ข้ามไปเนื้อหา

เฟอร์ดินานด์ มาเจลลัน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก Ferdinand Magellan)
เฟอร์ดินานด์ มาเจลลัน
Fernão de Magalhães
เกิดฟือร์เนา ดึ มากัลไยช์
ค.ศ. 1480
ซาบรอซา โปรตุเกส
เสียชีวิต27 เมษายน ค.ศ. 1521 (อายุ 40–41 ปี)
เกาะมักตัน (ปัจจุบัน ประเทศฟิลิปปินส์)
สาเหตุเสียชีวิตเสียชีวิตระหว่างการต่อสู้
สัญชาติโปรตุเกส, สเปน
พลเมืองโปรตุเกส
อาชีพนักเดินเรือ นักสำรวจ
มีชื่อเสียงจากเป็นผู้นำการเดินเรือรอบโลกครั้งแรก
คู่สมรสเบียทริซ บาร์บอซา (สมรส 1517)
บิดามารดา
  • รุย ดึ มากัลไยช์ (บิดา)
  • อัลดา ดึ เมสกุยตา (มารดา)
ลายมือชื่อ

เฟอร์ดินานด์ มาเจลลัน (อังกฤษ: Ferdinand Magellan), ฟือร์เนา ดึ มากัลไยช์ (โปรตุเกส: Fernão de Magalhães) หรือ เฟร์นันโด เด มากายาเนส (สเปน: Fernando de Magallanes) เป็นนักเดินเรือชาวโปรตุเกส มีชีวิตอยู่ตรงกับรัชสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถและสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 แห่งกรุงศรีอยุธยา เขาเกิดที่เมืองซาบรอซา ทางภาคเหนือของประเทศโปรตุเกส หลังจากรับราชการทหารที่อินเดียตะวันออกและโมร็อกโก มาเจลลันได้เสนอตัวทำงานให้กับพระเจ้าการ์โลสที่ 1 แห่งสเปนเพื่อค้นหาเส้นทางเดินเรือทางทิศตะวันตกสู่ "หมู่เกาะเครื่องเทศ" (หมู่เกาะโมลุกกะในประเทศอินโดนีเซียในปัจจุบัน) เขาจึงได้รับสัญชาติสเปนด้วย

มาเจลลันได้เดินเรือออกจากเมืองเซบิยาในปี พ.ศ. 2062 การเดินทางในช่วง พ.ศ. 2062–2065 ของเขาเป็นการเดินเรือจากมหาสมุทรแอตแลนติกเข้าสู่มหาสมุทรที่มาเจลลันตั้งชื่อว่า "แปซิฟิก" เป็นครั้งแรก และยังเป็นการเดินทางรอบโลกครั้งแรกอีกด้วย แต่ตัวมาเจลลันเองไม่ได้เป็นผู้นำการเดินเรือรอบโลกตลอดเส้นทาง เนื่องจากถูกชนพื้นเมืองนามว่า ลาปู-ลาปูฆ่าตายที่เกาะมักตันในหมู่เกาะฟิลิปปินส์เสียก่อน (อย่างไรก็ตาม ก่อนหน้านี้มาเจลลันเคยเดินทางจากยุโรปไปทางตะวันออกสู่คาบสมุทรมลายูมาแล้ว จึงเป็นนักสำรวจคนแรก ๆ ที่เดินทางข้ามเส้นเมริเดียนเกือบทุกเส้นบนโลก) จากลูกเรือ 237 คนที่ออกเดินทางไปกับเรือ 5 ลำ มีเพียง 18 คนที่สามารถเดินเรือรอบโลกได้สำเร็จและกลับไปสเปนได้ในปี พ.ศ. 2065[1][2] นำโดยฆวน เซบัสเตียน เอลกาโน นักเดินเรือชาวบาสก์ซึ่งทำหน้าที่บัญชาการเดินเรือแทนมาเจลลัน ส่วนลูกเรือลำอื่น ๆ อีก 16 คนมาถึงสเปนในภายหลัง โดย 12 คนในจำนวนนี้ถูกโปรตุเกสคุมตัวที่หมู่เกาะเคปเวิร์ด (กาบูเวร์ดี) ระหว่าง พ.ศ. 2068-2070 และอีก 4 คนเป็นผู้รอดชีวิตจากเรือตรินิดัดที่เดินทางไปด้วย แต่เรือแตกในหมู่เกาะโมลุกกะ

ชื่อของมาเจลลันยังถูกนำไปตั้งเป็นชื่อของ "เพนกวินมาเจลลัน" ซึ่งเชื่อกันว่าเขาเป็นชาวยุโรปคนแรกที่ค้นพบ,[3] "เมฆมาเจลลัน" ซึ่งเขาสังเกตเห็นระหว่างการเดินเรือ ปัจจุบันเป็นที่ทราบกันแล้วว่าที่จริงเมฆนี้เป็นกลุ่มดาราจักรแคระใกล้กับดาราจักรทางช้างเผือก, "ช่องแคบมาเจลลัน" เส้นทางที่มาเจลลันใช้เดินเรือเข้าสู่มหาสมุทรแปซิฟิก และ "ยานมาเจลลัน" ยานสำรวจที่องค์การนาซาส่งไปสำรวจดาวศุกร์ในช่วงปี พ.ศ. 2533-2534

ภาพวาด ยุทธการมัคตาน ใน อนุสรณ์สถานมักตัน

อ้างอิง

[แก้]
  1. Swenson, Tait M. (2005), "First Circumnavigation of the Globe by Magellan 1519–1522", The Web Chronology project (ตีพิมพ์ November 2005), สืบค้นเมื่อ 2006-03-14. {{citation}}: ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |separator= ถูกละเว้น (help)
  2. The First Voyage Round the World, by Magellan, full text, English translation by Lord Stanley of Alderley, London: Hakluyt, [1874], pp.39, 162. – six contemporary accounts of his voyage.
  3. Hogan, C. Michael (2008), N. Stromberg (บ.ก.), Magellanic Penguin, GlobalTwitcher.com, คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-08-23, สืบค้นเมื่อ 2010-07-24. {{citation}}: ไม่รู้จักพารามิเตอร์ |separator= ถูกละเว้น (help)