ข้ามไปเนื้อหา

สกุลส้ม

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก Citrus)
สกุลส้ม
Citrus reticulata
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Plantae
หมวด: Magnoliophyta
ชั้น: Magnoliopsida
ชั้นย่อย: Rosidae
อันดับ: Sapindales
วงศ์: Rutaceae
สกุล: Citrus
L.
ชนิด & พันธุ์ผสมหลัก ๆ

ชนิด
Citrus aurantifolia—มะนาว
Citrus maxima—ส้มโอ
Citrus medica—ส้มซ่า & ส้มโอมือ
Citrus reticulata—ส้มแมนดาริน & ส้มเขียวหวาน
พันธุ์ผสมหลัก ๆ
Citrus ×sinensis—ส้มเช้ง
Citrus ×paradisi—ส้มเกรพฟรุต
Citrus ×limon—เลมอน
Citrus ×latifolia—มะนาวตาฮิติ
ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่หน้าพันธุ์ผสมอื่น ๆ

ชื่อพ้อง
  • X Citrofortunella J.W. Ingram & H.E. Moore [1]

สกุลส้ม (Citrus) อยู่ในวงศ์ Rutaceae มีต้นกำเนิดในเขตร้อนและเขตร้อนชื้นเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เป็นไม้พุ่มขนาดใหญ่หรือไม้ยืนต้นขนาดเล็ก สูง 5-15 เมตร มีหนามที่ต้น มีใบแบบสลับและเป็นไม้ไม่ผลัดใบ ออกดอกเดี่ยวหรือเป็นช่อดอกขนาดเล็ก แต่ละดอกมีเส้นผ่านศูนย์กลาง 2-4 ซม. มีกลีบดอกสีขาว 5 กลีบ (น้อยชนิดมี 4 กลีบ) และมีเกสรตัวผู้จำนวนมาก ปกติดอกมีกลิ่นหอม ผลกลมจนถึงยาว ขนาดยาว 4 – 30 ซม. เส้นผ่านศูนย์กลาง 4 – 20 ซม. พืชสกุลนี้มีความสำคัญทางการค้า โดยหลายชนิดมีการปลูกเพื่อนำผลไปกินสด ๆ หรือคั้นเป็น น้ำผลไม้

ผลมีกลิ่นหอม เนื่องจากมีสาร ฟลาโวนอยด์ และ ลิโมนอยด์ (ซึ่งจะเปลี่ยนเป็นสาร เทอร์พีน) ในเปลือกและในน้ำ นอกจากนี้น้ำมี กรดซิตริกจำนวนมากจึงทำให้มีรถเปรี้ยว และเป็นแหล่ง ไวตามินซี และ ฟลาโวนอยด์

อนุกรมวิธานในสกุลส้มนี้มีความซับซ้อน และ ไม่ทราบจำนวนชนิดที่แน่นอนในธรรมชาติ หลายชนิดที่รู้จักเป็นพันธุ์ผสม พืชในสกุลส้มที่นำมาปลูกกันอาจได้มาจาก 4 ชนิดที่เป็นชนิดดั้งเดิม พันธุ์ผสมหลายชนิดที่พบมากในธรรมชาติ และที่นำมาปลูกกัน รวมถึงชนิดที่มีความสำคัญทางการค้า เช่น ส้มเช้ง ส้มเกรพฟรุท เลมอน มะนาว และ ส้มเขียวหวาน จากงานวิจัยเร็ว ๆ นี้ได้แสดงว่าพืชในสกุลที่ใกล้เคียง เช่น สกุลส้มคัมควอท สกุลส้มสามใบ และสกุลพื้นเมืองของออสเตรเลีย Microcitrus และ Eremocitrus ควรถูกจัดรวมอยู่ใน สกุลส้ม ในปัจจุบันนักพฤกษศาสตร์หลายท่านจัดสกุลพื้นเมืองของออสเตรเลีย Microcitrus และ Eremocitrus อยู่ใน สกุลส้ม.

การเพาะปลูก

[แก้]

พืชในสกุลส้มเกิด พันธุ์ลูกผสม ได้ง่ายมาก (เช่น เมล็ดที่โตจาก มะนาวตาฮิติ สามารถให้ผลที่ใกล้เคียงส้มเกรฟฟรุตได้) พืชในสกุลส้มที่ปลูกเป็นการค้าทั้งหมดใช้กิ่งตอน ของ สายพันธุ์ที่ต้องการ มาปลูกบนต้นตอที่ต้านทานโรค และทนทาน

สีของผลไม้สกุลส้มจะมีสีสดเฉพาะในเขตภูมิอากาศที่หนาวเย็น ส่วนในเขตภูมิอากาศร้อน ผลของต้นไม้สกุลส้มจะยังมีสีเขียวอยู่แม้ว่าจะโตเต็มที่ จึงมักถูกเรียกว่า "ส้มสีเขียว" ต้นมะนาวเป็นตัวอย่างหนึ่งซึ่งมีไวต่อสภาพอากาศเย็นมากดังนั้นจึงไม่เคยถูกทิ้งในสภาพอากาศที่เย็นเหมาะสมพอจะสร้างสีสดได้ ถ้าผลมะนาวถูกทิ้งไว้ที่ต้นให้อยู่ข้ามฤดูหนาว ผลจะเปลี่ยนเป็นสีเหลือง ไม้ในสกุลส้มหลายชนิดจะถูกเก็บตั้งแต่ยังมีสีเขียวและไปสุกขณะที่ขนส่งไปยังร้านค้า

ผลไม้ในสกุลส้มหลายชนิดที่ถูกฝานเป็นแว่น

ต้นไม้ในสกุลส้มปกติจะไม่ทนทานต่อความเย็นกว่าจุดเยือกแข็ง ส้มบางพันธ์ในชนิด Citrus reticulata มีแนวโน้มเป็นชนิดทั่วไปที่ทนทานต่อความเย็นที่ตำกว่าจุดเยือแข็งได้มากที่และสามารถอยู่รอดได้ระยะเวลาสั้น ๆ ในอุณหภูมิ −10 องศาเซลเซียส แต่ในความเป็นจริงอุณภูมิที่เหมาะสมต่อการเพาะปลูกต้องไม่ตำกว่า −2 องศาเซลเซียส พันธุ์ผสมบางชนิดทนทานต่ออุณหภูมิที่ตำกว่าจุดเยือกแข็งแต่ไม่สามารถให้ผลที่มีคุณภาพดีได้ ส่วนพืชที่ใกล้เคียงคือ ส้มสามใบ (Poncirus trifoliata) สามารถอยู่รอดได้ในอุณหภูมิที่ตำกว่า−20 องศาเซลเซียส ผลมีรสชาติฝาดและไม่สามารถกินผลสดได้ ต้องนำไปประกอบอาหาร

ต้นไม้ในสกุลส้มเจริญเติบโตดีที่สุดในที่มีแสงแดดแรง มีความชื้นพร้อมกับดินอุดมสมบูรณ์ และปริมาณน้ำฝนหรือการชลประทานที่เพียงพอ

รายชื่อของผลไม้ในสกุลส้ม

[แก้]
เกรปฟรูต
ซิตรอน วางขายในเยอรมัน
สวิทตี้ หรือ โอโรบลังโก้
คลีเมนไทน์ มีเปลือกบางกว่าส้มอื่น ๆ
มิคาน, หรือรู้จักกันในชื่อซาสึมา
ส้มหวาน ถูกใช้ในอาหารหลาย ๆ อย่าง
กอง มะกรูด
เลมอน, เต็มใบ และผ่าครึ่ง

สกุลส้ม เชื่อว่ามีต้นกำเนิดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ก่อนที่มนุษย์จะนำมาทำเกษตรกรรม, มีจำนวนชนิดเพียงเล็กน้อย:

ส้มคัมควอท อยู่ในสกุล สกุลส้มคัมควอท

พันธุ์ลูกผสมและพันธุ์ต่าง ๆ

[แก้]

เรียงตามพันธุ์รุ่นพ่อแม่ พันธุ์ลูกผสมและพันธุ์ต่าง ๆ แต่ละพันธุ์ผสมมาจาก (อย่างน้อย) รุ่นพ่อแม่ 2 ชนิด, จึงมีรายชื่อซ้ำได้

สำหรับพันธุ์ลูกผสมด้วย ส้มจี๊ด (ส้มกิมจ๊อ) , ดูที่ × Citrofortunella. สำหรับพันธุ์ลูกผสมด้วย ส้มสามใบ, ดูที่ citrange.

ดูเพิ่ม

[แก้]

เชิงอรรถ

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  • Andrews, A.C. (1961) : Acclimatization of citrus fruits in the Mediterranean region. Agricultural History 35 (1) : 35-46.
  • Calabrese, Francesco (2002) : Origin and history. In: Dugo, Giovanni & Di Giacomo, Angelo (eds.) (2002) : Citrus. Taylor & Francis. ISBN 0-415-28491-0
  • de Araújo, E. Freitas; de Queiroz, L. Paganucci & Machado, M.A. (2003) : What is Citrus? Taxonomic implications from a study of cp-DNA evolution in the tribe Citreae (Rutaceae subfamily Aurantioideae). Organisms Diversity & Evolution 3 (1) : 55-62. doi:10.1078/1439-6092-00058 (HTML abstract)
  • Ellis, R.H.; Hong, T.D. & Roberts, E.H. (1985) : Chapter 64. Rutaceae. In: Handbook of Seed Technology for Genebanks (Volume II: Compendium of Specific Germination Information and Test Recommendations). International Board for Plant Genetic Resources, Rome, Italy. HTML fulltext เก็บถาวร 2007-12-12 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  • Frison, E.A. & Taher, M.M. (eds.) (1991) : FAO/IBPGR Technical Guidelines for the Safe Movement of Citrus Germplasm. FAO, IOCV, IPGRI. PDF fulltext
  • International Plant Genetic Resources Institute (IPGRI) (1999) : Descriptors for Citrus (Citrus spp.). PDF fulltext
  • Janick, Jules (2005) : Purdue University Tropical Horticulture Lecture 32: Citrus เก็บถาวร 2005-06-24 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  • Luro, F.; Laigret, F.; Bové, J.M. & Ollitrault, P. (1995) : RFLP analysis of cytoplasmic and nuclear genomes used for citrus taxonomy. In: Mandarines - développements scientifiques récents, résumés oraux et posters: 12-13. CIRAD-FLHOR, San Nicolao, France. HTML abstract เก็บถาวร 2008-05-11 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  • Molina, A.B.; Roa, V.N.; Bay-Petersen, J.; Carpio, A.T. & Joven, J.E.A. (eds.) (2000) : Citrus, Proceedings of a regional workshop on disease management of banana and citrus through the use of disease-free planting materials held in Davao City, Philippines, 14-16 October 1998. INIBAP. PDF fulltext เก็บถาวร 2008-02-16 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  • Nicolosi, E.; Deng, Z.N.; Gentile, A.; La Malfa, S.; Continella, G. & Tribulato, E. (2000) : Citrus phylogeny and genetic origin of important species as investigated by molecular markers. Theoretical and Applied Genetics 100 (8) : 1155-1166. doi:10.1007/s001220051419 (HTML abstract)
  • Sackman. Douglas Cazaux (2005) : Orange Empire: California and the Fruits of Eden.
  • University of California Division of Agricultural Sciences (UC-DAS) (1967-1989) : The Citrus Industry. HTML fulltext of Vol. 1, 2, & Vol. 5, Chapter 5 เก็บถาวร 2004-06-04 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]