม โอรสของท่านมุ้ยได้ตัดสินใจซื้อละครพันท้ายนรสิงห์กลับมาจากช่อง 3 และนำไปออกอากาศทางช่องโมโน 29 แต่ด้วยเหตุผลบางประการทำให้ละครเรื่องนี้ไม่สามารถออกอากาศทางช่องโมโน 29 ได้ ทำให้ท่านมุ้ยตัดสินใจนำละครเรื่องพันท้ายนรสิงห์มาออกอากาศทางช่องเวิร์คพอยท์แทน มีจำนวน 19 ตอน ตอนสุดท้ายออกอากาศเมื่อวันที่ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2559

ดูเพิ่ม

อ้างอิง

  1. "ความซื่อสัตย์นั้น สำคัญไฉน - Quality of Life - Manager Online". ผู้จัดการออนไลน์.
  2. 2.0 2.1 2.2 2.3 2.4 2.5 "Lineกนก วันที่ 7 พฤษภาคม 2017". เนชั่นทีวี. 2017-05-07. สืบค้นเมื่อ 2017-05-08.
  3. พิธีบวงสรวงอนุสาวรีย์พันท้ายนรสิงห์ - ศูนย์ข้อมูลกลางทางวัฒนธรรม
  4. "ตามรอยพันท้ายนรสิงห์ ในงาน สมุทรสาคร นคร แห่งความซื่อสัตย์". ผู้จัดการออนไลน์.
  5. 'มหาชัย'จัดใหญ่ รำลึกความซื่อสัตย์ 'พันท้ายนรสิงห์'
  6. "MRT พาน้องชมหุ่นกระบอกไทย - iBiz - Manager Online". ผู้จัดการออนไลน์.
  7. พันท้ายนรสิงห์ (ฉบับการ์ตูน) - มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  8. นักซ่อมพระกรุงเก่า สุดแน่ไม่แท้ไม่ซ่อม - ข่าวไทยรัฐออนไลน์
  9. http://www.thaifilm.com/forumDetail.asp?topicID=4255&page=2&keyword=
  10. ALWAYS ON MY MIND: พันท้ายนรสิงห์ (2000)

แหล่งข้อมูลอื่น