พนมรุ้งเล็ก ไก่ย่างห้าดาวยิม

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พนมรุ้งเล็ก ไก่ย่างห้าดาวยิม
ชื่อจริงบุญสม เอี่ยมสิริ
ฉายายอดมวยสองแบบ
ไอ้หมัดปราสาทหิน
รุ่นฟลายเวท
ซูเปอร์ฟลายเวท (มวยไทย) (มวยสากล)
ส่วนสูง161 เซนติเมตร
เกิด17 ธันวาคม พ.ศ. 2527 (39 ปี)
อำเภอประโคนชัย
จังหวัดบุรีรัมย์
ชกทั้งหมด51
ชนะ49
ชนะน็อก31
แพ้2 (แพ้น็อก 1)
เสมอ0
ผู้จัดการวิรัตน์ วชิรรัตนวงศ์
ค่ายมวยเกียรติหมู่ 9
เพชรยินดีบ็อกซิ่งโปรโมชั่น
เทรนเนอร์อู๊ด เพชรยินดี

พนมรุ้งเล็ก ไก่ย่างห้าดาวยิม มีชื่อจริงว่า บุญสม เอี่ยมสิริ (ชื่อเล่น: เน๊าะ) เกิดเมื่อวันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2527 ที่อำเภอประโคนชัย จังหวัดบุรีรัมย์

ประวัติ[แก้]

พนมรุ้งเล็ก เคยชกมวยไทยสลับกับมวยสากลอาชีพ จนได้รับฉายาว่า "ยอดมวยสองแบบ" เป็นนักมวยค่าตัวเงินแสน ได้ค่าตัวสูงสุดถึง 2.5 แสนบาท และเป็นพี่ชายของเพชรพนมรุ้ง ส.ธรรมรังสี นักมวยไทยชื่อดังอีกคนหนึ่ง เคยคว้าแชมป์มวยรอบอิซูซุคัพ ครั้งที่ 13 เมื่อปี พ.ศ. 2546

พนมรุ้งเล็กชกมวยสากลครั้งแรกเมื่อวันที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2547 โดยชกชนะคะแนน ร็อกกี้ ฟูเอนเตส นักมวยชาวฟิลิปปินส์ในการชกกำหนด 6 ยก ที่อำเภอขุขันธ์ จังหวัดศรีสะเกษ ร่วมรายการเดียวกับ ฟ้าเพชรน้อย ส.จิตรพัฒนา ชกป้องกันแชมป์โลกเยาวชนกับ อลองก์ ดีนอย นักมวยชาวฟิลิปปินส์

หลังจากชกชนะครั้งแรก ก็ได้ชิงแชมป์สภามวยแห่งเอเชีย (ABC) ในอีกสองเดือนต่อมา โดยชนะน็อค เด่นบูรพา อ.เอกรินทร์ นักมวยไทยด้วยกันเอง ในยกที่ 6 ทีโรงแรมอคาเดีย ฮิลตัน จังหวัดภูเก็ต

ต่อจากนั้นพนมรุ้งเล็กชกป้องกนัตำแหน่งแชมป์ ABC ไปเรื่อยๆ และเคยชิงแชมป์โลกเยาวชนของสภามาวยโลก และเคยชิงแชมป์อินเตอร์เนชั่นแนลมาครั้งหนึ่งหลังจากที่ชิงแชมป์ไม่สำเร็จเมื่อวันที่ 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2553 ที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี

พนมรุ้งเล็กชกทำอันดับเรื่อยๆ จนได้โอกาสชิงแชมป์โลกครั้งหนึ่งเมื่อวันที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2556 ที่ประเทศญี่ปุ่น กับโคกิ คาเมดะ แชมป์โลกรุ่นแบนตั้มเวท สมาคมมวยโลก (WBA) ชาวญี่ปุ่น ในฐานะที่พนมรุ้งเล็กเป็นรองแชมป์โลกอันดับที่ 11 และเป็นแชมป์เงา (WBC International) สภามวยโลก (WBC) ในรุ่นฟลายเวท โดยที่การชกครั้งนี้ไม่มีการถ่ายทอดกลับมายังประเทศไทย

ปรากฏว่าพนมรุ้งเล็กเป็นฝ่ายแพ้คะแนนไปแบบไม่เป็นเอกฉันท์ โดยพนมรุ้งเล็กสามารถชกได้ดีในยกที่ 2, 5, 8, 9 และยก 11 ที่เกือบจะน็อกแชมป์โลกเจ้าถิ่นได้ ทำให้ในยก 12 ซึ่งเป็นยกสุดท้ายคาเมดะหันมาเดินวกชกไปรอบ ๆ เวที และหลบหนีไปเรื่อย ๆ ผลคะแนนออกมาว่า ดีเร็ก มิลแฮม กรรมการชาวออสเตรเลียให้พนมรุ้งเล็กชนะไป 116-113, รูเบน การ์เซีย กรรมการชาวอเมริกันให้พนมรุ้งเล็กแพ้ไป 115-113 และไมเคิล ลี กรรมการชาวเกาหลีใต้ ให้พนมรุ้งเล็กแพ้ไป 115-114 [1] ซึ่งในมุมมองของทางพนมรุ้งเล็กและผู้จัดการเห็นว่า ฝ่ายของตนถูกโกง[2] อีกทั้งสื่อมวลชนจากชาติที่เป็นกลางหรือแม้แต่ของญี่ปุ่นเองก็เห็นว่า คาเมดะชนะไปแบบไม่สมศักดิ์ศรี[3]

หลังจากพนมรุ้งเล็กชิงแชมป์โลกไม่สำเร็จ พนมรุ้งเล็กก็ยังคงชกทำอันดับเรื่อยๆ โดยครองแชมป์สมาคมมวยโลก เอเชีย (ดับเบิ้ลยูบีเอ เอเชีย) ใน รุ่นซูเปอร์ฟลายเวทเฉพาะกาลในปี พ.ศ. 2556 ก่อนจะมาครองแชมป์จริงในอีกหนึ่งปีต่อมา พนมรุ้งเล็กชกมาจนถึง พ.ศ. 2559 ก็สละแชมป์ไป

เกียรติประวัติ[แก้]

มวยไทย[แก้]

  • แชมป์มวยรอบอิซูซุคัพ ครั้งที่ 13 (2546)

มวยสากล[แก้]

  • แชมป์ ABCO รุ่นฟลายเวท (2547 - 2550)
    • ชิง, 8 ต.ค. 2547 ชนะน็อค เด่นบูรพา อ.เอกรินทร์ยก 6 ที่ จ. ภูเก็ต
    • ป้องกันแชมป์ครั้งที่ 1, 26 พ.ย. 2547 ชนะน็อค ลี เอสโคปิโด (ฟิลิปปินส์) ยก 4 ที่ จ.เชียงราย[4]
    • ป้องกันแชมป์ครั้งที่ 2, 31 ธ.ค. 2547 ชนะน็อค อลัน รานาด้า (ฟิลิปปินส์) ยก 7 ที่ ป.กุ้งเผา
    • ป้องกันแชมป์ครั้งที่ 3, 29 เมษายน 2548 ชนะน็อคยกที่ 7 อัลเฟรด นาเกา (ฟิลิปปินส์) ที่ ตลาดเพชรไพบูลย์ จังหวัดเพชรบุรี
    • ป้องกันแชมป์ครั้งที่ 4, 24 มิ.ย. 2548 ชนะคะแนน เบอร์นาร์ด ยูคอส (ฟิลิปปินส์) ที่ ป.กุ้งเผาปิ่นเกล้า กรุงเทพมหานคร
    • ป้องกันแชมป์ครั้งที่ 5, 26 สิงหาคม 2548 ชนะน็อค ยู เชียงบิน (จีน) ยก 5 ที่ จ.สระบุรี
    • ป้องกันแชมป์ครั้งที่ 6, 9 พฤศจิกายน 2548 ชนะน็อค ลิว ยัง จัน (จีน) ยก 8 ที่ จังหวัดหนองคาย
    • ป้องกันแชมป์ครั้งที่ 7, 19 มกราคม 2549 ชนะคะแนน เซลโซ แดงก๊อด (ฟิลิปปินส์) มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จังหวัดเชียงใหม่
    • ป้องกันแชมป์ครั้งที่ 8, 24 กุมภาพันธ์ 2549 ชนะน็อค เรเน่ เบนาเรส (ฟิลิปปินส์) ยก 3 ที่ ป.กุ้งเผา
    • ป้องกันแชมป์ครั้งที่ 9, 1 พฤษภาคม 2549 ชนะคะแนน จูน อีราแฮม (ฟิลิปปินส์) ที่ กรมทหารราบที่ 11 รักษาพระองค์ เขตบางเขน กรุงเทพมหานคร[5]
    • ป้องกันแชมป์ครั้งที่ 10, 30 มิถุนายน 2549 ชนะคะแนน ออร์ลิน เอ็นริเกวซ (ฟิลิปปินส์) ที่ ศูนย์การค้าสยามพารากอน กรุงเทพมหานคร
    • มีนาคม 2550 สละแชมป์
  • แชมป์โลกเยาวชน WBC Youth รุ่นฟลายเวท
    • ชิง 5 ตุลาคม 2549 ชนะคะแนน ลิโต ซิสนอริโต (ฟิลิปปินส์)
    • ป้องกันแชมป์ครั้งที่ 1, 29 ธันวาคม 2549 ชนะน็อคยกที่ 6 ปิงปิง เตปูรา (ฟิลิปปินส์) ยก 6 ที่ จ.สระบุรี
    • ป้องกันแชมป์ครั้งที่ 2, 23 กุมภาพันธ์ 2550 ชนะน็อคยกที่ 5 ริชาร์ด การ์เซีย (ฟิลิปปินส์) ยก 4 ที่ ตลาดโชคชัยสี่
    • ป้องกันแชมป์ครั้งที่ 3, 25 พฤษภาคม 2550 ชนะคะแนน ฮิโรยูกิ อิซาทากะ (ญี่ปุ่น) ที่ ป.กุ้งเผา
    • ป้องกันแชมป์ครั้งที่ 4, 24 สิงหาคม 2550 ชนะน็อคยกที่ 6 ชาร์เลส เดลาด้า (ฟิลิปปินส์) ที่ จังหวัดอุบลราชธานี
    • ป้องกันแชมป์ครั้งที่ 5, 4 ธันวาคม 2550 ชนะน็อคยกที่ 4 ดอลฟี่ โลลารู (อินโดนีเซีย) ที่ จังหวัดนครสวรรค์
    • ป้องกันแชมป์ครั้งที่ 6, 29 กุมภาพันธ์ 2551 ชนะคะแนน อิร์ฟาน โอกาห์ (อินโดนีเซีย) ที่ โชคชัย 4 ลาดพร้าว กรุงเทพมหานคร
  • แชมป์ WBC International รุ่นฟลายเวท
  • แชมป์ WBA ASIA รุ่นซูเปอร์ฟลายเวท
    • ชิง, 29 พฤศจิกายน 2556 ชนะน็อคยกที่ 2 วิกกี้ เวเบรียน (อินโดนีเซีย) ที่ หน้าศาลากลาง จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
    • ป้องกันแชมป์ครั้งที่ 1, 26 กันยายน 2557 ชนะทีเคโอยก 7 จูเนียร์ บาจาว่า (อินโดนีเซีย) ที่ จังหวัดอุบลราชธานี
    • ป้องกันแชมป์ครั้งที่ 2, 26 ธันวาคม 2557 ชนะคะแนน แซมมี่ แฮคเลอร์ (อินโดนีเซีย) ที่ บริเวณกรมทหารราบที่ 11 รักษาพระองค์ เขตบางเขน กรุงเทพมหานคร
    • ป้องกันแชมป์ครั้งที่ 3, 5 มีนาคม 2558 ชนะน็อคยกที่ 8 มาติโอ แฮนดิก (ฟิลิปปินส์) ที่ เวทีมวยชั่วคราว ลานหน้าศาลากลางจังหวัดจันทบุรี
    • ป้องกันแชมป์ครั้งที่ 4, 2 กรกฎาคม 2558 ชนะน็อคยกที่ 5 อารีก้า ยูเนี่ยน (อินโดนีเซีย) ที่ จังหวัดชัยภูมิ
    • ป้องกันแชมป์ครั้งที่ 5, 30 ตุลาคม 2558 ชนะน็อคยกที่ 6 รัสมา นุดิน (อินโดนีเซีย) ที่ อาคารยิมเนเซี่ยม สนามกีฬาจังหวัดสกลนคร
    • ป้องกันแชมป์ครั้งที่ 6, 4 กุมภาพันธ์ 2559 ชนะน็อคยกที่ 5 อีวาน ซานก้า (อินโดนีเซีย) ที่ หน้า ศาลากลางจังหวัดสระแก้ว
    • ป้องกันแชมป์ครั้งที่ 7, 29 เมษายน 2559 ชนะน็อคยกที่ 4 ฟรานส์ ดาเมอร์ พาเลิ่ล (อินโดนีเซีย) ที่ สนามกีฬาจังหวัดสระแก้ว
  • เคยชิงแชมป์ต่อไปนี้ไม่สำเร็จ
    • ชิงแชมป์โลกสมาคมมวยโลก (WBA) รุ่นแบนตั้มเวท 7 เมษายน 2556, แพ้คะแนน (ไม่เป็นเอกฉันท์) โคกิ คาเมดะ (ญี่ปุ่น) ที่ ศูนย์กีฬาในร่มจังหวัดโอซากะ โอซากะ ญี่ปุ่น[6]
    • ชิงแชมป์ WBC International รุ่นฟลายเวท 4 พฤษภาคม 2553 แพ้น็อคยกที่ 8 ฮิโรยูกิ ฮิซากาตะ (ญี่ปุ่น) ที่ จังหวัดสุราษฏร์ธานี

ชื่อชกมวยอื่น ๆ[แก้]

  • พนมรุ้งเล็ก กระทิงแดงยิม
  • พนมรุ้งเล็ก เกียรติหมู่ 9 (ชื่อชกมวยไทย)

อ้างอิง[แก้]

  1. พนมรุ้งเล็ก, หน้า 19 กีฬา. เดลินิวส์ฉบับที่ 23,188: วันจันทร์ที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2556 แรม 13 ค่ำ เดือน 4 ปีมะเส็ง
  2. เสี่ยเน้าโวยพนมรุ้งเล็กแพ้คะแนนยุ่นแบบค้านสายตา จากสยามสปอร์ต
  3. "สื่อตีข่าว พนมรุ้งเล็ก แพ้ คาเมดะ แบบค้านสายตา จากสนุกดอตคอม". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-04-12. สืบค้นเมื่อ 2013-04-24.
  4. เทปการชกป้องกันครั้งที่ 1 ของ พนมรุ้งเล็ก กระทิงแดงยิม กับ ลี เอสโคปิโด (boxpres).
  5. เทปการชกป้องกันครั้งที่ 9 ของ พนมรุ้งเล็ก กระทิงแดงยิม กับ จูน อีราแฮม (boxpres).
  6. สถิติการชก (อังกฤษ)