ข้ามไปเนื้อหา

บรรเทิง อับดุลบุตร

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
บรรเทิง อับดุลบุตร
ข้อมูลส่วนบุคคล
เกิด11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2468
อำเภอยะหริ่ง จังหวัดปัตตานี
เสียชีวิต14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2514 (46 ปี)
พรรคการเมืองพรรคเสรีมนังคศิลา
พรรคสหประชาไทย
คู่สมรสสงวน อับดุลบุตร

บรรเทิง อับดุลบุตร หรือ ตนกูบราเฮม (11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2468 - 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2514) เป็นอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดปัตตานี 2 สมัย

ประวัติ

[แก้]

บรรเทิง อับดุลบุตร หรือ ตนกูบราเฮม เกิดเมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2468[1] เป็นบุตรของพระยาพิพิธเสนามาตย์ (นิโวะ) และเป็นน้องชายของ พระพิพิธภักดี (ตนกูมุกดา อับดุลบุตร) สำเร็จการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 สมรสกับสงวน อับดุลบุตร (สกุลเดิม ดาราชาติ) ชาวไทยเชื้อสายจีน[2] และเป็นน้องสาวของสวาสดิ์ พิพิธภักดี ภรรยาของพระพิพิธภักดี (ตนกูมุกดา อับดุลบุตร)[3] มีบุตร-ธิดา รวม 7 คน หนึ่งในนั้นคือ ทวีศักดิ์ อับดุลบุตร อดีต ส.ส. ปัตตานี 4 สมัย

บรรเทิง อับดุลบุตร เสียชีวิต เมื่อวันที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2514 สิริอายุรวม 46 ปี [4]

บุตร-ธิดา 7 คน

  1. ทิพย์สัมพันธ์ อับดุลบุตร
  2. ทวีศักดิ์ อับดุลบุตร
  3. บรรจง อับดุลบุตร
  4. เบญจ อับดุลบุตร
  5. ศรีสมร ม่าเหร็ม
  6. บรรเจิด อับดุลบุตร
  7. บพิตร อับดุลบุตร

การทำงาน

[แก้]

บรรเทิง มีอาชีพเป็นเกษตรกร ทำสวนยาง, สวนมะพร้าว และเป็นเสมียนอำเภอประจำอำเภอยะหริ่ง[5]

งานการเมือง

[แก้]

บรรเทิงเข้าสู่วงการการเมืองแทนพี่ชายที่มีปัญหาสุขภาพ และได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรครั้งแรกเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2500 สังกัดพรรคเสรีมนังคศิลา และได้รับเลือกตั้งรวม 2 สมัย [6]

สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร

[แก้]

บรรเทิง อับดุลบุตร ได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทั้งหมด 2 สมัย คือ

  1. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2500 จังหวัดปัตตานี สังกัดพรรคเสรีมนังคศิลา[7]
  2. การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2512 จังหวัดปัตตานี สังกัดพรรคสหประชาไทย

เครื่องราชอิสริยาภรณ์

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. รัฐสภาไทย พุทธศักราช 2513 ชีวประวัติสมาชิกรัฐสภา. สำนักวิจัยสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. 2513
  2. จุรีรัตน์ บัวแก้ว (2540). วัง 7 หัวเมือง (ปัตตานี) (PDF). ปัตตานี: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี. p. 93.
  3. จุรีรัตน์ บัวแก้ว (2540). วัง 7 หัวเมือง (ปัตตานี) (PDF). ปัตตานี: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี. p. 70. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิม (PDF)เมื่อ 2022-07-07. สืบค้นเมื่อ 2022-12-07.
  4. รายชื่อสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 2475-2535. สำนักงานเลขารัฐสภา. 2535
  5. โครงการสำรวจเพื่อประมวลข้อมูลนักการเมืองถิ่น กรณีศึกษา : จังหวัดปัตตานี. บูฆอรี ยีหมะ สำนักวิจัยและพัฒนา สถาบันพระปกเกล้า. 2549
  6. ๖๗ ปี สมาชิกรัฐสภาไทย. สำนักงานเลขารัฐสภา. 2542
  7. ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง ผลการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทั่วไป
  8. ราชกิจจานุเบกษา, แจ้งความสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์, เล่ม ๘๗ ตอนที่ ๑๒๒ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๗๖๒, ๓๑ ธันวาคม ๒๕๑๓