ข้ามไปเนื้อหา

พนมรุ้งเล็ก ไก่ย่างห้าดาวยิม

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พนมรุ้งเล็ก ไก่ย่างห้าดาวยิม
เกิดบุญสม เอี่ยมสิริ
17 ธันวาคม พ.ศ. 2527 (39 ปี)

พนมรุ้งเล็ก ไก่ย่างห้าดาวยิม มีชื่อจริงว่า บุญสม เอี่ยมสิริ (ชื่อเล่น: เน๊าะ) เกิดเมื่อวันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2527 ที่อำเภอประโคนชัย จังหวัดบุรีรัมย์

ประวัติ

[แก้]

พนมรุ้งเล็ก เคยชกมวยไทยสลับกับมวยสากลอาชีพ จนได้รับฉายาว่า "ยอดมวยสองแบบ" เป็นนักมวยค่าตัวเงินแสน ได้ค่าตัวสูงสุดถึง 2.5 แสนบาท และเป็นพี่ชายของเพชรพนมรุ้ง ส.ธรรมรังสี นักมวยไทยชื่อดังอีกคนหนึ่ง เคยคว้าแชมป์มวยรอบอิซูซุคัพ ครั้งที่ 13 เมื่อปี พ.ศ. 2546

พนมรุ้งเล็กชกมวยสากลครั้งแรกเมื่อวันที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2547 โดยชกชนะคะแนน ร็อกกี้ ฟูเอนเตส นักมวยชาวฟิลิปปินส์ในการชกกำหนด 6 ยก ที่อำเภอขุขันธ์ จังหวัดศรีสะเกษ ร่วมรายการเดียวกับ ฟ้าเพชรน้อย ส.จิตรพัฒนา ชกป้องกันแชมป์โลกเยาวชนกับ อลองก์ ดีนอย นักมวยชาวฟิลิปปินส์

หลังจากชกชนะครั้งแรก ก็ได้ชิงแชมป์สภามวยแห่งเอเชีย (ABC) ในอีกสองเดือนต่อมา โดยชนะน็อค เด่นบูรพา อ.เอกรินทร์ นักมวยไทยด้วยกันเอง ในยกที่ 6 ทีโรงแรมอคาเดีย ฮิลตัน จังหวัดภูเก็ต

ต่อจากนั้นพนมรุ้งเล็กชกป้องกนัตำแหน่งแชมป์ ABC ไปเรื่อยๆ และเคยชิงแชมป์โลกเยาวชนของสภามาวยโลก และเคยชิงแชมป์อินเตอร์เนชั่นแนลมาครั้งหนึ่งหลังจากที่ชิงแชมป์ไม่สำเร็จเมื่อวันที่ 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2553 ที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี

พนมรุ้งเล็กชกทำอันดับเรื่อยๆ จนได้โอกาสชิงแชมป์โลกครั้งหนึ่งเมื่อวันที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2556 ที่ประเทศญี่ปุ่น กับโคกิ คาเมดะ แชมป์โลกรุ่นแบนตั้มเวท สมาคมมวยโลก (WBA) ชาวญี่ปุ่น ในฐานะที่พนมรุ้งเล็กเป็นรองแชมป์โลกอันดับที่ 11 และเป็นแชมป์เงา (WBC International) สภามวยโลก (WBC) ในรุ่นฟลายเวท โดยที่การชกครั้งนี้ไม่มีการถ่ายทอดกลับมายังประเทศไทย

ปรากฏว่าพนมรุ้งเล็กเป็นฝ่ายแพ้คะแนนไปแบบไม่เป็นเอกฉันท์ โดยพนมรุ้งเล็กสามารถชกได้ดีในยกที่ 2, 5, 8, 9 และยก 11 ที่เกือบจะน็อกแชมป์โลกเจ้าถิ่นได้ ทำให้ในยก 12 ซึ่งเป็นยกสุดท้ายคาเมดะหันมาเดินวกชกไปรอบ ๆ เวที และหลบหนีไปเรื่อย ๆ ผลคะแนนออกมาว่า ดีเร็ก มิลแฮม กรรมการชาวออสเตรเลียให้พนมรุ้งเล็กชนะไป 116-113, รูเบน การ์เซีย กรรมการชาวอเมริกันให้พนมรุ้งเล็กแพ้ไป 115-113 และไมเคิล ลี กรรมการชาวเกาหลีใต้ ให้พนมรุ้งเล็กแพ้ไป 115-114 [1] ซึ่งในมุมมองของทางพนมรุ้งเล็กและผู้จัดการเห็นว่า ฝ่ายของตนถูกโกง[2] อีกทั้งสื่อมวลชนจากชาติที่เป็นกลางหรือแม้แต่ของญี่ปุ่นเองก็เห็นว่า คาเมดะชนะไปแบบไม่สมศักดิ์ศรี[3]

หลังจากพนมรุ้งเล็กชิงแชมป์โลกไม่สำเร็จ พนมรุ้งเล็กก็ยังคงชกทำอันดับเรื่อยๆ โดยครองแชมป์สมาคมมวยโลก เอเชีย (ดับเบิ้ลยูบีเอ เอเชีย) ใน รุ่นซูเปอร์ฟลายเวทเฉพาะกาลในปี พ.ศ. 2556 ก่อนจะมาครองแชมป์จริงในอีกหนึ่งปีต่อมา พนมรุ้งเล็กชกมาจนถึง พ.ศ. 2559 ก็สละแชมป์ไป

เกียรติประวัติ

[แก้]

มวยไทย

[แก้]
  • แชมป์มวยรอบอิซูซุคัพ ครั้งที่ 13 (2546)

มวยสากล

[แก้]
  • แชมป์ ABCO รุ่นฟลายเวท (2547 - 2550)
    • ชิง, 8 ต.ค. 2547 ชนะน็อค เด่นบูรพา อ.เอกรินทร์ยก 6 ที่ จ. ภูเก็ต
    • ป้องกันแชมป์ครั้งที่ 1, 26 พ.ย. 2547 ชนะน็อค ลี เอสโคปิโด (ฟิลิปปินส์) ยก 4 ที่ จ.เชียงราย[4]
    • ป้องกันแชมป์ครั้งที่ 2, 31 ธ.ค. 2547 ชนะน็อค อลัน รานาด้า (ฟิลิปปินส์) ยก 7 ที่ ป.กุ้งเผา
    • ป้องกันแชมป์ครั้งที่ 3, 29 เมษายน 2548 ชนะน็อคยกที่ 7 อัลเฟรด นาเกา (ฟิลิปปินส์) ที่ ตลาดเพชรไพบูลย์ จังหวัดเพชรบุรี
    • ป้องกันแชมป์ครั้งที่ 4, 24 มิ.ย. 2548 ชนะคะแนน เบอร์นาร์ด ยูคอส (ฟิลิปปินส์) ที่ ป.กุ้งเผาปิ่นเกล้า กรุงเทพมหานคร
    • ป้องกันแชมป์ครั้งที่ 5, 26 สิงหาคม 2548 ชนะน็อค ยู เชียงบิน (จีน) ยก 5 ที่ จ.สระบุรี
    • ป้องกันแชมป์ครั้งที่ 6, 9 พฤศจิกายน 2548 ชนะน็อค ลิว ยัง จัน (จีน) ยก 8 ที่ จังหวัดหนองคาย
    • ป้องกันแชมป์ครั้งที่ 7, 19 มกราคม 2549 ชนะคะแนน เซลโซ แดงก๊อด (ฟิลิปปินส์) มหาวิทยาลัยแม่โจ้ จังหวัดเชียงใหม่
    • ป้องกันแชมป์ครั้งที่ 8, 24 กุมภาพันธ์ 2549 ชนะน็อค เรเน่ เบนาเรส (ฟิลิปปินส์) ยก 3 ที่ ป.กุ้งเผา
    • ป้องกันแชมป์ครั้งที่ 9, 1 พฤษภาคม 2549 ชนะคะแนน จูน อีราแฮม (ฟิลิปปินส์) ที่ กรมทหารราบที่ 11 รักษาพระองค์ เขตบางเขน กรุงเทพมหานคร[5]
    • ป้องกันแชมป์ครั้งที่ 10, 30 มิถุนายน 2549 ชนะคะแนน ออร์ลิน เอ็นริเกวซ (ฟิลิปปินส์) ที่ ศูนย์การค้าสยามพารากอน กรุงเทพมหานคร
    • มีนาคม 2550 สละแชมป์
  • แชมป์โลกเยาวชน WBC Youth รุ่นฟลายเวท
    • ชิง 5 ตุลาคม 2549 ชนะคะแนน ลิโต ซิสนอริโต (ฟิลิปปินส์)
    • ป้องกันแชมป์ครั้งที่ 1, 29 ธันวาคม 2549 ชนะน็อคยกที่ 6 ปิงปิง เตปูรา (ฟิลิปปินส์) ยก 6 ที่ จ.สระบุรี
    • ป้องกันแชมป์ครั้งที่ 2, 23 กุมภาพันธ์ 2550 ชนะน็อคยกที่ 5 ริชาร์ด การ์เซีย (ฟิลิปปินส์) ยก 4 ที่ ตลาดโชคชัยสี่
    • ป้องกันแชมป์ครั้งที่ 3, 25 พฤษภาคม 2550 ชนะคะแนน ฮิโรยูกิ อิซาทากะ (ญี่ปุ่น) ที่ ป.กุ้งเผา
    • ป้องกันแชมป์ครั้งที่ 4, 24 สิงหาคม 2550 ชนะน็อคยกที่ 6 ชาร์เลส เดลาด้า (ฟิลิปปินส์) ที่ จังหวัดอุบลราชธานี
    • ป้องกันแชมป์ครั้งที่ 5, 4 ธันวาคม 2550 ชนะน็อคยกที่ 4 ดอลฟี่ โลลารู (อินโดนีเซีย) ที่ จังหวัดนครสวรรค์
    • ป้องกันแชมป์ครั้งที่ 6, 29 กุมภาพันธ์ 2551 ชนะคะแนน อิร์ฟาน โอกาห์ (อินโดนีเซีย) ที่ โชคชัย 4 ลาดพร้าว กรุงเทพมหานคร
  • แชมป์ WBC International รุ่นฟลายเวท
  • แชมป์ WBA ASIA รุ่นซูเปอร์ฟลายเวท
    • ชิง, 29 พฤศจิกายน 2556 ชนะน็อคยกที่ 2 วิกกี้ เวเบรียน (อินโดนีเซีย) ที่ หน้าศาลากลาง จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
    • ป้องกันแชมป์ครั้งที่ 1, 26 กันยายน 2557 ชนะทีเคโอยก 7 จูเนียร์ บาจาว่า (อินโดนีเซีย) ที่ จังหวัดอุบลราชธานี
    • ป้องกันแชมป์ครั้งที่ 2, 26 ธันวาคม 2557 ชนะคะแนน แซมมี่ แฮคเลอร์ (อินโดนีเซีย) ที่ บริเวณกรมทหารราบที่ 11 รักษาพระองค์ เขตบางเขน กรุงเทพมหานคร
    • ป้องกันแชมป์ครั้งที่ 3, 5 มีนาคม 2558 ชนะน็อคยกที่ 8 มาติโอ แฮนดิก (ฟิลิปปินส์) ที่ เวทีมวยชั่วคราว ลานหน้าศาลากลางจังหวัดจันทบุรี
    • ป้องกันแชมป์ครั้งที่ 4, 2 กรกฎาคม 2558 ชนะน็อคยกที่ 5 อารีก้า ยูเนี่ยน (อินโดนีเซีย) ที่ จังหวัดชัยภูมิ
    • ป้องกันแชมป์ครั้งที่ 5, 30 ตุลาคม 2558 ชนะน็อคยกที่ 6 รัสมา นุดิน (อินโดนีเซีย) ที่ อาคารยิมเนเซี่ยม สนามกีฬาจังหวัดสกลนคร
    • ป้องกันแชมป์ครั้งที่ 6, 4 กุมภาพันธ์ 2559 ชนะน็อคยกที่ 5 อีวาน ซานก้า (อินโดนีเซีย) ที่ หน้า ศาลากลางจังหวัดสระแก้ว
    • ป้องกันแชมป์ครั้งที่ 7, 29 เมษายน 2559 ชนะน็อคยกที่ 4 ฟรานส์ ดาเมอร์ พาเลิ่ล (อินโดนีเซีย) ที่ สนามกีฬาจังหวัดสระแก้ว
  • เคยชิงแชมป์ต่อไปนี้ไม่สำเร็จ
    • ชิงแชมป์โลกสมาคมมวยโลก (WBA) รุ่นแบนตั้มเวท 7 เมษายน 2556, แพ้คะแนน (ไม่เป็นเอกฉันท์) โคกิ คาเมดะ (ญี่ปุ่น) ที่ ศูนย์กีฬาในร่มจังหวัดโอซากะ โอซากะ ญี่ปุ่น[6]
    • ชิงแชมป์ WBC International รุ่นฟลายเวท 4 พฤษภาคม 2553 แพ้น็อคยกที่ 8 ฮิโรยูกิ ฮิซากาตะ (ญี่ปุ่น) ที่ จังหวัดสุราษฏร์ธานี

ชื่อชกมวยอื่น ๆ

[แก้]
  • พนมรุ้งเล็ก กระทิงแดงยิม
  • พนมรุ้งเล็ก เกียรติหมู่ 9 (ชื่อชกมวยไทย)

อ้างอิง

[แก้]
  1. พนมรุ้งเล็ก, หน้า 19 กีฬา. เดลินิวส์ฉบับที่ 23,188: วันจันทร์ที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2556 แรม 13 ค่ำ เดือน 4 ปีมะเส็ง
  2. เสี่ยเน้าโวยพนมรุ้งเล็กแพ้คะแนนยุ่นแบบค้านสายตา จากสยามสปอร์ต
  3. "สื่อตีข่าว พนมรุ้งเล็ก แพ้ คาเมดะ แบบค้านสายตา จากสนุกดอตคอม". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-04-12. สืบค้นเมื่อ 2013-04-24.
  4. เทปการชกป้องกันครั้งที่ 1 ของ พนมรุ้งเล็ก กระทิงแดงยิม กับ ลี เอสโคปิโด (boxpres).
  5. เทปการชกป้องกันครั้งที่ 9 ของ พนมรุ้งเล็ก กระทิงแดงยิม กับ จูน อีราแฮม (boxpres).
  6. สถิติการชก (อังกฤษ)