ข้ามไปเนื้อหา

ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ฮิปฮอปไทย"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
บรรทัด 49: บรรทัด 49:


=== ศิลปิน เดี่ยว ที่มีชื่อเสียง ในวงการฮิปฮอป ณ ปัจจุบัน ===
=== ศิลปิน เดี่ยว ที่มีชื่อเสียง ในวงการฮิปฮอป ณ ปัจจุบัน ===

===[[อิลสลิก|ILLSLICK]]===


*Mindset
*Mindset

รุ่นแก้ไขเมื่อ 18:54, 1 กรกฎาคม 2561

ในประเทศไทยแนวฮิปฮอปหรือแร็ปยังไม่ได้อยู่ในกระแสหลัก มีศิลปินบุกเบิกอย่าง โจอี้บอย ก้านคอคลับ และเพื่อนที่แยกกันออกทำงาน อย่าง ขันเงิน ไทยเทเนี่ยม[1]

ประวัติ

ในประเทศไทย เพลงแร็ปได้ปรากฏเป็นครั้งแรกราวปี พ.ศ. 2534[2]ในอัลบั้ม จ เ-ะ บ ของ เจตริน วรรธนะสิน ในสังกัดแกรมมี่ กับ ทัช ธันเดอร์ ของ ทัช ณ ตะกั่วทุ่ง ในสังกัดอาร์เอส โดยในเวลานั้นทั้งคู่เสมือนเป็นคู่แข่งกัน แต่ว่าดนตรีของทั้งคู่ในเวลานั้นยังไม่ใช่แร็ปเต็มตัว เพียงแต่แฝงเข้าไปในทำนองเพลงป๊อปแดนซ์เท่านั้นเอง จนกระทั่ง เจ เจตรินได้ออกอัลบั้มชุดที่ 2 คือ 108-1009 มาในปี พ.ศ. 2536 มีหลายเพลงในอัลบั้มที่เป็นแร็ปมากขึ้น โดยเฉพาะในเพลง ยุ่งน่า, สมน้ำหน้า นับเป็นแร็ปเต็มตัว และในเพลง ประมาณนี้หรือเปล่า ก็มีบางช่วงที่เป็นแร็ป แต่หลังจากนี้ เจตรินก็ไม่ได้ทำเพลงในลักษณะแร็ปออกมาอีกเลย จนกระทั่งอัลบั้มชุดใหม่ Seventh Heaven ในปลายปี พ.ศ. 2550 กับเพลง สวรรค์ชั้น 7

แร็พเตอร์ก็น่าจะถือเป็นศิลปินเพลงในแนวฮิปฮอปด้วยเพราะก็มีหลายเพลงที่มีแร็ปมาเกี่ยวข้อง โดยเฉพาะ 2 อัลบั้มแรก คือ Raptor ในปี พ.ศ. 2537 อัลบั้มแรกของทั้งคู่ แนวเพลงเป็นแนวป๊อป และผสมกับแนวแร็ป ซึ่งจะนำเพลงดังในยุคนั้นของอาร์เอส มาทำใหม่และเพิ่มเติม เนื้อเพลงในส่วนที่เป็นท่อนแร็ป เช่น ซูเปอร์ฮีโร่ และอัลบั้ม Waab Boys ในปี พ.ศ. 2539 อัลบั้มที่สอง แนวเพลงจะแปลกไปจากชุดก่อนเพราะจะเป็นแนวป๊อปแดนซ์มากยิ่งขึ้น แต่ในเพลงก็ยังมีท่อนแร็ปมาผสมอยู่บ้าง เพลงที่ได้รับความนิยมในอัลบั้มนี้ได้แก่ อย่าพูดเลย[3]

แต่ว่า ศิลปินไทยที่นับว่าเป็นแร็ปเปอร์กลุ่มแรกจริง ๆ คือ ทีเคโอ[4] ในปี พ.ศ. 2536 สังกัดคีตา เรคคอร์ดส โปรดิวซ์โดย กมล สุโกศล แคลปป์ แต่ว่ากลับไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควร เนื่องจากอาจเพราะกระแสดนตรีไทยในเวลานั้นยังไม่อาจรับได้กับเพลงในลักษณะนี้

แร็ป มาประสบความสำเร็จครั้งแรก ในปี พ.ศ. 2538 เมื่อ โจอี้ บอย สังกัดเบเกอรี่ มิวสิก ได้ออกอัลบั้ม โจอี้ บอย เป็นชุดแรก ซึ่งเป็นแร็ปแท้ทั้งอัลบั้ม โดยในช่วงเวลานั้นกระแสการฟังดนตรีในเมืองไทยได้เปลี่ยนไปจากแนวดนตรีกระแสหลักไปสู่แนวอิสระมากขึ้น จึงทำให้เพลงแร็ปได้รับความนิยมขึ้นมาด้วย

ในปี พ.ศ. 2544 แกรมมี่ ก็ได้มีศิลปินแร็ปออกมาอีกหนึ่งชุดและประสบความสำเร็จเป็นอย่างดี คือ ดาจิม

เพลงแร็ปในประเทศไทยมักจะมีคำไม่สุภาพหรือหยาบโลนเหมือนอย่างศิลปินในต่างประเทศ เช่น ไทยเทเนี่ยม โจอี้ บอย และ ดาจิม (ในช่วงเป็นศิลปินใต้ดิน)

อนึ่ง ซึ่งความจริงแล้ว เพลงที่น่าจะเรียกได้ว่าเป็นเพลงแร็ปเพลงแรกของประเทศไทย มีมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2528 ชื่อเพลง หมูแข้งทอง ในอัลบั้ม My Lover โดย มิสเตอร์แตงโม เป็นเพลงที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับชีวิตนักมวยไทยชื่อดังในอดีต ผุดผาดน้อย วรวุฒิ[5]

ในปี พ.ศ. 2661 กระแสเพลงฮิปฮอป เริ่มนิยมในวงกว้างขึ้น จึงการประกวดบนดินขึ้นมา คือ รายการ เดอะแร็ปเปอร์ และ รายการ Show Me The Money Thailand ซึ่งทั้งสองรายการเริ่มมีเสียงทั้งด้านบวกและด้านลบ ทั้งเรื่องการตัดสินของโปรดิวเซอร์ และผู้เข้าแข่งขัน ที่เน้นการร้องมากกว่า

รายชื่อศิลปินแนวฮิปฮอปในประเทศไทย

ศิลปินที่มีชื่อเสียง เป็นที่รู้จักในวงกว้าง

ศิลปิน เดี่ยว ที่มีชื่อเสียง ในวงการฮิปฮอป ณ ปัจจุบัน

โปรดิวเซอร์ที่มีชื่อเสียง ในวงการฮิปฮอป

  • DJ Budda
  • BOTCASH (เอ้ บูม บูม แคช)
  • Bossa On the Beat
  • T-BIGGEST
  • Nino
  • Thaiboy Digital
  • Wolfgang & Memphis (จากเนเธอร์แลนด์)
  • M-FLOW
  • LIL ICE
  • Sweeny
  • Roony

ศิลปิน กลุ่ม ที่มีชื่อเสียง ในวงการฮิปฮอป ณ ปัจจุบัน

  • Thaitanium Ent. (Big Calo, AJay, JROC, DJ Budda, DJ Tob, IG, ฯลฯ)
  • River Rhyme (Black Sheep RR, Maiyarap, John Takashi, Repaze, Zeesky, ฯลฯ)
  • J$R (Jayrun, Sir Poppa Lot และ Rahboy)
  • Thaikoon (Big P, Dennis tha Menace, KK, Danny B, DJ SG, JCN และ N-A-Double-T)
  • 93Flow (Ben Bizzy, Estee, Nino และ Fiixd)
  • Ekkamai Raider (YOUNGOHM, Doper Doper, Sonofo)
  • Sweed Dream Records (VKL, Trip J, Bank Tazz, Young, Maxkk, Beem Loei)
  • TM303 (Dandee, Younggu, Rahboy, NJ Henessy, ฯลฯ)
  • Z4records (Mikezickflow, M-FLOW, Darkface, Nil Lhohitz, 23Street, Repaze, Zeesky, Monkey.P, Nachot, P$J, KXNGB, Neversole, Skinnybankk, King.B, ฯลฯ)
  • Chink99 (GT, Way-G, Htwo และ Halibavg)
  • 8garad (T-BIGGEST, IMMAFXRD, 8BOTSBOYZ, NICECNX, AOF UFO, Stage-N, PNPEE, BVSE)
  • Pattaya Boi (PEE CLOCK, G-Bear, Guy James, Nickname ฯลฯ)
  • Zigga Rice (Ziggavoy และ Stickyrice Killah)
  • UDT BOY$ & UDT JR (Sweeny, Sunnybone, HN, A$CE(A2), G Flex, Lil Slum, Wintan, ฯลฯ)
  • MQT SQUAD (Suriya, Diamond, DELAY, VANGOE)
  • The Foolest (ปรัชญาไมค์, King Aglet, LVRK)
  • The old i$e (CD กันต์ธีร์ และ Dawut)

ศิลปิน กลุ่ม ที่มีชื่อเสียง ในวงการฮิปฮอป ในอดีต

  • The Real (p9d, Jayrun, NAZESUS REALFILP)
  • I AM (Eazy, Joee Chillin, Ablazed และ Tbluntz)
  • The F.A.N (Sinnamon, Kandy Kev, Tabeazy และ Mighty Np)
  • Louis 1 Flow
  • Du Ja Da (Sinnamon และ Nutty Nat)
  • AR1 Project (Chom Chumkasian, PP'Dreams และ ฟักกลิ้ง ฮีโร่)
  • Da Killerz (Simon, Chow Chow, AA และ Chakrit)
  • ตระกูล 662 (เหมียววิฬาร, กินหมี่, จิระ, เจ้าพระยา, ปาโนชช่า, เกล้าจุก, วับแวบแวววาว, มุข(ก) และ ฟักกลิ้ง ฮีโร่)
  • วงทะนง (IcezeeMan, Tula, Mr.MousTache และ โซ๊ยตี๋)
  • Tha Beatlounge Production (DJ Spydamonkee, โปรโตซัว, Fullclips และ Malibu)
  • Sming Crew (Cruel Pistol, Bongzera, ฯลฯ)
  • Raw Uncut (Zero, Zeehot, Kappa และ Redfaze)
  • Dude Boi (Professor Jay และ Sir Poppa Lot)
  • Souls Of Siam Family (Dakotaa Jade, Young Jack, Miyabi, Groovy Bee, ฯลฯ)
  • 6ick Town (Liberate P, Razzle D และ Slipyer)
  • None (Roony, Aper, Way-G และ Arm)
  • Young Esvn (Ben Bizzy, Estee, Fiixd, Jomjam, Rahboy และ VKL)
  • สัมฤทธิ์ผล (Buffalo,A HingSa,Nazesus,dumbell,Sir Not)
  • Nefhole (NUKIE.P, ZGRAMM, TE(K-twin), LJ(K-twin), YB(KidzBoss),ฯลฯ)
  • Civilize (MC King, Repaze, Zeesky, Uma และ Keep2Sky)
  • Rap is Now Alumni (MC King, Darkface, Nil Lhohitz, 23Street, Repeze, Zeesky, Monkey P, ZO9, Tossakan, Maiyarap, Uma, Neversole, Halibavg, ฯลฯ)
  • Real Records (P9d, ปรัชญาไมค์, King Aglet,ฯลฯ)
  • p.w.o.d (ILLSLICK, น้าเน็ก, SPIPEKY, AEKKY, NUKIEPE, YOUNG TRIP, DM)
  • 4กุมาร (ดาจิม, CPสมิง, DJsnap, DJKKB)

ศิลปินที่มีชื่อเสียง ในอดีต

  • AA Crew
  • TKO
  • Nanacha
  • New School (Chris New School ปรากฎอีกครั้งในรายการ Show Me The Money Thailand และทำยูทิปเปอร์ในชื่อตัวเอง)
  • 3DC
  • Good Boys
  • Khan-T
  • NYU Club
  • MAF
  • Q'ty
  • Alize
  • Asian Embassy
  • Siamese Ghetto
  • Big 3
  • 2 Peace
  • Silksounds
  • AZN Crew
  • Rah Gangsta
  • SEA Crew
  • White Trash
  • Last 20
  • DZ Clan
  • W2DE
  • TB Crew
  • Hot Chronics
  • Ballistic
  • Golden Triangle
  • Sing Zero
  • N.M.C.
  • 2 Lust For
  • Thaiphoon
  • Hashish
  • Million Dollars
  • Dogg Tribe
  • The Real
  • Flip Element
  • Quasar Crew
  • Namotazaa
  • Afro Bros
  • Dog Side
  • Sukha Crew
  • Y.K. Crew
  • 8 Row
  • N-PRO
  • O.E.M.
  • ASJ Crew
  • Three Crown
  • S.Venom
  • D-Ex
  • OC Crew
  • Mcca
  • The 25 Stang
  • Crackboyz
  • Three Kings and The Babe
  • Young Che
  • 3.2.1. (UrboyTJ Last aka TJ, Gavin D และ Poppy)
  • Areedungka
  • Sukha Crew
  • ฯลฯ

เชิงอรรถและอ้างอิง

  1. "Thaitanium releases sixth album: "Still Resisting" | CNN Travel". Travel.cnn.com. 2010-06-11. สืบค้นเมื่อ 2014-02-25.
  2. ในปกเทปอัลบั้ม ทัช ธันเดอร์ ของทัช ณ ตะกั่วทุ่ง เนื้อเพลง เท้าไฟ ซึ่งแต่งโดย ธนพล อินทฤทธิ์ มีคำว่า แร็ป ปรากฏขึ้น แต่สะกดคำว่า แร็ป เป็น RAB ซึ่งสะกดผิด
  3. BigChild (Jun 9, 2015). "แฟนพันธุ์แท้ - บอยแบนด์ & เกิร์ลแก๊ง 07ก.ค. 2006". แฟนพันธุ์แท้ 2006.
  4. ย้อนวันวาน TKO ต้นฉบับวงแรป วงแรกของไทยจากเอ็มไทยดอตคอม
  5. "แฟนพันธุ์แท้ 2014 มวยไทย". แฟนพันธุ์แท้ 2014. Apr 5, 2014.