ผลต่างระหว่างรุ่นของ "วัดยานนาวา"

พิกัด: 13°43′1″N 100°30′49″E / 13.71694°N 100.51361°E / 13.71694; 100.51361
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 60: บรรทัด 60:
[[หมวดหมู่:วัดในเขตสาทร|ยานนาวา]]
[[หมวดหมู่:วัดในเขตสาทร|ยานนาวา]]
{{โครงวัดไทย}}
{{โครงวัดไทย}}
ขอขอบคุณ(nene)นะ

รุ่นแก้ไขเมื่อ 20:38, 1 สิงหาคม 2560

วัดยานนาวา
พระเจดีย์บนเรือสำเภาสร้างในสมัยรัชกาลที่ 3
แผนที่
ชื่อสามัญวัดยานนาวา
ที่ตั้งถนนเจริญกรุง แขวงยานนาวา เขตสาทร กรุงเทพมหานคร 10120
ประเภทพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดสามัญ
นิกายเถรวาท สังกัดมหานิกาย
เจ้าอาวาสพระพรหมวชิรญาณ (ประสิทธิ์ เขมงฺกโร)
ความพิเศษพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดสามัญ
เว็บไซต์www.watyan.net
พระพุทธศาสนา ส่วนหนึ่งของสารานุกรมพระพุทธศาสนา

วัดยานนาวา พระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดสามัญ สังกัดมหานิกาย ตั้งอยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยา ติดถนนเจริญกรุง แขวงยานนาวา เขตสาทร กรุงเทพมหานคร เป็นวัดโบราณมีมาตั้งแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยา เดิมชื่อ "วัดคอกควาย" เนื่องจากมีชาวทวายมาลงหลักปักฐานอาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก และชาวทวายจะนำกระบือที่เลี้ยงไว้มาทำการซื้อขายแลกเปลี่ยนกัน หมู่บ้านบริเวณนั้นจึงได้ชื่อเรียกกันต่อมาว่า "บ้านคอกควาย"

ในสมัยกรุงธนบุรีได้รับการยกฐานะวัดคอกควายขึ้นเป็นพระอารามหลวง เรียกชื่อใหม่ว่า "วัดคอกกระบือ" ต่อมารัชกาลที่ 1 ทรงสร้างพระอุโบสถใหม่ ครั้นถึงรัชกาลที่ 3 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ปฏิสังขรณ์และสร้างเรือสำเภาพระเจดีย์แทนพระสถูปเจดีย์ทั่วไป เพื่อให้คนรุ่นหลังได้เห็นรูปแบบเรือสำเภาซึ่งกำลังจะหมดไปจากเมืองไทย จึงได้เปลี่ยนชื่อจากวัดคอกกระบือเป็น "วัดยานนาวา"

ด้านในมีพระบรมสารีริกธาตุพระพุทธเจ้าให้สักการะ

สำเภายานนาวา

สำเภายานนาวา มีความยาววัดจากหงอนข้างบนถึงท้ายบาหลี (ห้องขนาดเล็กท้ายเรือสำเภา) 21 วา 2 ศอก ความยาวส่วนล่างวัดที่พื้นดิน 18 วา 1 ศอกเศษ ความกว้างตอนกลางลำเรือ 4 วา 3 ศอก ความสูงตอนกลางลำเรือ 2 วา 3 ศอก

นอกจากนี้ยังมีพระเจดีย์องค์ใหญ่และเล็กอยู่ในลำสำเภารวม 2 องค์ ที่ห้องบาหลีมีรูปหล่อของพระเวสสันดรกับพระกัญหาชาลีประดิษฐานอยู่ อันเนื่องมาจากเนื้อความในมหาชาติคำหลวง ที่พระเวสสันดรโน้มน้าวใจพระโอรสธิดาให้อุทิศตนร่วมกับพระบิดาสร้างมหากุศล เสมือนเรือสำเภาใหญ่พามนุษยชาติข้ามโอฆสงสารไปสู่พระนิพพาน

ด้านหลังบานประตูในพระอุโบสถ (ซึ่งสร้างในสมัยรัชกาลที่ 1) มีภาพจิตรกรรมสำคัญที่รัชกาลที่ 3 โปรดเกล้าฯ ให้วาดขึ้น คือรูปกระทงใหญ่ ตามแบบที่ทำในพระราชพิธีลอยพระประทีป และโถยาคูตามแบบอย่างที่ทำเลี้ยงพระในพระราชพิธีสารทในรัชสมัยของพระองค์ บ พระพรหมวชิรญาณ (ประสิทธิ์ เขมงฺกโร ป.ธ.3) เป็นเจ้าอาวาสถึง3คน

แหล่งข้อมูลอื่น

13°43′1″N 100°30′49″E / 13.71694°N 100.51361°E / 13.71694; 100.51361

ขอขอบคุณ(nene)นะ