ผู้ใช้:Jasarayuth

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม
ราชวรมหาวิหาร
ชื่อสามัญวัดโพธิ์ ท่าเตียน
ที่ตั้ง2 ถนนสนามไชย แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร ไทย ประเทศไทย 10200
ประเภทพระอารามหลวงชั้นเอก ชนิดราชวรมหาวิหาร
นิกายเถรวาท มหานิกาย
พระประธานพระพุทธเทวปฏิมากร
พระพุทธรูปสำคัญพระพุทธไสยาส
พระพุทธโลกนาถ
พระพุทธศาสดามหากรุณาธิคุณ
พระพุทธมารวิชัยอภัยปรปักษ์
พระพุทธชินราชวโรวาท
พระพุทธชินสีห์มุนีนาถ
พระพุทธปาลิไลยภิรัติไตรวิเวก
พระศรีสรรเพชญุดาญาณ
เจ้าอาวาสสมเด็จพระมหาธีราจารย์ (ประสิทธิ์ เขมงฺกโร)
ความพิเศษวัดประจำรัชกาลที่ 1
จุดสนใจวิหารพระพุทธไสยาสน์ วิหารทิศฝั่งตะวันออก (วิหารพระโลกนาถ) และพระอุโบสถ
กิจกรรมนวดแผนไทย
การถ่ายภาพไม่ควรใช้แฟลช ในการถ่ายภาพจิตรกรรมฝาผนัง ส่วนภายในอาคาร บางอาคารห้ามถ่ายภาพ ควรสังเกตป้าย
เว็บไซต์www.watpho.com
พระพุทธศาสนา ส่วนหนึ่งของสารานุกรมพระพุทธศาสนา
จารึกวัดโพธิ์ *
  ความทรงจำแห่งโลกโดยยูเนสโก
ที่เก็บรักษาวัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรมหาวิหาร
ประเทศ ไทย
ภูมิภาค **เอเชียและแปซิฟิก
อ้างอิง2010-16
ประวัติการขึ้นทะเบียน
ขึ้นทะเบียน2554
* ชื่อตามที่ได้ขึ้นทะเบียนในบัญชีความทรงจำแห่งโลก
** ภูมิภาคที่จัดแบ่งโดยยูเนสโก

วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม (คำอ่าน: [วัด-พฺระ-เชด-ตุ-พน-วิ-มน-มัง-คะ-ลา-ราม][1] หรือ [วัด-พฺระ-เชด-ตุ-พน-วิ-มน-มัง-คฺลา-ราม])[2] โดยทั่วไปเรียก วัดโพธิ์ เป็นพระอารามหลวงชั้นเอก ชนิดราชวรมหาวิหาร[3] และเป็นวัดประจำรัชกาลพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทั้งยังเปรียบเสมือนเป็นมหาวิทยาลัยแห่งแรกของประเทศด้วย เนื่องจากเป็นที่รวมจารึกสรรพวิชาหลายแขนง และทางยูเนสโกได้ขึ้นทะเบียนเป็นมรดกความทรงจำโลกของภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก เมื่อ มีนาคม พ.ศ. 2551[4] และวันที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2554 ทางยูเนสโก ได้ขึ้นทะเบียนจารึกวัดโพธิ์จำนวน 1,440 ชิ้น เป็นมรดกความทรงจำโลกในทะเบียนนานาชาติ

วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรมหาวิหารถือได้ว่าเป็นวัดที่มีพระเจดีย์มากที่สุดในประเทศไทย โดยมีจำนวนประมาณ 99 องค์[5] พระเจดีย์ที่สำคัญ คือ พระมหาเจดีย์สี่รัชกาล ซึ่งเป็นพระมหาเจดีย์ประจำพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว และพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

ในแง่ของการท่องเที่ยวแล้ว วัดโพธิ์ได้รับความนิยมเที่ยวเป็นลำดับที่ 24 ของโลก ในปี พ.ศ. 2549 โดยมีนักท่องเที่ยวมาเยือนในปีนั้นถึง 8,155,000 คน[6]

  1. "การอ่านชื่อพระอารามหลวง". สำนักงานราชบัณฑิตยสภา. 2558. สืบค้นเมื่อ 21 มีนาคม 2560. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  2. "พระนอนวัดโพธิ์". สำนักงานราชบัณฑิตยสภา. 2555-12-27. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-10-17. สืบค้นเมื่อ 2563-06-01. {{cite web}}: ตรวจสอบค่าวันที่ใน: |accessdate= (help)
  3. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศกระทรวงธรรมการ แผนกกรมสังฆการี เรื่อง จัดระเบียบพระอารามหลวง, เล่ม ๓๒, ตอน ๐ ก, ๓ ตุลาคม พ.ศ. ๒๔๕๘, หน้า ๒๘๙
  4. "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-06-19. สืบค้นเมื่อ 2008-04-16.
  5. สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ กระทรวงวัฒนธรรม, ก้าวไปในบุญ :เสริมมงคลไหว้พระ ๙ วัด เก็บถาวร 2007-04-06 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, กุมภาพันธ์ 2548
  6. Global Market Information Database, Tourist Attractions - World, 10 Apr 2008