พิธีปลุกเสก

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก พิธีอภิเษกในศาสนา)

พิธีปลุกเสก (อังกฤษ: Consecration) คือพิธีกรรมในศาสนาต่าง ๆ ในการปลุกเสกหรืออัญเชิญพลัง หรือ ประจุคุณของสิ่งที่เคารพบูชาในศาสนานั้น ๆ เช่นพระเป็นเจ้า (สำหรับศาสนาเอกเทวนิยม) เทวดา (สำหรับศาสนาพหุเทวนิยม) และ บุคคลที่ทรงคุณงามความดีต่าง ๆ (สำหรับศาสนาอเทวนิยม) โดยอาศัยคุณซึ่งมีอยู่ในบทสวด หรือ บทสวดมนต์ หรือโดยใช้สมาธิจิตที่เกิดจากปฏิบัติกรรมฐาน ของสิ่งที่เคารพบูชาในศาสนานั้น ๆ หรือการชำระให้บริสุทธิ์ในศาสนาต่าง ๆ [1]

ศาสนาพุทธ[แก้]

พิธีกรรมสำหรับพระพุทธรูปและรูปปฏิมาพระโพธิสัตว์ต่าง ๆ หรือ รูปจำลองพระเกจิอาจารย์ ในพระพุทธศาสนานั้น ขนานนามตามภาษาบาลี และ ภาษาสันสกฤตว่า พิธีพุทธาภิเษก (อังกฤษ: Buddhābhiseka) ซึ่งการปลุกเสกในศาสนาพุทธนั้นขึ้นอยู่กับนิกายต่าง ๆ อันมีรายละเอียดแตกต่างกันโดยรวมคือ การที่พระเถระผู้เชี่ยวชาญในการทำสมาธิจำนวนหนึ่ง ซึ่งเรียกว่า คณะปรก นั่งภาวนาส่งกระแสจิตเพ่งคุณพระรัตนตรัยเข้าไปสู่พระพุทธรูปและรูปปฏิมาพระโพธิสัตว์หรือวัตถุมงคลนั้น ๆ [2] โดยจุดประสงค์คือ เพื่อใช้สำหรับเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจ หรือ เตือนสติให้ระลึกของคุณพระรัตนตรัยหรือพระโพธิสัตว์นั้น ๆ

ศาสนาผี|ศาสนาพื้นเมืองเดิมของไทย[แก้]

สำหรับพิธีกรรมเกี่ยวกับเทวรูปปฏิมาในศาสนาพื้นเมืองเดิมของไทยซึ่งไม่ได้มาจากศาสนาพุทธและศาสนาฮินดูจากอินเดียนั้นได้แก่ ประเภทเทพารักษ์ เจ้าพ่อ เจ้าแม่ นางไม้ และ รุกขเทวดา หรือเทพพื้นเมือง เทพท้องถิ่นนั้น ๆ (ประเภทเดียวกับครามเทวตาในศาสนาฮินดู) ใช้คำศัทพ์ว่า พิธีปลุกเสก แต่สำหรับพระบรมรูปจำลองพระมหากษัตริย์ พระราชวงศ์ รูปวีรบุรุษ วีรสตรี ผู้ทรงคุณงามความดีที่สาธารณชนยกย่องสรรเสริญบูชา รูปผู้ที่ควรสักการบูชา ปูชนียวัตถุต่าง ๆ หรือ ฤๅษีต่าง ๆ ฯลฯ ใช้คำศัทพ์ว่า พิธีมังคลาภิเษก

ศาสนาคริสต์[แก้]

ศาสนาฮินดู[แก้]

สำหรับเทวรูปในศาสนาฮินดูมีธรรมเนียมปฏิบัติของศาสนาฮินดูอันเป็นข้อกำหนดสำคัญ คือ การเทวาภิเษก คือ การเชิญสิริมงคล คุณสมบัติ เทวานุภาพ และบารมีของเทพเจ้าฮินดูโดยอาศัยคุณซึ่งมีอยู่ในบทสวด หรือ บทสวดมนต์ หรือโดยใช้สมาธิจิตของเทวดาในศาสนาฮินดูมาสู่เทวรูปโดยข้อกำหนดจะปฏิบัติโดยพราหมณ์หรือฤๅษีอันทรงคุณแห่งศีลจริยวัตรสมควรมาประกอบพิธีกรรมตามข้อกำหนดในพระเวทตามสายนิกายนั้น ๆ สำหรับโบสถ์พราหมณ์ธรรมเนียมปฏิบัติของศาสนาฮินดูโดยเฉพาะอย่างยิ่งในภาคใต้ของประเทศอินเดีย โบสถ์พราหมณ์ทั่วโลก พิธีกุมภาภิเษกหรือบวงสรวงครั้งใหญ่ของโบสถ์พราหมณ์จะต้องปฏิบัติทุก ๆ สิบสองปี โดยปกติแล้วจะทำเพื่อชำระล้างโบสถ์พราหมณ์หลักของเทพประธานหลังการบูรณะหรือทำเพียงเพื่อฟื้นฟูความบริสุทธิ์ของโบสถ์พราหมณ์ ชาวฮินดูเฉลิมฉลองเหตุการณ์นี้ในวันสถาปนาครั้งใหญ่นี้เนื่องจากการเป็นหนึ่งในกุศลผลบุญให้แก่ตน คือ "ปุณยะ" หรือกรรมดี[3]

ศาสนาเชน[แก้]

ศาสนาอิสลาม[แก้]

ดูเพิ่ม[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. "Definition of CONSECRATE". www.merriam-webster.com (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2019-06-03.
  2. Robert E. Buswell Jr.; Donald S. Lopez Jr. (2013-11-24). The Princeton Dictionary of Buddhism (ภาษาอังกฤษ). Princeton University Press. ISBN 9781400848058.
  3. "Account Suspended". modernhinduculture.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2020-07-28. สืบค้นเมื่อ 2019-06-03.