จักรพรรดิคาร์ลที่ 2 แห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก ชาร์ลส์เดอะโบลด์)
จักรพรรดิคาร์ลที่ 2 แห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์
ครองราชย์โรมันอันศักดิ์สิทธิ์:
ค.ศ. 875 - ค.ศ. 877
แฟรงค์ตะวันตก:
ค.ศ. 840 - ค.ศ. 877
อิตาลี:
ค.ศ. 875 - ค.ศ. 877
อากีแตน:
ค.ศ. 838 - ค.ศ. 855
รัชกาลก่อนหน้าจักรพรรดิลุดวิกที่ 2 แห่งโรมันอันศักดิ์สิทธิ์
รัชกาลถัดไปจักรพรรดิคาร์ลที่ 3 แห่งโรมันอันศักดิ์สิทธิ์
ประสูติ13 มิถุนายน ค.ศ. 823
สวรรคต6 ตุลาคม ค.ศ. 877
พระอัครมเหสีแอร์ม็องทรูดแห่งออร์เลอ็อง
รีชีลด์แห่งพรอว็องส์
จักรพรรดิคาร์ลที่ 2 แห่งโรมันอันศักดิ์สิทธิ์
ราชวงศ์คาโรแล็งเชียง
พระราชบิดาจักรพรรดิลุดวิกที่ 1 แห่งโรมันอันศักดิ์สิทธิ์
พระราชมารดาจูดิธ

สมเด็จพระจักรพรรดิคาร์ลที่ 2 แห่งโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ หรือ พระเจ้าชาร์ลส์ผู้ไร้พระเกศา (อังกฤษ: Charles the Bald[1]) (13 มิถุนายน ค.ศ. 823 - 6 ตุลาคม ค.ศ. 877) ทรงเป็นสมเด็จพระจักรพรรดิแห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์แห่งราชวงศ์คาโรแล็งเชียง ผู้ทรงครองราชบัลลังก์ระหว่างปี ค.ศ. 875 จนเสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ 6 ตุลาคม ค.ศ. 877 พระองค์เป็นพระราชโอรสในสมเด็จพระจักรพรรดิลุดวิกที่ 1 แห่งโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ และ จูดิธแห่งบาวาเรีย พระอัครมเหสีองค์ที่สอง


วัยเยาว์[แก้]

ชาร์ลส์ (หรือคาร์ล) เป็นพระราชโอรสคนเล็กของจักรพรรดิหลุยส์ผู้ศรัทธา (พระราชโอรสของจักรพรรดิชาร์เลอมาญ) ที่เกิดจากพระนางจูดิธผู้เป็นพระมเหสีคนที่สอง โดยทรงเสด็จพระราชสมภพเมื่อวันที่ 13 มิถุนายน ค.ศ. 823 ที่เมืองแฟรงก์เฟิร์ต ในตอนนั้นจักรพรรดิหลุยส์ พระราชบิดาของพระองค์มีพระราชโอรสที่กำลังโตเป็นหนุ่มอยู่แล้วสามคน คือ เปแป็ง โลธาร์ และลุดวิจชาวเยอรมัน ทั้งสามเกิดจากพระมเหสีคนแรกจึงเป็นพระเชษฐาต่างมารดาของชาร์ลส์


การมีชาร์ลส์ได้นำพาความตึงเครียดเข้ามาสู่ครอบครัวทันทีเมื่อจักรพรรดิหลุยด์ได้ทำการแบ่งราชอาณาจักรใหม่ในปี ค.ศ. 829 เพื่อให้พระราชโอรสคนเล็กได้รับส่วนแบ่งด้วย การกระทำดังกล่าวนำไปสู่สงครามกลางเมืองเมื่อพระราชโอรสอีกสามคนอยากให้คงการแบ่งดินแดนแบบเดิม สงครามสิ้นสุดลงในปี ค.ศ. 838 ในปีเดียวกันนั้นเปแป็งสิ้นพระชนม์ เมื่อจักรพรรดิหลุยส์สวรรคตในปี ค.ศ. 840 สงครามในราชวงศ์การอแล็งเฌียงก็อุบัติขึ้นอีกครั้ง โลธาร์ พระราชโอรสที่ได้รับส่วนแบ่งมากที่สุดในการแบ่งจักรวรรดิได้ครองตำแหน่งจักรพรรดิคนต่อไป พระองค์ได้อ้างสิทธิ์ในราชบัลลังก์อากีแตนโดยมีเปแป็งที่ 2 พระภาติยะซึ่งเป็นบุตรชายของเปแป็งที่ 1 (พระเชษฐาที่สวรรคตไปก่อนหน้า) ให้การสนับสนุน แต่ลุดวิจชาวเยอรมันและชาร์ลส์ผู้ศีรษะล้าน พี่น้องทั้งสองคนของพระองค์ไม่เห็นด้วยจึงประกาศสงครามกับพระองค์ หลังการทำสงครามกลางเมืองอันนองเลือด สองพี่น้องร่วมกันกดดันจนจักรพรรดิโลธาร์ยอมลงนามในสนธิสัญญาแวร์เดิงในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 843

ยุคเรืองอำนาจ[แก้]

การแบ่งจักรพรรดิแฟรงก์ตามสนธิสัญญาแวร์เดิงในปี ค.ศ. 843; (สีฟ้า) ดินแดนของชาร์ลส์ผู้ศีรษะล้าน, (สีเขียว) ดินแดนของจักรพรรดิโลธาร์, (สีส้ม) ดินแดนของลุดวิจชาวเยอรมัน

สนธิสัญญาแวร์เดิงกำหนดให้แบ่งจักรวรรดิการอแล็งเฌียงออกเป็นสามส่วน โดยจักรพรรดิโลธาร์ยังคงเป็นจักรพรรดิต่อไปและได้ครองพื้นที่ตอนกลางของจักรวรรดิหรือราชอาณาจักรแฟรงก์กลาง ลุดวิจได้ครอบพื้นที่ทางตะวันออกหรือราชอาณาจักรแฟรงก์ตะวันออก ส่วนชาร์ลส์ได้ครองพื้นที่ส่วนตะวันตกของจักรวรรดิหรือราชอาณาจักรแฟรงก์ตะวันตก เปแป็งที่ 2 ได้ครองราชอาณาจักรอากีแตนภายใต้การปกครองที่เหนือกว่าของพระเจ้าชาร์ลส์


พระเจ้าชาร์ลส์ต้องเผชิญกับความยากลำบากในการรักษาดินแดนในควบคุมไว้ สถานการณ์ทางการเมืองของพระองค์ไม่มั่นคงนักเนื่องจากมีข้าราชสำนักเพียงไม่กี่คนที่จงรักภักดีต่อพระองค์ ทั้งอาณาเขตของพระองค์ยังตกเป็นเป้าในการรุกรานของชาวไวกิงจากดินแดนทางเหนือ พระองค์ต้องส่งสินบนเป็นเครื่องบรรณาการให้ชาวเหนือเพื่อให้พวกเขาหยุดการรุกราน เพื่อที่พระองค์จะได้มีสมาธิกับการรับมือการรุกรานของพระเจ้าลุดวิจชาวเยอรมันในช่วงปี ค.ศ. 858 พระเจ้าชาร์ลส์สามารถผนึกความเป็นปึกแผ่นในดินแดนที่ครอบครองได้ ในปี ค.ศ.864 พระองค์ได้อากีแตนมาอยู่ในการควบคุมหลังทำการจับกุมตัวเปแป็งที่ 2 หลายปีต่อมาพระองค์ได้ดินแดนลอแรนตะวันตกมาจากการลงนามในสนธิสัญญาเมียร์เซินกับพระเจ้าลุดวิจชาวเยอรมันในปี ค.ศ. 870


ในปี ค.ศ. 875 เมื่อจักรพรรดิโลธาร์ที่ 2 พระราชโอรสที่ครองตำแหน่งจักรพรรดิต่อจากจักรพรรดิโลธาร์สวรรคต สมเด็จพระสันตะปาปาจอห์นที่ 8 ได้สวมมงกุฎให้พระเจ้าชาร์ลส์เป็นจักรพรรดิปกครองจักรวรรดิการอแล็งเฌียงในวันที่ 25 ธันวาคมที่อิตาลี เมื่อพระเจ้าลุดวิจชาวเยอรมันสวรรคตในปี ค.ศ. 876 จักรพรรดิชาร์ลส์ได้เข้ายึดดินแดนของพระองค์แต่การรุกรานไม่ประสบผลสำเร็จ พระเจ้าลุดวิจที่ 3 พระราชโอรสของพระเจ้าลุดวิจ (และเป็นพระภาติยะของจักรพรรดิชาร์ลส์) สามารถปราบพระองค์ได้

ผลงาน[แก้]

การเคลื่อนไหวในยุโรปของจักรพรรดิชาร์ลส์ผู้ศีรษะล้านกับพี่น้องของพระองค์ยังคงหลงเหลือร่องรอยมาจนถึงทุกวันนี้ ส่วนแบ่งทั้งสามของจักรวรรดิการอแล็งเฌียงภายหลังได้แตกออกจากกัน ราชอาณาจักรแฟรงก์ตะวันตกพัฒนาเป็นประเทศฝรั่งเศส ส่วนราชอาณาจักรแฟรงก์ตะวันออกพัฒนาเป็นประเทศเยอรมนี พื้นที่ตรงกลางที่เดิมเป็นราชอาณาจักรของจักรพรรดิโลธาร์ พระเชษฐาต่างมารดาของจักรพรรดิชาร์ลส์ ซึ่งกินพื้นที่ตั้งแต่เทือกเขาแอลป์จนถึงกลุ่มเบเนลักซ์ได้แตกออกจากกันเป็นรัฐเล็กรัฐน้อยและปัจจุบันได้กลายเป็นพื้นที่ส่วนหนึ่งของประเทศต่างๆ ได้แก่ อิตาลี สวิตเซอร์แลนด์ โครเอเชีย โมนาโก เบลเยียม และประเทศอื่นๆ ตั้งแต่ทะเลเมดิเตอร์เรเนียนจรดทะเลเหนือ


การเป็นน้องชายคนเล็กในสี่พี่น้องและการต้องตอสู้เพื่อแย่งชิงดินแดนขนาดเล็กๆ ทำให้จักรพรรดิชาร์ลส์แทบไม่มีโอกาสได้พิสูจน์ตัวเอง พระองค์เอาชนะสงครามครั้งต่างๆ ด้วยการจับมือเป็นพันธมิตรชั่วคราวกับพระเชษฐาคนอื่นๆ ซึ่งโดยส่วนใหญ่แล้วมักจะเป็นพระเจ้าลุดวิจชาวเยอรมัน แต่ความเป็นพันธมิตรไม่เคยอยู่ได้นานและมักเกิดการต่อสู้กันเองระหว่างญาติร่วมสายเลือดจากรุ่นสู่รุ่น กระทั่งพระราชโอรสของพระเจ้าลุดวิจชาวเยอรมันปราบจักรพรรดิชาร์ลส์ได้ที่อันเดอนักในวันที่ 8 ตุลาคม ค.ศ. 876

การสวรรคต[แก้]

หลังความพ่ายแพ้ยับเยินต่อพระภาติยะที่อันเดอนัก จักรพรรดิชาร์ลส์ได้ล้มป่วย อาการของพระองค์ทรุดหนักในระหว่างที่กำลังเดินทางกลับกอล การสวรรคตของพระองค์ถูกบันทึกไว้ว่าเกิดขึ้นในวันที่ 6 ตุลาคม ค.ศ. 877 ในระหว่างที่กำลังเดินทางข้ามเทือกเขามงเซอนีในเขตบรีเดอเลแบงซึ่งอยู่ไม่ไกลจากสถานที่เกิดของพระองค์ ร่างของพระองค์ถูกฝังในวิหารน็องตัว ทว่าต่อมาอาจถูกเคลื่อนย้ายไปที่มหาวิหารแซ็งเดอนีอันเป็นสถานที่พักผ่อนตลอดกาลที่พระองค์ต้องการ จักรพรรดิหลุยส์ผู้ติดอ่าง พระราชโอรสคนโตของจักรพรรดิชาร์ลส์เป็นทายาทที่ได้สืบทอดบัลลังก์ราชอาณาจักรแฟรงก์ตะวันตกต่อจากพระองค์

พระอิสริยยศ[แก้]

อ้างอิง[แก้]


ดูเพิ่ม[แก้]