ปลาซีลาแคนท์
ปลาซีลาแคนท์ ช่วงเวลาที่มีชีวิตอยู่: ยุคดีโวเนียนตอนต้น – ปัจจุบัน,[1] 409–0Ma | |
---|---|
ตัวอย่างปลาซีลาแคนท์มหาสมุทรอินเดียตะวันตกที่จับขึ้นมาใน ค.ศ. 1974 ที่ซาลิมานี แกรนด์คอโมโร หมู่เกาะคอโมโร | |
ปลาซีลาแคนท์ที่มีชีวิตอยู่ที่Pumula ริม KwaZulu-Natal South Coast, แอฟริกาใต้, ค.ศ. 2019 | |
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | |
โดเมน: | ยูแคริโอต Eukaryota |
อาณาจักร: | สัตว์ Animalia |
ไฟลัม: | สัตว์มีแกนสันหลัง Chordata |
เคลด: | ยูเทโลสโทไม Euteleostomi |
เคลด: | ปลาที่มีครีบเป็นพู่ Sarcopterygii |
อันดับ: | Actinistia Actinistia Cope, 1871 |
ชนิดต้นแบบ | |
†Coelacanthus granulatus Agassiz, 1839 | |
วงศ์และสกุล | |
อื่น ๆ ดูข้อความ |
ซีลาแคนท์ (อังกฤษ: Coelacanth, เสียงอ่านภาษาอังกฤษ: /ˈsiːləkænθ/ ดัดแปลงมาจากคำละตินสมัยใหม่ Cœlacanthus เมื่อ cœl-us + acanth-us จากภาษากรีกโบราณ κοῖλ-ος [โพรง] + ἄκανθ-α [กระดูกสันหลัง]) เป็นชื่อสามัญของอันดับปลาที่รวมถึงสายพันธุ์ของปลาที่เก่าแก่ที่สุดเท่าที่รู้จักในปัจจุบันพวก gnathostomata นักวิทยาศาสตร์เคยเชื่อว่าปลาซีลาแคนท์มีความเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับปลาปอดและเตตราพอดที่เคยเชื่อกันว่าสูญพันธุ์ไปเมื่อครั้งสิ้นสุดยุคครีเทเชียส จนกระทั่งมีการพบปลา แลติเมอเรีย ครั้งแรกที่นอกชายฝั่งด้านตะวันออกของแอฟริกาใต้เลยแม่น้ำชาลัมนาออกมาในปี ค.ศ. 1938 และปลาเหล่านั้นจึงเป็นพวกลาซูรัส ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1938 เป็นต้นมา ปลาซีลาแคนท์ Latimeria chalumnae ก็มีการถูกค้นพบในคอโมโรส เคนยา แทนซาเนีย โมซัมบิก มาดากัสการ์ และในอุทยานป่าชุ่มน้ำซิแมงกาลิโส กวาซูลู-นาทัล ในแอฟริกาใต้ สายพันธุ์ที่สอง Latimeria menadoensis พบที่เกาะซูลาเวซี อินโดนีเซีย ในปี ค.ศ. 1999[2][3] ทำให้ทราบว่าปลาซีลาแคนท์ไม่มีปอดและมีโครงสร้างที่ไม่เกี่ยวข้องกับเตตราพอดแต่อย่างใด ปลาซีลาแคนท์ไม่มีคุณค่าทางการค้าอย่างแท้จริงนอกเสียจากจะแปรสภาพเป็นวัตถุจัดแสดงในพิพิธภัณฑ์และการเก็บสะสมส่วนตัว ในแง่ของการเป็นอาหารแล้ว ปลาซีลาแคนท์เกือบไม่มีค่าเอาเสียเลยด้วยเนื้อเยื่อของมันมีน้ำมันไหลซึมออกมาแม้ว่าจะตายไปแล้วก็ตาม และเนื้อของมันทั้งเหนียวและมีกลิ่นเหม็นด้วย[4]
ประวัติธรรมชาติ
[แก้]ปลาซีลาแคนท์พบเป็นฟอสซิลครั้งแรกในยุคดีโวเนียนตอนกลาง[1][a] ปลาซีลาแคนท์ดึกดำบรรพ์อาศัยอยู่ในน้ำในช่วงปลายของมหายุคพาลีโอโซอิกและมีโซโซอิก
ซีลาแคนท์เป็นปลาที่มีครีบมีลักษณะเป็นพูอยู่ที่ทรวงอกและก้นอยู่บนแท่งก้านเนื้อเยื่อที่รองรับโดยกระดูกและมีครีบหางที่แตกออกแยกเป็น 3 พู โดยที่พูตรงกลางจะรวมถึงชุดของโนโตคอร์ด ปลาซีลาแคนท์มีเกล็ดที่บางกว่าเกล็ดของปลาพวกคอสมอยด์จริง ๆ ปลาซีลาแคนท์มีอวัยวะพิเศษสำหรับตอบรับทางไฟฟ้าที่เรียกกันว่าอวัยวะคล้ายตะขออยู่ทางด้านหน้าของกะโหลกที่อาจจะใช้ช่วยในการตรวจจับเหยื่อ อวัยวะเล็ก ๆ นี้อาจช่วยรักษาสมดุลของตัวปลาได้ด้วย การค้นหาตำแหน่งด้วยคลื่นเสียงสะท้อนก็อาจเป็นปัจจัยหนึ่งในวิถีทางการเคลื่อนที่ของตัวปลา
ซากดึกดำบรรพ์
[แก้]แม้ว่าในปัจจุบันจะมีการค้นพบรู้จักปลาซีลาแคนท์ที่มีชีวิตอยู่เพียง 2 ชนิดเท่านั้น แต่พบว่าครั้งหนึ่งพวกมันกลับเคยประสบความสำเร็จด้วยการพบเป็นฟอสซิลที่หลากหลายสกุลและหลากหลายชนิดจากยุคดีโวเนียนจนถึงสิ้นสุดยุคครีเทเชียสซึ่งเป็นจุดช่วงเวลาที่พวกมันต้องเผชิญกับความยากลำบากจนเกือบต้องสูญพันธุ์ไปทั้งหมด มักจะมีความเข้าใจกันว่าปลาซีลาแคนท์แทบจะไม่มีลักษณะที่มีการเปลี่ยนแปลงใด ๆ ตลอดช่วงระยะเวลาหลายล้านปีมานี้ แต่ที่แท้จริงแล้วชนิดที่มีชีวิตทั้งสองชนิดหรือแม้แต่สกุลก็ตามไม่เคยพบในรูปของฟอสซิลเลย อย่างไรก็ตามสายพันธุ์ฟอสซิลบางชนิดโดยเฉพาะอย่างยิ่งฟอสซิลยุคครีเทเชียสสกุล มาโครโปมา ที่มีลักษณะใกล้ชิดกันกับสกุลมีชีวิตในปัจจุบันมาก[5] เหตุผลในเรื่องนี้เป็นไปได้ว่าพวกที่สูญพันธุ์ไปนั้นเป็นพวกที่อาศัยอยู่ในน้ำตื้น ขณะที่สายพันธุ์ฟอสซิลชนิดที่อาศัยอยู่ในน้ำลึกพบว่าเป็นการยากที่จะถูกยกตัวขึ้นมาให้นักบรรพชีวินวิทยาให้สามารถค้นพบเพื่อทำการศึกษาได้ ทำให้พวกที่เป็นปลาน้ำลึกไม่พบบันทึกเป็นฟอสซิลให้เห็น สิ่งเหล่านี้ยังคงอยู่ภายใต้การสำรวจและศึกษาต่อไปโดยนักวิทยาศาสตร์
อนุกรมวิธาน
[แก้]บางทีชั้นย่อย Coelacanthimorpha (Actinistia) ก็ถูกจัดให้เป็นกลุ่มของปลา Sarcopterygian ด้วยที่รวมถึง Coelacanthiformes ด้านล่างนี้เป็นการจำแนกวงศ์และสกุลของปลาซีลาแคนท์[6]
- ชั้น Sarcopterygii
- ชั้นย่อย Coelacanthimorpha
- อันดับ COELACANTHIFORMES
- วงศ์ Coelacanthidae (สูญพันธุ์)
- Axelia (สูญพันธุ์)
- Coelacanthus (สูญพันธุ์)
- Ticinepomis (สูญพันธุ์)
- Wimania (สูญพันธุ์)
- วงศ์ Diplocercidae (สูญพันธุ์)
- Diplocercides (สูญพันธุ์)
- วงศ์ Hadronectoridae (สูญพันธุ์)
- Allenypterus (สูญพันธุ์)
- Hadronector (สูญพันธุ์)
- Polyosteorhynchus (สูญพันธุ์)
- วงศ์ Mawsoniidae (สูญพันธุ์)
- Alcoveria (สูญพันธุ์)
- Axelrodichthys (สูญพันธุ์)
- Chinlea (สูญพันธุ์)
- Diplurus (สูญพันธุ์)
- Mawsonia (สูญพันธุ์)
- วงศ์ Miguashaiidae (สูญพันธุ์)
- Miguashaia (สูญพันธุ์)
- วงศ์ Latimeriidae
- Holophagus (สูญพันธุ์)
- Libys (สูญพันธุ์)
- Macropoma (สูญพันธุ์)
- Macropomoides (สูญพันธุ์)
- Megacoelacanthus (สูญพันธุ์)
- Latimeria (James Leonard Brierley Smith, 1939)
- L. chalumnae (Comorese coelacanth) (James Leonard Brierley Smith, 1939)
- L. menadoensis (Indonesian coelacanth) (Pouyaud, Wirjoatmodjo, Rachmatika, Tjakrawidjaja, et al., 1999)
- Undina (สูญพันธุ์)
- วงศ์ Laugiidae (สูญพันธุ์)
- Coccoderma (สูญพันธุ์)
- Laugia (สูญพันธุ์)
- วงศ์ Rhabdodermatidae (สูญพันธุ์)
- Caridosuctor (สูญพันธุ์)
- Rhabdoderma (สูญพันธุ์)
- วงศ์ Whiteiidae (สูญพันธุ์)
- Whiteia (สูญพันธุ์)
- วงศ์ Coelacanthidae (สูญพันธุ์)
ความสำคัญทางวัฒนธรรม
[แก้]เนื่องด้วยธรรมชาติอันน่าประหลาดในการค้นพบซีลาแคนท์ ทำให้มีผลงานสมัยใหม่ หัตถศิลป์ และวรรณกรรมได้แรงบันดาลใจจากสิ่งนี้มาก มีอย่างน้อย 22 ประเทศที่มีมันบนแสตมป์ โดยเฉพาะคอโมโรสที่มีแสตมป์ซีลาแคนท์ถึง 12 ชุด ปลานี้ยังปรากฏในธนบัตร 1000 ฟรังก์คอโมโรสและเหรียญ 5 ฟรังก์คอโมโรส[7]
เชิงอรรถ
[แก้]- ↑ ฟอสซิลกรามปลาซีลาแคนท์พบในชั้นหินอายุ 410 ล้านปีมาแล้ว ถูกค้นพบใกล้ ๆ กับบูจันในวิกตอเรียกิปป์แลนด์ทางตะวันออกของออสเตรเลีย ซึ่งจนถึงปัจจุบันถือว่าเป็นปลาซีลาแคนท์ที่มีอายุเก่าแก่ที่สุด ได้รับการตั้งชื่อว่า Eoactinistia foreyi ที่ได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ในเดือนพฤศจิกายน ค.ศ. 2006
อ้างอิง
[แก้]- ↑ 1.0 1.1 Johanson, Z.; Long, J. A; Talent, J. A; Janvier, P.; Warren, J. W (2006). "Oldest coelacanth, from the Early Devonian of Australia". Biology Letters. 2 (3): 443–6. doi:10.1098/rsbl.2006.0470. PMC 1686207. PMID 17148426.
- ↑ "Reference for divergence dated on mitochondrial genome". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-02-27. สืบค้นเมื่อ 2009-05-14.
- ↑ Erdmann, Mark V. (April 1999). "An Account of the First Living Coelacanth known to Scientists from Indonesian Waters". Environmental Biology of Fishes. Springer Netherlands. 54 (4): 439–443. doi:10.1023/A:1007584227315. 0378-1909 (Print) 1573-5133 (Online). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2019-09-11. สืบค้นเมื่อ 2007-05-18.
{{cite journal}}
: ระบุ|archivedate=
และ|archive-date=
มากกว่าหนึ่งรายการ (help); ระบุ|archiveurl=
และ|archive-url=
มากกว่าหนึ่งรายการ (help) - ↑ Piper, Ross (2007), Extraordinary Animals: An Encyclopedia of Curious and Unusual Animals, Greenwood Press.
- ↑ Palmer, D., บ.ก. (1999). The Marshall Illustrated Encyclopedia of Dinosaurs and Prehistoric Animals. London: Marshall Editions. p. 44. ISBN 1-84028-152-9.
- ↑ Nelson, Joseph S. (2006). Fishes of the World. John Wiley & Sons. ISBN 0-471-25031-7.
- ↑ Smith, J. L. B. (2017). The Annotated Old Four legs. Cape Town: Struik Travel & Heritage. pp. 322–327. ISBN 978-1-77584-501-0. OCLC 1100871937.
อ่านเพิ่มเติม
[แก้]- Smith, J. L. B. (1956). Old Fourlegs: the Story of the Coelacanth. Longmans Green.
- Fricke, Hans (June 1988). "Coelacanths – The Fish That Time Forgot". National Geographic. Vol. 173 no. 6. pp. 824–838. ISSN 0027-9358. OCLC 643483454.
- Wade, Nicholas (18 April 2013). "Fish's DNA May Explain How Fins Turned to Feet". The New York Times. pp. A3.
- Thomson, Keith S. (1991). Living Fossil: the Story of the Coelacanth. W. W. Norton.
- Sepkoski, Jack (2002). "A compendium of fossil marine animal genera". Bulletins of American Paleontology. 364: 560. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 20 February 2009. สืบค้นเมื่อ 2011-05-17.
- Weinberg, Samantha (1999). A Fish Caught in Time: The Search for the Coelacanth. Fourth Estate.
- Bruton, Mike (2015). When I Was a Fish: Tales of an Ichthyologist. Jacana Media(Pty)Ltd.
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- Anatomy of the coelacanth โดย PBS (ต้องการ Adobe Flash)
- Dinofish.com (ต้องการ frame-capable browser)
- Butler, Carolyn (August 2012). "Der Quastenflosser: Ein Fossil taucht auf" [The Coelacanth: A fossil turns up]. National Geographic Deutschland (ภาษาเยอรมัน). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-02-03. สืบค้นเมื่อ 2021-09-25.
- Amemiya, Chris T.; Alföldi, Jessica; Lee, Alison P.; Fan, Shaohua; Philippe, Hervé; MacCallum, Iain; Braasch, Ingo; Manousaki, Tereza; Schneider, Igor; และคณะ (2013). "The African coelacanth genome provides insights into tetrapod evolution". Nature. 496 (7445): 311–6. Bibcode:2013Natur.496..311A. doi:10.1038/nature12027. PMC 3633110. PMID 23598338.
- BBC News Science & Environment (17 เมษายน 2013). 'Living fossil' coelacanth genome sequenced.