ธงชัย (โซเวียต)
บทความนี้อาจต้องการตรวจสอบต้นฉบับ ในด้านไวยากรณ์ รูปแบบการเขียน การเรียบเรียง คุณภาพ หรือการสะกด คุณสามารถช่วยพัฒนาบทความได้ |
รัสเซีย: "Знамя Победы" ซนัมยา โปเบดืย | |
การใช้ | ธงกองทัพ |
---|---|
สัดส่วนธง | 188 ซ.ม.:82 ซ.ม. |
ประกาศใช้ | 30 เมษายน ค.ศ. 1945 |
ลักษณะ | ธงชาติสหภาพโซเวียต (ค.ศ. 1923-1955) ที่มุมธงบนด้านคันธงมีรูปค้อนเคียวไขว้และดาวสีเทา (ในบางแห่งใช้สีทอง) จารึกนามหน่วยกองพลทหารปืนเล็กยาวที่ 150 |
ธงชัย (รัสเซีย: Знамя Победы, ซนัมยา โปเบดืย) เป็นธงชัยที่ถูกปักไว้เหนืออาคารไรชส์ทาค (Reichstag) เมื่อกองทัพแดงของสหภาพโซเวียตตีกรุงเบอร์ลินแตกเมื่อวันที่ 30 เมษายน ค.ศ. 1945 ภายหลังที่อดอล์ฟ ฮิตเลอร์ และเอวา บราวน์ทำอัตวินิบาตกรรม เพื่อหลีกเลี่ยงไม่ให้ถูกกองทัพแดงของโซเวียตจับตัว ผู้เชิญธงชัยมีดังนี้: อเลกคเซย์ เบเรสต์ (ยูเครน) มีฮาอิล เยโกรอฟ (รัสเซีย) และเมลีตอน คันตาเรีย (จอร์เจีย)
ธงชัย จัดทำขึ้นระหว่างสงครามในการยุทธแนวรบด้านตะวันออก ธงดังกล่าวนี้เป็นสัญลักษณ์แห่งชัยชนะของประชาชนชาวโซเวียตเหนือนาซีเยอรมนี ระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง. อันเป็นสมบัติชาติของรัสเซีย รวมถึงกลุ่มประเทศเครือรัฐเอกราช และ เป็นสัญลักษณ์ของทรานส์นีสเตรีย. อักษรซีริลลิก ข้อความ:
กองพลทหารปืนเล็กยาวที่ 150, เครื่องอิสริยาภรณ์คูตูซอฟชั้นที่ 2, กองพลอีดริตซา, กองทัพน้อยทหารปืนยาวที่ 79, กองทัพสนามที่ 3 และแนวรบเบียโลรัสเซียที่ 1
ทั้งนี้ ธงผืนจริงนั้นไม่ได้ปักที่อาคารไรชส์ทาค แต่ใช้เป็นธงชัยประจำหน่วย "อย่างเป็นทางการ" ธงที่ใช้ในพิธีสวนสนามเป็นธงที่ทำขึ้นมาใหม่เพื่อใช้ในพิธีสวนสนามวันแห่งชัยชนะเท่านั้น ส่วนผืนจริงดั้งเดิมนั้นตามกฎหมายของสหพันธรัฐรัสเซียระบุไว้ชัดเจนว่าธงชัยผืนนี้จะต้องถูกเก็บไว้ตลอดไปในสถานที่ที่ปลอดภัยและสาธารณชนสามารถเข้าชมได้ ปัจจุบันจัดแสดงที่พิพิธภัณฑ์กองทัพรัสเซีย กรุงมอสโก
ประวัติ
[แก้]
Report of the commander of the 3rd assault army to the head of political administration of The Red Army about the fight for Reichstag and placing the Victory Banner on it. (quotes)[1] July 2, 1945. The Commander of the 1st Belarussian Front Marshal of Soviet Union comrade Zhukov ordered the troops of 3rd assault army headily enter Berlin, to secure the downtown and Reichstag and to place the Victory Banner on it. <...> Having defeated the last enemy strongholds the troops of the army entered Berlin at 6:00 AM on the 21st of April 1945. <...> After seizing the downtown the troops of the 3rd assault army penetrated the neighborhood of Reichtag at the end of 29 of April 1945.. On the 30th of April with the sunrise they started the massive assault on Reichtag. <...> On the 30th of April 1945 at 14:25 the fighters of superior corporal Syanov's group fought their way to the roof and reached the dome. The courageous warriors - Communist Lieutenant Berest, Comsomol Member Soldier Egorov and member of no party Junior Corporal Kantaria have set the banner, the symbol of our Great Victory, the Proud Flag of the Soviet Union flew above the German Parliament building! The burned and pierced by bullets Banner was victoriously flying above defeated Berlin <...> The Commander of the troops of the 3rd Assault Army, Soviet Union Hero, Сolonel-General Kuznetsov Member of Military Board of the 3rd Assault Army Major-General Litvinov |
ธงชัยสมัยเยลต์ซิน
[แก้]ธงดังกล่าวนี้ออกแบบให้แตกต่างจากธงชาติสหภาพโซเวียต แต่ไม่มีรูปค้อนเคียวไขว้ โดยประธานาธิบดีบอริส เยลต์ซิน รับรองสถานะธงนี้มีสถานะเทียบเท่าธงชาติ สามารถใช้ควบคู่กับธงชาติรัสเซียแบบสามสี หรือใช้ในฐานะธงชาติรัสเซียเพียงธงเดียวเมื่อวันที่ 5 เมษายน ค.ศ. 1996 ต่อมาประธานาธิบดีวลาดิมีร์ ปูตินได้ประกาศให้ธงชัยเป็นธงประจำกองทัพบกรัสเซีย แม้จะมีการแก้ไขแบบธงดังกล่าวหลายครั้ง แต่ในทางปฏิบัติยังคงนิยมธงผืนนี้ว่า ธงชัย
ในปัจจุบันธงผืนนี้ใช้เป็นธงประจำกองทัพบกในช่วงระยะเวลาสั้นๆ โดยใช้ธงแดงเกลี้ยงไม่มีรูปดาวแดงขอบทอง[2][3] นอกจากนี้ธงดังกล่าวยังใช้ในการเฉลิมฉลองวันแห่งชัยชนะในกลุ่มประเทศเครือรัฐเอกราชและบางประเทศในกลุ่มสนธิสัญญาวอร์ซอตามกฎหมายของสหพันธรัฐรัสเซีย[4]
ดูเพิ่ม
[แก้]อ้างอิง
[แก้]- ↑ Russian archive: Second World War: B. 15 (4-5). Fight for Berlin (Red Army in the defeated Germany).— M.: Terra, 1995. Chapter III. «Banner above Reichtag»
- ↑ "Флаги". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2007-12-10. สืบค้นเมื่อ 2015-11-29.
- ↑ Федеральный закон Российской Федерации «О знамени Вооруженных Сил Российской Федерации, знамени Военно-Морского Флота, знаменах иных видов Вооруженных Сил Российской Федерации и знаменах других войск»
- ↑ Федеральный закон Российской Федерации от 7 мая 2007 г. N 68-ФЗ "О Знамени Победы"