ผลต่างระหว่างรุ่นของ "หะยีสุหลง"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: อิโมจิ แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 1: บรรทัด 1:
////$^&((€_🦓🦌🐮🦌🐖🦊🦁🦓🦊🐮🐴
{{Infobox Person
| name = หะยีสุหลง
| image = ไฟล์:หะยีสุหลง.jpg
| caption =
| birth_name =
| birth_date = [[พ.ศ. 2438]]
| birth_place = หมู่บ้านกำปงอาเนาะรู (หมู่บ้านลูกสน) [[มณฑลเทศาภิบาล|มณฑลปัตตานี]]
| death_date = [[13 สิงหาคม]] [[พ.ศ. 2497]]
| death_place = บังกะโลริม[[ทะเลสาบสงขลา]] [[จังหวัดสงขลา]]
| residence =
| nationality =
| known_for = ผู้นำและปัญญาชนของชาวไทยมุสลิมโดยเฉพาะในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้
| employer =
| occupation = โต๊ะอิหม่าม
| height =
| term =
| parents =
| spouse = เวห์ เตร์ยอห์
| children = อาหมัด โต๊ะมีนา</br>[[เด่น โต๊ะมีนา]]
| partner =
| relatives =
| signature =
| website =
| footnotes =
}}
'''หะยีสุหลง อับดุลกาเดร์''' หรือ '''หะยีสุหลง โต๊ะมีนา''' หรือที่รู้จักและนิยมเรียกชื่อกันสั้น ๆ ว่า '''หะยีสุหลง''' เป็นโต๊ะอิหม่ามที่มีชื่อเสียงในอดีต เป็นผู้นำและปัญญาชนของชาวไทยมุสลิมโดยเฉพาะในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้


== ประวัติ ==
== ประวัติ ==

รุ่นแก้ไขเมื่อ 20:26, 26 กันยายน 2561

////$^&((€_🦓🦌🐮🦌🐖🦊🦁🦓🦊🐮🐴

ประวัติ

หะยีสุหลง เกิดเมื่อปี พ.ศ. 2438 ที่หมู่บ้านกำปงอาเนาะรู (หมู่บ้านลูกสน) มณฑลปัตตานี เมื่อเติบโตขึ้นมา บิดาได้ส่งไปเรียนศาสนาที่นครเมกกะ ประเทศซาอุดิอาระเบีย จนแตกฉานทั้งในเรื่องศาสนา ปรัชญา และภาษาทางมุสลิม ที่นั่น หะยีสุหลงได้สมรสกับภริยาคนแรก โดยที่ไม่มีบุตรด้วยกัน ต่อมาภริยาได้เสียชีวิตลง หะยีสุหลงจึงสมรสใหม่กับนางคอดีเยาะห์ บุตรี มุฟตีรัฐกลันตัน(ตำแหน่งมุฟตีเทียบเท่าจุฬาราชมนตรีของประเทศไทย)ภริยาคนที่สอง ทั้งคู่มีบุตรชายด้วยกันหนึ่งคน แต่ต่อมาบุตรชายก็เสียชีวิตลงเมื่ออายุได้ขวบเศษ ๆ เท่านั้น ทั้งคู่จึงตัดสินใจเดินทางกลับมายังประเทศไทย[1]

หะยีสุหลง ตั้งใจจะกลับมาเผยแพร่ศาสนาที่มณฑลปัตตานี อันเป็นบ้านเกิด ได้เดินทางกลับมาเมื่อปี พ.ศ. 2470 ก่อนจะพบว่าชาวมุสลิมที่นั่นยังมีสภาพความเป็นอยู่ที่แร้นแค้นและนับถือภูติผีอยู่เป็นจำนวนมาก ซึ่งขัดกับหลักทางศาสนาอิสลามอย่างรุนแรง จึงเกิดเป็นแรงบันดาลใจให้ก่อตั้งโรงเรียนสอนศาสนา หรือปอเนาะ ขึ้นมาเป็นแห่งแรก ด้วยเงินเริ่มต้นที่รวบรวมหามาได้ 3,500 บาท ต่อมาเมื่อเกิดการเปลี่ยนแปลงการปกครอง เมื่อปี พ.ศ. 2475 ในรัฐบาลที่มี พระยาพหลพลพยุหเสนา เป็นนายกรัฐมนตรี หะยีสุหลงได้เดินทางเข้าสู่พระนครเพื่อขอความช่วยเหลือจากทางรัฐบาล ก็ได้เงินช่วยเหลือจากภาครัฐมาอีก 3,500 บาท รวมเป็น 7,000 บาท ปอเนาะแห่งแรกในประเทศไทยจึงถือกำเนิดขึ้นมาได้ [1]

การเมือง

หะยีสุหลง ได้เกี่ยวพันกับทางการเมืองและความขัดแย้งในพื้นที่ซึ่งมีผลกระทบต่อความมั่นคงของราชอาณาจักร เมื่อเป็นผู้นำเสนอข้อเรียกร้อง 7 ข้อ ที่ให้ความเป็นธรรมและสอดคล้องกับวิถีชีวิตของชาวมุสลิมในพื้นที่ ต่อรัฐบาลไทยที่มี พลเรือตรี ถวัลย์ ธำรงนาวาสวัสดิ์ เป็นนายกรัฐมนตรี ขณะที่ดำรงตำแหน่งประธานกรรมการอิสลามจังหวัดปัตตานี เมื่อปี พ.ศ. 2490 แต่ต่อมาได้เกิดการรัฐประหารขึ้นเมื่อปลายปีเดียวกัน ได้มีการเปลี่ยนขั้วรัฐบาลมาเป็นขั้วของ จอมพล ป.พิบูลสงคราม ซึ่งมีอุดมการณ์ทางการเมืองแตกต่างจากขั้วอำนาจเดิม ข้อเรียกร้องทั้ง 7 ข้อ ของหะยีสุหลงถูกเพ็งเล็งว่าเป็นกบฏกระด้างกระเดื่องต่อความมั่นคงของราชอาณาจักร จนในที่สุดถูกจำคุกในข้อหาปลุกระดมและก่อการกบฏเพื่อแบ่งแยกดินแดน ซึ่งหะยีสุหลงถูกจัดสินให้จำคุกเป็นเวลา 4 ปี 8 เดือน โทษฐานกล่าวร้ายรัฐบาลในเอกสารที่แจกจ่ายยังประชาชนในท้องถิ่น ส่วนโทษฐานแบ่งแยกดินแดน ศาลพิจารณาให้ยก[2]

การหายสาบสูญ

เมื่อพ้นโทษออกมา หะยีสุหลงก็ยังถูกคุกคามจากทางอำนาจรัฐ จนกระทั่งในเช้าตรู่ของวันศุกร์ที่ 13 สิงหาคม พ.ศ. 2497 หลังจากเสร็จจากละหมาดในตอนเช้าแล้ว หะยีสุหลงพร้อมกับ นายอาหมัด โต๊ะมีนา บุตรชายคนโตวัย 15 ปี ซึ่งทำหน้าที่เป็นล่ามภาษาไทย เนื่องจากหะยีสุหลงไม่สามารถพูดภาษาไทยได้ ได้เดินทางออกจากบ้านพักส่วนตัวที่จังหวัดปัตตานี ไปยังกองบัญชาการตำรวจสันติบาลที่จังหวัดสงขลา พร้อมด้วยพรรคพวกอีก 2 คน รวมเป็น 4 คน ก่อนที่ทั้งหมดจะหายสาบสูญไปอย่างไร้ร่องรอย นำมาซึ่งความเชื่อว่าทั้งหมดถูกฆาตกรรมทางการเมืองด้วยฝีมือของตำรวจ ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ ภายใต้การบัญชาการของ พลตำรวจเอก เผ่า ศรียานนท์ อธิบดีกรมตำรวจและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ผู้ซึ่งเป็นเสมือนมือขวาสำคัญของจอมพล ป. นายกรัฐมนตรี ซึ่งเรื่องราวการหายตัวไปของหะยีสุหลงเป็นข่าวอย่างครึกโครม โดยเฉพาะในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ไปจนถึงมาเลเซีย และสิงคโปร์[1] [3]

ทางครอบครัว ภริยาและนายเด่น โต๊ะมีนา บุตรชายของหะยีสุหลงได้เดินทางเข้าสู่พระนครเพื่อติดตามเรื่องราว ก็ไม่ได้ความคืบหน้าใด ๆ แต่ก็ได้รับทราบเพียงว่าเป็นการฆาตกรรมทางการเมืองโดยบุคคลของภาครัฐเองจากปากคำของ ท่านผู้หญิงละเอียด พิบูลสงคราม ภริยาของจอมพล ป. จนกระทั่งมีการรัฐประหารในปี พ.ศ. 2500 รัฐบาลได้เปลี่ยนขั้วอีกครั้งมาเป็น จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ได้มีการรื้อฟื้นคดีนี้ขึ้นมาอีกครั้ง โดยมี พลตำรวจตรี ฉัตร หนุนภักดี เป็นประธาน ในที่สุดนายตำรวจผู้ที่ลงมือในการฆาตกรรมครั้งนี้ก็รับสารภาพว่าได้สังหารบุคคลทั้ง 4 ในบังกะโลริมทะเลสาบสงขลา จากคำสั่งโดยตรงทางโทรศัพท์ของรัฐบาลในขณะนั้น ผ่านทางผู้บังคับการตำรวจจังหวัดสงขลา ด้วยการใช้เชือกรัดคอและคว้านท้องศพทั้งหมดและอำพรางด้วยการนำศพไปผูกไว้กับแท่งซีเมนต์ในทะเลสาบสงขลา ใกล้กับเกาะหนู เกาะแมว ซึ่งเมื่อทุกอย่างกระจ่างได้มีการส่งนักประดาน้ำลงไปงมหาศพ แต่ด้วยระยะเวลาที่ผ่านไปหลายปีจากที่เกิดเหตุ ทำให้ไม่พบศพหรือเศษซากใด ๆ อีกแล้ว[1]

อ้างอิง

  1. 1.0 1.1 1.2 1.3 ตอบโจทย์, "บทสัมภาษณ์ เด่น โต๊ะมีนา และ พญ.เพชรดาว โต๊ะมีนา ทายาทของหะยีสุหลง". รายการทางไทยพีบีเอส: ศุกร์ที่ 8 มีนาคม 2556
  2. เรื่องของหะยี สุหลง ปฐมเหตุของสถานการณ์ใต้?
  3. ตำรวจพัวพันการหายตัวของนายหะยี สุหลง, หน้า 60. กาลานุกรมสยามประเทศไทย 2485-2554 โดย ชาญวิทย์ เกษตรศิริ (มีนาคม, 2555) ISBN 978-974-228-070-3