ผู้ใช้:Chutchawan.g/กระบะทราย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

การปกครองท้องถิ่นเกาหลีใต้[แก้]

สาธารณรัฐเกาหลี (อังกฤษ : Public of Korea) หรือประเทศเกาหลีใต้(อังกฤษ : South Korea) เป็นประเทศที่ตั้งอยู่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออก มีพื้นที่อยู่ทางตอนใต้ของคาบสมุทรเกาหลี พื้นที่ของประเทศร้อยละ 70 เป็นภูเขา ประเทศเกาหลีใต้เดิมนั้นประกอบไปด้วยชนหลายเผ่าและรวมตัวกันเป็นอาณาจักรเล็กๆ ที่ต่อมาได้ถูกจีนเข้ายึดครองและหลังจากที่ได้รับเอกราชคืนจากจีนแล้ว คาบสมุทรเกาหลีที่ประกอบไปด้วย 3 อาณาจักรและรวมตัวกันเป็นอาณาจักรเดียวนั้น ก็ถูกญี่ปุ่นเข้ายึดครองจนกระทั่งสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่สอง หลังจากนั้นจึงเกิดสงครามที่เรียกว่าสงครามเกาหลีจึงได้แบ่งออกเป็น 2 ประเทศคือ ประเทศเกาหลีเหนือ (อังกฤษ : North Korea) และ ประเทศเกาหลีใต้ (อังกฤษ : South Korea) ในปัจจุบัน

ประวัติการปกครองเกาหลีใต้[แก้]

ดูบทความหลักที่:ประวัติศาสตร์เกาหลี

รูปแบบการปกครองเกาหลีใต้[แก้]

หลังจากที่สิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่สองและสงครามเกาหลีประเทศเกาหลีใต้ได้แยกออกจากประเทศเกาหลีเหนือและอยู่ภายใต้การดูแลของสหรัฐอเมริกา การเมืองการปกครองเกาหลีใต้ ก็ได้มีระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตย โดยมีประธานาธิบดีเป็นผู้มีอำนาจสูงสุดในการบริหาร โดยผ่านการเลือกตั้งโดยตรงจากประชาชนทั้งประเทศ และมีนายกรัฐมนตรีที่รับการแต่งตั้งโดยประธานาธิบดี โดยได้รับความเห็นชอบแล้วจากรัฐสภา มีรัฐสภาซึ่งทำหน้าที่เป็นองค์กรนิติบัญญัติ และศาลทำหน้าที่ฝ่ายตุลาการ และระบบการบริหารได้แบ่งออกเป็น 2 ระดับ คือ การบริหารระดับชาติและการบริหารระดับท้องถิ่น[1]

รัฐบาลกลาง[แก้]

ประเทศเกาหลีใต้มีรัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศโดยแบ่งอำนาจอธิปไตยออกเป็น 3 ฝ่าย คือ

  • อำนาจบริหาร
  • อำนาจตุลาการ
  • อำนาจนิติบัญญัติ

โดยฝ่ายบริหารนั้นมีประธานาธิบดีเป็นผู้ที่มีอำนาจสูงสุด เป็นตัวแทนของรัฐและเป็นผู้บัญชาการทหารสูดสุด ทำหน้าที่แต่งตั้งนายกรัฐมนตรีโดยต้องผ่านการเห็นชอบของรัฐสภา โดยรัฐบาลกลางของประเทศนั้นมีหน้าที่ในการกำหนดนโยบายต่างๆของรัฐ จัดสรรงบประมาณและทรัพยากร ป้องกันประเทศ การจัดการกับภาวะวิกฤตทั้งในและนอกประเทศ เพื่อประโยชน์สุขของประชากรภายในประเทศ

รัฐบาลท้องถิ่น[แก้]

การปกครองท้องถิ่นของประเทศเกาหลีใต้นั้นได้เริ่มขึ้นเมื่อรัฐธรรมนูญของเกาหลีใต้นั้น ได้มีการบัญญัติรับรองให้มีองค์การปกครองส่วนท้องถิ่น ในปี 1949 และได้รับการแก้ไขเมื่อปี 1995  รัฐบาลท้องถิ่นจะแบ่งออกเป็น 2 ระดับคือระดับสูงและระดับต่ำ หัวหน้าของรัฐบาลท้องถิ่นและสมาชิกสภาล้วนแต่ได้รับการเลือกตั้งโดยประชาชนในพื้นที่นั้นโดยตรง ในหนึ่งวาระสำหรับหัวรัฐบาลท้องถิ่นมีระยะเวลาสี่ปี และพวกเขาสามารถเลือกตั้งได้ถึง 3 วาระ

ทั้งนี้การทำงานก็ขึ้นอยู่กับการเมืองระดับชาติเช่นกัน การปกครองท้องถิ่นเกาหลีใต้มี 2 รูปแบบคือ รูปแบบทั่วไปและรูปแบบพิเศษ โดยระดับบนมีหน้าที่ในการกำหนดมาตรฐานในการทำงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เป็นตัวกลางระหว่างรัฐบาลกลางและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นระดับล่าง ให้บริการสาธารณสุขแก่ประชาชนในพื้นที่ของตน ส่วนระดับล่างนั้นมีหน้าที่เฉพาะในแต่ละพื้นที่และทำหน้าทีตามคำสั่งของระดันบน

การแบ่งเขตปกครอง[แก้]

ดูบทความหลักที่:เขตการปกครองของประเทศเกาหลีใต้

การแบ่งเขตการปกครองระดับจังหวัดเป็นการแบ่งเขตการปกครองขั้นแรกภายในประเทศเกาหลีใต้ ซึ่งแบ่งออกเป็น 5 กลุ่มคือ จังหวัด จังหวัดปกครองตนเองพิเศษ มหานคร นครพิเศษ และนครปกครองตนเองพิเศษ โดยแต่ละแบบมีดังนี้

จังหวัด[แก้]

จังหวัดปกครองตนเองพิเศษ[แก้]

มหานคร[แก้]

  • แทกู (เกาหลี :대구광역시) มีประชากร 2,512,604 คน
  • แทจ็อน (เกาหลี :대전광역시) มีประชากร 1,442,857 คน
  • ควังจู (เกาหลี :광주광역시) มีประชากร 1,456,308 คน
  • อุลซัน (เกาหลี :울산광역시) มีประชากร 1,087,958 คน

นครพิเศษ[แก้]

นครปกครองตนเองพิเศษ[แก้]

  • เซจง (เกาหลี : 세종특별자치시)มีประชากร 96,000 คน

การปกครองท้องถิ่นประเทศเกาหลีใต้[แก้]

ความเป็นมาของการปกครองท้องถิ่น[แก้]

การปกครองท้องถิ่นประเทศเกาหลีใต้นั้น ได้ถูกนำมาใช้ในปี 1952 ( พ.ศ.2495 ) หลังจากที่ตั้งเป็นสาธารณรัฐเกาหลีได้ 4ปี แต่ก็ดำเนินไปได้เพียงแค่ 9 ปีเท่านั้น หลังจากที่ ปาร์ค ชองฮี  ได้ทำการรัฐประหารการปกครองและการเลือกตั้งท้องถิ่นก็ได้ถูกยกเลิก และได้เลื่อนการดำเนินงานของการปกครองท้องถิ่นตามรัฐธรรมนูญออกไปเรื่อยๆ ต่อมาได้มีการลอบสังหารประธานาธิบดีปาร์ค ในปี 1979 (พ.ศ. 2522) และการเพิ่มขึ้นอีกครั้งของการปกครองท้องถิ่นได้สร้างฐานรัฐธรรมนูญการปกครองท้องถิ่นของตนเอง ภายใต้มาตรา 118 ของรัฐธรรมนูญแห่งสาธารณรัฐเกาหลี

ได้รับการขยายการดำเนินให้ครอบคลุมถึงการบริหารที่เกี่ยวข้องกับสวัสดิการของที่อาศัยอยู่ในการจัดการที่ดินและสถานประกอบการในท้องถิ่นกฎระเบียบ นอกจากนี้มาตรา 19 อธิบายสภาท้องถิ่นเกี่ยวกับการฟื้นฟูของการปกครองท้องถิ่น แต่บทความเสริม 10 ของรัฐธรรมนูญฯ "สภาท้องถิ่นจะต้องกลับมาเพิ่มขึ้นตามระดับของการเงินการพึ่งตัวเองของรัฐบาลท้องถิ่น" ในขณะที่ประเทศเกาหลีใต้นั้นกำลังมีความสุขกับการพัฒนาทางเศรษฐกิจอย่างกว้างขวางและรวดเร็ว ทั้งปี 1970(พ.ศ.2513) และ 1980 (พ.ศ.2523) ผู้คนให้ความสนใจมากขึ้นในการมีเสรีภาพทางการเมืองและปัญหาสิทธิมนุษยชน และประชาธิปไตยได้กลายเป็นความกังวลที่สำคัญในช่วงปลายปี 1980(พ.ศ.2523) และต้นปี 1990(พ.ศ.2533) ในกลุ่มของชนชั้นกลาง เช่นเดียวกันกับกลุ่มแรงงานและกลุ่มนักศึกษาที่เรียกร้องให้มีการปฏิรูปประชาธิปไตยของทั้งการเมืองและรัฐบาล ซึ่งในการเคลื่อนไหวครั้งนี้ได้มีความต้องการสำหรับการเลือกตั้งประธานาธิบดีโดยตรง 

การฟื้นตัวของระบบการปกครองในท้องถิ่นได้กลายเป็นสัญลักษณ์ของประชาธิปไตย และได้กลายเป็นจุดสำคัญของความขัดแย้งทางการเมือง หลังจากการอภิปรายอันยาวนานผ่านระบบการปกครองในท้องถิ่น การแก้ไขให้ท้องถิ่นปกครองตนเอง ตามพระราชบัญญัติ คณะกรรมการการเลือกตั้งท้องถิ่นที่ได้จัดขึ้นในปี 1991(พ.ศ.2534)ได้เต็มไปด้วยอิสระในท้องถิ่น มีครอบคลุมท้องถิ่น ตั้งแต่นั้นมาการปกครองในท้องถิ่น ได้มีมาอย่างต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน

โดยการเลือกตั้งท้องถิ่นทำให้มีระบบการบริหารราชการส่วนท้องถิ่นและโครงสร้างการบริหารงานของเกาหลีใต้ได้นำเอาระบบรัฐบาลท้องถิ่นแบบ 2 ชั้นมาใช้คือ ชั้นบน ได้แก่ ระดับภูมิภาค รัฐบาลท้องถิ่นรวมจังหวัดและเมืองมหานคร และระดับต่ำกว่า ได้แก่ ระดับเทศบาล รัฐบาลท้องถิ่นได้รวมถึงเขตชนบท เมือง และอำเภอ ซึ่งเป็นผลมาจากการควบรวมกิจการเมืองชนบทและการรวมในเมือง ตั้งแต่ปี 1995 (พ.ศ.2538) จำนวนรวมของหน่วยงานในกำกับของรัฐได้ลดลงไป โดยแต่ละฝ่ายทั้งฝ่ายนิติบัญญัติและบริหารนั้นมาจากการที่ประชาชนในพื้นที่นั้นๆเลือกเข้ามาโดยตรง ทั้งนี้การทำงานก็ขึ้นอยู่กับการเมืองระดับชาติเช่นกัน

บทบาทของการปกครองท้องถิ่น[แก้]

ตามรัฐธรรมนูญของประเทศเกาหลีใต้ มาตรา 9 ให้รัฐบาลท้องถิ่นที่มีหน้าที่ที่ต้องดำเนินงานในท้องถิ่นตามสภาพพื้นที่ในแต่ละพื้นที่ และยังมีหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายจากรัฐบาลกลาง ในพระราชบัญญัติได้ระบุหน้าที่ของรัฐบาลท้องถิ่นออกเป็น 6 ประเภทของการทำงาน ดังนีh

  • ทำหน้าที่เกี่ยวกับเขตอำนาจ ด้านองค์กร และการบริหารจัดการของรัฐบาลท้องถิ่น
  • ทำหน้าที่ในการส่งเสริมสวัสดิการทั่วไปให้กับประชาชนในท้องถิ่น
  • ทำหน้าที่เกี่ยวกับการส่งเสริมอุตสาหกรรมและรวมทั้งการเกษตร การป่าไม้ การค้าอุตสาหกรรม ฯลฯ
  • ทำหน้าที่เกี่ยวกับการพัฒนาด้านต่างๆในระดับภูมิภาค การก่อสร้าง และการจัดการสิ่งอำนวยความสะดวกด้านสิ่งแวดล้อม
  • ทำหน้าที่ในการส่งเสริมการศึกษา วัฒนธรรม กิจกรรมกีฬา และศิลปะ
  • ทำหน้าที่ในการป้องกันพลเรือนและดับเพลิง

และในความเป็นจริงนั้น ขอบเขตของการทำงานของรัฐบาลท้องถิ่นมีค่อนข้างจำกัด มีเงื่อนไขตามมาตรา 9 ของ รัฐธรรมนูญ มีข้อจำกัดมากมายของอำนาจและหน้าที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น แม้จะมีการระบุหน้าที่ของรัฐบาลท้องถิ่นที่ระบุไว้ในกฎหมายนี้แล้วนั้น รัฐบาลกลางอาจใช้อำนาจของตัวเองและควบคุมการดำเนินงานใด ๆของรัฐบาลท้องถิ่นได้ หากว่ากฎหมายอื่นกำหนดให้ข้อนั้นเป็นหน้าที่ของรัฐบาลกลาง

ปัจจุบันกฎหมายที่ระบุหน้าที่ของรัฐบาลท้องถิ่นดังกล่าว ทำให้หน้าที่ของรัฐบาลกลางซึ่งมีอำนาจน้อยลง อำนาจหน้าที่และการปกครองตนเองของรัฐบาลท้องถิ่น ตามข้อมูลของประธานคณะกรรมาธิการการกระจายอำนาจ ในปี 2009 (พ.ศ. 2552) รัฐบาลกลางยังคงมีอำนาจตัดสินใจขั้นสุดท้ายกว่าร้อยละ 70 ในขณะที่รัฐบาลท้องถิ่นอำนาจตัดสินใจเพียงร้อยละ 30 เท่านั้น และหน้าที่ของรัฐบาลท้องถิ่นที่ได้รับมอบหมายจากรัฐบาลกลางมีเพียงร้อยละ 3.6 

อ้างอิง[แก้]

  1. นครินทร์ เมฆไตรรัตน์ และคณะ. ทิศทางการปกครองท้องถิ่นของไทยและต่างประเทศเปรียบเทียบ (กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์วิญญูชน.2546) 185-216

อ้างอิงแหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

  1. สำนักงานคณะกรรมการการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี 2558
  2. ประวัติศาสตร์เกาหลี เรื่องราวความเป็นมาในแต่ละยุคของเกาหลี. เข้าถึงได้จาก http//: www.wonderfulpackage.com/เกาหลีใต้ สืบค้นเมื่อวันที่่ 3 เมษายน 2560
  3. สาธารณรัฐเกาหลี สถาบันอาณาบริเวณศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
  4. ความเป็นมาของประเทศเกาหลี. เข้าถึงได้จาก http//: www.iam.hunsa.com. สืบค้นเมื่อวันที่ 3 เมษายน 2560
  5. Jin-Wook Cho. Local Government and Public Administration in Korea. (Korea University) 23-59