จัณฑาล
หน้าตา
ในระบบวรรณะของศาสนาฮินดู จัณฑาล เป็นชนชั้นทางสังคมชนชั้นหนึ่งซึ่งจัดว่าอยู่ในชนชั้นต่ำ หมายถึงคนที่มีบิดาและมารดาเป็นคนต่างวรรณะ จึงเกิดมาไร้วรรณะและมีสถานะทางสังคมต่ำยิ่งกว่าวรรณะศูทร จัณฑาลบางคนในอินเดียกำเนิดมาจากวรรณะระดับบน ก็อาจได้รับการยอมรับจากคนในสังคมมากกว่าจัณฑาลที่กำเนิดมาจากวรรณะระดับล่าง ในปัจจุบันมีจัณฑาลหลายคนที่กำเนิดมาจากวรรณะล่าง แต่สามารถเข้าไปมีส่วนร่วมทางการเมืองการปกครองของอินเดียได้
ในบริบทสากล ผู้มิควรยุ่งเกี่ยว (อังกฤษ: untouchable) หมายถึงกลุ่มคนที่สังคมไม่ให้การยอมรับและไม่อยากไปคบค้าสมาคมด้วย อาทิ คนดำในรวันดาและแอฟริกาใต้, บุระกุมินในญี่ปุ่นยุคศักดินา ในปัจจุบันทั้งโลกมีผู้เว้นต้องอยู่ราว 160 ล้านคนซึ่งส่วนใหญ่เป็นจัณฑาลที่อาศัยอยู่ในอนุภูมิภาคอินเดีย[1][2][3][4]
กลุ่มของผู้มิควรยุ่งเกี่ยว
[แก้]- "คาโก" ในฝรั่งเศสและสเปน
- "ตาลิด" ในเอเชียใต้
- "บุระกุมิน" ในญี่ปุ่น
- "แบ็กจ็ง" ในเกาหลี
- "โรมานี" ในยุโรป
- "อัลอัคดัม" ในเยเมน
- "รากย็บภา" ในทิเบต
- "ตั้นเจีย" ในกวางตุ้ง, "ฝูโจวตั้นเจีย" ในฝูเจี้ยน, "ซี่หมิน" ในเจียงซู, "ตั้วหมิน"ในเจ้อเจียง
- "โอซุส" ในไนจีเรียและแคเมอรูน
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Rita Jalali (2000), "CASTE AND INHERITED STATUS", ใน Edgar F. Borgatta; Rhonda J. V. Montgomery (บ.ก.), Encyclopedia of Sociology, vol. 1 (2nd ed.), Macmillan, pp. 249–255, ISBN 0-02-864849-8
- ↑ Eleanor Zelliot (2005), "UNTOUCHABILITY", ใน Maryanne Cline Horowitz (บ.ก.), New Dictionary of the History of Ideas, vol. 6, Thomson Gale, pp. 2394–2397, ISBN 0-684-31383-9
- ↑ Saurabh Dube (2005), "UNTOUCHABLES, RELIGIONS OF", ใน Lindsay Jones (บ.ก.), Encyclopedia of Religion, vol. 14 (2nd ed.), Thomson Gale, pp. 9474–9478, ISBN 0-02-865983-X
- ↑ Alf Hiltebeitel (2005), "HINDUISM", ใน Lindsay Jones (บ.ก.), Encyclopedia of Religion, vol. 6 (2nd ed.), Thomson Gale, pp. 3988–4009, ISBN 0-02-865739-X