ข้ามไปเนื้อหา

นาวาตรี

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
นายทหารเรือไทยยศนาวาตรี (กลาง) เรือโท (ขวา) และนายทหารเรือสหรัฐยศจ่าโท (ซ้าย) ระหว่างการฝึก CARAT 2010 กลางอ่าวไทย
ยศทหารที่พบทั่วไป
ทหารบก ทหารเรือ ทหารอากาศ
นายทหารชั้นสัญญาบัตร
พลเอก พลเรือเอก พลอากาศเอก
พลโท พลเรือโท พลอากาศโท
พลตรี พลเรือตรี พลอากาศตรี
พันเอก นาวาเอก นาวาอากาศเอก
พันโท นาวาโท นาวาอากาศโท
พันตรี นาวาตรี นาวาอากาศตรี
ร้อยเอก เรือเอก เรืออากาศเอก
ร้อยโท เรือโท เรืออากาศโท
ร้อยตรี เรือตรี เรืออากาศตรี
นายทหารชั้นประทวน
จ่าสิบเอก พันจ่าเอก พันจ่าอากาศเอก
จ่าสิบโท พันจ่าโท พันจ่าอากาศโท
จ่าสิบตรี พันจ่าตรี พันจ่าอากาศตรี
พลอาสาสมัครและทหารเกณฑ์

สิบเอก จ่าเอก จ่าอากาศเอก
สิบโท จ่าโท จ่าอากาศโท
สิบตรี จ่าตรี จ่าอากาศตรี
พลทหาร พลทหารเรือ พลทหารอากาศ

นาวาตรี (อังกฤษ: lieutenant commander สะกดด้วยยัติภัค์ lieutenant-commander และตัวย่อ น.ต. (ชื่อ) ร.น., Lt Cdr,[1] LtCdr.,[2] LCDR,[3][4] หรือ LCdr[5]) เป็นยศนายทหารชั้นสัญญาบัตรในกองทัพเรือหลายแห่ง มียศเหนือกว่าเรือเอก และเป็นผู้ใต้บังคับบัญชาของนาวาโท ตำแหน่งที่สอดคล้องกันในกองทัพเรือและกองทัพอากาศบางประเทศคือพันตรี และในกองทัพอากาศสหราชอาณาจักร ในเครือจักรภพและบางประเทศคือนาวาอากาศตรี ซึ่งยศนี้ถูกเริ่มต้นในไทย เมื่อปี พ.ศ.2459 สมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว

รหัสยศเนโทส่วนใหญ่เทียบได้กับ OF-3[6]

นาวาตรีเป็นเจ้าหน้าที่แผนก หรือรองผู้บังคับการ (รองผู้บังคับหน่วย) บนเรือรบหลายลำและที่ตั้งทางทหารขนาดเล็กบริเวณชายฝั่ง หรือผู้บังคับการเรือขนาดเล็ก / ที่ตั้งทางทหารขนาดเล็ก[7] นอกจากนี้นาวาตรียังเป็นเจ้าหน้าที่แผนกในฝูงบินนาวีอีกด้วย

นิรุกติศาสตร์

[แก้]

กองทัพเรือบางชาติเรียกนาวาตรีตามยศเต็มหรือตำแหน่งที่ครอง เช่น กับตัน หากเป็นผู้บัญชาการเรือ

อย่างไรก็ตาม ในกองทัพเรือสหรัฐเรียกขานนายทหารตามยศเต็มหรือระดับที่สูงกว่าชั้นยศ เช่น การพูดคุยอย่างไม่เป็นทางการ เรือโท (lieutenant junior grade แปลได้อีกอย่างว่า ผู้หมวดที่อาวุโสอ่อนสุด) จะเรียกแบบย่อว่า lieutenant (ยศเรือเอก หรือผู้หมวด) ซึ่งเป็นยศของร้อยเอก และ นาวาตรี (lieutenant commander) จะเรียกโดยย่อว่า commander (คือยศของนาวาโท)[8]

เช่นกันกับนายทหารราชนาวีที่ใช้การเรียกอย่างไม่เป็นทางการอิงตามยศที่สูงกว่า เช่น Vice-Admiral Ramsay (พลเรือโท แรมเซย์) จะเรียกว่า Admiral Ramsay (พลเรือเอก แรมเซย์) และ Lieutenant-Commander Crabb (นาวาตรี แครบบ์) จะเรียกว่า Commander Crabb (นาวาโท แครบบ์) ยกเว้นตำแหน่ง sub-lieutenant (เรือโท) ที่จะเรียกว่า Subbies (ผู้ใต้บังคับบัญชา) ดังนั้น Sub-Lieutenant Balme (เรือโท บาล์ม) จะเรียกว่า Subby Balme (ซับบี้ บาล์ม)

ต้นกำเนิด

[แก้]

โดยปกติ Lieutenant (ชื่อยศเรือเอก) จะเป็นผู้บังคับการเรือขนาดเล็กโดยไม่ต้องมีนาวาโทหรือนาวาเอกอนุญาตในการตัดสินใจต่าง ๆ เรือเอกเรียกว่า lieutenant commanding หรือ lieutenant commandant ในกองทัพเรือสหรัฐ และเรียกว่า lieutenant in command, lieutenant and commander, หรือ senior lieutenant ในราชนาวี โดยกองทัพเรือสหรัฐได้กำหนดให้ใช้คำว่า lieutenant commander ในปี พ.ศ. 2405 และกำหนดขึ้นมาเป็นยศชัดเจน และราชกนาวีได้กำหนดตามมาหลังจากนั้นในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2457[9]

แคนาดา

[แก้]

ในกองทัพเรือแคนาดา นาวาตรี (LCdr)[5] คือยศทางเรือที่เทียบเท่ากับพันตรีในกองทัพบกหรือกองทัพอากาศ และเป็นนายทหารคนแรกในแท่งนายทหารสัญญาบัตรอาวุโส นาวาตรีนั้นอาวุโสกว่าเรือเอก (lieutenants) และร้อยเอกในกองทัพบกและกองทัพอากาศ และเป็นผู้ใต้บังคับบัญชาของนาวาโทและพันโท[6]

ในกองทัพเรือแคนาดา ยศร้อยโท (LCdr) คือยศทางเรือเท่ากับพันตรีในกองทัพบกหรือกองทัพอากาศ และเป็นยศนายทหารอาวุโสคนแรก นาวาตรีเป็นผู้อาวุโสกว่าร้อยโท (N) และกัปตันกองทัพบกและกองทัพอากาศ และเป็นผู้อยู่ใต้บังคับบัญชาของผู้บังคับบัญชาและพันโท

สหราชอาณาจักร

[แก้]

ราชนาวี

[แก้]

เครื่องหมายยศนาวาตรีของราชนาวีคือแถบเปียสีทองขนาดกลางสองแถบ โดยมีสีทองบาง ๆ หนึ่งแถบพาดอยู่ระหว่างกลาง วางไว้บนพื้นหลังสีน้ำเงินกรมท่า / สีดำ แถบด้านบนมีห่วงวนที่ใช้กันอย่างแพร่หลายในเครื่องหมายยศราชนาวีทั้งหมดยกเว้นนักเรียนนายเรือ (midshipman) ซึ่งในกองทัพอากาศก็มีรูปแบบคล้ายคลึงกันโดยมียศที่เทียบเท่ากันคือนาวาอากาศตรี (squadron leader)

เนื่องจากมียศนายทหารน้อยกว่ากองทัพบก ก่อนหน้านี้ราชนาวีจึงได้แบ่งยศตามอาวุโส (ระยะเวลาในตำแหน่ง) เพื่อให้สามารถเทียบเคียงกันได้ ดังนั้น lieutenant (เรือเอก) ที่มีอายุงานน้อยกว่าแปดปีจะสวมเครื่องหมายสองแถบ และเทียบเคียงยศเท่ากับร้อยเอก (captain) ของกองทัพบก สำหรับ lieutenant (เรือเอก) ที่มีอายุงานแปดปีขึ้นไปจะสวมเครื่องหมายสองแถบ และมีแถบที่บางกว่าอยู่ตรงกลางเข้ามาเพิ่ม และมียศเทียบเท่ากับพันตรี (major) ความแตกต่างดังกล่าวหายไปเมื่อยศ lieutenant commander (นาวาตรี) ได้รับการนำมาใช้งาน โดยแม้ว่าการเลื่อนตำแหน่งหลังจะปรับเลื่อนโดยอัตโนมัติเมื่ออายุราชการครบแปดปีสำหรับนายทหารในคณะกรรมการอาชีพเต็มรูปแบบ (FCC) ระบบการเลื่อนอัตโนมัติยุติการใช้งานในช่วงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 21 และใช้ระบบการเลื่อนตำแหน่งตามความเหมาะสมแทน

เหล่าตรวจการณ์สหราชอาณาจักร

[แก้]

ในช่วงที่เหล่าตรวจการณ์สหราชอาณาจักรดำรงอยู่ ได้มีการใช้งานยศนาวาตรี (lieutenant commander) เช่นกัน โดยหน่วยจะสวมเครื่องแบบของกองทัพอากาศ และเครื่องหมายยศจะคล้ายคลึงกับนาวาอากาศตรีกองทัพอากาศ แตกต่างกันเพียงแถบจะเป็นสีดำ ก่อนจะเปลี่ยนชื่อยศเป็น ผู้ตรวจการณ์ชั้นหนึ่ง (observer lieutenant (first class))

สหรัฐ

[แก้]

ในสหรัฐ ยศนาวาตรีมีการใช้งานในกองทัพเรือสหรัฐ ยามฝั่งสหรัฐ เหล่าสัญญาบัตรสำนักงานสาธารณสุขสหรัฐ และเหล่าสัญญาบัตรองค์การบริหารมหาสมุทรและชั้นบรรยากาศแห่งชาติ

ภายในกองทัพเรือสหรัฐ นาวาตรีอยู่ในรายชื่อของนายทหารชั้นต้น มีเครื่องหมายนาวาตรีสองแบบที่ใช้งานโดยกองทัพเรือสหรัฐและยามฝั่งสหรัฐ ในชุดกากีและเครื่องแบบปฏิบัติงานทั้งหมด นาวาตรีจะประดับเครื่องหมายรูปใบไม้สีทองที่ปกเสื้อ คล้ายกับการประดับของพันตรีในกองทัพอากาศสหรัฐและกองทัพบกสหรัฐ และเหมือนกับที่ประดับโดยเหล่านาวิกโยธินสหรัฐ ในเครื่องแบบปฏิบัติงานทั้งหมด นาวาตรีจะประดับเครื่องหมายบนไหล่หรือแถบที่แขนเสื้อสีทองขนาดหนึ่งในสี่นิ้ว และระหว่าแถบจะมีแถบสีทองขนาดครึ่งนิ้วสองแถบ (ขนาดปกติ) บริเวณด้านบนหรือด้านในของแถบจะประดับเครื่องหมายพิเศษ (เช่น ใบโอ๊กเดี่ยวสำหรับแพทย์ ลูกโอ๊กสีเงินสำหรับเหล่าแพทย์ ใบโอ๊กไขว้สำหรับเหล่าช่างโยธา) โดยหน่วยบริการในเครื่องแบบสหรัฐกำหนดให้เป็นยศระดับ O-4[10]

ระเบียงภาพ

[แก้]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "Triservice Officers Pay and Grade" (PDF). UK Government. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 4 March 2016. สืบค้นเมื่อ 25 April 2013.
  2. "A Dane giving the orders". Admiral Danish Fleet. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 22 October 2013. สืบค้นเมื่อ 25 April 2013.
  3. "US Navy Ranks". United States Navy. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2 May 2013. สืบค้นเมื่อ 2013-04-25.
  4. "Uniform Ranks". Royal Australian Navy. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 24 January 2015. สืบค้นเมื่อ 25 April 2013.
  5. 5.0 5.1 "Royal Canadian Navy ranks and badges". Department of National Defence (Canada). 2023-08-30. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-04-27. สืบค้นเมื่อ 2023-11-03.
  6. 6.0 6.1 "NATO Standard Agreement (STANAG) 2116: NATO Codes for Grades of Military Personnel". NATO standardization agreement (5 ed.). NATO Standardization Agency (ตีพิมพ์ 25 February 2010). 13 March 1996. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 1 September 2011. สืบค้นเมื่อ 13 July 2017.
  7. "United States Navy - O-4 Lieutenant Commander". FederalPay.org. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 8 May 2018. สืบค้นเมื่อ 22 May 2017.
  8. "MILPERSMAN 5000-010" (PDF). U.S. Navy. 22 Aug 2002. เก็บ (PDF)จากแหล่งเดิมเมื่อ 6 October 2016. สืบค้นเมื่อ 28 June 2016.
  9. "Lieutenant Commander mokong Ibana". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 27 May 2009. สืบค้นเมื่อ 6 October 2009.
  10. "United States Department of Defense". www.defenselink.mil. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 30 December 2004. สืบค้นเมื่อ 8 May 2018.
  11. "Badges of rank" (PDF). defence.gov.au. Department of Defence (Australia). สืบค้นเมื่อ 31 May 2021.
  12. "Admiralty Ranks". navy.mindef.gov.bn. Royal Brunei Navy. สืบค้นเมื่อ 1 September 2021.
  13. "Ranks and appointment". canada.ca. Government of Canada. สืบค้นเมื่อ 28 May 2021.
  14. "Ranks & Insignia". Join Indian Navy. สืบค้นเมื่อ 12 April 2021.
  15. "Naval Service Rank Markings". military.ie. Defence Forces (Ireland). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 25 April 2016. สืบค้นเมื่อ 26 May 2021.
  16. "Defense Act of 2008" (PDF). 3 September 2008. p. 8. สืบค้นเมื่อ 20 November 2017.
  17. "Karių laipsnių ženklai" [Marks of soldiers]. kariuomene.kam.lt (ภาษาลิทัวเนีย). Ministry of National Defence (Lithuania). สืบค้นเมื่อ 26 May 2021.
  18. "Badges of Rank". nzdf.mil.nz. New Zealand Defence Force. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 3 July 2020. สืบค้นเมื่อ 11 June 2021.
  19. "Sposób noszenia odznak stopni wojskowych na umundurowaniu Marynarki Wojennej" [The way of wearing badges of military ranks on the uniform of the Navy] (PDF). wojsko-polskie.pl (ภาษาโปแลนด์). Armed Forces Support Inspectorate. สืบค้นเมื่อ 7 June 2021.
  20. "Shaping your career". royalnavy.mod.uk. Royal Navy. สืบค้นเมื่อ 24 September 2021.
  21. 21.0 21.1 "U.S. Military Rank Insignia". defense.gov. Department of Defense. สืบค้นเมื่อ 13 January 2022.
  • วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ Lieutenant Commanders