ฉบับร่าง:ลมหายใจเฮือกสุดท้ายของสามย่าน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
  • ความคิดเห็น: ไม่น่าผ่าน วิกิพีเดีย:โครงการวิกิภาพยนตร์ หนังฉายวงจำกัด / ปรากฏแต่ใช้อ้างอิงในแง่คำวิจารณ์ ซึ่งใช้พิจารณาความโดดเด่นไม่ได้ บางคำวิจารณ์มาจากทวิตเตอร์ Sry85 (คุย) 15:31, 31 สิงหาคม 2566 (+07)
  • ความคิดเห็น: ผ่าน วิกิพีเดีย:โครงการวิกิภาพยนตร์ เห็นตรงข้าม สารคดีพูดถึงประเด็นสาธารณะที่รู้จักและถูกถกเถียงกว้างขวางในสังคม รวมถึงมีบุคคลสาธารณะปรากฏอยู่จำนวนมาก และได้รับการฉายในประเทศและต่างประเทศ Tanast3452 (คุย) 15:43, 31 สิงหาคม 2566 (+07)

ลมหายใจเฮือกสุดท้ายของสามย่าน
กำกับเปรมปพัทธ ผลิตพลการพิมพ์
อำนวยการสร้างเนติวิทย์ โชติภัทร์ไพศาล และเสฏฐนันท์ ธนกิจโกเศรษฐ์
วันฉาย15 มิถุนายน พ.ศ. 2566
ความยาว75 นาที
ประเทศไทย ไทย
ภาษาไทย
ข้อมูลจาก IMDb

ลมหายใจเฮือกสุดท้ายของสามย่าน (อังกฤษ: The Last Breath of Sam Yan) เป็นภาพยนตร์ไทยแนวสารคดี กำกับโดยเปรมปพัทธ ผลิตผลการพิมพ์ ผลิตโดย เนติวิทย์ โชติภัทร์ไพศาล และเสฏฐนันท์ ธนกิจโกเศรษฐ์ ว่าด้วยประเด็นความขัดแย้งระหว่างศาลเจ้าแม่ทับทิมสะพานเหลือง กับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยเฉพาะสำนักงานทรัพย์สินจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กำหนดฉายเป็นการทั่วไปตั้งแต่วันที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2566 [1] รอบฉายปฐมทัศน์ที่โรงภาพยนตร์เฮาส์ สามย่านมิตรทาวน์

ภาพยนตร์เล่าเรื่องราวของกลุ่มนิสิตที่คัดค้านการรื้อถอนศาลเจ้าแม่ทับทิมสะพานเหลือง มีบทสัมภาษณ์ของผู้ดูแลศาล นักวิชาการ เช่น สุลักษณ์ ศิวรักษ์, วาสนา วงศ์สุรวัฒน์ [en] และ พรรษิษฐ์ ต่อสุวรรณ และนักการเมือง เช่น ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ วิโรจน์ ลักขณาอดิศร และรสนา โตสิตระกูล เป็นต้น รวมถึงแผนพัฒนาโครงการ สมาร์ทซิตี้ ของ บัณฑิต เอื้ออาภรณ์ อธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

เรื่องย่อ[แก้]

เดือนมิถุนายน พ.ศ. 2563 สำนักงานจัดการทรัพย์สิน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มีคำสั่งให้ย้ายศาลเจ้าแม่ทับทิม สะพานเหลืองออกจากพื้นที่ เพื่อก่อสร้างตึกสูงแทน รวมทั้งฟ้องเรียกค่าเสียหาย 4.6 พันล้านบาทผู้ดูแลศาล นำไปสู่ แฮชแท็ก #saveศาลเจ้าแม่ทับทิม และการเคลื่อนไหวเพื่อปกป้องลมหายใจสุดท้ายของพื้นที่ทางประวัติศาสตร์โดยผู้คนในละแวกและนิสิตนักศึกษา

การฉาย[แก้]

  • ฉายรอบปฐมทัศน์ ณ โรงภาพยนตร์เฮาส์ สามย่านมิตรทาวน์ วันที่ 13 มิถุนายน 2566
  • ฉายเชิงพาณิชย์รอบทั่วไป ณ โรงภาพยนตร์เฮาส์ สามย่านมิตรทาวน์ และ Doc Club and Pub. ตั้งแต่วันที่ 15 มิถุนายน 2566
  • ฉายรอบพิเศษ ณ สโมสรผู้สื่อข่าวต่างประเทศประจำประเทศไทย (The Foreign Correspondents' Club of Thailand: FCCThai) วันที่ 29 มิถุนายน 2566
  • ฉายรอบพิเศษ ณ จังหวัดสงขลา, จังหวัดเชียงใหม่ และจังหวัดนครราชสีมา
  • ได้รับเลือกให้ฉายอย่างเป็นทางการ (Official Selection) ในเทศกาล Student World Impact Film Festival 2023 ประเทศสหรัฐอเมริกา และเทศกาล Jagran Film Festival 2023 ประเทศอินเดีย

บทวิจารณ์[แก้]

ศาสตราจารย์ ชาตรี ประกิตนนทการ จากคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร เขียนถึงภาพยนตร์สารคดีในมติชนว่า เรื่องนี้ว่าสะท้อนปรากฏการณ์ที่นับวันจะหนักหน่วงรุนแรงมากขึ้นเรื่อยๆ ในสังคมไทย โดยเฉพาะในย่านที่มีมูลค่าทางเศรษฐกิจสูงมาก[2] กษาปณ์ หาญดิฐกุล เขียนใน The Standard ว่าเป็น "บันทึกความคับแค้นของคนตัวเล็ก เมื่อการทำหนังคือการเรียกร้องความเป็นธรรม" [3] ส่วนนักวิจารณ์ภาพยนตร์ ศาสวัต บุญศรี อาจารย์ประจำคณะภาพยนตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากรมองว่าเป็น "สารคดีที่ควรถูกฉายในงานปฐมนิเทศให้นิสิตจุฬาทุกคนได้ดูว่ามหาวิทยาลัยอันเป็นที่รักของท่านทำอะไรไว้บ้าง ความภูมิใจในฐานะเสาหลักของแผ่นดินโดยแท้" ในส่วนคำวิจารณืจากต่างประเทศ ศาสตราจารย์ไมเคิล เฮิร์ซเฟล นักวิชาการด้านมานุษวิทยา มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ดเขียนว่า "สารคดีจับภาพมหาวิทยาลัยที่ขับเคลื่อนด้วยผลกำไรมีส่วนลบเลือนประวัติศาสตร์ผ่านการทำลายวัฒนธรรมได้อย่างไร สารคดียังพูดถึงความมุ่งมั่นของนิสิตนักศึกษาเพื่อต่อสู้ให้ได้ความยุติธรรม เผยการต่อสู้ระดับโลกต่อต้านการพัฒนาเมืองที่ให้ผลร้าย" [4]

อ้างอิง[แก้]