ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ส้มโอ"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
JBot (คุย | ส่วนร่วม)
ย้อนการแก้ไขที่อาจเป็นการทดลอง หรือก่อกวนด้วยบอต ไม่ควรย้อน? แจ้งที่นี่
บรรทัด 34: บรรทัด 34:
== การใช้ประโยชน์ ==
== การใช้ประโยชน์ ==
นิยมรับประทานส้มโอเป็นผลไม้สด หรือนำไปประกอบอาหาร เช่น ยำ เมี่ยง [[ส้มตำ]] [[ข้าวยำ]] หรือทำของหวานเช่นแยมส้มโอ เปลือกนอกสีขาวนำไปทำเปลือกส้มโอแช่อิ่ม ส้มโอสามรส ใน[[เวียดนาม]]นำไปทำเต้าส่วนเปลือกส้มโอ<ref name="ส้มโอ"/> ในฟิลิปปินส์นิยมนำเนื้อไปจิ้มเกลือ และทำน้ำผลไม้
นิยมรับประทานส้มโอเป็นผลไม้สด หรือนำไปประกอบอาหาร เช่น ยำ เมี่ยง [[ส้มตำ]] [[ข้าวยำ]] หรือทำของหวานเช่นแยมส้มโอ เปลือกนอกสีขาวนำไปทำเปลือกส้มโอแช่อิ่ม ส้มโอสามรส ใน[[เวียดนาม]]นำไปทำเต้าส่วนเปลือกส้มโอ<ref name="ส้มโอ"/> ในฟิลิปปินส์นิยมนำเนื้อไปจิ้มเกลือ และทำน้ำผลไม้

=== ความเชื่อ ===
ใน[[วันไหว้พระจันทร์|พิธีไหว้พระจันทร์]]ของ[[ชาวจีน]] ส้มโอถือเป็นเครื่องสังเวยที่สำคัญ เนื่องจากมีความเชื่อว่าหลังจากไหว้ ถ้าผ่าผลส้มโอออกแล้วกลางลูกแห้ง ไม่มีน้ำจะเป็นเครื่องหมายของโชคดี สตรีที่ยังไม่แต่งงานจะนำส่วนของส้มโอมาทาหน้า เชื่อว่าทำให้ผิวพรรณผุดผ่อง และถ้ากินส้มโอในคืนนั้นจะทำให้ตาเป็นประกายสวยงาม นอกจากนั้นยังใช้ส้มโอเป็นสัญญลักษณ์แทนศีรษะของชาวจีนที่เสียชีวิตในการกู้ชาติ <ref name="ส้มโอ"/>
== รวมภาพ ==
== รวมภาพ ==
{{รายการอ้างอิง}}<gallery>
{{รายการอ้างอิง}}<gallery>

รุ่นแก้ไขเมื่อ 13:58, 21 มิถุนายน 2561

ส้มโอ
ผลส้มโอ
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Plantae
หมวด: Magnoliophyta
ชั้น: Magnoliopsida
ชั้นย่อย: Rosidae
อันดับ: Sapindales
วงศ์: Rutaceae
สกุล: Citrus
สปีชีส์: C.  maxima
ชื่อทวินาม
Citrus maxima
Merr.

ส้มโอ เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางในตระกูลเดียวกับส้ม มีชื่อพื้นเมืองอื่นๆอีกคือ โกร้ยตะลอง (ภาษาเขมร) มะขุน (เหนือ) มะโอ (เหนือ) ลีมาบาลี (มลายู ยะลา) และ สังอู (กะเหรี่ยง มลายู)[1] มีชื่อสามัญในภาษาอังกฤษว่า Pomelo ซึ่งมีรากศัพท์มาจากภาษาดัตช์ pompelmoes ซึ่งแปลตรงตัวว่า "ส้มที่ลูกเท่าฟักทอง" [2] แหล่งกำเนิดอยู่ในเขตเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ส้มโอจัดว่าเป็นไม้ผลเศรษฐกิจชนิดหนึ่งของไทย นิยมปลูกทางภาคตะวันตกของประเทศ

ต้นกล้าส้มโอ

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

ส้มโอเป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็ก แตกกิ่งก้านสาขาที่เรือนยอด ลำต้นมีสีน้ำตาล มีหนามเล็ก ๆ สูงประมาณ 8 เมตร ใบเป็นแผ่นหนาสีเขียวเข้ม โคนก้านใบมีหูใบแผ่ออกเป็นรูปหัวใจ แผ่นใบเหมือน มะกรูด คือแบ่งใบเป็น 2 ตอน แต่ขนาดใบใหญ่กว่า ใบหนาแข็ง มีสีเขียวแก่ มีกลิ่นหอม ดอกออกเป็นช่อสั้นหรือดอกเดี่ยว ตามบริเวณง่ามใบ มีสีขาว ปลายกลีบมนมี 4 กลีบ กลางดอกมี เกสร 20-25 อัน ผลกลมโต บางพันธุ์ตรงขั้วมีจุกสูงขึ้นมา ผิวผลเมื่อยังอ่อนมีสีเขียว เมื่อแก่จัดเปลี่ยนเป็นสีเขียวอมเหลือง ผิวของผลไม่เรียบ ผิวของเปลือกผลมีต่อมน้ำมันกระจายทั่วไป ภายในผลเป็นช่อง ๆ มีแผ่นบาง ๆ สีขาวกั้นเนื้อให้แยกออกจากกัน เนื้อแต่ละส่วนเรียกว่า "กลีบ" มีรสหวานหรือหวานอมเปรี้ยว มีเมล็ดฝังอยู่ระหว่างเนื้อมากกว่า 1 เมล็ด[3] ผลส้มโอมีเปลือกหนาทำให้สามารถเก็บรักษาได้นาน มีวิตามินซีมาก

พันธุ์ส้มโอ

แหล่งปลูกส้มโอที่สำคัญในประเทศไทยแต่เดิมมีสองแหล่งคือ อำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม เป็นแหล่งกำเนิดของพันธุ์ขาวแป้น และบางปะกอกในเขตธนบุรี เป็นแหล่งกำเนิดของพันธุ์ขาวพวง[2] ในปัจจุบัน พันธุ์ส้มโอที่เป็นที่นิยมปลูกทางการค้าได้แก่

  • พันธุ์ทับทิมสยาม เนื้อสีแดงเข้ม รสชาติหวาน มีกลิ่นหอม เนื้อนุ่ม เปลือกบางสีเขียวเข้ม มีขนอ่อนปกคลุมทั่วผล ปลูกมากที่จังหวัดนครศรีธรรมราช
  • พันธุ์ทองดี ผลโต กลมแป้น ไม่มีจุก ที่ขั้วมีจีบเล็กน้อย รสหวาน ฉ่ำน้ำ เนื้อสีชมพู เป็นพันธุ์ที่นิยมปลูกที่จังหวัดนครปฐม
  • พันธุ์ขาวน้ำผึ้ง ผลใหญ่ กลมสูง ก้นเรียบ
  • พันธุ์ขาวใหญ่ เนื้อเป็นสีครีมอ่อน นิยมปลูกที่จังหวัดสมุทรสงคราม
  • พันธุ์ขาวพวง ผลกลม มีจุกสูง ผิวเรียบ สีเปลือกเขียวอ่อนอมเหลือง มีเมล็ดน้อย เป็นพันธุ์ดั้งเดิม
  • พันธุ์ขาวแตงกวา ผลขนาดกลางกลมแป้น เปลือกบาง เนื้อสีขาว นิยมปลูกที่จังหวัดชัยนาท และอยู่ในคำขวัญประจำจังหวัด
  • พันธุ์ท่าข่อย เป็นพันธุ์ที่ปลูกมากที่จังหวัดพิจิตร
  • พันธุ์ปัตตาเวีย ปลูกมากทางภาคใต้

การใช้ประโยชน์

นิยมรับประทานส้มโอเป็นผลไม้สด หรือนำไปประกอบอาหาร เช่น ยำ เมี่ยง ส้มตำ ข้าวยำ หรือทำของหวานเช่นแยมส้มโอ เปลือกนอกสีขาวนำไปทำเปลือกส้มโอแช่อิ่ม ส้มโอสามรส ในเวียดนามนำไปทำเต้าส่วนเปลือกส้มโอ[2] ในฟิลิปปินส์นิยมนำเนื้อไปจิ้มเกลือ และทำน้ำผลไม้

รวมภาพ

  1. ชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย เต็ม สมิตินันทน์ สำนักงานหอพรรณไม้ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช พ.ศ. 2549
  2. 2.0 2.1 2.2 นิดดา หงส์วิวัฒน์ และทวีทอง หงส์วิวัฒน์. ส้มโอ ใน ผลไม้ 111 ชนิด: คุณค่าอาหารและการกิน. กทม. แสงแดด. 2550 หน้า225 - 229
  3. ส้มโอ ข้อมูลพรรณไม้ สำนักงานโครงการอนุรักษ์พันธุ กรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี

อ้างอิง

แหล่งข้อมูลอื่น

ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ Citrus maxima ที่วิกิสปีชีส์