ข้ามไปเนื้อหา

ปลาซีลาแคนท์มหาสมุทรอินเดียตะวันตก

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ปลาซีลาแคนท์มหาสมุทรอินเดียตะวันตก
Latimeria chalumnae
สถานะการอนุรักษ์
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์
อาณาจักร: Animalia
ไฟลัม: Chordata
ชั้น: Sarcopterygii
ชั้นย่อย: Coelacanthimorpha
อันดับ: Coelacanthiformes
วงศ์: Latimeriidae
สกุล: Latimeria
สปีชีส์: L.  chalumnae
ชื่อทวินาม
Latimeria chalumnae
Smith, 1939

ปลาซีลาแคนท์มหาสมุทรอินเดียตะวันตก (Latimeria chalumnae) เป็นปลาซีลาแคนท์หนึ่งในสองชนิดที่ยังมีชีวิตอยู่ ลำตัวมีสีน้ำเงิน เป็นที่รู้จักกันดีกว่าปลาซีลาแคนท์อีกชนิด

ลักษณะ

[แก้]
ตัวอย่าง Latimeria chalumnae ที่พิพิธภัณฑ์สัตวศาสตร์, โคเปนเฮเกน

น้ำหนักของปลาซีลาแคนท์ทางด้านตะวันตกของมหาสมุทรอินเดีย (ลาติเมอเรีย ชาลัมนี) เฉลี่ยแล้วประมาณ 80 กิโลกรัมและอาจมีความยาวของลำตัวได้มากถึง 2 เมตร เพศเมียที่โตเต็มวัยหนักมากกว่าเพศผู้เล็กน้อย พบการกระจายพันธุ์เป็นวงกว้างแต่พบได้ในปริมาณน้อยมากในบริเวณขอบด้านตะวันตกของมหาสมุทรอินเดีย จากอัฟริกาใต้ทางด้านเหนือไปตาม ชายฝั่งอัฟริกาตะวันออกไปจนถึงเคนย่า โคโมรอส และมาดากัสการ์ ซึ่งดูเหมือนว่าจะพบเป็นโคโลนีเล็ก ๆ

ประชากรและการอนุรักษ์

[แก้]

ตามอนุสัญญาว่าด้วยการค้าระหว่างประเทศซึ่งชนิดสัตว์ป่าและพืชป่าใกล้สูญพันธุ์ ปลาซีลาแคนท์ถูกจัดอยู่ในบัญชีที่ 1 เมื่อ ค.ศ. 1989 ในสนธิ สัญญาการค้าระหว่างประเทศรวมถึงการส่งตัวอย่างไปยังพิพิธภัณฑ์ต้องได้รับการอนุญาต ในปี ค.ศ. 1998 ประชากรปลาซีลาแคนท์มหาสมุทรอินเดียตะวันตกคาดว่าเหลืออยู่ราว 500 ตัวหรือน้อยกว่านั้นซึ่งถือเป็นการคุกคามการคงอยู่ของปลาชนิดนี้เป็นอย่างมาก[1] IUCN ได้จัดให้ L. chalumniae อยู่ในสภาวะถูกคุกคามถึงขั้นวิกฤติ (CR) และ L. menadoensis อยู่ในสภาวะเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ (VU)[2][3]

การพบครั้งแรกในอัฟริกาใต้

[แก้]
ตัวอย่างปลา Latimeria chalumnae ที่เก็บรักษาไว้ที่พิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์ธรรมชาติ กรุงเวียนนา ประเทศออสเตรีย (ยาว 170 ซม. น้ำหนัก 60 กก.) ตัวอย่างนี้ถูกจับได้เมื่อวันที่ 18 ตุลาคม 1974 ใกล้กับซาลิมานิ (แกรนด์ โคโมร์ เกาะโคโมรอส) 11°48′40.7″S 43°16′3.3″E / 11.811306°S 43.267583°E / -11.811306; 43.267583

เมื่อวันที่ 23 ธันวาคม ค.ศ. 1938 เฮนดริก กูเซน (Hendrik Goosen) กัปตันเรือลากอวนพาณิชย์ “เนอรีน” กลับไปที่ท่าเรืออีสต์ลอนดอนในอัฟริกาใต้หลังจากลากอวนแถวปากแม่น้ำชาลัมน่า แล้วเขาก็ทำอย่างที่เขาเคยทำอยู่บ่อย ๆ คือโทรศัพท์ไปหาเพื่อนของเขา มาร์จอรี คอร์ทีเนย์-ลาติเมอร์ (Marjorie Courtenay-Latimer) ภัณฑรักษ์ที่พิพิธภัณฑ์เล็ก ๆ แห่งหนึ่งในอีสต์ลอนดอน เพื่อให้ไปดูว่าสิ่งที่จับได้นั้นเป็นสิ่งที่เธอสนใจหรือไม่ และยังบอกเธอว่ามีปลาเกล็ดแข็งที่เขาเก็บไว้ให้เธอดูอีกด้วย จากจดหมายเหตุของสถาบันความหลากหลายทางชีวภาพทางน้ำแห่งแอฟริกาใต้ (SAIAB) แสดงให้เห็นว่ากูเซนรักษาสภาพของปลาอย่างดี และสั่งให้ลูกเรือนำมันไปเก็บรักษาไว้ที่พิพิธภัณฑ์อีสต์ลอนดอน ภายหลังกูเซนกล่าวว่าปลามีน้ำเงินโลหะแต่กว่าที่เนอรีนจะเข้าเทียบท่าก็กินเวลาหลายชั่วโมงทำให้ปลากลายเป็นสีเทาเข้ม

สิ่งที่ค้นพบนั้นไม่พบว่ามีการบันทึกถึงลักษณะเอาไว้ในหนังสือใด ๆ ที่เธอมีอยู่ เธอพยายามติดต่อกับเพื่อนของเธอ ศาสตราจารย์เจมส์ เลียวนาร์ด เบรียเลย์ สมิธ (James Leonard Brierley Smith) แต่เขาไม่อยู่เนื่องจากเทศกาลคริสต์มาส เนื่องด้วยไม่อาจเก็บรักษาสภาพของปลาเอาไว้ได้เธอจึงลังเลใจที่จะส่งมันไปทำเทคนิคการทำให้ซากสัตว์คงสภาพเหมือนมีชีวิต เมื่อสมิธกลับมาเขาพบว่ามันเป็นปลาซีลาแคนท์ที่พบได้เฉพาะเป็นฟอสซิล สมิธได้ตั้งชื่อปลาชนิดนี้ว่า “ลาติเมอเรีย ชาลัมนี” (Latimeria chalumnae) เพื่อเป็นเกียรติแก่ มาร์จอรี คอร์ทีเนย์-ลาติเมอร์และแม่น้ำที่เป็นแหล่งค้นพบ ผู้ค้นพบทั้งสองจึงกลายเป็นผู้ที่มีชื่อเสียงโด่งดังรู้จักกันไปทั่ว และปลาชนิดนี้ก็กลายเป็นที่รู้จักกันว่าเป็นฟอสซิลที่มีชีวิต และปลาซีลาแคนท์ที่พบในปี ค.ศ. 1938 นี้ปัจจุบันยังคงจัดแสดงไว้ที่พิพิธภัณฑ์ในอีสต์เบิร์นนั้นเอง

อย่างไรก็ตาม ชิ้นตัวอย่างที่ถูกสตัฟฟ์นั้น ไม่สามารถตรวจสอบลักษณะของเหงือกและโครงกระดูกได้และยังมีข้อสงสัยที่ค้างคาอยู่ว่ามันจะเป็นชนิดเดียวกันหรือไม่ สมิธเริ่มล่าตัวที่สองซึ่งก็ต้องใช้เวลามากกว่าทศวรรษ

อ้างอิง

[แก้]
  1. Jewett, Susan L., "On the Trail of the Coelacanth, a Living Fossil", The Washington Post, 1998-11-11, Retrieved on 2007-06-19.
  2. "IUCN Redlist--L. chalumnae"[ลิงก์เสีย]
  3. ""IUCN Redlist--L. menadoensis"". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2010-02-14. สืบค้นเมื่อ 2010-05-24.