ข้ามไปเนื้อหา

ผลต่างระหว่างรุ่นของ "งูแมวเซา"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
Potapt (คุย | ส่วนร่วม)
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ไม่มีความย่อการแก้ไข
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 1: บรรทัด 1:
สำยำยสอำนยกวหวำบกบยกกีกวึวกึวึก
{{Taxobox
| status = LC
| status_system = iucn3.1
| status_ref =
| image =Daboia-siamensis-siamese-russells-viper-thailand.jpg
| image_caption=
| regnum = [[Animal]]ia
| phylum = [[Chordata]]
| subphylum = [[Vertebrate|Vertebrata]]
| classis = [[Reptilia]]
| ordo = [[Squamata]]
| subordo = [[Serpentes]]
| familia = [[Viperidae]]
| subfamilia = [[Viperinae]]
| genus = ''[[Daboia]]''
| species= '''''D. siamensis'''''
| binomial = ''Daboia siamensis''
| binomial_authority = ([[Malcolm Arthur Smith|Smith]], 1917)
| synonyms = * ''Vipera siamensis'' <br><small>Smith, 1917</small>
* ''Coluber russelli siamensis'' <br><small>&mdash; [[Masamitsu Ōshima|Ōshima]], 1920</small>
* ''Vipera russelli limitis'' <br><small>[[Robert Mertens|Mertens]], 1927</small>
* ''Vipera russelli formosensis'' <small>&mdash; [[:fr:Moichirō Maki|Maki]], 1931</small>
* ''Vipera russelii sublimitis'' <small>[[:fr:Felix Kopstein|Kopstein]], 1936</small>
* ''Vipera russelii formosensis'' <small>&mdash; [[Konrad Klemmer|Klemmer]], 1963</small>
* ''Vipera russelii limitis'' <br><small>&mdash; Klemmer, 1963</small>
* ''Vipera russelii siamensis'' <br><small>&mdash; Klemmer, 1963</small>
* ''Viper russelli siamensis'' <br><small>&mdash; Sakuragawa, 1979</small>
* ''Daboia'' (''Daboia'') ''russelli limitis'' <small>&mdash; [[Fritz Jürgen Obst|Obst]], 1983</small>
* ''Daboia'' (''Daboia'') ''russelli siamensis'' <small>&mdash; Obst, 1983</small>
* ''Vipera russelli siamensis'' <br><small>&mdash; Nakada, Nakada, Ito & <br>Inoue, 1984</small>
* ''Vipera russelli burmanus'' <small>Muang Muang Aye ''In'' [[P. Gopalakrishnakone|Gopalakrishnakone]] & [[Fui Lian Tan|Tan]], 1987</small>
* ''Daboia russelli siamensis'' <br><small>&mdash; [[Philippe Golay|Golay]] et al., 1993</small><ref name="McD99"/>
}}
'''งูแมวเซา''' เป็น[[งูพิษ]][[สปีชีส์|ชนิด]]หนึ่ง มี[[ชื่อวิทยาศาสตร์]]ว่า ''Daboia siamensis'' ใน[[วงศ์ (ชีววิทยา)|วงศ์]] [[Viperidae]]


== ลักษณะ ==
== ลักษณะ ==

รุ่นแก้ไขเมื่อ 19:22, 28 พฤษภาคม 2560

สำยำยสอำนยกวหวำบกบยกกีกวึวกึวึก

ลักษณะ

เป็นงูที่มีรูปร่างอ้วนป้อม ลำตัวสั้น หางสั้น เวลาตกใจหรือถูกรบกวนมักขดตัวเตรียมสู้และระวังตัว พร้อมทั้งทำเสียงขู่คล้ายแมวหรือเสียงของยางรถยนต์รั่ว โดยการสูบลมเข้าไปในตัวจนตัวพอง แล้วพ่นลมออกมาทางรูจมูกแรง ๆ แทนที่จะเลื้อยหนี เป็นงูที่ฉกกัดได้รวดเร็วแทบไม่ทันตั้งตัวทั้ง ๆ ที่ขดตัวอยู่ในลักษณะปกติ ลำตัวมีสีน้ำตาลอ่อนอมเทา มีเกล็ดสีชมพูแซมบริเวณสีข้าง มีลายลักษณะทรงกลมสีน้ำตาลเข้มตลอดทั้งตัว เกล็ดมีขนาดเล็กและมีสัน หัวเป็นรูปทรงสามเหลี่ยมและมีลายดำคล้ายลูกธนู มีเกล็ดเล็กละเอียดบนหัว เขี้ยวพิษมีความยาว

สามารถโตเต็มที่ได้ 120–166 เซนติเมตร เดิมทีเคยถูกจัดให้เป็นชนิดย่อยของงูแมวเซาอินเดีย (D. russelii) โดยใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า D. russelii siamensis แต่ปัจจุบันได้ถูกแยกออกมาเป็นชนิดต่างหาก โดยมีความแตกต่างกันที่สีและลวดลาย โดยมีสีเทานํ้าตาลหรือนํ้าตาลอมชมพูและมีลายสีนํ้าตาลเข้มเป็นวงปื้นใหญ่เชื่อมติดต่อกัน ท้องสีขาวนวลมีจุดสีนํ้าตาลเล็ก ๆ เกล็ดมีขนาดเล็กและมีสัน หัวเป็นรูปทรงสามเหลี่ยมและมีลายดำคล้ายลูกธนู และเป็นงูที่พบได้เฉพาะภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เช่น ลาว, พม่า, ไทย, เวียดนาม, มาเลเซีย, อินโดนีเซีย และภาคใต้ของจีน รวมถึงเกาะไต้หวัน (แต่บางข้อมูลยังจัดให้เป็นชนิดเดียวกัน[1][2])

งูแมวเซาในประเทศไทย

พฤติกรรมและความร้ายแรงของพิษ

มีพฤติกรรมชอบอยู่ตามที่ราบแห้ง ๆ เชิงเขาที่เป็นดินปนทราย ตามที่ดอน หรือซ่อนตัวในซอกหิน โพรงดิน ใต้กอหญ้าใหญ่ ๆ ไม่ชอบย้ายที่อยู่บ่อย ๆ ปกติไม่เลื้อยขึ้นต้นไม้ ออกหากินไม่ไกลจากที่อยู่ เป็นงูที่มีความเชื่องช้าไม่ปราดเปรียว มีอุปนิสัยดุ เมื่อถูกรบกวนจะส่งเสียงขู่ ชอบความเย็น แต่ไม่ชอบน้ำ มักออกหากินในเวลากลางคืน แต่ในสถานที่ที่มีความเย็น ก็อาจออกหากินในเวลากลางวันด้วย สำหรับในประเทศไทย พบได้ชุกชุมที่สุดคือแถบจังหวัดในภาคกลางและภาคตะวันออก[3] กินอาหารได้แก่ สัตว์ขนาดเล็กจำพวกหนูหรือสัตว์เลื้อยคลานที่มีขนาดเล็กชนิดต่าง ๆ เป็นงูที่ออกลูกเป็นตัว ครั้งละประมาณ 20–30 ตัว (สูงสุด 63 ตัว) โดยจะผสมพันธุ์ช่วงเดือนตุลาคมถึงเดือนธันวาคม และไปออกลูกช่วงฤดูร้อน ลูกงูแรกเกิดมีน้ำหนัก 7.2–14.4 กรัม และความยาวโดยเฉลี่ย 24–30 เซนติเมตร[4]

เป็นงูที่มีพิษต่อผลการแข็งตัวของเลือด Factor X และ Factor V โดยตรง โดยจะไปกระตุ้น prothrombin เป็น thrombin ซึ่งทำให้เกิดการสลายไฟบริโนเจนเป็นไฟบรินในกระแสเลือด จึงทำให้เกิดเลือดออกง่าย เนื่องจากองค์ประกอบในการแข็งตัวของเลือด ถูกใช้หมดไป นอกจากนี้แล้วพิษของงูแมวเซายังมีผลต่อไต ทำให้เกิดอาการไตวายได้ และยังมีฤทธิ์ในการทำลายเซลล์เม็ดเลือดแดงโดยตรง[5] โดยอาการของผู้ที่ถูกกัดจะแสดงออกดังนี้ คือ มีอาการปวดและมีอาการบวมมาก อาการบวมเกิดเกิดขึ้นได้ภายใน 2–3 นาทีภายหลังถูกกัด มักจะมีรอยเขี้ยว 2 จุดซึ่งมีเลือดไหลออกตลอดเวลา และบริเวณรอบแผลจะมีสีคล้ำบริเวณโดยรอบเขี้ยวจะบวมอย่างชัดเจนภายใน 15-20 นาที และเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ จนกระทั่งบริเวณที่ถูกกัดบวมหมดภายในเวลา 12–24 ชั่วโมง และอาจเริ่มพองและมีเลือดออก ผู้ที่ได้รับพิษมากจะมีอาการของเลือดออกง่ายภายในเวลา 2–3 ชั่วโมง เช่น เลือดออกเป็นจ้ำ ๆ บริเวณผิวหนัง เลือดออกตามไรฟัน ไอมีเสมหะปนเลือด ถ่ายอุจจาระเป็นสีดำ ถ่ายปัสสาวะเป็นเลือด เลือดออกจะเป็นมากขึ้นเรื่อย ๆ จนกระทั่งความดันโลหิตต่ำ ไตวายและเสียชีวิตลงในที่สุด [6]

อ้างอิง

  1. Daboia russelii siamensis at Munich AntiVenom INdex (MAVIN). Retrieved 23 October 2006.
  2. McDiarmid RW, Campbell JA, Touré T. 1999. Snake Species of the World: A Taxonomic and Geographic Reference, vol. 1. Herpetologists' League. 511 pp. ISBN 1-893777-00-6 (series). ISBN 1-893777-01-4 (volume).
  3. ประชาชื่น, น้าชาติ (2013-12-13). "งูแมวเซา". ข่าวสด.
  4. "งูแมวเซา". สถานเสาวภา.
  5. "แนวทางการดูแลผู้ช่วยถูกงูพิษกัด". สถาบันวิจัยงูจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
  6. "อาการเมื่อถูกงูแมวเซากัดเป็นอย่างไร?". กูรูสนุกดอตคอม.

แหล่งข้อมูลอื่น

ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับ Daboia siamensis ที่วิกิสปีชีส์