กำแพงเมืองและป้อมปราการกรุงเทพมหานคร
บทความนี้ไม่มีการอ้างอิงจากแหล่งที่มาใด |
กำแพงเมืองและประตูเมืองที่เหลืออยู่ด้านทิศเหนือ หน้าวัดบวรนิเวศวิหาร | |
ชื่ออื่น | กำแพงพระนคร |
---|---|
ที่ตั้ง | แขวงบวรนิเวศ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย |
ประเภท | ระบบป้อมปราการ |
ความเป็นมา | |
ผู้สร้าง | พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช |
วัสดุ | อิฐ |
สร้าง | พ.ศ. 2325 |
ละทิ้ง | สมัยรัชกาลที่ 5 |
สมัย | รัตนโกสินทร์ |
หมายเหตุเกี่ยวกับสถานที่ | |
สภาพ | ซากเหลือจากการรื้อถอน |
ผู้บริหารจัดการ | กรมศิลปากร |
สถาปัตยกรรม | |
รูปแบบสถาปัตยกรรม | รัตนโกสินทร์ |
ชื่อที่ขึ้นทะเบียน | กำแพงเมืองหน้าโรงเรียนวัดบวรนิเวศ |
ขึ้นเมื่อ | 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2523 |
เป็นส่วนหนึ่งของ | โบราณสถานในเขตกรุงเทพมหานคร |
เลขอ้างอิง | 0000024 |
กำแพง และ ประตูพระนคร ของกรุงเทพมหานครนั้น ตั้งอยู่ในเขตพระนคร ปัจจุบันหลงเหลืออยู่ 2 แห่ง ก็คือ ป้อมพระสุเมรุ บริเวณกำแพงเมืองและประตูเมืองด้านทิศเหนือ และบริเวณป้อมมหากาฬ
กำแพงเมืองพระนครสร้างมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 1 โดยนำอิฐที่จากกำแพงกรุงศรีอยุธยามาสร้าง รวมความยาวทั้งหมดประมาณ 7 กิโลเมตร ครอบคลุมเขตเกาะกรุงรัตนโกสินทร์ มีประตูใหญ่ 16 ประตู ประตูเล็กหรือช่องกุด 47 ประตู และมีป้อม 14 ป้อม
ประตูเมืองและกำแพงเมือง ทางทิศเหนือนั้นกรมศิลปากรได้บูรณะเมื่อ พ.ศ. 2524 เป็นประตูเมืองตามแบบในสมัยรัชกาลที่ 5 ซึ่งเป็นประตูยอด โดยแตกต่างจากประตูไม้ทาดินแดงในสมัยรัชกาลที่ 1 และประตูก่ออิฐข้างบนซึ่งใช้เป็นหอรบในสมัยรัชกาลที่ 3
ส่วนกำแพงเมืองทางด้านป้อมมหากาฬนั้น ได้ถูกรื้อถอนออกเป็นจำนวนมากเพื่อสร้างถนน และที่อยู่อาศัย จะเหลือให้เห็นเพียงระยะประมาณ 100 เมตร ติดต่อกับตัวป้อมมหากาฬ ด้านหลังกำแพงมีชุมชนแออัดอาศัยอยู่ ในปัจจุบัน มีแผนการพัฒนาพื้นที่บริเวณนี้ให้เป็นสวนสาธารณะ ซึ่งอาจจะต้องย้ายชุมชนหรืออาจจะแบ่งกลุ่มให้ชาวชุมชนเป็นผู้ดแล
ป้อมปราการที่สร้างในสมัยรัชกาลที่ 1
[แก้]
ป้อมปราการที่สร้างขึ้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ซึ่งมี 14 ป้อม คือ
- ป้อมพระสุเมรุ (ป้อมที่อยู่เหนือสุดของเกาะรัตนโกสินทร์)
- ป้อมยุคุนธร (ตรงหน้าวัดบวรนิเวศวิหาร บัดนี้เหลือแต่กำแพงและประตูเมืองเท่านั้น)
- ป้อมมหาปราบ (ระหว่างสะพานเฉลิมวันชาติกับแยกผ่านฟ้าลีลาศ ตรงหัวโค้งถนนพระสุเมรุ)
- ป้อมมหากาฬ (เชิงสะพานผ่านฟ้าลีลาศ)
- ป้อมหมู่ทลวง (ใกล้หัวถนนหลวง ตรงข้ามสวนรมณีนาถและร้านเครื่องหวายข้างสวนรมณีนาถ แต่ก่อนสวนรมณีนาถคือเรือนจำพิเศษกรุงเทพมหานคร ก่อนถูกยุบเป็นสวนสาธารณะกับพิพิธภัณฑ์ราชทัณฑ์ ส่วนป้อมหมูทลวงโดนทุบทิ้งไปบางส่วนเมื่อเมื่อปี พ.ศ. 2440 เพื่อนำอิฐไปสร้างทางรถไฟจากอยุธยาไปบ้านภาชีและแก่งคอย)
- ป้อมเสือทยาน (อยู่ใกล้สะพานดำรงสถิต [สะพานเหล็กบน] ตรงโรงแรมมิรามา)
- ป้อมมหาไชย (ปัจจุบันคือธนาคารทหารไทย สาขาวังบูรพา หัวถนนเยาวราช แถวสะพานหัน ทุบทิ้งเมื่อปลายธันวาคม พ.ศ. 2469)
- ป้อมจักรเพชร (ป้อมที่อยู่ใต้สุดของเกาะรัตนโกสินทร์ อยู่ตรงปากคลองรอบกรุง เชิงสะพานพุทธยอดฟ้า)
- ป้อมผีเสื้อ (ปัจจุบันปากคลองคูเมืองเดิมด้านใต้ ฝั่งปากคลองตลาด)
- ป้อมมหาฤกษ์ (ปัจจุบันอยู่ในบริเวณโรงเรียนราชินี อยู่ฝั่งตรงข้ามกับป้อมวิชัยประสิทธิ์ซึ่งอยู่ฝั่งธนบุรี)
- ป้อมมหายักษ์ (อยู่บริเวณท่าเตียน แถว ๆ ตึกกรมการค้าภายใน เก่า)
- ป้อมพระจันทร์ (ปัจจุบันคือท่าพระจันทร์ ข้างมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์)
- ป้อมพระอาทิตย์ (ปัจจุบันคือเชิงสะพานพระปิ่นเกล้า ปากคลองคูเมืองเดิม)
- ป้อมอิสินธร (ปัจจุบันคือพุทธสมาคมแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ ตรงข้ามซอยชนะสงคราม ทางลัดเข้าวัดชนะสงคราม)
อ้างอิง
[แก้]- พินิจพระนคร 2475-2545, กรมแผนที่ทหาร, กองบัญชาการทหารสูงสุด, พ.ศ. 2549
- แผนที่กรุงเทพฯ พ.ศ. 2450 - 2550, โดย บัณฑิต จุลาสัยและคณะ, กรุงเทพฯ : สำนักผังเมือง กรุงเทพมหานคร, 2550
- เอกสารชุดกระทรวงนครบาล สมัยรัชกาลที่ 5 (มีให้บริการเป็นไมโครฟิล์มที่หอจดหมายเหตุแห่งชาติ)
- เอกสารชุดกระทรวงนครบาล สมัยรัชกาลที่ 6 (มีให้บริการเป็นไมโครฟิล์มที่หอจดหมายเหตุแห่งชาติ)
- เอกสารชุดกระทรวงมหาดไทย สมัยรัชกาลที่ 7 (มีให้บริการเป็นไมโครฟิล์มที่หอจดหมายเหตุแห่งชาติ)