ผู้ใช้:Cakekann/กระบะทราย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

วิวัฒนาการรัฐประศาสนศาสตร์ในประเทศไทย[แก้]

จุดเริ่มต้นของรัฐประศาสนศาสตร์[แก้]

รัฐประศาสนศาสตร์เกิดขึ้นอย่างเป็นทางการในประเทศสหรัฐอเมริกา “รัฐประศาสนศาสตร์” เป็นคำมาจากภาษาอังกฤษ คือ Public Administration หมายถึง การบริหารที่เน้นในเรื่องระบบราชการ หรืองานที่รัฐบาลเข้าไปมีส่วนเกี่ยวข้อง 

ลีโอนาโด ดี. ไวท์ (Leonard D. White) [1] ​กล่าวว่า รัฐประศาสนศาสตร์ คือ การดำเนินการทั้งหลายมุ่งหรือมีจุดประสงค์ให้นโยบายของรัฐสามารถบังคับใช้ได้ หรือประสบความสำเร็จตามที่ตั้งเป้าหมายไว้

ดไวท์ วอลโด (Dwight Waldo) [2]​ กล่าวว่า รัฐประศาสนศาสตร์ คือ วิทยาการเกี่ยวกับพื้นฐาน และวิธีการในการปฏิบัติงานให้ดำเนินตามนโยบายของรัฐที่ได้มีการกำหนดเอาไว้ รัฐประศาสนศาสตร์จะมุ่งเน้นแสวงหาหลักและวิธีการในการดำเนินงาน ให้มีความเรียบร้อยและมีประสิทธิภาพมากขึ้น

นิโคลัส เฮนรี่ (Nicholas Henry) [3] กล่าวว่า รัฐประศาสนศาสตร์ คือ วิชาที่มีลักษณะเฉพาะ มีสาระสำคัญในการรักษาเกี่ยวกับโครงสร้างและพฤติกรรมของระบบราชการ ศึกษาองค์การของรัฐซึ่งเป็นองค์การที่ไม่มุ่งหวังผลกำไร แต่มีหน้าที่ในการบริการประชาชนหรือบริการสาธารณะ

เฟลิกซ์ เอ. ไนโกร และ ลอยด์ จี. ไนโกร (Felix A. Nigro and Lloyd G. Nigro) กล่าวว่า รัฐประศาสนศาสตร์ คือ 1) ความร่วมมือในการทำงานของหน่วยงาน 2) ปฏิบัติงานครอบคลุมอำนาจอธิปไตย 3 ฝ่าย คือ ฝ่ายบริหาร ฝ่ายนิติบัญญัติ และฝ่ายตุลาการ 3) มีบทบาทสำคัญในการกำหนดนโยบายสาธารณะของรัฐ 4) มีความแตกต่างในการบริหาร การจัดการของเอกชนอย่างชัดเจน 5) มีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับกลุ่มหรือหน่วยงานทางเอกชน

จากที่กล่าวมาข้างต้น รัฐประศาสนศาสตร์ คือ สาขาวิชาหนึ่งของรัฐศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงาน การบริหารงานของภาครัฐ รัฐสามารถธำรงอยู่ได้และพัฒนาให้เจริญก้าวหน้าได้ รัฐประศาสนศาสตร์ เป็นวิชาที่มีเนื้อหามากมาย โดยมุ่งจะนำความรู้จากศาสตร์ต่างๆมาประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อการบริหารราชการ

รัฐประศาสนศาสตร์เป็นศาสตร์ที่เริ่มต้นมาตั้งแต่สมัยโบราณ ซึ่งเป็นการรวมกลุ่มกัน โดยมีวัตถุประสงค์เกี่ยวกับการบริหาร ทั้งด้านการจัดทำแผน การกำหนดนโยบาย การจัดหาวัสดุและคน การควบคุมและประสานงาน การบังคับให้สร้างเพื่อความเชื่อ ดังกรณีการสร้างพีระมิด กำแพงเมืองจีน ทัชมาฮาล ปราสาทนครวัด และได้พัฒนาระบบแพร่หลายไปทั่วโลก โดยมีแหล่งกำเนิดในประเทศสหรัฐอเมริกาอย่างเป็นทางการ โดยเทศบาลนิวยอร์กมีความคิดริเริ่มที่สำคัญในการพัฒนาวิชาการรัฐประศาสนศาสตร์ เพื่อใช้แก้ไขปัญหา โดยใช้วิธีการบริหารเพื่อวิเคราะห์โครงสร้างพื้นฐาน และปรับกลไกการคัดเลือกคนเข้าทำงาน

วิวัฒนาการของรัฐประศาสนศาสตร์ของประเทศไทย[แก้]

ในช่วงระยะแรก (ค.ศ.1954 - 1965)

ก่อนปี ค.ศ.1954 มีนักวิชาการของไทยหลายท่านได้มีการเขียนเรื่อง การบริหารงานของภาครัฐ [4] เช่น ผลงานเขียนของพระยาสุนทรพิพิธ (เชย สุนทรพิพิธ) [5] เรื่องลักษณะผู้ปกครอง คำบรรยายของหลวงนรกิจบริหาร เรื่องการจัดการระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน [6] และข้อเขียนของขุนพินิจรถการ เรื่องผู้บังคับบัญชา - ผู้นำ ซึ่งถือเป็นจุดกำเนิดของวิชารัฐประศาสนศาสตร์ไทยสมัยใหม่ ลักษณะเด่นของวิชารัฐประศาสนศาสตร์ในประเทศไทย ในช่วงแรก (ค.ศ.1954-1965) คือ ผลงานเขียนของนักวิชาการไทย โดยมีวัตถุประสงค์ให้เล็งเห็นประโยชน์และความสำคัญของวิชารัฐประศาสนศาสตร์ โดยวิชานี้สามารถรักษาและเพิ่มพูนประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการบริหารงานของรัฐได้ เป็นเหตุที่ทำให้ประเทศไทยสามารถพัฒนาประเทศไทยให้ก้าวหน้าขึ้นได้ การที่คนไทยเริ่มชอบในหลักการบริหารงานแผนใหม่ที่ยึดหลักหารเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผลเป็นเกณฑ์ นักวิชาการ ชุบ  กาญจนประการ ให้ความเห็นว่าวิชารัฐประศาสนศาสตร์มีประโยชน์ อีกสามประการ คือ ประการแรก "การศึกษาวิชารัฐประศาสนศาสตร์จะช่วยให้แต่ละคนมีความเข้าใจในเหตุผลของการปฏิบัติงานและข้อจำกัดในการบริหารงาน จะช่วยส่งเสริมให้แต่ละคนสามารถแก้ไขปัญหาต่างๆ เกี่ยวกับการบริหารงานให้ดีขึ้น" ประการที่สอง "การที่ข้าราชการมีความรู้และความเข้าใจเรื่องในดังกล่าว จะช่วยส่งเสริมให้ข้าราชการมีความสามารถในภารกิจที่จะต้องปฏิบัติราชการอย่างสามัคคีธรรม และจะล่วงรู้ถึงปัญหาส่วนรวมที่จะต้องร่วมกันทำเป็นกลุ่ม" และประการที่สาม "วิชารัฐประศาสนศาสตร์ยังอยู่ในระหว่างการพัฒนาอย่างเป็นระบบในการบริหารงานพัฒนาประเทศที่ด้อยหรือกำลังพัฒนา"

1.การเสนอทฤษฎีและแนวคิดต่างประเทศ - วิวัฒนาการของรัฐประศาสนศาสตร์ในประเทศไทย ได้มีนักวิชาการอีกหลายท่านได้นำแนวคิดและทฤษฎีของต่างประเทศ ให้เข้ามาเผยแพร่ในประเทศไทย โดยมาเผยแพร่ในเรื่อง การเสนอทฤษฎีแนวความคิดของต่างประเทศ และการศึกษาการบริหารราชการในไทย แต่การนำเข้ามาของนักวิชาการนั้นยังไม่เป็นระบบนักทำให้ไม่สามารถเรียงความสำคัญได้เนื่องจากประชากรภายในประเทศส่วนใหญ่ยังขาดความรู้ในด้านรัฐประศาสนศาสตร์อยู่มากพอสมควร โดยนักวิชาการทั้งหลายมีความเชื่อว่า การนำทฤษฎีการบริหารราชการของต่างประเทศมาปรับใช้ในประเทศไทยนั้นจะเป็นส่วนช่วยในการพัฒนาประเทศชาติให้มีความก้าวหน้ามากขึ้น ระบบราชการของไทยนั้นมีประสิทธิภาพมากขึ้น มีการทำงานอย่างเป็นระบบ โดยมุ่งหวังไปที่ความต้องการของประชาชนเป็นส่วนใหญ่ และไม่หวังผลตอบแทน

2.การศึกษาการบริหารราชการไทย - นักวิชาการในช่วงระยะแรกนี้ได้ศึกษาการบริหารราชการของไทย แต่เป็นไปอย่างไม่เป็นระบบเช่นเดียวกับการเสนอทฤษฎีและแนวความคิด กล่าวคือ นักวิชาการทานใด มีควา่มสนใจเรื่องไหนก็มุ่งศึกษาในเรื่องนั้นไปเลย เช่น ชุบ กาญจนประกร สนใจศึกษาและเสนอข้อเขียนในเรื่องระบบเทศบาลของไทย เกษม อุทยานิน ศึกษาเรื่องระบบราชการไทย และอาษา เมฆสวรรค์ เขียนเสนอข้อเขียนเรื่องผู้ว่าราชการจังหวัด เป็นต้น

ในช่วงที่สอง (ค.ศ.1966 - 1973)

วิวัฒนาการของวิชารัฐประศาสนศาสตร์ในประเทศมีการพัฒนามากขึ้นและเป็นที่ยอมรับของนักวิชาการหลายๆท่าน และบุคลากรต่างๆตลอดจนรวมไปถึงประชากรในประเทศ ยกให้รัฐประศาสนศาสตร์เป็นศาสตร์ที่มีประโยชน์ควรค่าแก่การศึกษาและเรียนรู้ และให้ราชการนำไปประยุกต์ใช้เพื่อให้เกิดประโยชน์ในการบริหาร

1.การเสนอทฤษฎีและแนวคิดต่างประเทศ - การแนะนำแนวคิดและทฤษฎีในช่วงที่สอง ได้ลดจำนวนน้อยลงเมื่อเปรียบเทียบในช่วงระยะแรก เนื่องจากไม่มีนักวิชาการคนใดสนใจในแนวคิดและทฤษฎีของวิชารัฐประศาสนศาสตร์เท่ากับในระยะแรก ในการบริหารราชการ เป็นสาขาวิชาที่มีระเบียบวิธีการศึกษาในทางทฤษฎีโดยรวมเอาหลักวิชามาจัดเป็นระบบการศึกษาเพื่อให้เข้าใจในวิธีการบริหารราชการโดยมุ่งถึงการประหยัดประสิทธิภาพและประสิทธิผล ต่อมาได้มีการพัฒนาการบริหาร แนวความคิดเกี่ยวกับการจัดองค์กร การวางแผนงาน การจัดองค์กร การมอบอำนาจหน้าที่ การประสานงาน การติดต่อสื่อสาร การวินิจฉัยสั่งการและควบคุมงาน

2.การศึกษาการบริหารราชการไทย - แม้ว่าในช่วงนี้นักวิชาการจะไม่มีการศึกษาในแนวคิดทฤษฎีเพิ่มเติม แต่ก็มีนักวิชาการจำนวนมากที่หันมาให้ความสนใจในเรื่องการบริหารงานของประเทศไทย โดยมีการศึกษาเพื่อแสวงหาการบริหารงานอย่างเหมาะสมในประเทศไทย โดยมีการพัฒนาฝึกอบรมข้าราชการในประเทศ โดยชี้ให้เห็นว่าการทำงานแบบเดิมนั้นเป็นอุปสรรคในการทำงานและพัฒนาประเทศ และได้นำเอาความรู้ทางรัฐประศาสนศาสตร์แบบตะวันตกมาประยุกต์ใช้ในการบริหารราชการไทยเป็นสิ่งที่มีประโยชน์อย่างมาก และได้จัดทำโครงการต่างๆเพิ่มมากขึ้น เช่น จัดตั้งกรมพัฒนาภูมิภาคและชนบทขึ้นในสำนักนายกรัฐมนตรี จัดทำชลประธาน สร้างเขื่อน สร้างทางหลวงต่างๆ จัดตั้งการประปานครหลวง

ช่วงปัจจุบัน (ค.ศ.1974 - ปัจจุบัน)

ในช่วงปัจจุบันวิชารัฐประศาสนศาสตร์ในประเทศไทยได้เจริฐเติบโตขึ้นมาก กล่าวคือเป็นช่วงที่นักวิชาการไทยได้ทำการจัดทำผลงาน หนังสือและบทความทางสาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ออกมาเผยแพร่เป็นจำนวนมาก เรียกได้ว่าเป็น "ยุคทอง" ของการถ่ายทอดความรู้ทางรัฐประศาสนศาสตร์จากต่างประเทศนำมาสู่ไทย [7][8][9][10][11]

  1. https://en.wikipedia.org/wiki/Leonard_D._White
  2. https://en.wikipedia.org/wiki/Dwight_Waldo
  3. http://oknation.nationtv.tv/blog/PublicAdm/2012/08/25/entry-1
  4. http://www.dusit.ac.th/department/about/mngood.html
  5. พระยาสุนทรพิพิธ,ลักษณะผู้ปกครอง
  6. https://www.moac.go.th/download/ledit%20001.pdf
  7. พิทยา บวรวัฒนา,รัฐประศาสนศาสตร์,สำนักพิมพ์โอเดียนสโตร์,พิมพ์ครั้งที่ 1,2526
  8. ศ.ดร.บุญทัน ดอกไธสง,ขอบข่ายรัฐประศาสนศาสตร์ยุคโลกาภิวัฒน์,สำนักพิมพ์ปัญญาชน,2553
  9. ศาสตราจารย์ ดร.ติน ปรัชญพฤทธิ์,รัฐประศาสนศาสตร์เปรียบเทียบ,สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย,2535
  10. รศ.ดร.เรืองวิทย์ เกษสุวรรณ,ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับรัฐประศาสนศาสตร์,2554
  11. ผศ.ว่าที่ร้อยตรี ดร.เอกวิทย์ มณีธร,รัฐศาสตร์