ข้ามไปเนื้อหา

การป้องกันกำลังรบ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
กะลาสีเรือของกองทัพเรือสหรัฐฯ ทำหน้าที่ป้องกันกำลังรบบนเรือ ยูเอสเอส โคโรนาโด ในท่าเรือซานดิเอโก เมื่อวันที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2544

การป้องกันกำลังรบ[1] การคุ้มครองกำลังรบ[2][3] หรือ การพิทักษ์กำลังรบ[4] (อังกฤษ: force protection: FP) หมายถึงแนวคิดในการปกป้อง บุคลากรทางทหาร สมาชิกในครอบครัว พลเรือน สิ่งอำนวยความสะดวก อุปกรณ์ และการปฏิบัติการจากภัยคุกคามหรืออันตราย เพื่อรักษาประสิทธิภาพในการปฏิบัติการและมีส่วนช่วยให้ภารกิจประสบความสำเร็จ[5][6][7] มันถูกใช้เป็นหลักนิยมของสมาชิกเนโท[7]

ประวัติ

[แก้]

แนวคิดเรื่องการป้องกันกำลังรบเริ่มต้นมาจากเหตุระเบิดค่ายทหารเบรุตในเลบานอนเมื่อปี พ.ศ. 2526 ในขณะที่ช่วงสงครามเย็นได้มุ่งเน้นไปที่ไปที่การสะสมกำลังทหารขนาดใหญ่ (เช่น สหภาพโซเวียต) รูปแบบของกองทัพสหรัฐจึงเป็นรูปแบบของกองกำลังที่สามารถคาดเดาได้สำหรับการเข้าโจมตีที่ใช้วิธีนอกแบบและแบบกองโจร โดยผลที่ตามมาคือในระหว่างการปฏิบัติการรักษาสันติภาพของนาวิกโยธินสหรัฐในเลบานอนเมื่อปี พ.ศ. 2526 ได้มีการฝ่าแนวกั้นของบรรทุกของพลเรือนสองคันเข้าไปในพื้นที่หวงข้ามของนาวิกโยธินและทำการจุดระเบิดฆ่าตัวตายจากรถบรรทุกบริเวณโรงนอนของทหารสหรัฐและคันที่สองจุดระเบิดที่โรงนอนของทหารฝรั่งเศส[8]

ต่อมาได้มีการนำหลักการป้องกันกำลังรบไปใช้งานทั่วทั้งกระทรวงกลาโหมสหรัฐ (และต่อมาหน่วยยามฝั่งสหรัฐได้นำไปปรับใช้งานต่อ) เพื่อให้แน่ใจว่าสถานการณ์ดังกล่าวจะไม่เกิดขึ้นอีกกับกองกำลังของสหรัฐ โดยการป้องกันกำลังรบมีลักษณะเฉพาะตัวคือการเปลี่ยนกลยุทธ์ในการป้องกันอยู่ตลอดเวลาเพื่อไม่ให้อีกฝ่ายสามารถคาดเดาได้[9]

หลักการ

[แก้]

การป้องกันกำลังรบ เป็นการป้องกันไม่ให้เกิดภัยหรืออันตรายแก่กำลังรบ ซึ่งอาจจะมาจากด้านใดด้านหนึ่งที่เราไม่ได้คาดคิดหรือเตรียมไว้ จึงต้องมีการเตรียมการป้องกันเอาไว้ในทุกด้านก่อนล่วงหน้า เช่น การป้องกันการโจมตีทางอากาศ การถูกเข้าปฏิบัติการนอกเหนือจากการรบ การป้องกันอาวุธชีวะเคมี รังสี และนิวเคลียร์ การระบุฝ่าย การป้องกันพื้นที่ การป้องกันด้านไซเบอร์ และการประเมินความเสี่ยง[3]

การป้องกันกำลังรบนั้นเป็นไปเพื่อความคล่องตัวในการปฏิบัติภารกิจและทำให้ดำเนินภารกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งนอกจากนี้ยังช่วยให้ลดความเสียหายหากเกิดการโจมตีหรือทำอันตรายขึ้น จำกัดวงความเสียหายที่เกิดจากการปฏิบัติการทางทหารต่อพลเรือนและการปฏิบัติการโจมตีแบบไร้รูปแบบ[1]

โดยการป้องกันกำลังรบไม่หมายรวมไปถึงการทำให้ศัตรูนั้นพ่ายแพ้ หรือการป้องกันการเกิดอุบัติเหตุ ปัญหาสภาพอากาศ หรือโรคร้าย[2]

ดูเพิ่ม

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 (ร่าง) กองทัพบก คู่มือราชการสนาม ว่าด้วย การปฏิบัติการป้องกันภายใต้สภาพแวดล้อม เคมี ชีวะ รังสีและนิวเคลียร์ (คชรน.) (PDF). กรมวิทยาศาสตร์ทหารบก กองทัพบก. 2559. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2023-10-28. สืบค้นเมื่อ 2023-11-11.
  2. 2.0 2.1 คู่มือกฎการใช้กำลัง Rules of Engagement Handbook (PDF). แปลโดย เจริญผล, ปิยชาต. สถาบันกฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศ. 2552. p. 69. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2022-01-23. สืบค้นเมื่อ 2023-11-11.
  3. 3.0 3.1 เอกสารนำเสนอบทความทางวิชาการที่แปลมาจากภาษาต่างประเทศ เรื่อง คู่มือกระบวนการวางแผนทางอากาศร่วม. แปลโดย วรสุวรรณรักษ์, วิฑูรย์. กรมยุทธศึกษาทหารอากาศ. 2563.
  4. หลักสูตรการป้องกัน ชนค (PDF). โรงเรียนวิทยาศาสตร์ทหารบก. p. 3.[ลิงก์เสีย]
  5. "Force Protection". Commander, Navy Installations Command. สืบค้นเมื่อ 14 August 2021.
  6. "DOD Dictionary of Military and Associated Terms, November 2019" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2020-02-18. สืบค้นเมื่อ 2023-11-11.
  7. 7.0 7.1 "Allied Joint Doctrine for Force Protection" (PDF). Ministry of Defence. สืบค้นเมื่อ 14 August 2021.
  8. "23 ตุลาคม 2526 นาวิกโยธินสหรัฐ-ฝรั่งเศส ถูกถล่มที่เบรุต คร่าชีวิต 307 ราย". เนชั่นทีวี. 2021-10-23.
  9. "Guided Discussion - Force Protection" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2015-11-23. สืบค้นเมื่อ 2023-11-11.