ข้ามไปเนื้อหา

นารายา

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
บริษัท นารายณ์อินเตอร์เทรด จำกัด
ก่อตั้ง6 ตุลาคม พ.ศ. 2532; 34 ปีก่อน (2532-10-06)
สำนักงานใหญ่
เว็บไซต์naraya.com

บริษัท นารายณ์อินเตอร์เทรด จำกัด (อังกฤษ: Narai Intertrade Co.,Ltd.) ซึ่งใช้เครื่องหมายการค้า นารายา (อังกฤษ: NaRaYa) ก่อตั้งเมื่อวันที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2532 โดย วาสซิลิโอส ลาทูรัส และภรรยา วาสนา รุ่งแสนทอง ด้วยทุนจดทะเบียนหนึ่งล้านบาท[1]

ประวัติ[แก้]

นารายา สำนักงานใหญ่

บริษัท นารายณ์อินเตอร์เทรด จำกัด ก่อตั้งเมื่อวันที่ 6 ตุลาคม พ.ศ. 2532 โดยจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า “NaRaYa” “นารายา” อันเป็นคำในภาษาฮินดี หมายถึงพระนารายณ์หรือที่รู้จักกันทั่วไปในชื่อพระวิษณุ ซึ่งเป็นเทพเจ้าในศาสนาฮินดู ชื่อนี้ถูกเลือกเพราะความหมายเชิงบวกและการออกเสียงที่ง่ายในหลายภาษา

เมื่อเริ่มแรกบริษัทประกอบธุรกิจจำหน่ายอะไหล่รถยนต์และอะไหล่รถจักรยานยนต์ แต่ได้เปลี่ยนมาเป็นการจำหน่ายกระเป๋าผ้า โดยเปิดสาขาแรกที่นารายณ์ภัณฑ์ ถนนราชดำริ เมื่อวันที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2536[2] ในขณะนั้นบริษัทมีพนักงาน 15 คน ทำหน้าที่ควบคุมจักรเย็บผ้า 15 เครื่อง[3]

ต่อมาในปี พ.ศ. 2549 ได้เพิ่มทุนจดทะเบียนเป็น 90 ล้านบาท และสร้างสำนักงานใหญ่ที่ถนนแจ้งวัฒนะ จังหวัดนนทบุรี สองปีต่อมาได้เปิดโรงงาน 2 แห่งในอำเภอละลวด และอำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์[3] ในปี พ.ศ.2554 เปิดโรงงานที่ตำบลพระลับ อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น

ปี พ.ศ. 2559 ได้เปิดศูนย์กระจายสินค้าที่ตำบลบางคูวัด อำเภอเมืองปทุมธานี จังหวัดปทุมธานี และในปีเดียวกันพศิน ลาทูรัส บุตรชายของวาสนาและวาซิลิโอส ซึ่งกำลังศึกษาปริญญาสาขาบริหารธุรกิจจากประเทศอังกฤษ ทำหน้าที่บริหารจัดการด้านการจัดจำหน่าย การตลาด และการประชาสัมพันธ์ของนารายา

ปี พ.ศ. 2564 นารายาได้ร่วมมือกันจำหน่ายหน้ากากอนามัยและถุงผ้าใน คาเฟ่ อเมซอน ทั่วประเทศ [4][5] และในปีเดียวกันบริษัทประกาศเป็นผู้สนับสนุนอย่างเป็นทางการของ เอเปค 2022 ในประเทศไทย[6]

ปัจจุบันนารายาส่งออกไปยังหลายประเทศทั่วโลก โดยในประเทศไทยมีร้านค้าปลีก 18 แห่ง[7]

สินค้า[แก้]

ปัจจุบันนารายามีสาขา 18 แห่งในประเทศไทย และสาขาต่างประเทศ 2 สาขา อีกทั้งยังส่งออกสินค้าไปยังอีก 38 ประเทศทั่วโลก[7] ในตราสินค้าต่าง ๆ ได้แก่

  • NARA by NaRaYa - ผลิตภัณฑ์สำหรับผู้ชาย
  • LaLaMa by NaRaYa - เสื้อผ้าและกระเป๋าโบฮีเมียน[8]
  • NaRaYa Silk - ผลิตภัณฑ์จากผ้าไหมไทย[9]
  • Aphrodite by NaRaYa - กระเป๋าสตรี
  • DariVari NaRaYa – ผลิตภัณฑ์ประทินผิว[10]
  • NaRaYa Tea Room - ร้านน้ำชาและของว่าง

นารายายังได้สร้างแบรนด์ของตัวเองในภาษาต่างๆ ของแต่ละประเทศอีกด้วย ภาษาจีนกลางเรียกว่า “Bangkok Bag” หรือ “曼谷包”, “Ribbon Bag” ในภาษาญี่ปุ่น และ Butterfly Bag หรือ “HU TEIB TOI” ในภาษากวางตุ้งของฮ่องกง

ความร่วมมือระหว่างแบรนด์[แก้]

ในปี 2564 ความร่วมมือระหว่างนารายา และบริษัท เอเอเอส ออโต้ เซอร์วิส จำกัด (AAS) จับมือรังสรรค์ผลงานศิลปะไทยร่วมสมัยผ่านลวดลายที่ได้รับเเรงบันดาลใจมาจากเสน่ห์เเละเอกลักษณ์อันสื่อถึงวัฒนธรรมไทยบน ไทคานน์ เทอร์โบ เอส (Taycan Turbo S)[11][12]

ในปี 2564 คาเฟ่ อเมซอน (Café Amazon) จับมือ นารายา (NaRaYa) สร้างความร่วมมือระหว่างแบรนด์คนไทย ด้วยการดีไซน์กระเป๋าผ้าและหน้ากากผ้าคอลเลกชันพิเศษ “Café Amazon x NaRaYa” ชูเทรนด์รักษ์โลก จำหน่ายที่ คาเฟ่ อเมซอน ทุกสาขา [13][14]

ในปี 2565 ออมสิน จับมือ นารายา สร้างงานสร้างอาชีพช่วยคนไทยฐานราก โดยธนาคารมีแนวคิดในการผลิตของขวัญเนื่องในเทศกาลปีใหม่ 2566 ที่สามารถส่งต่อความช่วยเหลือไปยังชุมชนท้องถิ่นให้มีโอกาสสร้างรายได้เพิ่มมากขึ้น [15][16]

ในปี 2567 นารายา ร่วมมือจัดทำกระเป๋าและ ให้กับรถยนต์ไฟฟ้าสัญชาติไทยครั้งแรกร่วมกับรถยนต์รุ่นพิเศษ “เอสอาร์เอ หนุมาน 3” (SRA Hanuman 3)[17]

กิจกรรมเพื่อสังคม[แก้]

ในปี 2556 มอบเงินเพื่อสมทบทุนในการผ่าตัดหัวใจให้กับมูลนิธิเพื่อสนับสนุนการผ่าตัดหัวใจเด็ก[18]

ในปี 2560 นารายา จัดทำโครงการ NaRaYa Charity Collection for Navamindrapobitr Siriraj Hospital เพื่อสมทบทุนจัดซื้อครุภัณฑ์ทางการแพทย์ อาคารนวมินทรบพิตร ๘๔ พรรษา โรงพยาบาลศิริราช จำนวน 12,000,000 บาท[19][20]

อ้างอิง[แก้]

  1. "บริษัท นารายณ์อินเตอร์เทรด จำกัด". สืบค้นเมื่อ 2024-06-20.
  2. เจียจันทร์พงษ์, สุทธาสินี จิตรกรรมไทย (2018-11-20). "วาสนา ลาทูรัส อดีตแม่ค้าขายไข่ไก่ ปั้น 'นารายา' กระเป๋าผ้าพันล้าน จากเห็นโอกาสในวิกฤต". thepeople (ภาษาอังกฤษ).
  3. 3.0 3.1 "Naraya spreads into 7-11". สืบค้นเมื่อ 2024-06-20.
  4. ""นารายา" ผนึกคาเฟ่ อเมซอน วางขาย "มาสก์-ถุงผ้า" ทั่วไทย". ประชาชาติธุรกิจ. 2021-09-27. สืบค้นเมื่อ 2024-06-20.
  5. "Café Amazon x NaRaYa ประสานพลัง ปันสุข กระจายรายได้สู่ชุมชน". www.thairath.co.th. 2021-10-04. สืบค้นเมื่อ 2024-06-20.
  6. "NaRaYa Announced as Official Sponsor of APEC Voices of the Future 2022 Held in Thailand". สืบค้นเมื่อ 2024-06-20.
  7. 7.0 7.1 "เปิดมุมคิด "นารายา" ลงทุนครั้งใหม่...รับ New Retail". ประชาชาติธุรกิจ. 2018-07-05. สืบค้นเมื่อ 2024-06-20.
  8. "บริษัท นารายณ์อินเตอร์เทรด จำกัด » ข้อมูลโรงงานในประเทศไทย (Thailand Manufactory Database)". สืบค้นเมื่อ 2024-06-20.
  9. "NaRaYa Silk: the Leader in Thai Silk Soon Globally Online". สืบค้นเมื่อ 2024-06-20.
  10. "NaRaYa(นารายา)ไม่ใช่แค่แบรนด์กระเป๋าอีกต่อไป ทุ่มงบ 1,000 ลบ.ผันตัวมุ่งสู่ไลฟ์สไตล์แบรนด์". สืบค้นเมื่อ 2024-06-20.
  11. "Porsche จับมือ Naraya". สืบค้นเมื่อ 2024-06-24.
  12. "Porsche Taycan with a special NaRaYa livery โชว์ตัวรอบกรุง - ข่าวในวงการรถยนต์". สืบค้นเมื่อ 2024-06-24.
  13. "Café Amazon x NaRaYa ประสานพลัง ปันสุข กระจายรายได้สู่ชุมชน". 2021-10-04. สืบค้นเมื่อ 2024-06-24.
  14. "Cafe Amazon x NaRaYa ร่วมเติมพลัง ปันสุข กระจายรายได้สู่ชุมชน". สืบค้นเมื่อ 2024-06-24.
  15. "ออมสิน จับมือ นารายา สร้างงานสร้างอาชีพช่วยคนไทยฐานราก" (PDF). สืบค้นเมื่อ 2024-06-24.
  16. "ออมสิน จับมือ นารายา สร้างงานสร้างอาชีพช่วยคนไทยฐานราก - Government Savings Bank". สืบค้นเมื่อ 2024-06-24.
  17. รู้จัก"หนุมาน 3" รถ EV สัญชาติไทย แบต 60 กิโลวัตต์ วิ่งไกล 400 กม., 2024-03-26, สืบค้นเมื่อ 2024-06-24
  18. "กิจกรรมที่ผ่านมา". Pcsf.org. สืบค้นเมื่อ 2024-06-20.
  19. "คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล". Si.mahidol.ac.th/th/hotnewsdetail.asp?hn_id=2204. สืบค้นเมื่อ 2024-06-20.
  20. "ข่าวผู้บริจาค". สืบค้นเมื่อ 2024-06-20.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]