อนันต์ ผลอำนวย
อนันต์ ผลอำนวย | |
---|---|
อนันต์ ในปี พ.ศ. 2567 | |
สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดกำแพงเพชร | |
เริ่มดำรงตำแหน่ง 23 ธันวาคม พ.ศ. 2550 (16 ปี 295 วัน) | |
ก่อนหน้า | คนึง ไทยประสิทธิ์ |
คะแนนเสียง | 37,149 (42.39%) |
ข้อมูลส่วนบุคคล | |
เกิด | 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2495 จังหวัดกำแพงเพชร ประเทศไทย |
พรรคการเมือง | พลังประชาชน (2550–2551) เพื่อไทย (2551–2561) พลังประชารัฐ (2561–ปัจจุบัน) |
คู่สมรส | สุพรรณี ผลอำนวย |
อนันต์ ผลอำนวย (เกิด 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2495) เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดกำแพงเพชร เขต 3 ที่ปรึกษาฝ่ายสังคมเเละกรรมการบริหารพรรคพลังประชารัฐ อดีตประธานคณะกรรมาธิการกิจการสภาผู้แทนราษฎร[1] และอดีตสมาชิกวุฒิสภาจังหวัดกำแพงเพชร
ประวัติ
[แก้]อนันต์ ผลอำนวย เกิดเมื่อวันที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2495 เป็นบุตรของนายฝัด และนางเย็น ผลอำนวย มีน้องชาย 1 คน สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี ศึกษาศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช และปริญญาโท ศึกษามหาบัณฑิต สาขาบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยนเรศวร
สมรสกับนางสุพรรณี ผลอำนวย (นามสกุลเดิม:สบายเมือง) บุตรสาวของนายสนั่น สบายเมือง อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดกำแพงเพชร มีบุตรธิดา 3 คน
งานการเมือง
[แก้]อดีตเป็นสมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2540 และสมาชิกวุฒิสภา พ.ศ. 2543[2] ลงสมัครสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรครั้งแรกในปี พ.ศ. 2550 สังกัดพรรคพลังประชาชน และได้รับการเลือกตั้งเป็นสมัยแรก
ต่อมาได้ลงสมัครรับเลือกตั้ง และเป็น ส.ส.กำแพงเพชร ต่อเนื่องในปี 2554 สังกัดพรรคเพื่อไทย และปี 2562 สังกัดพรรคพลังประชารัฐ
นายอนันต์ ได้รับแต่งตั้งเป็นประธานคณะกรรมาธิการกิจการสภาผู้แทนราษฏร ในสภาผู้แทนราษฎรไทย ชุดที่ 25
สมาชิกวุฒิสภา
[แก้]สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร
[แก้]อนันต์ ผลอำนวย ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมาแล้ว 4 สมัย คือ
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2550 จังหวัดกำแพงเพชร สังกัดพรรคพลังประชาชน (พ.ศ. 2541) → พรรคเพื่อไทย
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2554 จังหวัดกำแพงเพชร สังกัดพรรคเพื่อไทย
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2562 จังหวัดกำแพงเพชร สังกัดพรรคพลังประชารัฐ
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2566 จังหวัดกำแพงเพชร สังกัดพรรคพลังประชารัฐ
เครื่องราชอิสริยาภรณ์
[แก้]- พ.ศ. 2554 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นสูงสุด มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก (ม.ป.ช.)[3]
- พ.ศ. 2551 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นสูงสุด มหาวชิรมงกุฎ (ม.ว.ม.)[4]
- พ.ศ. 2540 – เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ ชั้นที่ 4 จตุตถดิเรกคุณาภรณ์ (จ.ภ.)[5]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ เปิดชื่อ 35 ประธาน กมธ. “เสรีพิศุทธ์”นั่งปราบทุจริต
- ↑ "ประกาศคณะกรรมการการเลือกตั้ง เรื่อง ผลการเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภา เขตเลือกตั้งจังหวัดกำแพงเพชร" (PDF). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 2011-12-15.
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๕๔ เก็บถาวร 2012-11-19 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๘ ตอนที่ ๒๔ ข หน้า ๓, ๒ ธันวาคม ๒๕๕๔
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เก็บถาวร 2009-01-17 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๒๕ ตอนที่ ๑๗ ข หน้า ๑๑, ๑๘ ธันวาคม ๒๕๕๑
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๑๑๔ ตอนที่ ๒๙ ข หน้า ๕, ๑๖ ธันวาคม ๒๕๔๐
แหล่งข้อมูลอื่น
[แก้]- นายอนันต์ ผลอำนวย เก็บถาวร 2012-08-06 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เว็บไซต์รัฐสภาไทย
- บัญชีแสดงรายการทรัพย์สินและหนี้สินของนายอนันต์ ผลอำนวย[ลิงก์เสีย], สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ
- ข้อมูลนักการเมืองไทย (นายอนันต์ ผลอำนวย), ศูนย์ข้อมูลนักการเมืองไทย
- บุคคลที่เกิดในปี พ.ศ. 2495
- บุคคลที่ยังมีชีวิตอยู่
- นักการเมืองไทย
- สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดกำแพงเพชร
- สมาชิกวุฒิสภาจังหวัดกำแพงเพชร
- สมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญไทย
- พรรคพลังประชาชน (พ.ศ. 2541)
- นักการเมืองพรรคเพื่อไทย
- พรรคพลังประชารัฐ
- บุคคลจากสาขาวิชาศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
- บุคคลจากคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ป.ช.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ ม.ว.ม.
- ผู้ได้รับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ จ.ภ.