บทกวีเจ็ดก้าว
บทกวีเจ็ดก้าว | |||||||||||||||||||||
ชื่อภาษาจีน | |||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
อักษรจีนตัวเต็ม | 七步詩 | ||||||||||||||||||||
อักษรจีนตัวย่อ | 七步诗 | ||||||||||||||||||||
ความหมายตามตัวอักษร | "บทกวีเจ็ดก้าว" | ||||||||||||||||||||
| |||||||||||||||||||||
ชื่อภาษาเวียดนาม | |||||||||||||||||||||
ภาษาเวียดนาม | thất bộ thi | ||||||||||||||||||||
ชื่อภาษาเกาหลี | |||||||||||||||||||||
ฮันกึล | 칠보시 | ||||||||||||||||||||
ฮันจา | 七步詩 | ||||||||||||||||||||
| |||||||||||||||||||||
ชื่อภาษาญี่ปุ่น | |||||||||||||||||||||
คันจิ | 七步詩 | ||||||||||||||||||||
ฮิรางานะ | しちほのし | ||||||||||||||||||||
|
บทเจ็ดก้าว ( จีนตัวเต็ม: 七步詩; จีนตัวย่อ: 七步诗; พินอิน: Qī Bù Shī; ยหวิดเพ็งกวางตุ้ง: Cat1 Bou6 Si1) เป็นกวีนิพนธ์อุปมานิทัศน์ซึ่งมักถือกันว่าเป็นผลงานของนักกวีโจสิด
ภูมิหลัง
[แก้]ในช่วงชีวิตของขุนศึกผู้ยิ่งใหญ่โจโฉซึ่งครองภาคเหนือของจีนในช่วงปลายราชวงศ์ฮั่น เขาแสดงความโปรดปรานต่อโจสิดบุตรชายคนที่สามที่เกิดกับภรรยาชื่อเปียนซี เนื่องจากชื่นชอบความเฉลียวฉลาดและความสามารถทางวรรณกรรมของโจสิด โจโฉคิดจะตั้งให้โจสิดเป็นรัชทายาท และโจสิดก็ได้รับการสนับสนุนจากขุนนางของโจโฉหลายคน แม้ว่าโจสิดจะเป็นบุตรชายคนรอง ๆ คนหนึ่งของโจโฉก็ตาม อย่างไรก็ตาม เนื่องจากโจสิดไม่ใส่ใจต่อมารยาทและคำสั่งของบิดา ในที่สุดจึงทำให้โจโฉผู้บิดารู้สึกผิดหวัง และตำแหน่งรัชทายาทตกเป็นของโจผีพี่ชายของโจสิด หลังจากการเสียชีวิตของโจโฉในปี ค.ศ. 220 โจผีส่งน้องชายของตนทั้งหมดรวมถึงโจสิดออกจากนครหลวงไปยังเขตศักดินาของแต่ละคน เพื่อไม่ให้เป็นภัยคุกคามต่ออำนาจของตัวโจผี
บทกวีนี้แต่งขึ้นจากภูมิหลังทางประวัติศาสตร์ดังกล่าวนี้ แม้ว่าตัวบทกวีเองและเกร็ดประวัติศาสตร์ของบทกวีจะไม่ปรากฏในจดหมายเหตุสามก๊ก นักวิจัยมองว่าเรื่องราวเกี่ยวกับบทกวีนี้ไม่เป็นเรื่องจริงในประวัติศาสตร์และโต้แย้งเรื่องที่โจสิดเป็นผู้แต่งบทกวีนี้
ชื่อชัวซินยฺหวี่
[แก้]ชื่อชัวซินยฺหวี่ (世说新语; รวมเรื่องเล่าของโลกฉบับใหม่) เป็นหนังสือรวมเกร็ดประวัติศาสตร์ที่รวบรวมในปี ค.ศ. 430 มีเรื่องหนึ่งกล่าวถึงเหตุการณ์ที่โจผีพยายามจะสั่งลงโทษโจสิด เกร็ดประวัติศาสตร์ของเรื่องนี้ปรากฏในบทที่ 4 ของชื่อชัวซินยฺหวี่ กล่าวว่าโจผีอิจฉาความสามารถทางวรรณกรรมของโจสิดจึงพยายามสั่งประหารโจสิด
เรื่องราวโดยสรุปมีอยู่ว่าโจผีเรียกตัวโจสิดมาพบและยื่นคำขาดกับน้องชายของตนโดยบอกให้โจสิดแต่งบทกวีภายในช่วง 7 ก้าวเดิน หากทำไม่ได้จะถูกประหารชีวิต โจสิดสามารถแต่งบทกวีได้ภายใน 7 ก้าว โจผีจึง "แสดงความละอายใจอย่างลึกซึ้งในสีหน้า"
นวนิยายสามก๊ก
[แก้]ในนวนิยายอิงประวัติศาสตร์ในชั้นหลังเรื่องสามก๊ก ซึ่งประพันธ์ในศตวรรษที่ 14 ในตอนที่ 79 ได้เพิ่มอรรถรสให้กับเหตุการณ์นี้ด้วยเรื่องราวที่แตกต่างออกไปเล็กน้อย ซึ่งโดยหลักตามเนื้อเรื่องในนวนิยายแล้วบทกวีนี้ไม่ใช่ "บทกวีเจ็ดก้าว"
หลังจากการเสียชีวิตของโจโฉ โจสิดก็ไม่ใส่ใจที่จะไปร่วมงานศพ โจผีใช้เหตุผลนี้ในการจับกุมโจสิด เปียนซีมารดาของทั้งคู่ขอร้องโจผีไม่ให้เอาชีวิตน้องชาย ด้านฮัวหิมที่ปรึกษาของโจผีแนะนำโจผีให้ตัดสินใจอย่างเด็ดขาดในการลงโทษโจสิด แต่โจผีไม่เต็มใจจะกระทำ ฮัวหิมจึงแนะนำให้เรียกตัวโจสิดมาทดสอบสติปัญญา และอาจะสั่งประหารชีวิตหรือลดตำแหน่งขึ้นกับผลการทดสอบ โจผีจึงเรียกโจสิดมาที่สำนัก กล่าวหาว่าโจสิดใช้คนอื่นเขียนบทกวีเพื่อแอบอ้างสร้างชื่อเสียงให้ตนเองเพื่อให้ได้รับความโปรดปรานจากโจโฉผู้บิดา และท้าให้โจสิดแต่งบทกวีสด ณ ที่นั้น หากทำไม่ได้จะถูกประหารชีวิตด้วยข้อหาแอบอ้างความสามารถทางวรรณกรรม
การทดสอบมีหัวข้อเป็นภาพวาดหนึ่งในสำนัก แสดงภาพของวัวตัวหนึ่งฆ่าวัวอีกตัวหนึ่งตายหลังการต่อสู้ และให้โจสิดแต่งบทกวีพรรณนาภาพ โดยห้ามใช้คำที่เกี่ยวข้องกับภาพโดยตรงภายในช่วง 7 ก้าวเดิน โจสิดก็สามารถแต่งบทกวีขนาดค่อนข้างยาวได้ภายในช่วง 7 ก้าวเดิน
โจผียังไม่ยอมแพ้ จึงทดสอบน้องชายด้วยหัวข้อที่ยากขึ้่น โดยบอกให้โจสิดแต่งบทกวีเกี่ยวกับพี่น้องแต่ห้ามมีคำว่า "พี่น้อง" ในบทกวี คราวนี้โจสิดสามารถแต่งบทกวีที่มีชื่อเสียงในภายหลังนี้ออกมาได้ทันที เมื่อได้ฟังการร่ายบทกวี โจผีก็น้ำตาไหล จากนั้นเปียนซีมารดาของสองพี่น้องก็ออกมาจากห้องด้านในและเข้ามาหยุดการทดสอบ ในที่สุดโจโฉจึงลดบรรดาศักดิ์ของโจสิดให้ไปอยู่ในเขตศักดินาที่ห่างไกลจากศูนย์กลางอำนาจแทนที่จะทำร้าย
รูปแบบ
[แก้]บทกวีมีสองรูปแบบ รูปแบบหนึ่งมี 6 วรรค อีกรูปแบบหนึงมี 4 วรรค ทั้งสองรูปแบบใช้การอุปมาแบบขยายเพื่ออธิบายความสัมพันธ์ของพี่น้องและมิจฉาทิฐิของการทำร้ายอีกฝ่ายด้วยสาเหตุจากการการทะเลาะกันในเรื่องเล็กน้อย ผู้แต่งใช้อักษรหลายตัวเพื่ออธิบายกระบวนการต่าง ๆ ของการปรุงและการต้มถั่ว อักษรส่วนหนึ่ง ได้แก่ 煮 (ต้ม) 漉 (กรอง) 燃 (เผา, จุดไฟ) 泣 (ร้องไห้) และ 煎 (ต้ม, ทอด)
ชื่อชัวซินยฺหวี่
[แก้]การปรากฏครั้งแรกของบทกวีนี้ (ในรูปแบบที่ยาวกว่า) อยู่ในบทที่ 4 ของตำราชื่อชัวซินยฺหวี่ ที่เขียนในปี ค.ศ. 430[1]
ภาษาจีน | พินอิน | ยฺหวิดเพ็ง | แปล |
---|---|---|---|
煮豆持作羹, | zhǔ dòu chí zuò gēng | zyu2 dau6 ci4 zok3 gang1 | ต้มถั่วไว้ทำแกง |
漉菽以為汁。 | lù shū yǐ wéi zhī | luk6 suk6 ji5 wai4 zap1 | คั้นถั่วเป็นน้ำสกัด |
萁在釜下燃, | qí zài fǔ xià rán | kei4 zoi6 fu2 haa6 jin4 | ใต้หม้อมีต้นถั่วไหม้ |
豆在釜中泣。 | dòu zài fǔ zhōng qì | dau6 zoi6 fu2 zung1 jap1 | ในหม้อถั่วร้องไห้ |
本是同根生, | běn shì tóng gēn shēng | bun2 si6 tung4 gan1 sang1 | เกิดมาจากรากเดียวกัน |
相煎何太急? | xiāng jiān hé tài jí | soeng1 zin1 ho4 taai3 gap1 | เหตุใดรีบต้มกัน |
นวนิยายสามก๊ก
[แก้]บทกวีรูปแบบหลังพบในตอนที่ 79 ของนวนิยายสามก๊ก ซึ่งประพันธ์ในศตวรรษที่ 14[2]
ภาษาจีน | พินอิน | ยฺหวิดเพ็ง | แปล |
---|---|---|---|
煮豆燃豆萁 | zhǔ dòu rán dòu qí | zyu 2 dau 6 jin 4 dau 6 kei 4 | เผาต้นถั่วเพื่อต้มถั่ว |
豆在釜中泣。 | dòu zài fǔ zhōng qì | dau6 zoi6 fu2 zung1 jap1 | ในหม้อถั่วร้องไห้ |
本是[1]同根生, | běn shì tóng gēn shēng | bun2 si6 tung4 gan1 sang1 | เกิดมาจากรากเดียวกัน |
相煎何太急! | xiāng jiān hé tài jí | soeng1 zin1 ho4 taai3 gap1 | เหตุใดรีบต้มกัน |
^ บางรูปแบบมี 本自 (běn zì/bun2zi6) แทนที่ 本是.
เนื่องมาจากความนิยมของนวนิยายสามก๊ก รูปแบบที่สั้นกว่าจึงเป็นรูปแบบที่รู้จักโดยทั่วไปของบทกวีนี้ เป็นการย่อสามวรรคแรกของบทกวีขนาดยาวกว่าให้กลายเป็นวรรคเดียว
ในสามก๊ก ฉบับเจ้าพระยาพระคลัง (หน) วรรรณกรรมต้นสมัยรัตนโกสินทร์ที่แปลเป็นภาษาไทยจากนวนิยายสามก๊ก แปลบทกวีนี้ด้วยความดังนี้:
"ขั้วถั่วเอากิ่งถั่วมาเปนฟืนใส่ไฟ เมล็ดถั่วในกะทะจะไหม้ก็เพราะกิ่งถั่วต้นรากอันเดียวกันนั่นเอง เหตุใดจึงเร่งไฟเข้าให้หนักนัก"[3]
การอ้างอิงร่วมสมัย
[แก้]บทกวีเจ็ดก้าวถูกใช้เพื่อถ่ายทอดความคิดโดยผู้คนที่แตกต่างกัน
หลู่ ซฺวิ่น นักเขียนชาวจีนอ้างถึงบทกวีนี้ในปี ค.ศ. 1920 เพื่อต่อต้านการกลับไปสู่การศึกษาแบบดั้งเดิมและการห้ามกิจกรรมของนักศึกษา[4]
เลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์จีน เจียง เจ๋อหมิน ถูกนักข่าวถามในปี ค.ศ. 2000 ในวันก่อนการเลือกตั้งประธานาธิบดีไต้หวัน ว่าสงครามข้ามช่องแคบกับไต้หวันจะเป็นการ "เผาซึ่งกันและกันด้วยความใจร้อน" หรือไม่ ซึ่งเขาตอบว่าไต้หวันและจีนนั้น "เกิดจากรากเดียวกัน" และตำหนิผู้สนับสนุนเอกราชไต้หวันเรื่อง "การเผา"[5]
นอกประเทศจีน อีลอน มัสก์เคยอ้างถึงบทกวีนี้ในบัญชีทวิตเตอร์ของตนเมื่อวันที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564[6]
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Wikisource. . p. 66 – โดยทาง
- ↑ Wikisource. – โดยทาง
- ↑ "สามก๊ก ตอนที่ ๖๒". วัชรญาณ. สืบค้นเมื่อ March 24, 2023.
- ↑ "我烬你熟了,正好办教席的意思_鲁迅古诗名句赏析". www.gushimi.org. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2021-11-02. สืบค้นเมื่อ 2021-11-02.
- ↑ "江泽民五分钟答台湾问题". China News. สืบค้นเมื่อ 2021-11-02.
- ↑ @elonmusk (2 November 2021). "Humankind 煮豆燃豆萁 豆在釜中泣 本是同根生 相煎何太急" (ทวีต) – โดยทาง ทวิตเตอร์.