ข้ามไปเนื้อหา

ดัชชีแบรย์ส

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ดัชชีแบรย์ส

Dugelezh Breizh
Duché de Bretagne
ราว ค.ศ. 939–ค.ศ. 1547
ธงชาติBrittany
บน: ธงดยุกและธงรัฐ
ล่าง: ธงกางเขนดำซึ่งใช้ในยามที่เป็นดัชชีอิสระในสมัยกลาง
ตราแผ่นดินของBrittany
ตราแผ่นดิน
คำขวัญ
Kentoc'h mervel eget bezañ saotret (Breton)
Potius mori quam fœdari (ละติน)
Plutôt la mort que la souillure (ฝรั่งเศส)
A ma vie (แบบอื่น; ฝรั่งเศส)
ที่ตั้งของBrittany
สถานะประเทศราชภายใต้ราชอาณาจักรแห่งชาวแฟรงก์ (ค.ศ. 942–952)
สหราชวงศ์กับราชอาณาจักรอังกฤษ (ค.ศ. 1181–1202)
ประเทศราชในอาณัติของราชอาณาจักรฝรั่งเศส (ค.ศ. 1202–1491)
สหราชวงศ์กับราชอาณาจักรฝรั่งเศส (ค.ศ. 1491–1547)
เมืองหลวงน็องต์
แรน
วานน์
และเมืองอื่นๆ
ภาษาทั่วไปเบรอตง, กาลโล, ละติน, ฝรั่งเศส, ปัวเตอแวง
การปกครองราชาธิปไตยระบอบศักดินา
ดยุก 
• ค.ศ. 1514–1524
โกลด (สุดท้าย)
สภานิติบัญญัติสภาแบรย์ส; รัฐสภาแบรย์ส
ประวัติศาสตร์ 
1 สิงหาคม ราว ค.ศ. 939
13 สิงหาคม ค.ศ. 1547
สกุลเงินหลากหลาย[1]
ก่อนหน้า
ถัดไป
ราชอาณาจักรแบรย์ส
แบรย์สของไวกิง
ราชอาณาจักรฝรั่งเศส

ดัชชีแบรย์ส หรือ ดัชชีเบรอตาญ (อังกฤษ: Duchy of Brittany; เบรอตาญ: Dugelezh Breizh; ฝรั่งเศส: Duché de Bretagne) เป็นรัฐศักดินาในสมัยกลางซึ่งมีอยู่ในระหว่างปีค.ศ. 939[a] และ 1547[b] โดยกินอาณาเขตทางภาคตะวันตกเฉียงเหนือของคาบสมุทรยุโรป โดยมีพรมแดนธรรมชาติคือมหาสมุทรแอตแลนติกทางทิศตะวันตก และช่องแคบอังกฤษทางทิศเหนือ ทางทิศใต้นั้นในบางสมัยมีพรมแดนจรดแม่น้ำลัวร์ และนอร์ม็องดี กับจังหวัดอื่นๆ ของฝรั่งเศสทางทิศตะวันออก ดัชชีได้ถือกำเนิดขึ้นภายหลังจากการขับไล่กองทัพไวกิงออกจากภูมิภาคนี้ราวปีค.ศ. 939 ต่อมาในคริสต์ศตวรรษที่ 10 และ 11 ได้มีเหตุการณ์ไม่สงบทางการเมืองบ่อยครั้งซึ่งดยุกแห่งแบรย์สนั้นมีอำนาจจำกัดนอกจากภายในเขตที่ดินของตนเอง ในด้านความสัมพันธ์กับเพื่อนบ้านอย่างดัชชีนอร์ม็องดีผสมผสานระหว่างพันธมิตรกัน และในบางเวลาได้มีความขัดแย้งรุนแรงถึงขึ้นสงคราม เช่น ช่วงสงครามแบรย์ส-นอร์ม็องดี

พระเจ้าเฮนรีที่ 2 แห่งอังกฤษ ได้เข้ารุกรานแบรย์สในช่วงกลางคริสต์ศตวรรษที่ 12 และได้สถาปนาพระองค์เป็นเคานต์แห่งน็องต์ในปีค.ศ. 1158 ตามสนธิสัญญาที่ทำขึ้นกับดยุกโกน็องที่ 4 ทำให้พระราชโอรสในพระเจ้าเฮนรีที่ 2 เจ้าชายเจฟฟรีได้ถืออิสริยยศเป็นดยุกแห่งแบรย์สผ่านทางการเสกสมรสกับกงส์ต็องส์ซึ่งมีฐานะเป็นดัชเชสแห่งแบรย์สโดยสายเลือด กษัตริย์ในราชวงศ์อ็องฌูนั้นควบคุมดินแดนนี้จนกระทั่งถึงการล่มสลายของจักรวรรดิอ็องฌูในฝรั่งเศสตอนเหนือในปีค.ศ. 1204 ต่อมาราชวงศ์ฝรั่งเศสได้เข้ามามีอิทธิพลในดัชชีตลอดช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 13 ต่อมาในคริสต์ศตวรรษที่ 14 ได้เกิดสงครามกลางเมืองขึ้นโดยหลายฝ่ายสนับสนุนผู้นำของตนจากทั้งฝ่ายอังกฤษและฝรั่งเศสเพื่อมีอำนาจในการปกครองดัชชีในระหว่างสงครามสืบบัลลังก์เบรอตง

สถานะดัชชีอันเป็นเอกราชนั้นสิ้นสุดลงพร้อมกับการทิวงคตของฟร็องซัวที่ 2 ในปีค.ศ. 1488 โดยบรรดาศักดิ์ดยุกได้ถูกสืบทางสายเลือดไปยังธิดา อาน แต่พระเจ้าชาร์ลที่ 8 แห่งฝรั่งเศสได้ประกาศให้การเสกสมรสของเธอเป็นโมฆะ และอภิเษกสมรสกับเธอแทน จึงเป็นผลทำให้บรรดาศักดิ์ดยุกแห่งแบรย์ส ได้ตกมาเป็นของกษัตริย์แห่งฝรั่งเศสโดยสิทธิแห่งภรรยา (Jure uxoris) โดยบรรดาศักดิ์ดยุกแห่งแบรย์สได้ผนวกเข้ากับราชบัลลังก์ฝรั่งเศสในปีค.ศ. 1532 โดยผ่านสภาแบรย์สซึ่งมีผลภายหลังจากการทิวงคตของสมเด็จพระราชินีโกลดแห่งฝรั่งเศสผู้ซึ่งเป็นดัชเชสพระองค์สุดท้าย พระราชโอรสทั้งสองพระองค์ ได้แก่ ฟร็องซัวที่ 3 และต่อมาพระเจ้าอ็องรีที่ 2 แห่งฝรั่งเศส ได้ถือว่าทำให้เกิดรัฐร่วมประมุขขึ้นภายหลังจากการสวรรคตของพระราชบิดา

ในภายหลังจากการปฏิวัติฝรั่งเศส ดัชชีได้ถูกเปลี่ยนสถานะตามระบบสาธารณรัฐตั้งแต่ปีค.ศ. 1792 เป็นจังหวัดของฝรั่งเศส ซึ่งมีผลต่อไปถึงสาธารณรัฐฝรั่งเศสที่ 5

หมายเหตุ

[แก้]
  1. ปีที่เกิดยุทธการที่ Trans-la-Fôret
  2. ปีที่ตำแหน่งกษัตริย์แห่งฝรั่งเศสและดยุคแห่งแบรย์สรวมตัวกับภายใต้การนำของพระเจ้าอ็องรีที่ 2 แห่งฝรั่งเศส

อ้างอิง

[แก้]
  1. Booton, p. 12.

บรรณานุกรม

[แก้]