เรือเอก

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เรือเอกนายทหารติดต่อของกองทัพเรือไทยและมาเลเซียกำลังประสานงานกันระหว่างการฝึก SEACAT 2009 บนเรือ ยูเอสเอส ฮาร์เปอร์ส เฟอร์รี่ (LSD 49)
ยศทหารที่พบทั่วไป
ทหารบก ทหารเรือ ทหารอากาศ
นายทหารชั้นสัญญาบัตร
จอมพล จอมพลเรือ จอมพลอากาศ
พลเอก พลเรือเอก พลอากาศเอก
พลโท พลเรือโท พลอากาศโท
พลตรี พลเรือตรี พลอากาศตรี
พลจัตวา พลเรือจัตวา พลอากาศจัตวา
พันเอก นาวาเอก นาวาอากาศเอก
พันโท นาวาโท นาวาอากาศโท
พันตรี นาวาตรี นาวาอากาศตรี
ร้อยเอก เรือเอก เรืออากาศเอก
ร้อยโท เรือโท เรืออากาศโท
ร้อยตรี เรือตรี เรืออากาศตรี
นายทหารชั้นประทวน
จ่าสิบเอก พันจ่าเอก พันจ่าอากาศเอก
จ่าสิบโท พันจ่าโท พันจ่าอากาศโท
จ่าสิบตรี พันจ่าตรี พันจ่าอากาศตรี
สิบเอก จ่าเอก จ่าอากาศเอก
สิบโท จ่าโท จ่าอากาศโท
สิบตรี จ่าตรี จ่าอากาศตรี
พลทหาร พลทหารเรือ พลทหารอากาศ

เรือเอก[1] (อังกฤษ: lieutenant)[nb 1] (ตัวย่อ ร.อ. (ชื่อ) ร.น. (ไทย), Lt, LT (สหรัฐ), LT (กองทัพเรือสหรัฐ), Lieut และ LEUT, ขึ้นอยู่กับประเทศ) คือยศนายทหารชั้นสัญญาบัตรในกองทัพเรือและหน่วยยามฝั่งของประเทศที่พูดภาษาอังกฤษ โดยปกติจะเป็นนายทหารที่อาวุโสที่สุดของกลุ่มนายทหารชั้นต้น ในกองทัพเรือส่วนใหญ่ เครื่องหมายยศอาจจะประกอบไปด้วยแถบเปียสีทองขนาดกลางสองแถบ แถบด้านบนสุดมีลักษณะขมวดเป็นวงกลมแบบที่ใช้งานในเครือจักรภพแห่งประชาชาติ หรือแถบสามแถบที่มีความกว้างเท่ากันหรือไม่เท่ากัน

ยศ lieutenant commander (นาวาตรี) ในปัจจุบันเคยเป็นยศอาวุโสของยศ lieutenant ในกองทัพเรือ ในกองทัพเรือหลายแห่งยังคงใช้งานยศรองที่ชื่อว่า sub-lieutenant (รองเรือเอก) โดยการแต่งตั้งในยศเรือเอกในกลายกองทัพเรือดำเนินการโดยร้อยเอกอาวุโส (senior lieutenant)

ยศ lieutenant (เรือเอก) ของกองทัพเรือนั้นสูงกว่า lieutenant (ร้อยโท) ของกองทัพบก ขณะที่ในประเทศเนโท ยศของกองทัพเรือคือ OF-2 ซึ่งเทียบเท่ากับยศร้อยเอกของกองทัพบก ส่วนในชาติอื่น ๆ มักจะใช้ยศ lieutenant (ร้อยโท) ทางเรือเทียบเท่ากับกองทัพบก

ประวัติ[แก้]

ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2123[2] lieutenant บนเรือมีหน้าที่เป็นเจ้าหน้าที่ที่อยู่ใต้การบังคับบัญชาของกัปตัน ก่อนการฟื้นฟูราชวงศ์อังกฤษ ตำแหนน่ง lieutenant จะได้รับการแต่งตั้งจากกับตัน และสิ่งนี้ทำให้มีคนที่มีคุณสมบัติไม่เพียงพอถูกแต่งตั้งขึ้นมาโดยกว้างขวาง ในปี พ.ศ. 2220 ขณะที่ ซามูเอล พีพส์ เป็นหัวหน้าเลขาธิการกระทรวงทหารเรือ เขาได้แนะนำวิธีการสอบคัดเลือก lieutenant เป็นครั้งแรก[3] ซึ่งหลังงจากผ่านการสอบแล้วก็เริ่มต้นระบบการนับอาวุโสนับมาตั้งแต่ตอนนั้น

ตำแหน่ง lieutenant จะนับตามอาวุโสในเรือที่ได้ขึ้นประจำการ ดังนั้นในเรือฟริเกตหนึ่งลำ (ซึ่งมี 3 ตำแหน่ง) จะมี lieutenant คนแรก คนที่สอง และคนที่สาม บนเรือชั้นเอกสามารถมีได้ 6 ตำแหน่ง และสูงสุดตามจำนวนนั้น โดยครั้งแรก lieutenant ได้รับค่าตอบแทนเฉพาะเรือที่ได้เข้าประจำการเท่านั้น แต่หลังจากการสูญเสียเรือหลวงวาเกอร์ (HMS Wager) ในปี พ.ศ. 2284 และการก่อกบฎในเวลาต่อมา ราชนาวีจึงได้เปลี่ยนแปลงนโยบายและเพิ่มตอบแทนให้กับ lieutenant มากขึ้นหลังจากการผ่านการสอบ[2]

ในช่วงแรกของยศของทหารเรือ lieutenant บางคนอาจมีอายุน้อยมาก ในขณะที่คนอื่น ๆ อยู่ในตำแหน่งที่สามารถเลื่อนขึ้นเป็นกัปตันได้ โดย lieutenants มียศตั้งแต่ร้อยตรี (second lieutenant) จนถึงพันโท (lieutenant colonel) หากเทียบกับยศกองทัพบกในปัจจุบัน เนื่องจากโครงสร้างยศของกองทัพเรือมีความเสถียรกว่า และยศของนาวาโท (commander) นาวาตรี (lieutenant commander) และรองเรือเอก (sub-lieutenant เทียบเท่าเรือโท (lieutenant, junior grade) ในระบบสหรัฐ) ได้รับการนำมาใช้ ทำให้ยศ lieutenant มีความหลากหลายน้อยลงและปัจจุบันใช้งานเทียบเท่ากับร้อยเอกของกองทัพบก และใช้คำว่าเรือเอกในภาษาไทยส่วนของกองทัพเรือ[1]

การเลื่อนยศ[แก้]

ในราชนาวี การเลื่อนยศเรือเอกจะเลื่อนตามลำดับอาวุโส โดยทั่วไปแล้วนายทหารจะได้รับการเลื่อนยศหลังจากครองยศรองเรือเอก (เรือโท OF-1) เป็นระยะเวลา 30 เดือน[4] อย่างไรก็ตาม การเลื่อยยศนี้อาจจะเร็วกว่าหากผู้นั้นเคยรับราชการทหารเรือและเคยได้รับค่าตอบแทนจากยศ (ปรับยศจากชั้นประทวน/จากชั้นประทวนอาวุโส)[5]

การใช้ "first lieutenant" ในกองทัพเรือ[แก้]

คำว่า first lieutenant (ย่อว่า 1st Lt หรือ 1LT) ในราชนาวีและประเทศในเครือจักรภพ ถือว่าเป็นชื่อของการแต่งตั้งหรือตำแหน่ง ไม่ใช่ยศ ในอดีต lieutenant ในเรือได้รับการจัดตำแหน่งตามอาวุโส โดยผู้ที่อาวุโสที่สุดได้ชื่อว่าเป็น first lieutenant และทำหน้าที่เป็นรองผู้บังคับการเรือ แม้ว่าปัจจุบันตำแหน่ง lieutenant จะไม่ได้แบ่งตามลำดับอาวุโสแล้ว แต่ตำแหน่ง "first lieutenant" ทางเรือยังคงใช้งานอยู่

ในเรือรบรอง เรือพิฆาต และเรือฟริเกต คำว่า first lieutenant (ไม่ว่าจะเรือเอก (lieutenant) หรือนาวาตรี (lieutenant commander)) จะเป็นรองผู้บังคับการเรือ, ต้นเรือ (executive officer: xo) และหัวหน้าสูงสุดของฝ่ายบริหาร (head of the executive branch) ในเรือขนาดใหญ่ซึ่งมีการแต่งตั้งผู้บังคับการที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านเป็นต้นเรือ จะมีการแต่งตั้ง first lieutenant (โดยปกติจะเป็นนาวาตรี (lieutenant commander)) ให้เป็นรอง กาตแต่งตั้ง first lieutenant ในฐานทัพบริเวณชายฝั่งมีความรรับผิดชอบคล้ายกันกับตำแหน่ง first lieutenant บนเรือรบหลัก

ในกองทัพเรือสหรัฐ หรือยามฝั่งสหรัฐ ที่พักของของ first lieutenant หมายถึงที่พักของนายทหารที่รับผิดชอบส่วนหรือฝ่ายเดินเรือ (deck department) ขึ้นอยู่กับขนาดของเรือ ในเรือขนาดเล็กที่มีดาดฟ้าแค่ส่วนเดียวปกติจะเป็นที่พักของเรือตรี (ensign) ในขณะที่เรือขนาดใหญ่ ฝ่ายเดินเรือจะประกอบไปด้วยหลายส่วน ที่พักจะเป็นของนาวาตรี (lieutenant commander) สำหรับเรือดำน้ำและเรือคัตเตอร์ยามฝั่ง ที่พักจะใช้งานโดยจ่าทหารเรือ (petty officer)

เครื่องหมายยศ[แก้]

เครื่องหมายของเรือเอกในกองทัพเรือหลายแห่ง รวมถึงราชนาวี[6] จะประกอบด้วยแถบเปียสีทองขนาดกลางสองแถบ (แถบด้านบนมีขมวดห่วง) บนพื้นสีกรมท่าหรือสีดำ กองทัพเรือสหรัฐ ยามฝั่งสหรัฐ เหล่าสัญญาบัตรสำนักงานสาธารณสุขสหรัฐ (USPHS) และเหล่าสัญญาบัตรองค์การบริหารมหาสมุทรและชั้นบรรยากาศแห่งชาติ (NOAA Corps) และกองทัพอากาศชาติต่าง ๆ (ส่วนใหญ่ในสหราชอาณาจักร เครือจักรภพ) คัดลอกรูปแบบนี้ไปใช้สำหรับระดับและยศที่เทียบเท่ากัน ยกเว้นจะเอาขมวดวงกลมออก (ดูเพิ่มที่ เรืออากาศเอก)

ในสหรัฐ ขึ้นอยู่กับประเภทของเครื่องแบบที่ใส่ กองทัพเรือสหรัฐ ยามฝั่งสหรัฐ เหล่าสัญญาบัตรสำนักงานสาธารณสุขสหรัฐ และเหล่าสัญญาบัตรองค์การบริหารมหาสมุทรและชั้นบรรยากาศแห่งชาติ โดยยังมีเครื่องหมายโลหะที่คอแบบติดเข็มกลัด อินทรธนู หรือเครื่องหมายบนหมวก หรือเครื่องหมายบนหมวกที่เหมือนกับร้อยเอกของนาวิกโยธินสหรัฐ และคล้ายกับร้อยเอกกองทัพบกสหรัฐ กองทัพอากาศสหรัฐ หรือกองทัพอวกาศสหรัฐ

ระเบียงภาพ[แก้]

ดูเพิ่ม[แก้]

หมายเหตุ[แก้]

  1. โดยทั่วไปการอ่านออกเสียงคำว่า lieutenant จะแปรอยู่ระหว่าง /lɛfˈtɛnənt/, /lɪf-/, โดยทั่วไปในสหราชอาณาจักร ไอร์แลนด์ และประเทศในเครือจักรภพ, และ /lˈtɛnənt/ ( ฟังเสียง), /lə-/, โดยทั่วไปจะเกี่ยวกับสหรัฐ ดูเพิ่มที่ ลุตเตอร์แนนท์

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 "ยศทหารบก ทหารเรือ และทหารอากาศ". กรมการกงสุล กระทรวงการต่างประเทศ (ภาษาอังกฤษ).
  2. 2.0 2.1 "Officer Ranks in the Royal Navy - Lieutenant". Royal Naval Museum. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-10-11. สืบค้นเมื่อ 2008-10-11.
  3. J. D. Davies, Gentlemen and Tarpaulins (Oxford University Press, 1991, ISBN 978-0-19-820263-9), p. 40
  4. "Royal Navy Life | Shaping Your Career Progression". www.royalnavy.mod.uk (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 2020-01-05.
  5. "BR3, Chapter 50 - Royal Navy Promotions" (PDF).
  6. "Uniforms and Badges of Rank - Royal Navy website". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2008-10-12. สืบค้นเมื่อ 2008-10-05.
  7. "Badges of rank" (PDF). defence.gov.au. Department of Defence (Australia). สืบค้นเมื่อ 31 May 2021.
  8. "Admiralty Ranks". navy.mindef.gov.bn. Royal Brunei Navy. สืบค้นเมื่อ 1 September 2021.
  9. "Ranks and appointment". canada.ca. Government of Canada. สืบค้นเมื่อ 28 May 2021.
  10. "Ranks & Insignia". Join Indian Navy. สืบค้นเมื่อ 12 April 2021.
  11. "Naval Service Rank Markings". military.ie. Defence Forces (Ireland). คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 25 April 2016. สืบค้นเมื่อ 26 May 2021.
  12. "Defense Act of 2008" (PDF). 3 September 2008. p. 8. สืบค้นเมื่อ 20 November 2017.
  13. "Badges of Rank" (PDF). nzdf.mil.nz. New Zealand Defence Force. สืบค้นเมื่อ 28 July 2022.
  14. "Shaping your career". royalnavy.mod.uk. Royal Navy. สืบค้นเมื่อ 24 September 2021.
  15. 15.0 15.1 "U.S. Military Rank Insignia". defense.gov. Department of Defense. สืบค้นเมื่อ 13 January 2022.