ชาตรี ประกิตนนทการ
บทความนี้ยังต้องการเพิ่มแหล่งอ้างอิงเพื่อพิสูจน์ความถูกต้อง คุณสามารถพัฒนาบทความนี้ได้โดยเพิ่มแหล่งอ้างอิงตามสมควร เนื้อหาที่ขาดแหล่งอ้างอิงอาจถูกลบออก |
ศาสตราจารย์ ดร.ชาตรี ประกิตนนทการ ศาตราจารย์ประจำภาควิชาศิลปสถาปัตยกรรม คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร มีความสนใจทางวิชาการในประเด็น ประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรม สถาปัตยกรรมไทย และการอนุรักษ์และพัฒนา
ชาตรีสำเร็จการศึกษาปริญญาตรีด้านสถาปัตยกรรมไทยจากคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร จากนั้นจึงศึกษาต่อระดับปริญญาโทด้านสถาปัตยกรรมที่คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผลงานวิทยานิพนธ์ระดับปริญญาโทได้รับการปรับปรุงและตีพิมพ์เป็นหนังสือชื่อ การเมืองและสังคมในศิลปสถาปัตยกรรม: สยามสมัย ไทยประยุกต์ ชาตินิยม นอกจากนี้ เขายังมีผลงานวิจัย หนังสือ และบทความวิชาการตีพิมพ์อย่างต่อเนื่อง
ผลงาน[แก้]
หนังสือและงานวิจัยภาษาไทย[แก้]
- คณะราษฎรฉลองรัฐธรรมนูญ : ประวัติศาสตร์การเมือง หลัง 2475 ผ่านสถาปัตยกรรม "อำนาจ" (กรุงเทพฯ: มติชน, 2548).
- โครงการวิจัยเพื่อจัดทำแผนแม่บทเพื่อการอนุรักษ์และพัฒนา ชุมชนบ้านไม้โบราณ "ป้อมมหากาฬ" (กรุงเทพฯ: สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2549).
- การเมืองและสังคมในศิลปสถาปัตยกรรม สยามสมัย ไทยประยุกต์ ชาตินิยม (กรุงเทพฯ: มติชน, 2550).
- พระพุทธชินราช ในประวัติศาสตร์สมบูรณาญาสิทธิราชย์ (กรุงเทพฯ: มติชน, 2551).
- ศิลปะ-สถาปัตยกรรมคณะราษฎร: สัญลักษณ์ทางการเมืองในเชิงอุดมการณ์ (กรุงเทพฯ: มติชน, 2552).
- สถาปัตยกรรม (กรุงเทพฯ: เมคอะวิช, 2554).
- รื้อ-สร้าง ศาลฎีกา: เอกสารประกอบการสัมมนาข้อเสนอแนะและจดหมายเปิดผนึกถึงประธานศาลฎีกาต่อโครงการก่อสร้างกลุ่มอาคารศาลฎีกาใหม่ (กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยศิลปากร, 2556).
- การเมืองในสถาปัตยกรรมสมัยรัชกาลที่ 1 (กรุงเทพฯ: มติชน, 2558).
- สถาปัตยกรรมไทยหลังรัฐประหาร 19 กันยา 49 (กรุงเทพฯ: อ่าน, 2558).
เครื่องราชอิสริยาภรณ์[แก้]
- พ.ศ. 2563 –
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นที่ 1 ประถมาภรณ์มงกุฎไทย (ป.ม.)[1]
- พ.ศ. 2557 –
เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก ชั้นที่ 2 ทวีติยาภรณ์ช้างเผือก (ท.ช.)[2]
อ้างอิง[แก้]
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ประจำปี ๒๕๖๓, เล่ม ๑๓๘ ตอนพิเศษ ๑ ข หน้า ๑๙๕, ๒๒ มกราคม ๒๕๖๔
- ↑ ราชกิจจานุเบกษา, ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง พระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือกและเครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย ชั้นต่ำกว่าสายสะพาย ประจำปี ๒๕๕๗, เล่ม ๑๓๒ ตอนที่ ๑๗ ข หน้า ๑๑๘, ๒ มิถุนายน ๒๕๕๘
- คำประกาศ รางวัลชูเกียรติ อุทกะพันธุ์ ครั้งที่ 4 ประจำปี 2550 “สาขาศิลปะและวรรณกรรม”. ผ่านเว็บไซต์สำนักพิมพ์มติชน เก็บถาวร 2007-09-17 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน
แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]
- สัมภาษณ์ชาตรี ประกิตนนทการ: “เพดานความคิดในสถาปัตยกรรรมของคณะราษฎรกับสังคม”
- ชาตรี ประกิตนนทการ : สถาปัตย์คณะราษฎร บนพื้นที่ศักดิ์สิทธิแห่งสมบูรณาญาสิทธิราชย์
- ชาตรี ประกิตนนทการ, ศิลปะคณะราษฎร, วารสารฟ้าเดียวกัน, ปีที่ 5 ฉบับที่ 1
![]() |
บทความเกี่ยวกับชีวประวัตินี้ยังเป็นโครง คุณสามารถช่วยวิกิพีเดียได้โดยการเพิ่มเติมข้อมูล |