ข้ามไปเนื้อหา

ผู้ใช้:Chin844/ทดลองเขียน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ฌอง-ลุค เมลองชง[แก้]

มิตสึโกะ โฮริเอะ[แก้]

มิตสึโกะ โฮริเอะ
堀江美都子
ชื่อเกิดมิตสึโกะ โฮริเอะ
รู้จักในชื่อมิตสึโกะ อาซามิ
เกิด8 มีนาคม พ.ศ. 2500 (67 ปี)
ยามาโตะ จังหวัดคานางาวะ ประเทศญี่ปุ่น
แนวเพลง
อาชีพ
  • นักร้อง
  • นักพากย์
  • นักแสดง
เครื่องดนตรีเสียงร้อง
ช่วงปีพ.ศ. 2509 - ปัจจุบัน
ค่ายเพลงนิปปงโคลัมเบีย
คู่สมรสอากิโอะ อาซามิ (สมรส 2527)
เว็บไซต์www.micchi.net

มิตสึโกะ โฮริเอะ (ญี่ปุ่น: 堀江 美都子โรมาจิHorie Mitsuko) หรือชื่อสมรส มิตสึโกะ อาซามิ (ญี่ปุ่น: 浅見 美都子โรมาจิAsami Mitsuko) เกิดเมื่อวันที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2500 ณ ยามาโตะ จังหวัดคานางาวะ เป็นนักร้อง นักพากย์ และนักแสดงชื่อดังชาวญี่ปุ่น

มี่ชื่อเสียงจากขับร้องเพลงเปิดและเพลงปิดเรื่องอนิเมะ หรือเพลงอนิเมะ เช่นของ แคนดี้ แคนดี้ สาวน้อยจอมแก่น ที่ทำให้เขาดังและมีชื่อเสียง จึงได้รับฉายา "ราชินีแห่งอะนิซอง"[1][2] และได้ขับร้องมากกว่า 1,000 บทเพลง นอกนั้น เธอก็ได้ประสบความสำเร็จในการพากย์เสียง จากชาโดว์กาแล็กติก้า คุณพ่อขายาวที่รัก เซนต์เซย์ย่า ดราก้อนบอล ดร.สลัมป์กับหนูน้อยอาราเล่ แม่มดน้อยอั๊กโกะจัง และอีกมากมาย

ประวัติ[แก้]

วงการเพลง[แก้]

มิตสึโกะ โฮริเอะ เริ่มเข้าสู้วงการเพลงใน พ.ศ. 2509 ได้เข้าแข่งขันรายการ Nisshin Chibikko no Dojiman (日清ちびっこのどじまん) แต่แม้เธอได้รับอันดับที่สองก็ได้เข้าเป็นสมาชิกคณะนักร้องประสานเสียงในสังกัดสถานีโทรทัศน์[3] แล้วในที่สุด เธอก็ได้ออกเพลงอนิเมะเพลงแรกในชีวิตใน พ.ศ. 2512 ด้วยสังกัดนิปปงโคลัมเบีย ซึ้งเป็นสังกัดเพลงของเธอโดยมาตลอด เป็นเพลงเปิดของอนิเมะ ยูโดบอย (ญี่ปุ่น: 紅三四郎โรมาจิKurenai Sanshirō)[1]

กระทั้ง พ.ศ. 2519 เพลง "แคนดี้ แคนดี้" เพลงเปิดของเรื่องอนิเมะ แคนดี้ แคนดี้ สาวน้อยจอมแก่น ทำให้เขาได้รับความนิยมมากขึ้น แล้วซิ้งเกิ้ลซึ้งออกในรูบแบบแผ่นเสียงในตอนนั้นได้ขายมากกว่า 1 ล้านชุด[4] อย่างไรก็ตาม ใน พ.ศ. 2520 เธอได้ขับร้องเพลงเปิดอนิเมะเรื่อง Chōdenji Machine Voltes V (日清ちびっこのどじまん) ซึ้งได้รับความนิยมในประเทศฟิลิปปินส์ในหลายปีที่ต่อมา[5]

วงการแสดงและพากย์[แก้]

โฮริเอะ เริ่มแสดงในละครโทรทัศน์แนวโทกูซัตสึใน พ.ศ. 2519 เรื่อง สเปส ไอรอนแมน เคียวดิน (ญี่ปุ่น: 宇宙鉄人キョーダインโรมาจิUchū Tetsujin Kyōdain) แต่เธอไม่ปรากฎตัวเป็นนักแสดงบ่อยเนื่องจากงานเพลงและงานพากย์เสียงอีกด้วย

เธอเริ่มพากย์เสียงบทการ์ตูนอนิเมะ ใน พ.ศ. 2521 กับเรื่อง ไดเคนโกะ ผู้พิทักษ์อวกาศ (ญี่ปุ่น: 宇宙魔神ダイケンゴーโรมาจิUchū Majin Daikengo) จากนั้นได้รับบทพากย์อีกมากมาย เช่นในเรื่อง เทพธิดาลาลาเบล (ญี่ปุ่น: 魔法少女ララベルโรมาจิMahō Shōjo Lalabel) พ.ศ. 2523 เรื่อง ดร.สลัมป์ กับหนูน้อยอาราเล่ พ.ศ. 2524 หรือเรื่อง แม่มดน้อยอั๊กโกะจัง ใน พ.ศ. 2531 แต่บทการ์ตูนที่ทำให้เธอมีชื่อเสียง มาจากเรื่อง เซนต์เซย์ย่า พ.ศ. 2529 หรือ ชาโดว์กาแล็กติก้า พ.ศ. 2539

ชีวิตส่วนตัว[แก้]

มิตสึโกะ โฮริเอะ ได้จดลงทะเบียนเป็นคู่สมรสกับ อากิโอะ อาซามิ ใน พ.ศ. 2527 ซึ้งตอนนั้นเธออายุ 27 ปี จากนั้นเธอก็มีบุตรชาย 1 คน[6]

ผลงานเพลง[แก้]

เพลงอนิเมะ[แก้]

ซิ้งเกิ้ลเดี่ยว[แก้]

  1. คูเรไนซันชิโระ (紅三四郎), พ.ศ. 2512
  2. ฮาคุบิมุสุเมะ
ปี อนิเมะ ชื่อเพลง เพลงเปิด เพลงปิด หมายเหตุ
2512 คูเรไนซันชิโระ

Kurenai Sanshiro 紅三四郎

คูเรไนซันชิโระ

紅三四郎

 สำเร็จ|data-sort-value="No" style="background: #FFD2D2; color:black; vertical-align: middle; text-align: center; " class="table-no2" | ไม่
ฮาคุชอนไดมาโอ

Hakushon Daimaou ハクション大魔王

อาคุบิมุสุเมะ

アクビ娘

2513 มาโฮโนมาโกะจัง

Mahou no Mako-chan 魔法のマコちゃん

มาโฮโนมาโกะจัง

魔法のマコちゃん

โบกูวะมามาโกะ

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 moomanoww (2017-05-22). "5 นักร้องระดับตำนานของวงการเพลงอนิเมะ". Mango Zero.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  2. "โคจิ วาดะ นักร้อง 'ดิจิมอน', มาซามิ โอคุอิ คอนเฟิร์มร่วมงาน Thai Japan Anime & Music Festival 2014 (2014-03-31)". PINGBOOK. 2016-10-29.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  3. "アニソンひと筋50年・堀江美都子「『キャンディ キャンディ』のヒットで一躍アイドルに」 歌えばいつでも少女の心に". 婦人公論.jp (ภาษาญี่ปุ่น). 2020-02-12.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  4. "(2ページ目)アニソンひと筋50年・堀江美都子「『キャンディ キャンディ』のヒットで一躍アイドルに」 歌えばいつでも少女の心に". 婦人公論.jp (ภาษาญี่ปุ่น). 2020-02-12.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  5. พัฒนกำจร, ภาส (2021-04-27). "Voltes V อนิเมะแห่งชาติฟิลิปปินส์ ที่สั่นสะเทือนเผด็จการในยุคกฎอัยการศึก". Film Club.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  6. "(3ページ目)アニソンひと筋50年・堀江美都子「『キャンディ キャンディ』のヒットで一躍アイドルに」 歌えばいつでも少女の心に". 婦人公論.jp (ภาษาญี่ปุ่น). 2020-02-12.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)

การเลือกตั้งสมาชิกสมัชชาแห่งชาติฝรั่งเศส[แก้]

การเลือกตั้งสมาชิกสมัชชาแห่งชาติของฝรั่งเศส ค.ศ. 2022 จัดขึ้นรอบแรกในวันอาทิตย์ที่ 12 มิถุนายน ค.ศ. 2022 และรอบที่ 2 ในวันอาทิตย์ที่ 19 มิถุนายน ค.ศ. 2022 เพื่อเลือกตั้งทั้ง 577 ที่นั่งของสมัชชาแห่งชาติของฝรั่งเศส

การเลือกตั้งนี้เกิดขึ้นหลังจากแอมานุแอล มาครง ได้รับเลือกตั้งเป็นประธานาธิบดีฝรั่งเศสสมัยที่ 2 ในการเลือกตั้งประธานาธิบดีในเดือนเมษายนของปีเดียวกัน

ผลการเลือกตั้งปรากฎว่าพันธมิตร อ็องซ็องบล์ ซึ้งเป็นพันธมิตรพรรคการเมืองฝ่ายสนับสนุนประธานาธิบดีมาครง ได้ชนะเพียง 150 ที่นั่งในสมัชชาแห่งชาติ ซึ้งไม่ใช่เสียงข้างมากเช่นที่ที่นั่งชนะในการเลือกตั้งครั้งก่อน (ค.ศ. 2017, 308 ที่นั่ง) แม้แต่พรรคลาเรปูว์บลีก็องมาร์ช พรรคของประธานาธิบดีมาครง ได้เป็นแกนนำจัดตั้งรัฐบาลแต่ก็ยังคงเป็นรัฐบาลเสียงข้างน้อยเนื่องจากฝ่ายรัฐบาลมีเพียงแค่ 245 ที่นั่ง[1]

นับเป็นครั้งแรกที่สุดตั้งแต่ค.ศ. 1997 ที่ประธานาธิบดีฝรั่งเศสที่ชนะการเลือกตั้งประธานาธิบดีก่อนหน้านี้ไม่มีเสียงข้างมากในสมัชชาแห่งชาติ แต่ในที่สุด ไม่มีกลุ่มพันธมิตรหรือพรรคใดที่ได้รับเสียงข้างมากในการเลือกตั้งครั้งนี้

เบื้องหลัง[แก้]

การเลือกตั้งประธานาธิบดี ค.ศ. 2022[แก้]

แอมานุแอล มาครง ผู้สมัครของพรรคลาเรปูว์บลีก็องมาร์ชที่ได้รับเลือกตั้งเป็นประธานาธิบดีฝรั่งเศสในการเลือกตั้งของค.ศ. 2017 ได้รับเลือกตั้งเป็นประธานาธิบดีสมัยที่ 2 ในการเลือกตั้งครั้งปีค.ศ. 2022 ซึ้งผลการเลือกตั้งปรากฎว่ามาครงได้ครองอันดับที่หนึ่งในรอบที่ 1 (ซึ้งจัดขึ้นเมื่อวันที่ 10 เมษายน) ด้วยคะแนนมากกว่า 27.9% ตามมาด้วยอันดับที่ 2 ครองโดยมารีน เลอ แปน ผู้สมัครของพรรคแนวร่วมแห่งชาติซึ้งได้รับคะแนนมากกว่า 23.1% แล้วในที่สุด ในรอบที่ 2 (ซึ้งจัดขึ้นเมื่อวันที่ 24 เมษายน) มาครงก็ได้ชนะการเลือกตั้งด้วยคะแนนมากกว่า 58.5% เลอ แปนนั้นได้รับคะแนนเพียงแค่ 41.4%

ระบบการเลือกตั้ง[แก้]

สมาชิกสมัชชาแห่งชาติจำนวน 577 คน ซึ้งเทียบกับสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรได้ ได้รับการเลือกตั้งเป็นเวลา 5 ปี โดยระบบสองรอบในเขตเลือกตั้งที่มีสมาชิกเดียว

ผู้สมัครที่ได้รับคะแนนเสียงส่วนใหญ่คะแนนเสียงรวมมากกว่า 25% ของผู้มีสิทธิเลือกตั้งที่ลงทะเบียนจะได้รับการเลือกตั้งในรอบแรก แต่หากไม่มีผู้สมัครคนใดได้รับเสียงข้างมากก็จัดขึ้นรอบที่สองระหว่างผู้สมัครสองคนอันดับต้น ๆ บวกกับผู้สมัครคนอื่นที่ได้รับคะแนนเสียงรวมมากกว่า 12.5% ของผู้ลงคะแนนที่ลงทะเบียน

อย่างไรก็ตาม ผู้สมัครที่ได้รับคะแนนเสียงมากที่สุดในรอบที่สองจะได้รับเลือก

ก่อนการเลือกตั้ง[แก้]

ในบริบทของการเลือกตั้งสมาชิกสมัชชาแห่งชาติที่กำลังจะมาถึง และในฐานะพรรคฝ่ายซ้ายที่ครองอันดับที่ 3 และคะแนนอันที่มากที่สุดทางฝ่ายซ้ายในการเลือกตั้งประธานาธิบดีที่ผ่านมา ซึ้งเป็นพรรค ลาฟร็องแซ็งซูมีซ ที่นำโดยฌ็อง-ลุก เมล็องชง อดีตสมาชิกสมัชชาแห่งชาติ พรรคดังกล่าวมีการเปิดตัวพันธมิตรสหภาพประชาชนเชิงนิเวศน์และสังคมใหม่ (ฝรั่งเศส: Nouvelle Union populaire écologique et sociale) เมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม ค.ศ. 2022 โดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อรวบร่วมพรรคการเมืองหลักทางฝ่ายซ้ายสำหรับการเลือกตั้งครั้งนี้ จากนั้นก็ได้มีการหารือกับหลายพรรคเช่นพรรคนักนิเวศวิทยาที่เข้าร่วมในพันธมิตรเมื่อวันที่ 2 พฤษภาคม ค.ศ. 2022 พรรคคอมมิวนิสต์ฝรั่งเศสที่เข้าร่วมเมื่อวันที่ 3 พฤษภาคม ค.ศ. 2022 และพรรคสังคมนิยมที่เข้าร่วมเมื่อวันที่ 4 พฤษภาคม ค.ศ. 2022 ส่งผลให้เกิดพันธมิตรพรรคการเมืองฝ่ายซ้ายแบบกว้างเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่พันธมิตร "พหูพจน์ซ้าย" (Gauche plurielle) ที่ก่อตั้งขึ้นเพื่อการเลือกตั้งสมาชิกสมัชชาแห่งชาติ ค.ศ. 1997

ทางฝ่ายพรรคที่สนับสนุนประธานาธิบดีมาครง พรรค ลาเรปูว์บลีก็องมาร์ช ที่เปลี่ยนชื่อพรรคเป็น เรอแนซ็องส์ เมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม ค.ศ. 2022 ได้เปิดตัวพันธมิตร ฝ่ายเสียงข้างมากของประธานาธิบดีซึ้งนอกจากพรรคเรอแนซ็องส์นั้นมีการเข้าร่วมของพรรคอื่น ๆ เช่นขบวนการประชาธิปไตย (Mouvement démocrate, MODEM) พรรคโฮรีซงส์ (Horizons, HOR; แปลว่า ขอบเขตอันไกลโพ้น) พรรคร่วมกัน (En commun, EC) พรรคดินแดนแห่งความก้าวหน้า (Territoires de progrès, TDP) พรรคอาชีร์ (Agir; แปลว่า ทำ) และพรรคหัวรุนแรง (Parti radical, PR)

พรรคการเมืองและพันธมิตร[แก้]

พันธมิตรพรรคการเมือง[แก้]

ชื่อ พรรคการเมืองร่วม
อ็องซ็องบล์ !

Ensemble (ENS)

ลาเรปูว์บลีก็องมาร์ช !
ขบวนการประชาธิปไตย
โฮรีซงส์
พรรคหัวรุนแรง
พรรคร่วมกัน
ดินแดนแห่งความก้าวหน้า
อาชีร์
สหภาพประชาชนเชิงนิเวศน์และสังคมใหม่

Nouvelle Union populaire écologique et sociale (NUPES)

ลาฟร็องแซ็งซูมีซ
พรรคนักนิเวศวิทยา
  1. "ผลการเลือกตั้งสภาฝรั่งเศส ความพ่ายแพ้ในชัยชนะของ เอมมานูเอล มาครง". plus.thairath.co.th.