เทมาเส็ก

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ส่วนหนึ่งของแผนที่เหมา คุนจากอู่เป้ย์ จื้อ ซึ่งอิงจากแผนที่เดินเรือของเจิ้งเหอในช่วงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 15 แสดงเทมาเส็ก (淡馬錫) ที่ด้านบนซ้าย

เทมาเส็ก (อักษรโรมัน: Temasek) เป็นชื่อสถานที่ที่มีการบันทึกช่วงแรกบนพื้นที่สิงคโปร์ในปัจจุบัน ชื่อนี้ปรากฏในวรรณกรรมภาษามลายูและชวายุคต้น และยังปรากฏในบันทึกเอกสารสมัยราชวงศ์หยวนและราชวงศ์หมิงของจีนเป็น ตานหม่าซี (จีน: 單馬錫; พินอิน: Dānmǎxī; เป่อ่วยยี: Tan-má-sek) หรือ ต้านหม่าซี (จีน: 淡馬錫; พินอิน: Dànmǎxī; เป่อ่วยยี: Tām-má-sek) ปัจจุบันมีการใช้ชื่อนี้ในเครื่องรัฐอิสริยาภรณ์และในสถาบันกับบริษัทต่าง ๆ ของประเทศสิงคโปร์

ชื่อ[แก้]

ต้นตอของชื่อเทมาเส็กยังไม่ทราบอย่างแน่ชัด แต่มีข้อเสนอว่าคำนี้มีที่มาจากศัพท์ภาษามลายูว่า tasik หมายถึง "ทะเลสาบ" หรือ "ทะเล" และอาจหมายถึง "สถานที่ที่ล้อมรอบด้วยทะเล"[1] หรือเมืองทะเล ข้อเสนอแนะอีกอันหนึ่งระบุว่า ชื่อนี้อิงจากพระนามกษัตริย์ศรีวิชัยว่า มหาราชา Tan ma sa na ho[2] ชื่อเทมาเส็กยังปรากฏในบันทึกของชาวเวียดนามในคริสต์ศตวรรษที่ 14 ว่า Sach Ma Tich[3]

หลังจากนั้น ชื่อเทมาเส็กก็กลายเป็นชื่อเก่าและไม่ปรากฏในแผนที่และเอกสารของชาวยุโรปในช่วง ค.ศ. 1500 ถึง 1800[4] ก่อนที่จะนำมาใช้ใหม่ในสมัยอาณานิคมและสมัยใหม่

เครื่องรัฐอิสริยาภรณ์[แก้]

เทมาเส็ก เป็นชื่อของเครื่องรัฐอิสริยาภรณ์ชั้นสูงสุดของสิงคโปร์มี 2 ชนิด ได้แก่ เครื่องรัฐอิสริยาภรณ์ดาราเทมาเส็ก (Bintang Temasek สำหรับผู้ที่กระทำความดีความชอบในราชการอย่างสูงสุด หรือ ช่วยเหลือผู้ประสบภยันตราย) และ เครื่องรัฐอิสริยาภรณ์เทมาเส็ก (Darjah Utama Temasek, สำหรับผู้ทำประโยชน์ กระทำความดีความชอบในราชการ).

ดูเพิ่ม[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. John N. Miksic (15 November 2013). Singapore and the Silk Road of the Sea, 1300–1800. NUS Press. pp. 183–184. ISBN 978-9971695743.
  2. Victor R Savage, Brenda Yeoh (15 June 2013). Singapore Street Names: A Study of Toponymics. Marshall Cavendish. p. 381. ISBN 9789814484749.{{cite book}}: CS1 maint: uses authors parameter (ลิงก์)
  3. John N. Miksic (15 November 2013). Singapore and the Silk Road of the Sea, 1300–1800. NUS Press. pp. 181–182. ISBN 978-9971695743.
  4. Peter Borschberg, บ.ก. (December 2004). Iberians in the Singapore-Melaka Area and Adjacent Regions (16th to 18th Century). Harrassowitz. pp. 98–99. ISBN 978-3447051071.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]