ข้ามไปเนื้อหา

ปลาซีลาแคนท์อินโดนีเซีย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ปลาซีลาแคนท์อินโดนีเซีย
Latimeria menadoensis, พิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำโตเกียว, ญี่ปุ่น
สถานะการอนุรักษ์
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Animalia
ไฟลัม: Chordata
ชั้น: Sarcopterygii
ชั้นย่อย: Coelacanthimorpha
อันดับ: Coelacanthiformes
วงศ์: Latimeriidae
สกุล: Latimeria
สปีชีส์: L.  menadoensis
ชื่อทวินาม
Latimeria menadoensis
Pouyaud, Wirjoatmodjo, Rachmatika, Tjakrawidjaja et al., 1999
แผนที่แสดงการกระจายพันธุ์ (สีน้ำเงิน)

ปลาซีลาแคนท์อินโดนีเซีย (ชื่อวิทยาศาสตร์: Latimeria menadoensis; อินโดนีเซีย: raja laut; /รา-จา-ลี-เจา/; แปลว่า: "เจ้าแห่งทะเล"[1]) เป็นหนึ่งในสองชนิดของปลาซีลาแคนท์ที่ยังมีชีวิตอยู่ ลำตัวมีสีน้ำตาล

การค้นพบ

[แก้]

เมื่อวันที่ 18 กันยายน ค.ศ. 1997 อาร์นาซ และมาร์ค เอิร์ดมันน์ ได้ท่องเที่ยวไปในอินโดนีเซียในการดื่มน้ำผึ้งพระจันทร์ของเขา เขาพบปลาตัวแปลก ๆ เข้าไปในตลาดที่เมืองมานาโด บนเกาะซูลาเวซี[2] มาร์คคิดว่าเป็นปลา “กอมเบสซา” (ปลาซีลาแคนท์จากคอโมโรส) แม้ว่ามันไม่เป็นสีน้ำเงินแต่กลับเป็นสีน้ำตาล ผู้เชี่ยวชาญท่านหนึ่งได้พิจารณาภาพถ่ายในอินเทอร์เน็ตของเขาแล้วให้ความเห็นว่ามันมีลักษณะที่มีนัยสำคัญ หลังจากนั้นคู่สามีภรรยาเอิร์ดมันน์ได้ติดต่อกับชาวประมงในท้องที่และได้ร้องขอว่าหากจับปลาลักษณะดังกล่าวได้อีกขอได้โปรดส่งให้เขา ตัวอย่างที่สองจากอินโดนีเซียมีความยาว 1.2 เมตรและมีน้ำหนัก 29 กิโลกรัมถูกจับได้ขณะยังมีชีวิตอยู่เมื่อวันที่ 30 กรกฎาคม ค.ศ. 1998[3] มันมีชีวิตอยู่ได้ 6 ชั่วโมง ทำให้นักวิทยาศาสตร์สามารถบันทึกภาพลักษณะของสี การเคลื่อนที่ของครีบ และพฤติกรรมอื่น ๆ ทั่วไป ตัวอย่างปลาถูกเก็บรักษาไว้และบริจาคให้พิพิธภัณฑ์สัตววิทยาโบกอร์ (MZB) ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของสถาบันวิทยาศาสตร์แห่งอินโดนีเซีย (LIPI)[2]

ผลการตรวจสอบดีเอ็นเอชี้ชัดว่าตัวอย่างปลามีความแตกต่างทางพันธุกรรมกับปลาซีลาแคนท์คอโมโรสอย่างชัดเจน[4][5] เมื่อดูอย่างผิวเผินแล้วปลาซีลาแคนท์จากอินโดนีเซียซึ่งในท้องที่เรียกกัน ว่า "ราชาลีเจา" (หมายถึงเจ้าแห่งทะเล[1]) มีลักษณะที่เหมือนกันกับที่พบในคอโมโรสยกเว้นที่สีผิวที่เป็นสีเทาแกมสีน้ำตาลแทนที่จะเป็นสีน้ำเงิน ปลาชนิดนี้ถูกบรรยายรูปพรรณไว้ในวารสาร Comptes Rendus de l'Académie des sciences Paris ใน ค.ศ. 1999 โดย โพยูลด์และคณะ และถูกตั้งชื่อวิทยาศาสตร์ว่า ลาติเมอเรีย เมนาโดเอนซิส (Latimeria menadoensis)[6] ผลการศึกษาทางโมเลกุลประมาณการได้ว่าช่วงเวลาที่เกิดการแตกแขนงเป็นปลาซีลาแคนท์ 2 ชนิดนั้นอยู่ที่ประมาณ 40-30 ล้านปีมาแล้ว[7] โดยปลาซีลาแคนท์อินโดนีเซีย สามารถโตเต็มที่ได้ถึง 2 เมตร น้ำหนักกว่า 90 กิโลกรัม[1]

การจับได้โดยชาวประมงท้องถิ่น

[แก้]

ในเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 2007 มีชาวประมงชาวอินโดนีเซียจับปลาซีลาแคนท์อินโดนีเซียตัวหนึ่งได้ ที่บริเวณเกาะซูลาเวซี ใกล้อุทยานทางทะเลบูนาเคน ปลาตัวนี้มีความยาว 131 เซนติเมตร น้ำหนัก 51 กิโลกรัม และได้สร้างความฉงนให้แก่ผู้ที่ได้พบเจอ เพราะมีชีวิตอยู่ได้นานถึง 17 ชั่วโมงก่อนจะตายลง ทั้ง ๆ ที่น่าจะตายตั้งแต่ 2 ชั่วโมงแรกที่ถูกจับ เพราะเป็นปลาที่อยู่น้ำลึกและเย็นมาก[8]

อ้างอิง

[แก้]
  1. 1.0 1.1 1.2 "ปฐมบทแห่งชีวิต 20 เมษายน 2559 The Landing". ช่อง 7. 20 April 2016. สืบค้นเมื่อ 20 April 2016.[ลิงก์เสีย]
  2. 2.0 2.1 Jewett, Susan L., "On the Trail of the Coelacanth, a Living Fossil", The Washington Post, 1998-11-11, Retrieved on 2007-06-19.
  3. Nelson, Joseph S. (2006). Fishes of the World. John Wiley & Sons, Inc. ISBN 0-471-25031-7
  4. Erdmann, Mark V. (April 1999). "An Account of the First Living Coelacanth known to Scientists from Indonesian Waters". Environmental Biology of Fishes. 54 (#4): 439–443. doi:10.1023/A:1007584227315. S2CID 46211870. 0378-1909 (Print) 1573-5133 (Online).
  5. Holder, Mark T.; Mark V. Erdmann; Thomas P. Wilcox; Roy L. Caldwell & David M. Hillis (1999). "Two living species of coelacanths?". Proceedings of the National Academy of Sciences of the United States of America. 96 (22): 12616–12620. Bibcode:1999PNAS...9612616H. doi:10.1073/pnas.96.22.12616. PMC 23015. PMID 10535971.
  6. Pouyaud, L.; S. Wirjoatmodjo; I. Rachmatika; A. Tjakrawidjaja; R. Hadiaty & W. Hadie (1999). "Une nouvelle espèce de coelacanthe: preuves génétiques et morphologiques". Comptes Rendus de l'Académie des Sciences, Série III. 322 (4): 261–267. Bibcode:1999CRASG.322..261P. doi:10.1016/S0764-4469(99)80061-4. PMID 10216801.
  7. Inoue J. G.; M. Miya; B. Venkatesh; M. Nishida (2005). "The mitochondrial genome of Indonesian coelacanth Latimeria menadoensis (Sarcopterygii: Coelacanthiformes) and divergence time estimation between the two coelacanths". Gene. 349: 227–235. doi:10.1016/j.gene.2005.01.008. PMID 15777665.
  8. [https://web.archive.org/web/20120412090612/http://www.manager.co.th/Science/ViewNews.aspx?NewsID=9500000058495 เก็บถาวร 2012-04-12 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน ประมงอิเหนาจับได้ “ปลาดึกดำบรรพ์” ฟอสซิลมีชีวิต!! จากผู้จัดการออนไลน์]

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]