ผู้ใช้:Nisarat Panochit/กระบะทราย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ความหมายของคำว่าทุจริต[แก้]

คำว่า “ทุจริต” ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา1 (1) หมายถึง เพื่อแสวงหาผลประโยชน์ที่มิควรได้โดยชอบด้วยกฎหมายสำหรับตนเองหรือผู้อื่น [1]

คำว่า “ทุจริตต่อหน้าที่” ตามพระราชบัญญัติประราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ.2542 มาตรา4 หมายถึง “การปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติอย่างใดในตำแหน่ง หรือละเว้นการปฏิบัติอย่างใดในพฤติการณ์ที่อาจทำให้ผู้อื่นเชื่อว่ามีตำแหน่งหรือหน้าที่ทั้งที่ตนมิได้มีตำแหน่งหรือหน้าที่นั้น หรือใช้อำนาจในตำแหน่งหน้าที่ ทั้งนี้เพื่อแสวงหาผลประโยชน์ที่มิควรได้โดยชอบสำหรับตนหรือผู้อื่น” [2]

ปัญหาการทุจริตในประเทศไทย[แก้]

ปัญหาการทุจริตคอร์รัปชั่นนั้น คุกคามความมั่นคงของประเทศทั้งในด้านการเมือง เศรษฐกิจ สังคม เป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาและความเจริญของประเทศ ซึ่งเป็นประเด็นปัญหาที่สำคัญของสังคมไทย นักการเมืองทั้งในระดับชาติและระดับท้องถิ่นได้รับข้อกล่าวหาว่ามีพฤติกรรมในเชิงทุจริตหลายรูปแบบ [3]


รูปแบบของการทุจริต[แก้]

การทุจริตในวงการราชการมีหลายรูปแบบ เช่น -ฝ่าฝืน หลีกเลี่ยง หรือบิดเบือนระเบียบแบบแผน หรือกฎข้อบังคับ -จูงใจ เรียกร้อง บังคับ ข่มขู่ หน่วงเหนี่ยว กลั่นแกล้ง หรือหาประโยชน์ใส่ตน/พวก -การสมยอม รู้เห็นเป็นใจ เพิกเฉย ละเว้นการกระทำในการที่ต้องปฏิบัติ หรือรับผิดชอบ ตามหน้าที่ -ยักยอก เบียดบังซึ่งทรัพย์สินของราชการ -ปลอมแปลงหรือกระทำการใดๆ อันเป็นเท็จ -มีผลประโยชน์ร่วมในกิจการบางประเภทที่สามารถใช้อำนาจหน้าที่ของตนบันดาลประโยชน์ได้ [4]

ปัญหาการทุจริตในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นไทย[แก้]

สำหรับการทุจริตในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น(อปท.)ไทยปัจจุบัน ทั้งในรูปแบบองค์การบริหารส่วนจังหวัด(อบจ.) เทศบาล และองค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) ปรากฏว่าองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นไทยทั้งหลายยังถูกวิจารณ์จากสังคมภายนอกว่ามีการทุจริตเช่นกัน การถูกจับตามองในทำนองดังกล่าว เห็นว่าไม่เป็นผลดีต่อภาพลักษณ์ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นไทย ทั้งนี้อาจมีผลกระทบต่อความน่าเชื่อถือ และความไว้ว่างใจในการรองรับภารกิจในการกระจายอำนาจสู่ท้องถิ่นทั้งในแง่ของงบประมาณ งาน และบุคลากร เพื่อให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นแสดงความสามารถในการบริหารแสดวงความสามารถกิจการของท้องถิ่นในแนวทางการบริหารจัดการบ้านเมืองที่ดีหรือเรียกว่า “การมีธรรมาภิบาลท้องถิ่น” ด้านความโปร่งใส และมีส่วนร่วมของประชาชน [5] [6]

ลักษณะปัญหาการทุจริตในองค์กรปกครองในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น[แก้]


1.ลักษณะปัญหาการทุจริตที่เกิดจากการทุจริตด้านงบประมาณ การทำบัญชี การจัดซื้อจัดจ้างและการเงินการคลัง มีสาเหตุมาจากการที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นละเลยไม่ปฏิบัติหรือไม่ทำตามระเบียบ ซึ่งเป็นผลก่อให้เกิดช่องทางการทุจริต เช่น ไม่มีการทำหลักฐานในการเบิกจ่ายพัสดุ
2.ลักษณะปัญหาของการทุจริตที่เกิดจากตัวบุคคล การทุจริตเกิดจากตัวบุคคลโดยเฉพาะผู้บริหารท้องถิ่น และสมาชิกสภาท้องถิ่นมีญาติหรือพวกพ้องมาเป็นผู้รับเหมาการจัดซื้อจัดจ้างที่มีการเอื้อประโยชน์ให้พวกพ้องหรือกลุ่มญาติของตัวเอง
3.ลักษณะปัญหาของการทุจริตที่เกิดจากช่องว่างของระเบียบและกฎหมาย เนื่องจากกฎหมายเปิดช่องว่างให้มีการทุจริตโดยมีการให้ผู้บริหารท้องถิ่นมาจากการเลือกตั้งของประชาชน ทำให้ผู้บริหารมีความเข้มแข็งขาดระบบถ่วงดุล ในกรณีที่สมาชิกสภาท้องถิ่นเกือบทั้งหมดหรือทั้งหมดเป็นทีมเดียวกันกับผู้บริหารท้องถิ่น ก็จะเป็นช่องทางในการทุจริตได้ง่าย
4.ลักษณะปัญหาของการทุจริตที่เกิดจากการขาดความรู้และขาดคุณธรรม จริยธรรม พบว่ามีพนักงานท้องถิ่นบางส่วนที่ขาดความรู้เฉพาะด้าน นอกจากนั้นผู้บริหารท้องถิ่นและพนักงานท้องถิ่นยังมีพฤติกรรมแสวงหาผลประโยชน์โดยอาศัยช่องโหว่ของกฎหมายซึ่งแสดงให้เห็นถึงการขาดคุณธรรมและจริยธรรม
5.ลักษณะปัญหาของการทุจริตที่เกิดจากขาดการประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนทราบ โดยที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นไม่ชี้แจ้งหรือประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับข้อมูลให้ประชาชนทราบ ย่อมเป็นช่องทางให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทำการทุจริตได้ เช่นการไม่แจ้งงบประมาณขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้ประชาชนทราบ
6.ลักษณะปัญหาของการทุจริตที่เกิดจากทุจริตที่เกิดจากอำนาจ บารมี และอิทธิพล องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นบางแห่งยังมีอำนาจที่ส่งผลให้เกิดการทุจริตได้ โดยเฉพาะอิทธิพลของฝ่ายการเมือง ที่ครอบงำหรือผู้บริหารท้องถิ่นเป็นผู้มีอำนาจ นอกจากนี้การใช้อิทธิพลข่มขู่หรือกีดกันผู้เสนอราคาบางราย ตลอดจนบางครั้งประชาชนในท้องถิ่นไม่กล้าที่จะให้การเป็นพยานเพื่อเอาผิดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น [7]

มูลเหตุแห่งการทุจริต[แก้]

1.เกี่ยวกับกฎหมาย ระเบียบ และข้อบังคับต่างๆ ที่มีอยู่เป็นจำนวนมาก
2.วิธีปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ หากให้บุคคลคนเดียวกันทำหลายหน้าที่ก็เป็นช่องทางที่จะก่อให้เกิดการทุจริตได้
3.ผู้ปฏิบัติขาดสมรรถภาพในการปฏิบัติงาน โดยเฉพาะด้านการเงินและด้านบัญชี ตลอดจนสิ่งแวดล้อมบีบบังคับ เช่น รายได้ไม่เพียงพอหากเกิดกรณีจำเป็นต้องใช้เงินอาจเกิดการทุจริตได้
4.เกิดจากสภาพแวดล้อมหรือการสั่งการจากผู้มีอำนาจ

[8]

ทางออกการแก้ไขปัญหาการทุจริต[แก้]


1.การเสริมสร้างธรรมาภิบาลท้องถิ่นด้านการมีส่วนร่วมและความโปร่งใสในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เป็นทางออกในการแก้ไขปัญหาการทุจริตและถือว่าเป็นส่วนสำคัญในการพัฒนาองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้เป็นฐานในการพัฒนาประเทศโดยยึดแนวทางธรรมาภิบาลท้องถิ่นด้านการมีส่วนร่วมและความโปร่งใส เพื่อจะทำให้การบริหารจัดการภารกิจด้านการจัดบริการสาธารณะที่มีคุณภาพและได้มาตรฐาน อันจะเกิดประโยชน์กับประชาชนมากที่สุดซึ่งในที่สุดจะเป็นการป้องกันการทุจริตในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นได้อย่างเป็นรูปธรรม
2.เป็นที่ยอมรับโดยทั่วไปว่า วิธีป้องกันการทุจริตในกิจการต่างๆนั้น เป็นปัญหาสำคัญที่น่าจะได้พิจารณา คือ ระบบการควบคุมภายใน ซึ่งหมายถึง แผนจัดแบ่งส่วนงานและวิธีปฏิบัติงานที่ประสานกันซึ่งใช้ปฏิบัติเพื่อดูแลทรัพย์สินของกิจการเพื่อตรวจสอบความถูกต้องและเชื่อถือได้ของรายละเอียดทางบัญชี เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของการดำเนินงาน และเพื่อส่งเสริมให้มีการปฏิบัติตามนโยบายที่ผู้บริหารได้วางไว้ [9]

ความหมายของความโปร่งใส[แก้]

    ความโปร่งใส ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน (2525:550) หมายถึงคุณสมบัติที่แสงผ่านได้ มองเห็นทะลุง่าย รวมทั้งจับได้ง่าย เปิดเผย ตรงไปตรงมา และเข้าใจง่าย [10]
     
        ความโปร่งใสเทียบได้ว่า มีความหมายตรงกันข้าม หรือเกือบตรงข้ามกับการทุจริตคอรัปชั่น โดยที่การทุจริตคอรัปชั่นให้ความหมายในเชิงลบ และมีความน่าสะพรึงกลัวแฝงอยู่ หากการทุจริตคอรัปชั่นคือพฤติกรรมที่เจ้าหน้าที่ของรัฐอาศัยอำนาจหน้าที่กระทำการใดๆในลักษณะซ้อนเร้น เพื่อให้ได้มาซึ่งประโยชน์ส่วนตัว ในทางตรงข้ามความโปร่งใสก็หมายถึง พฤติกรรมที่รู้เห็นได้ชัดเจนว่าเจ้าหน้าที่ของรัฐอาศัยอำนาจหน้าที่กระทำการใดๆเพื่อประโยชน์สาธารณะ ความโปร่งใสจะเป็นคำศัพท์ที่ใช้ในแง่มุมเชิงบวกและให้ความหมายในเชิงสงบสุข

[11]

  1. ประมวลกฎหมายอาญา พ.ศ.2499 มาตตรา1 (1)
  2. พระราชบัญญัติประราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ.2542 มาตรา4
  3. รศ.ดร.โกวิทย์ พวงงาม. (2553). ธรรมาภิบาลท้องถิ่นว่าด้วยการมีส่วนร่วมและความโปร่งใส. กรุงเทพ: มิสเตอร์ก็อปปี้.
  4. เกียรติศักดิ์ จีรเธียรนาถ. (2527). การทุจริตในองค์การ. กรุงเทพฯ : บพิธการพิมพ์
  5. รศ.ดร.โกวิทย์ พวงงาม. (2553). ธรรมาภิบาลท้องถิ่นว่าด้วยการมีส่วนร่วมและความโปร่งใส. กรุงเทพ: มิสเตอร์ก็อปปี้.
  6. ประเสริฐ คงเพ็ชร. (2552). รายงานการวิจัยเรื่องการแก้ไขปัญหาการทุจริตในระบบการเมืองและวงราชการไทย. กรุงเทพฯ: กองการพิมพ์ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร.
  7. รศ.ดร.โกวิทย์ พวงงาม. (2553). ธรรมาภิบาลท้องถิ่นว่าด้วยการมีส่วนร่วมและความโปร่งใส. กรุงเทพ: มิสเตอร์ก็อปปี้.
  8. มณเฑียร เจริญผล. (2550). การตรวจสอบการดำเนินงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นโดยการควบคัมของสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน. นนทบุรี: สถาบันพระปกเกล้า.
  9. รศ.ดร.โกวิทย์ พวงงาม. (2553). ธรรมาภิบาลท้องถิ่นว่าด้วยการมีส่วนร่วมและความโปร่งใส. กรุงเทพ: มิสเตอร์ก็อปปี้.
  10. พจนานุกรมราชบัณฑิตยสถาน. 2552. หน้า550
  11. อรทัย ก๊กผล. 2546. Best practices ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่มีความเป็นเลิศด้านความโปร่งใสและการมีส่วนร่วมของประชาชน. นนทบุรี: สถาบันพระปกเกล้า.