รายชื่อวัดประจำรัชกาล
หน้าตา
ไม่มีวัดประจำรัชกาล แต่จะเลือกเอาวัดที่พระมหากษัตริย์พระองค์นั้น ทรงมีส่วนเกี่ยวข้อง โดยยึดเอาที่บรรจุพระบรมราชสรีรางคารเป็นสำคัญ
- ทุกวัดประจำรัชกาล เป็นพระอารามหลวงชั้นเอก มีทั้งชนิดราชวรมหาวิหาร และราชวรวิหาร
- รัชกาลที่ 6 และ 9 มีวัดประจำรัชกาลจำนวน 2 แห่ง เนื่องจากแบ่งการบรรจุพระบรมราชสรีรางคารเป็น 2 ส่วน
- วัดพระปฐมเจดีย์ราชวรมหาวิหาร เป็นวัดประจำรัชกาลแห่งเดียวที่มิได้ตั้งอยู่ในกรุงเทพมหานคร
- วัดราชบพิธสถิตมหาสีมารามราชวรวิหาร เป็นวัดประจำ 3 รัชกาล คือ รัชกาลที่ 5, 7 และ 9
- วัดบวรนิเวศราชวรวิหาร เป็นวัดประจำ 2 รัชกาล คือ รัชกาลที่ 6 และ 9
- วัดประจำรัชกาลที่ 9 มิใช่วัดพระราม ๙ กาญจนาภิเษก
- วัดประจำรัชกาลที่ 10 มิใช่วัดวชิรธรรมสาธิตวรวิหาร
ภาพวัด | ประจำพระองค์ | ชื่อวัด | ที่ตั้ง | ความสำคัญ |
---|---|---|---|---|
พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช | วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม[1][2] | ริมถนนสนามไชยและถนนมหาราช ติดกับพระบรมมหาราชวัง แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร | พระอารามหลวงชั้นเอก ชนิดราชวรมหาวิหาร 1 ใน 6 ของไทย | |
พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย | วัดอรุณราชวราราม[1][2] | ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยา ถนนอรุณอมรินทร์ แขวงวัดอรุณ เขตบางกอกใหญ่ กรุงเทพมหานคร | พระอารามหลวงชั้นเอก ชนิดราชวรมหาวิหาร 1 ใน 6 ของไทย | |
พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว | วัดราชโอรสาราม[1][2] | ถนนเอกชัย แขวงบางค้อ เขตจอมทอง กรุงเทพมหานคร | พระอารามหลวงชั้นเอก ชนิดราชวรวิหาร | |
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว | วัดราชประดิษฐสถิตมหาสีมาราม[1][2] | ถนนสราญรมย์ แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร | พระอารามหลวงชั้นเอก ชนิดราชวรวิหาร | |
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว | วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม[1][2] | ถนนเฟื่องนคร แขวงวัดราชบพิธ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร | พระอารามหลวงชั้นเอก ชนิดราชวรวิหาร | |
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว | วัดบวรนิเวศวิหาร[1][2] | 248 ถนนพระสุเมรุ แขวงวัดบวรนิเวศ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร | พระอารามหลวงชั้นเอก ชนิดราชวรวิหาร | |
วัดพระปฐมเจดีย์[3] | ตำบลพระปฐมเจดีย์ อำเภอเมืองนครปฐม จังหวัดนครปฐม | พระอารามหลวงชั้นเอก ชนิดราชวรมหาวิหาร 1 ใน 6 ของไทย | ||
พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว | วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม[1][2] | ถนนเฟื่องนคร แขวงวัดราชบพิธ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร | พระอารามหลวงชั้นเอก ชนิดราชวรวิหาร | |
พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร | วัดสุทัศนเทพวราราม[1][2] | 146 ริมถนนตีทอง 1 ถนนบำรุงเมือง หน้าวัดออกทางถนนอุณากรรณ แขวงเสาชิงช้า เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร | พระอารามหลวงชั้นเอก ชนิดราชวรมหาวิหาร 1 ใน 6 ของไทย | |
พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร | วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม[4] | ถนนเฟื่องนคร แขวงวัดราชบพิธ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร | พระอารามหลวงชั้นเอก ชนิดราชวรวิหาร | |
วัดบวรนิเวศวิหาร[4][5][6] | 248 ถนนพระสุเมรุ แขวงวัดบวรนิเวศ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร | พระอารามหลวงชั้นเอก ชนิดราชวรวิหาร |
อ้างอิง
- ↑ 1.0 1.1 1.2 1.3 1.4 1.5 1.6 1.7 วัดประจำรัชกาล ไปไหว้พระขอพรเสริมสิริมงคล, /travel.kapook.com/ .สืบค้นเมื่อ 11/07/2561
- ↑ 2.0 2.1 2.2 2.3 2.4 2.5 2.6 2.7 วัดประจำรัชกาล : วัดไทย : ธรรมะไทย, dhammathai.org/ .สืบค้นเมื่อ 11/07/2561
- ↑ "วัดพระปฐมเจดีย์ราชวรวิหาร". สนุก.คอม. 25 มีนาคม 2003. สืบค้นเมื่อ 30 มิถุนายน 2024.
{{cite news}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ 4.0 4.1 "ทำไม? พระบรมราชสรีรางคาร ถึงบรรจุไว้ที่วัดราชบพิธฯ และวัดบวรฯ". ผู้จัดการออนไลน์. 30 ตุลาคม 2017. สืบค้นเมื่อ 30 มิถุนายน 2024.
{{cite news}}
: CS1 maint: url-status (ลิงก์) - ↑ รองนายกฯไม่ยืนยันโปรดเกล้าฯวันถวายพระเพลิงในหลวงร.9 ขอรอเอกสารทางการ มติชนออนไลน์ 18 เมษายน 2560
- ↑ กำหนดแล้ว! "วัดประจำรัชกาล" ของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลย เก็บถาวร 2018-05-10 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, liekr.com .สืบค้นเมื่อ 11/07/2561