สัญลักษณ์ศาสนาอิสลาม

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ชะฮาดะฮ์ในอักษรวิจิตร

ศาสนาอิสลามเป็นศาสนาอับราฮัมเอกเทวนิยมที่สอนในหลักการพระเจ้าองค์เดียว (อัลลอฮ์) และมุฮัมมัดคือศาสดาคนสุดท้ายของพระเจ้า ถือเป็นศาสนาที่มีผู้นับถือมากเป็นอันดับสองของโลก โดยมีผู้นับถือมากกว่า 1.9 พันล้านคน และประชากรมุสลิมคิดเป็นประชากร 24.4% ของประชากรทั้งหมด

สัญลักษณ์ทั่วไป[แก้]

สัญลักษณ์ ภาพ ประวัติและการใช้งาน
ดาวและจันทร์เสี้ยว
ดาวและจันทร์เสี้ยวเคยมีส่วนเกี่ยวข้องกับจักรวรรดิออตโตมัน และภายหลังกลายเป้ยสัญลักษณ์ของศาสนาอิสลาม โดยเฉพาะในโลกตะวันตกก่อนเข้าใจความหมายของชาวมุสลิมในระดับสากลมากขึ้น รหัสยูนิโคดคือ: (U+262A )
จันทร์เสี้ยว (ฮิลาล)
จันทร์เสี้ยวใช้เป็นตราสัญลักษณ์บนธงกองทัพอิสลามตั้งแต่สมัยกลาง น่าจะเป็นการตอบโต้ธงกางเขนของพวกครูเสด ในกาชาดเริ่มมีการใช้จันทร์เสี้ยวแดงแทนกางเขนแดงตั้งแต่สงครามรัสเซีย-ตุรกีใน ค.ศ. 1877 และเริ่มนำมาใช้อย่างเป็นทางการใน ค.ศ. 1929 รหัสยูนิโคดคือ: (U+263D )
อัลลอฮ์
หมายถึง "พระเจ้า" ในภาษาอาหรับ ซึ่งใช้งานโดยสลิมทั่วโลกโดยไม่คำนึงถึงภาษาที่พูด และพระนามของพระองค์ที่เขียนในอักษรวิจิตรอิสลามเป็นสัญลักษณ์ของศาสนาอิสลาม โดยเฉพาะในโลกอาหรับ รหัสยูนิโคดคือ: (U+FDF2 )
ชะฮาดะฮ์
มักถูกกล่าวถึงในอัลกุรอานแบบแยก ๆ แต่ไม่เคยพบในรูปเต็ม ใช้ในฮะดีษ และธงกับตราของมุสลิมในอดีตกับกลุ่ม Islamist
รุบอุลฮิซบ์
รุบอุลฮิซบ์มักใช้เป็นตัวกำหนดการอ่านในอัลกุรอาน สัญลักษณ์นี้พบในตราและธง โดยเฉพาะธงแฟ็สในสมัยรัฐสุลต่านมารีนิด รหัสยูนิโคดคือ: (U+06DE ۞ )
คอติม
สัญลักษณ์คอติม (ดาวดำ) รู้จักกันในฐานะตราของศาสดามุฮัมมัด มักตีความเพื่อยืนยันสถานะศาสดามุฮัมมัดเป็นศาสนาคนสุดท้ายในศาสนาอิสลาม และจะไม่มีศาสดาคนไหนมาหลังจากท่าน
สุญูดติลาวะฮ์
ใช้ระบุที่ที่ผู้อ่านควรสุญูด (หมอบกราบ) ในอัลกุรอาน

สี[แก้]

ประวัติ[แก้]

กองทัพและคาราวานอิสลามยุคแรกชูธงสีที่เรียบง่าย ๆ (ส่วนใหญ่เป็นสีดำหรือขาว) เพื่อระบุตัวตน เว้นเพียงธงดำของมุฮัมมัดที่มีชะฮาดะฮ์ในนั้น[1] ในรุ่นถัดมา ผู้นำมุสลิมยังคงใช้ธงดำ ขาว หรือเขียวแบบเรียบง่ายที่ไม่มีลวดลาย ตัวเขียน หรือสัญลักษณ์บนนั้นต่อ รัฐเคาะลีฟะฮ์อุมัยยะฮ์ออกรบด้วยธงสีขาวและสีทอง รัฐเคาะลีฟะฮ์อับบาซียะฮ์ใช้ธงสีดำ (น้ำเงิน) และออกรบด้วยธงสีดำ รัฐเคาะลีฟะฮ์ฟาฏิมียะฮ์ใช้ธงสีเขียวและขาว เอมิเรตดิรอียะฮ์ของซาอุดีใช้ธงสีขาวและเขียวที่มีชะฮาดะฮ์ในนั้น ประเทศแถบอ่าวเปอร์เซียหลายประเทศมีธงสีแดง รัฐอาหรับใช้สีกลุ่มชนอาหรับสี่สี ได้แก่ขาว, ดำ, เขียว และแดง[2][3]

ความหมาย[แก้]

  •   เขียว – เชื่อกันว่าไหมและหมอนในสวนสวรรค์สีเขียว[4][5]
  •   ขาว – ถือเป็นสีที่บริสุทธิ์และสะอาดที่สุดในศาสนาอิสลาม และเป็นสีธงของมุฮัมมัด[6][7]
  •   ดำ – สีของญะฮันนัมและธงสีดำมาตรฐาน[8][9][10]

อ้างอิง[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. It was extracted by at-Ṭabarānī in al-Awsaṭ: Ahmad bin Rashdine narrated that Abdul Ghaffar bin Dawud Saleh al-Harrani said: Hayyan bin Obeidillah told us that Abu Mijlaz Laheq bin Humeid narrated on authority of Ibn Abbas who said: “The flag of the Messenger of Allah صلى الله عليه وسلم was black and his banner white, written on it: There is no deity but God, and Muḥammad is His Messenger.”
  2. Islamic flags เก็บถาวร 2007-06-10 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
  3. "Saudi Aramco World : Flags of the Arab World". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2005-11-14. สืบค้นเมื่อ 2022-08-05.
  4. "Surah Al-Insan - 21". Quran.com (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 7 December 2021.
  5. "Surah Ar-Rahman - 76". Quran.com (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 7 December 2021.
  6. "Hadith on Clothing - Recommendation to wear white clothing". Faith in Allah (ภาษาอังกฤษ). สืบค้นเมื่อ 7 December 2021.
  7. An-Nasā’ī has narrated in his book al-Sunan al-Kubra, and at-Tirmidhi has narrated on authority of Jaber that Prophet Muhammad صلى الله عليه وسلم entered Makkah with his white banner.
  8. Muwaṭṭaʾ Mālik, Book 57 ḥadīth 2: Malik related to me from his paternal uncle Abu Suhayl ibn Malik from his father that Abu Hurayra said, "Do you think that it [the Hellfire] is red like this fire of yours? It is blacker than tar."
  9. Aḥmad, Abū Dawūd, and an-Nasā’ī in his book al-Sunan al-Kubar have narrated on authority of Yunus bin Obeid, the slave of Muhammad Bin al-Qassem that he said: Muhammad Bin al-Qassem sent me to al-Baraa bin Azeb to ask him about the banner (rāya) of Prophet Muhammad: what is it? He said: “it was a black square from Namira.”
  10. "Surah Ali 'Imran - 106". Quran.com (ภาษาอังกฤษ และ อาหรับ). สืบค้นเมื่อ 7 December 2021.

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

  • วิกิมีเดียคอมมอนส์มีสื่อเกี่ยวกับ Symbols of Islam