ข้ามไปเนื้อหา

พระองค์เจ้าอรรคนารี

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
อรรคนารี
พระเทพี
ประสูติราว พ.ศ. 2391–2393
กรุงเทพมหานคร อาณาจักรสยาม
สิ้นพระชนม์ไม่ปรากฏ
พนมเปญ กัมพูชาในอารักขาของฝรั่งเศส
คู่อภิเษกพระบาทสมเด็จพระนโรดม บรมรามเทวาวตาร
ราชวงศ์จักรี (ประสูติ)
ตรอซ็อกผแอม (เสกสมรส)
พระบิดาพระเจ้าราชวรวงศ์เธอ เจ้าฟ้าอิศราพงศ์
ศาสนาพุทธ

พระองค์เจ้าอรรคนารี (หรือ อัครนารี) หรือ หม่อมเจ้าปุก อิศรศักดิ ประสูติช่วง พ.ศ. 2391[1] หรือ พ.ศ. 2393[2] เป็นพระธิดาพระเจ้าราชวรวงศ์เธอ เจ้าฟ้าอิศราพงศ์ ซึ่งเป็นเจ้านายวังหน้าของกรุงสยาม เมื่อจำเริญพระชันษาขึ้นหม่อมเจ้าปุกจึงเสด็จออกไปอยู่กรุงกัมพูชา เพื่อเข้ารับราชการเป็นบาทบริจาริกาในพระบาทสมเด็จพระนโรดม บรมรามเทวาวตาร ราว พ.ศ. 2414[2] ต่อมาพระบาทสมเด็จพระนโรดมโปรดเกล้าฯ สถาปนาหม่อมเจ้าปุก ขึ้นเป็นพระองค์เจ้าอรรคนารี ในตำแหน่งพระเทพี[1]

เมื่อคราวสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพเสด็จเยือนกัมพูชาราว พ.ศ. 2467 พระองค์เจ้าอรรคนารีกราบทูลขอเข้าเฝ้าด้วย แต่ด้วยพระองค์พำนักอยู่กรุงกัมพูชามานาน จึงมีกิริยาที่ต่างออกไปจากคนไทยในกรุงเทพมหานคร สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงกล่าวถึงไว้ ความว่า "...ยังมีหม่อมเจ้าหญิงปุก ในเจ้าฟ้าอิศราพงศ์ ซึ่งออกมาอยู่กรุงกัมพูชา ได้เปนหม่อมสมเด็จพระนโรดม ยกขึ้นเปนพระองค์เจ้าอรรคนารี เดี๋ยวนี้อายุได้ ๗๖ ปี ยังอยู่ในวัง ทูลขอมาพบพวกเราอิกองค์หนึ่ง แต่กิริยาอาการดูเปนพันทาง จะเปนเขมรก็ไม่ใช่จะเปนไทยก็ไม่เชิง ไม่ชวนสมาคมเหมือนเจ้านายพวกกรุงกัมพูชา จึงเปนแต่ทักทายพอมิให้เสียอัชฌาสัย..."[3]

พระองค์เจ้าอรรคนารีสิ้นพระชนม์[ก]ในกัมพูชา ตรงกับรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวของสยาม[4]

พงศาวลี

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
หมายเหตุ

ในไทยจะใช้คำว่า "สิ้นชีพิตักษัย" เพราะมีฐานันดรศักดิ์เป็นหม่อมเจ้าในราชสำนักไทย

เชิงอรรถ
  1. 1.0 1.1 ดำรงราชานุภาพ, สมเด็จกรมพระยา. นิราศนครวัด. พระนคร : บรรณาคาร, 2515, หน้า 226
  2. 2.0 2.1 "Norodom Family". Royal Lark. สืบค้นเมื่อ 28 เมษายน 2564. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  3. "นิราสนครวัด (8. อยู่เมืองพนมเพ็ญครั้งหลัง)". วชิรญาณ. สืบค้นเมื่อ 28 เมษายน 2564. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  4. คึกฤทธิ์ ปราโมช, หม่อมราชวงศ์. โครงกระดูกในตู้. พระนคร : ชัยฤทธิ์, 2514, หน้า 81