ดุสิต โสภิตชา

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ดุสิต โสภิตชา เป็นอดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดอุบลราชธานี 5 สมัย เป็นนักการเมืองที่เคยต้องโทษจำคุกในความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร

ประวัติ[แก้]

ดุสิต เกิดเมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2488[1] จบการศึกษา พุทธศาสตรบัณฑิค จากมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย และปริญญาโท ทางรัฐศาสตร์ จากประเทศอินเดีย

ดุสิต เข้าสู่งานการเมืองโดยการลงสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดอุบลราชธานี ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2522 สังกัดพรรคเสรีธรรม และได้รับเลือกตั้งเป็น ส.ส.สมัยแรก

ต่อมาได้รับเลือกตั้งอีก 4 สมัยต่อเนื่อง คือ ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2529 และการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2531 ในนามพรรคกิจประชาคม ซึ่งต่อมาได้ยุบพรรคไปรวมกับพรรครวมไทย และเปลี่ยนชื่อเป็นพรรคเอกภาพ

ในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป มีนาคม พ.ศ. 2535 และการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป กันยายน พ.ศ. 2535 ในนามพรรคกิจสังคม

ภายหลังจากพ้นโทษจำคุก เขากลับสู่สนามการเมืองอีกครั้งในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2554 เขาลงสมัครรับเลือกตั้งในนามพรรคประชาสันติ แต่ไม่ได้รับเลือกตั้ง[2] และการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรไทยเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2557 สังกัดพรรคประชาธิปไตยใหม่[3]

ดุสิต มีบทบาทในทางพระพุทธศาสนาของไทย อาทิ การเรียกร้องให้รับรองพระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติในรัฐธรรมนูญ การเขียนหนังสือทำไมรัฐธรรมนูญไม่บัญญัติรับรองให้พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติ ในปี 2545 และการเขียนบทความทางหนังสือพิมพ์ "“สงฆ์เคลื่อนไหวตั้งสังฆราช 2 องค์”[4]

คดีความ[แก้]

ดุสิต ได้รับฉายาว่า "ส.ส.จอมแฉ" เขาต้องโทษในคดีกรรโชกทรัพย์ บริษัททิปโก้ แอสฟัลท์ จำกัด โดยถูกจับเมื่อวันที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2533[5] ถูกฟ้องในความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ในการยุติธรรม และข้อหากรรโชกทรัพย์ โดยคำฟ้องอัยการระบุว่า เขาเรียกรับเงินจำนวน 2 ล้านบาท และรถยนต์กระบะ 1 คัน จากนายประสิทธิ์ ทรัพย์สาคร เจ้าของบริษัท ทิปโก้ แอสฟัลท์ จำกัด โดยขู่ว่าหากไม่ยินยอมจะนำเรื่องการทุจริตเกี่ยวกับการซื้อขายยางมะตอยของบริษัททิปโก้ไปอภิปรายเปิดโปงในสภาผู้แทนราษฎร ต่อมาเขาได้รับการปล่อยตัวในปี พ.ศ. 2547[6]

เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. ทำเนียบสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2532. สำนักงานเลขารัฐสภา. 2532
  2. รายงานผลการเลือกตั้ง ส.ส. ปี 2554 จังหวัดอุบลราชธานี
  3. กกต.อุบลราชธานี เผยรายชื่อผู้สมัคร ส.ส. 38 คน ใน 11 เขตเลือกตั้ง[ลิงก์เสีย]
  4. เบื้องหลังการสถาปนาสมเด็จพระสังฆราช องค์ที่ 19
  5. 289 ข่าวดัง 3 ทศวรรษหนังสือพิมพ์มติชน
  6. เนรเทศ"หมวยโซ"พ้นไทย
  7. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-10-06 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๑๒ ตอนที่ ๑๗ ข หน้า ๗, ๔ ธันวาคม ๒๕๓๘
  8. ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ เก็บถาวร 2022-09-29 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน, เล่ม ๑๐๙ ตอนที่ ๑๕๔ ง ฉบับพิเศษ หน้า ๑๗, ๔ ธันวาคม ๒๕๓๕