ข้ามไปเนื้อหา

ผลต่างระหว่างรุ่นของ "นิราศภูเขาทอง"

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เนื้อหาที่ลบ เนื้อหาที่เพิ่ม
ป้ายระบุ: การแก้ไขแบบเห็นภาพ แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
ป้ายระบุ: แก้ไขจากอุปกรณ์เคลื่อนที่ แก้ไขจากเว็บสำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่
บรรทัด 69: บรรทัด 69:
{{สุนทรภู่}}
{{สุนทรภู่}}
[[หมวดหมู่:วรรณคดีประเภทกลอน]]
[[หมวดหมู่:วรรณคดีประเภทกลอน]]
(วรรณคดีวิจักษ์) อ.เป็นปลื้ม
(วรรณคดีวิจักษ์) อ.เป็นปลื้ม เชยชม สอนภาษาไทย ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 และ 4 โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย

รุ่นแก้ไขเมื่อ 21:37, 26 กรกฎาคม 2559

นิราศภูเขาทอง
ชื่ออื่น-
กวีสุนทรภู่
ประเภทนิราศ
คำประพันธ์กลอนนิราศ
ความยาว89 คำกลอน
ยุครัตนโกสินทร์
ปีที่แต่งประมาณ พ.ศ. 2371
ส่วนหนึ่งของสารานุกรมวรรณศิลป์

นิราศภูเขาทองเป็นวรรณคดีประเภทนิราศ ได้รับการยกย่องว่าเป็นนิราศเรื่องที่ดีที่สุดของสุนทรภู่ (พ.ศ. 2329 - 2398) ท่านแต่งนิราศเรื่องนี้จากการเดินทางไปนมัสการเจดีย์ภูเขาทอง ที่กรุงเก่า (จังหวัดพระนครศรีอยุธยาในปัจจุบัน) เมื่อเดือนสิบเอ็ด ปีชวด (พ.ศ. 2371) ขณะบวชเป็นพระภิกษุ

ลักษณะคำประพันธ์

นิราศภูเขาทองแต่งด้วยกลอนนิราศ มีความคล้ายคลึงกับกลอนสุภาพ แต่เริ่มด้วย วรรครับจบ ด้วยวรรคส่งลงท้ายด้วย คำว่า เอย มีความยาวเพียง 89 คำกลอนเท่านั้น แต่มีความไพเราะ และเรียบง่าย ตามแบบฉบับของสุนทรภู่ ใช้ภาษาที่เข้าใจง่าย บรรยายความรู้สึกขณะเดียวกันก็เล่าถึงสภาพของเส้นทางที่กำลังเดินทางไปด้วย ท่านมักจะเปรียบเทียบชีวิตและโชคชะตาของตนกับธรรมชาติรอบข้างที่ตนได้เดินทางผ่านไปผ่านมา

การเดินทางในนิราศ

สุนทรภู่ล่องเรือในแม่น้ำเจ้าพระยาไปกับลูกชายชื่อหนูพัด ผ่านวัดประโคนปัก บางยี่ขัน ถึงบางพลัด ผ่านตลาดแก้วตลาดขวัญในเขตจังหวัดนนทบุรี จากนั้นก็ผ่านเกาะเกร็ด ซึ่งเป็นย่านชาวมอญ เข้าสู่จังหวัดปทุมธานี หรือเมืองสามโคก แล้วเข้าเขตอยุธยา จอดเรือที่ท่าวัดพระเมรุ ค้างคืนในเรือ มีโจรแอบจะมาขโมยของในเรือ แต่ไหวตัวทัน รุ่งเช้าเป็นวันพระ ลงจากเรือเดินทางไปที่เจดีย์ภูเขาทอง ซึ่งเป็นเจดีย์ร้าง เก็บพระบรมธาตุมาไว้ในขวดแก้วตั้งใจจะนำไปนมัสการที่กรุงเทพฯ แต่เมื่อตื่นมาก็ไม่พบพระบรมธาตุ จึงได้เดินทางกลับ

บางตอนจากนิราศภูเขาทอง

๏ ถึงโรงเหล้าเตากลั่นควันโขมง
โอ้บาปกรรมน้ำนรกเจียวอกเรา ให้มัวเมาเหมือนหนึ่งบ้าเป็นน่าอาย
ทำบุญบวชกรวดน้ำขอสำเร็จ พระสรรเพชญโพธิญาณประมาณหมาย
ถึงสุราพารอดไม่วอดวาย ไม่ใกล้กรายแกล้งเมินก็เกินไป
ไม่เมาเหล้าแต่เรายังเมารัก สุดจะหักห้ามจิตคิดไฉน
ถึงเมาเหล้าเช้าสายก็หายไป แต่เมาใจนี้ประจำทุกค่ำคืนฯ
   
๏ ถึงบางพูดพูดดีเป็นศรีศักดิ์ มีคนรักรสถ้อยอร่อยจิต
แม้นพูดชั่วตัวตายทำลายมิตร จะชอบผิดในมนุษย์เพราะพูดจาฯ
   
๏ จงทราบความตามจริงทุกสิ่งสิ้น อย่านึกนินทาแกล้งแหนงไฉน
นักเลงกลอนนอนเปล่าก็เศร้าใจ จึงร่ำไรเรื่องร้างเล่นบ้างเอยฯ
   

แหล่งข้อมูลอื่น

(วรรณคดีวิจักษ์) อ.เป็นปลื้ม เชยชม สอนภาษาไทย ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 และ 4 โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย