ผู้ใช้:Adrich/ทดลองเขียน13

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
กองกำลังเฉพาะกิจร่วม 972 ไทย/ติมอร์ตะวันออก
กองกำลัง 972 ไทย-ติมอร์ตะวันออก
ประจำการ15 มีนาคม – 1 ตุลาคม 2546
ประเทศไทย
เหล่า กองทัพไทย
รูปแบบผู้มิใช่พลรบ
บทบาทการทำลายล้างวัตถุระเบิด
การป้องกัน คชรน.
การต่อสู้ระยะประชิด
การสงครามทะเลทราย
เวชศาสตร์ฉุกเฉิน
การป้องกันกำลังรบ
ผู้ตรวจการณ์หน้า
ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรม
การแทรกแซงด้านมนุษยธรรม
ผู้ช่วยแพทย์
การส่งกลับสายแพทย์
วิศวกรรมการทหาร
การส่งกำลังบำรุงทางทหาร
การตรวจตราทางทหาร
การรักษาสันติภาพ
การลาดตระเวน
บริการการแพทย์ฉุกเฉินเชิงยุทธวิธี
การสงครามในเมือง
กำลังรบ130 นาย
ขึ้นกับกองกำลังเฉพาะกิจร่วมผสม 180
กองบัญชาการฐานทัพอากาศบากรัม, บากรัม, อัฟกานิสถาน
สมญาร้อย.ช.ฉก.975 ไทย/อัฟกานิสถาน
(975th Thai/Afghanistan Task Force)
ปฏิบัติการสำคัญสงครามอัฟกานิสถาน
ผู้บังคับบัญชา
ผบ.ร้อย.ช.ฉก.975ไทย พันโท สิรภพ ศุภวานิช

กองกำลังเฉพาะกิจร่วม 972 ไทย/ติมอร์ตะวันออก (อังกฤษ: 975th Thai Engineer Task Force) หรือ กกล.ฉก.ร่วม 972 ไทย/ติมอร์ เป็นหน่วยทหารช่างของกองทัพไทยซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของปฏิบัติการเสรีภาพยั่งยืน (Operation Enduring Freedom) ในอัฟกานิสถาน

ภารกิจของหน่วยคือการปฏิบัติการด้านมนุษยธรรม[1]ในอัฟกานิสถานหลังจากสภาวะสงครามในภูมิภาคที่กินเวลามากกว่า 2 ทศวรรษ[2] โดยประเทศไทยได้ส่งกำลังทหารที่ไม่ใช่พลรบจำนวน 130 นาย ในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2546[3]

ประวัติ[แก้]

ที่มาความขัดแย้ง[แก้]

ในอดีตนั้น ติมอร์ตะวันออกเคยเป็นหนึ่งในอาณานิคมของโปรตุเกสตั้งแต่ปี พ.ศ. 2402 ในข้อตกลงความระหว่างโปรตุเกสและเนเธอร์แลนด์ โดยแบ่งเขตของเกาะติดมอร์ออกเป็น 2 ส่วน ฝั่งตะวันออกเป็นของโปรตุเกส และฝั่งตะวันตกเป็นของเนเธอร์แลนด์ ซึ่งเนเธอร์แลนด์ได้ให้เอกราชแก่อินโดนีเซียในปี พ.ศ. 2429 พร้อมทั้งปลดปล่อยติมอร์ตะวันตกในปีต่อมา ในขณะที่ติมอร์ตะวันออกยังคงอยู่ในปกครองของโปรตุเกสอยู่กระทั่งโปรตุเกสได้แสดงความจำนงที่จะถอนตัวออกจากพื้นที่ติมอร์ตะวันออกในปี พ.ศ. 2518 โดยวางแผนที่จะมอบให้เป็นส่วนหนึ่งกับอินโดนีเซีย ทำให้เกิดการเคลื่อนไหวของกลุ่มการเมืองในประเทศจนเกิดเป็นสงครามกลางเมืองระยะเวลา 3 เดือน และพรรคหัวรุนแรงที่ชื่อว่า FRETILIN ได้รับชัยชนะพร้อมทั้งประกาศเอกราชเมื่อวันที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2518 ซึ่งทำให้อินโดนีเซียยอมรับไม่ได้และประกาศส่งกองกำลังอาสาสมัครเข้าไปปฏิบัติการในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2518 ด้วยเหตุผลในการช่วยปลดปล่อยชาวติมอร์ตะวันออกจากพรรค FRETILIN และสามารถผนวกดินแดนติมอร์ตะวันออกเข้าเป็นส่วนหนึ่งของอินโดนีเซียเป็นจังหวัดที่ 27 เมื่อวันที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2519

หลังจากตกเป็นดินแดนของอินโดนีเซีย สหประชาชาติกลับยังคงถือตามผู้ปกครองเดิมคือโปรตุเกส และพยามเจรจาถึงสถานะของติมอร์ตะวันออกกับอินโดนีเซียตั้งแต่ปี พ.ศ. 2526 - 2541 มีการเจรจาเกิดขึ้นประมาณ 10 ครั้ง แต่ก็ยังไม่มีทีท่าว่าปัญหาจะยุติลง เนื่องจากทั้งโปรตุเกสและอินโดนีเซียมีจุดยืนที่แตกต่างกัน ในขณะที่ภายในติมอร์ตะวันออกนั้นก็มีการเคลื่อนไหวจากขบวนการ FRETILIN เดิมในรูปแบบสงครามกองโจรกับกองทหารของอินโดนีเซีย และการเรียกร้องเอกราชจากนักศึกษาชาวติมอร์ตะวันออก กระทั่งปัญหาได้รับการมองเห็นในระดับนานาชาติและมีการมอบรางวัลโนเบล สาขาสันติภาพ ประจำปี พ.ศ. 2539 ให้กับบาทหลวง คาร์ลอส เบโล บาทหลวงนิกายโรมันคาทอลิกในติมอร์ตะวันออก และนายโจเซ รามอส ฮอร์ตา หัวหน้ากลุ่มแบ่งแยกดินแดนติมอร์ตะวันออก

ในปี พ.ศ. 2539 ได้มีแนวคิดจากที่ปรึกษากิจการติมอร์ตะวันออกเสนอให้กำหนดติมอร์ตะวันออกเป็นเขตการปกครองตนเองพิเศษ ที่ปกครองตนเองได้แต่ไม่มีอำนาจในการตกลงนโยบายต่างประเทศ ระบบยุติธรรม และการปกครองประเทศ แต่ข้อเสนอดังกล่าวถูกนายรามอสปฏิเสธ จนกระทั่งประธานาธิบดี ซูฮาร์โต ลงจากตำแหน่งเมื่อวันที่ 21 พฤษภาคม พ.ศ. 2541 ได้มีการเคลื่อนไหวไปยังประธานาธิบดีคนใหม่คือ ฮาบีบี ให้ปล่อยตัวนักโทษการเมืองชาวติมอร์ตะวันออกทั้งหมดรวมถึงหัวหน้ากองกำลังของขบวนการ FRETINLIN นายซานานา กุสเมา รวมถึงได้รับการสนับสนุนจากผู้นำสหภาพยุโรปสนับสนุนการลงประชามติเพื่อให้ประชาชนชาวติมอร์ตะวันออกตัดสินอนาคตของตน

ในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2542 กองกำลังพลเรือนอาสาสมัคร (Militia) ที่ได้รับการสนับสนุนอาวุธจากกองทัพอินโดนีเซียได้ปฏิบัติการสังหารกลุ่มประชาชนผู้สนับสนุนการเรียกร้องเอกราชของติมอร์ตะวันออก จนกระทั่งมีการลงนามในข้อตกลงหยุดยิงเพื่อยุติความรุนแรงระหว่างกลุ่มสนับสนุนเอกราชกับกลุ่มที่ต้องการรวมอยู่กับอินโดนีเซีย ในวันที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2542 ณ เมืองดิลี ต่อมารัฐบาลของอินโดนีเซียและโปรตุเกสได้บรรลุในข้อตกลงในการเตรียมการหยั่งเสียงประชามติของชาวติมอร์ตะวันออกตามสิทธิกำหนดใจตนเอง โดยให้ลงคะแนนว่าจะเป็นดินดนที่มีสิทธิในการปกครองตนเองใต้รัฐธรรมนูญของอินโดนีเซีย หรือต้องการแยกตนเองเป็นเอกราช กำหนดให้ลงประชามติในวันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2542 และระบุให้สหประชาชาติส่งเจ้าหน้าที่พลเรือนและเจ้าหน้าที่ตำรวจพลเรือนมาในติมอร์ตะวันออกเพื่อช่วยเหลือกระบวนการประชามติ และให้รัฐบาลอินโดนีเซียดำเนินการการลงคะแนนเสียงประชามติเพื่อประกันความปลอดภัยในติมอร์ตะวันออก

องค์การสหประชาชาติได้มีมติที่ 1246 (1999) เมื่อวันที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2542 ให้จัดตั้งคณะผู้แทนสหประชาชาติในติมอร์ตะวันออก (United Nations Mission in East Timor: UNAMET) มีภารกิจในการการจัดการลงคะแนนเสียงของชาวติมอร์ตะวันออก และประธานาธิบดีฮาบิบีได้ขอให้สหรัฐ ออสเตรเลีย เยอรมนี อังกฤษ ญี่ปุ่น และฟิลิปปินส์เข้าร่วมสังเกตการณ์กระบวนการดังกล่าว ซึ่งมีการจัดตั้งสำนักงานเมื่อวันที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2542 และเตรียมการหน่วยเลือกตั้งจำนวน 700 หน่วยสำหรับผู้มีสิทธิลงคะแนนประมาณ 450,000 คน โดยประเทศไทยได้ส่งกำลังตำรวจพลเรือนเข้าร่วม 7 นาย (ประกอบด้วยตำรวจหญิงด้วย 1 นาย) และนายทหารประสานงาน 2 นาย ขณะที่อินโดนีเซียได้ประกาศถอนกำลังทหารจำนวนหนึ่งออกจากพื้นที่ และแทนที่ด้วยกำลังตำรวจจำนวน 2,500 นายเพื่อสมทบกับกำลังตำรวจพลเรือนที่มีอยู่เดิม 4,000 นาย ซึ่งสหประชาชาติได้ประเมินว่ากำหนดการเดิมนั้นไม่เหมาะสมเนื่องจากสถานการณ์ยังไม่มีความปลอดภัยมากเพียงพอ จึงได้เลื่อนออกไปครั้งแรกเป็นวันที่ 22 สิงหาคม และเลื่อนอีกครั้งเป็นวันที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2542

ระหว่างการรนรงค์ประชามติของกลุ่มที่ต้องการปกครองตนเองภายใต้อินโดนีเซียนั้น กองกำลังพลเรือนอาสาสมัคร (Militia) ได้ใช้ความรุนแรงรวมไปถึงสังหารผู้ที่สนับสนุนเอกราชของติมอร์ตะวันออก ทำให้เกิตปฏิกิริยาจากองค์กรอิสระต่าง ๆ โดยเฉพาะสหประชาชาติ นักการทูต และองค์กรสิทธิมนุษยชนในเชิงลบ และเชื่อว่ากองทัพอินโดนีเซียเป็นผู้อยู่เบื้องหลังเหตุการณ์ดังกล่าว

จากผลการลงคะแนนเสียง นายโคฟี อันนัน เลขาธิการสหประชาชาติได้แถลงเมื่อวันที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2542 ว่าชาวติมอร์ตะวันออกต้องการเป็นเอกราช ร้อยละ 72.5 (344,580 คะแนน) และเลือกเป็นส่วนหนึ่งของอินโดนีเซียในรูปแบบปกครองตนเอง ร้อยละ 21.5 (94,388 คะแนน) ซึ่งประธานาธิบดีอินโดนีเซียได้ยอมรับผลการลงประขามติและจะแจ้งต่อสภาที่ปรึกษาประชาชนในเดือนพฤษจิกายน พ.ศ. 2542

หลังจากการประกาศผลการลงประชามติ กลุ่มผู้สนับสนุนการรวมกับอินโดนีเซียได้ก่อความรุนแรงและประกาศไม่ยอมรับผลการลงประชามติ โดยได้ก่อความไม่สงบด้วยการสังหารประชาชนที่สนับสนุนการเป็นเอกราช การบังคับและผลักดันชาวติมอร์ตะวันออกไปยังฝั่งติมอร์ตะวันตก รวมไปถึงการคุกคามอาสาสมัครท้องถิ่นของสหประชาชาติ เจ้าหน้าที่ UNAMET ผู้สื่อข่าวต่างชาติ ค่ายพักและค่ายผู้อพยพของกาชาตสากลก็ถูกโจมตีด้วย ทำให้เกิดการประนามไปยังรัฐบาลอินโดนีเซียที่ไม่มีความจริงใจในการควบคุมสถานการณ์เนื่องจากเจ้าหน้าที่ทหารและตำรวจอินโดนีเซียไม่ได้ช่วยป้องกันหรือระงับความวุ่นวายดังกล่าวที่เกิดขึ้นจากนานาชาติ และกดดันให้มีการส่งกองกำลังรักษาสันติภาพเข้าไปปฏิบัติการในติมอร์ตะวันออก

กระทั่งวันที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2542 รัฐบาลอินโดนีเซียได้ประกาศกฎอัยการศึกในติมอร์ตะวันออก และแต่งตั้ง พลตรี กิกิ สยานากริ ผู้ช่วยเสนาธิการทหารบก ฝ่ายยุทธการ ที่เป็นที่ยอมรับจากทั้งฝ่ายผู้สนับสนุนเอกราชและผู้สนับสนุนการรวมกับอินโดนีเซียยอมรับเนื่องจากเคยประจำการในติมอร์ตะวันออกมากว่า 11 ปีขึ้นเป็นผู้บัญชาการทหารอินโดนีเซียในติมอร์ตะวันออกเพื่อควบคุมสถานการณ์

ส่งกองกำลัง[แก้]

ประธานาธิบดี ฮาบิบีได้ประกาศอนุญาตและยอมรับให้จัดส่งกองกำลังนานาชาติเข้าไปในติมอร์ตะวันออกเมื่อวันที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2542 โดยคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติได้มีข้อมติที่ 1264 (1999) เมื่อวันที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2542 ให้จัดตั้งกองกําลังนานาชาติในติมอร์ตะวันออก (International force in East Timor: INTERFET) มีภารกิจในการสร้างสันติภาพและความมั่นคง รวมถึงปกป้องคุ้มครองเจ้าหน้าที่ UNAMET และปฏิบัติการด้านมนุษยธรรม

ในระหว่างการประชุมเอเปคในวันที่ 12-13 กันยายน พ.ศ. 2542 ณ ออกแลนด์ ประเทศนิวซีแลนด์ รัฐมนตรีเศรษฐกิจของอินโดนีเซียซึ่งเป็นผู้แทนประธานาธิบดีได้แจ้งกับนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของไทยว่าอินโดนีเซียต้องการให้ไทยซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของอาเซียนได้ส่งกองกำลังทหารไม่น้อยกว่า 3 กองพันเข้าร่วมปฏิบัติการรักษาสันติภาพในติมอร์ตะวันออก ทำให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของไทยได้เดินทางไปพบปะหารือกับ พลเอก วิรันโต้ ผู้บัญชาการทหารสูงสุดและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมของอินโดนีเซีย พร้อมกับประธานาธิบดี ฮาบิบี ที่จาร์กาตา ซึ่งพลเอก วิรันโต้ได้ยืนยันว่ากองทัพอินโดนีเซียไม่ได้ต่อต้านกองกำลังนานาชาติ แต่หากเป็นไปได้ก็ต้องการให้กองกำลังส่วนใหญ่มาจากประชาคมอาเซียน

กองกำลังเฉพาะกิจร่วม 972 ไทย/ติมอร์ตะวันออก ได้เข้าร่วมในปฏิบัติการของกองกําลังนานาชาติในติมอร์ตะวันออก (INTERFET) หลังจากวิกฤตการณ์ติมอร์ตะวันออกโดยมี พลตรี ปีเตอร์ คอสโกรฟ ผู้บัญชาการกองพลที่ 1 กองทัพบกออสเตรเลีย เป็นผู้บัญชาการ และพลตรี ทรงกิตติ จักกาบาตร์ เป็นรองผู้บัญชาการของกองกำลัง ระดมกำลังพลจาก 23 ประเทศเข้าร่วมปฏิบัติการยุติเหตุการณ์รุนแรงจากการก่อความวุ่นวายในวิกฤตการณ์ดังกล่าวประมาณ 10,000 นาย รวมถึงประเทศไทยที่ได้ส่งกองกำลังเฉพาะกิจร่วม 972 ไทย/ติมอร์ตะวันออกปฏิบัติการจำนวน 1,581 นาย[4] ภายใต้คำสั่งการของ นายชวน หลีกภัย นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีกระทรวงกลาโหมในขณะนั้น เมื่อวันที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2542 และให้มีผลตั้งแต่วันที่คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติลงมติ คือวันที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2542 และได้รับการร้องขอจากนายกรัฐมนตรีออสเตรเลียในวันเดียวกันให้ส่งกองกำลังส่วนหน้าจำนวน 20-30 นายไปร่วมวางแผนการปฏิบัติการกับฝ่ายออสเตรเลีย

วันที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2542 พลอากาศโท ดักลาส ริดดิง รองผู้บัญชาการทหารสูงสุดออสเตรเลียได้เดินทางเข้าพบเสนาธิการทหาร และผู้บัญชาการทหารบกเพื่อหารือถึงประเด็นการร้องขอกำลังทหารไทยเข้าร่วมในกองกำลังนานาชาติ จากนั้นได้เข้าพบกับนายกรัฐมนตรีเพื่อขอให้ส่งนายทหารเพื่อร่วมวางแผนงานให้เดินทางไปยังเมืองดาร์วินและดิลีในการหารือกับพลตรีคอสโกรฟ รวมถึงเสนอตำแหน่งรองผู้บัญชาการกองกำลังนานาชาติให้กับไทย โดยผู้บัญชาการทหารสูงสุดได้เลือกให้ พลตรี ทรงกิตติ จักกาบาตร์ ซึ่งเคยดำรงตำแหน่งอดีตผู้ช่วยทูตทหารไทยประจำจากาตาร์เป็นรองผู้บัญชาการกองกำลัง ซึ่งได้รับการตอบรับจากทั้งออสเตรเลียและอินโดนีเซียเป็นอย่างดี

ภาพรวมของกองกำลัง[แก้]

กองกำลังเฉพาะกิจร่วม 972 ไทย/ติมอร์ตะวันออก ประกอบกำลังพลจาก

  • กรมทหารราบที่ 31 รักษาพระองค์
  • หมวดทหารช่าง

แบ่งกำลังออกเป็น 7 ผลัด ประกอบไปด้วย

  • ผลัดที่ 2 ระหว่างวันที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2543 ถึงวันที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2544 ระยะเวลา 6 เดือน โดยมีผู้บังคับบัญชาประจำภาคตะวันออกและผู้บัญชาการกองกำลัง ผลัดที่ 2 ดังนี้
    • พันเอก พิเชษฐ์ วิสัยจร ผู้บัญชาการ
    • พันเอก จุลเดช จิตถวิล รองผู้บัญชาการ
    • พันเอก ธวัช สุกปลั่ง เสนาธิการ

ปฏิบัติการ[แก้]

กองกำลังเฉพาะกิจร่วม 972 ไทย/ติมอร์ตะวันออก มีภารกิจหลักตามกรอบของสหประชาชาติ 3 ประการ คือ

  • ฟื้นฟูสันติภาพและความสงบเรียบร้อย ความปลอดภัย ในติมอร์ตะวันออก
  • คุ้มครองเจ้าหน้าที่ UNAMET และสนับสนุนการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่
  • สนับสนุนความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมให้กับชาวติมอร์ตะวันออก

สิ่งสืบเนื่อง[แก้]

ระหว่างการปฏิบัติการของกองร้อยทหารช่างเฉพาะกิจ 975 ไทย/อัฟกานิสถาน ได้มีการวางแผนการปฏิบัติการของกองกำลังเฉพาะกิจปฏิบัติการเพื่อมนุษยธรรม 976 ไทย/อิรักอีกชุด ซึ่งในรายงานระบุว่าเครื่องจักรและยุทโธปกรณ์ทางการช่างหลังจากสิ้นสุดภารกิจในประเทศอัฟกานิสถานจะถูกนำไปใช้งานในประเทศอิรักต่อเพื่อลดค่าใช้จ่ายในการขนส่งจากประเทศไทย[5]

ดูเพิ่ม[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. "สาธารณรัฐอิสลามอัฟกานิสถาน". กระทรวงการต่างประเทศ (ภาษาอังกฤษ).
  2. "ละครมหาดไทย : จาก ป. (ปลี) สมุหพระกลาโหม ถึง ป. (ประวิตร ) รมว.กห". mgronline.com. 2011-03-07.
  3. "ภาพเก่าเล่าตำนาน : ทหารช่างไทย…ไปทำอะไร…ในอัฟกานิสถาน โดย พลเอก นิพัทธ์ ทองเล็ก". www.matichon.co.th.{{cite web}}: CS1 maint: url-status (ลิงก์)
  4. เส้นทางมิตรภาพ 2 ทศวรรษ ไทย - มิตอร์-เลสเต (PDF). กรุงเทพฯ: ศูนย์ศึกษาการต่างประเทศ (ISC) กระทรวงการต่างประเทศ. 2565. ISBN 9786163411242.
  5. บทบาทของกองทัพไทยในการปฏิบัติการเพื่อสันติภาพ (PDF). ศูนย์ปฏิบัติการเพื่อสันติภาพ กรมยุทธการทหาร กองบัญชาการทหารสูงสุด.[ลิงก์เสีย]