จ้าวกงหมิง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
จ้าวกงหมิง
เทวรูปจ้าวกงหมิง ในฐานะของเทพเจ้าแห่ง โชคลาภ ศิลปะแบบประเพณีจีนในสมัยราชวงศ์หมิง จัดแสดง ณ พิพิธภัณฑ์มณฑลอานฮุย นครเหอเฟย์ มณฑลอานฮุย ประเทศจีน
ภาษาจีน 趙公明

จ้าวกงหมิง (จีน: 趙公明; แปลตรงตัว: "Zhào gōngmíng"), หรือเป็นที่รู้จักในนาม จ้าวกงหยวนส่วย (จีน: 趙公元帥; แปลตรงตัว: "Zhào gōng yuánshuài" - ขุนพลแม่ทัพตระกูลจ้าว ) หรือมักขนานนามว่า ไฉ่สิ่งเอี้ยบู๊ (เทพแห่งโชคลาภปางพระเดช) เป็นเซียนเทพเจ้าแห่งโชคลาภในศาสนาชาวบ้านจีนและลัทธิเต๋า[1][2][3]จ้าวกงหมิงเป็นไฉ่ซิงเอี๊ยมีชื่อเสียงโดดเด่นที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในกลุ่มเทพเจ้าแห่งโชคลาภจีน โดยได้รับความนิยมในการสักการะบูชาในวันที่หนึ่งเดือนห้าตามปฏิทินจีนซึ่งถือเป็นวันประสูติของพระองค์[4][5] เรื่องราวการกำเนิดปรากฏพระองค์ยอดนิยมของพระองค์มักอ้างอิงมาจากวรรณกรรมจีนชื่อดังยอดนิยม คือ ห้องสิน (封神演义) อันตรงข้ามกับบันทึก โผฉู หมี่ซิน ฉวนซู่ (Pochu Mixin Quanshu - จีน: 破除迷信全书; แปลตรงตัว: "Comprehensive Book for Eradicating Superstition") ว่าช่วงเวลาการกำเนิดปรากฏพระองค์นั้นคือสมัยราชวงศ์ซ่ง[6][7]

เทพปกรณัม[แก้]

ห้องสิน[แก้]

ตามเทพปกรณัม ห้องสิน จ้าวกงหมิงนั้นเป็นเซียนนักพรตเต๋าทรงอยู่ฝ่ายของพระเจ้าชางโจ้วแห่งราชวงศ์ชาง โดยเป็นเชษฐาใหญ่สุดและทรงเป็นเชษฐาของเทพีประทานบุตรทั้งสาม คือ เจ้าแม่ยฺหวินเซียว เจ้าแม่ปี้เซียวและเจ้าแม่ฉฺยงเซียว พระองค์พร้อมด้วยขนิษฐาทั้งสามถึงแก่ชีพตักษัยวายชนม์หลังการรณรงค์ยุทธสงครามกับองค์เจียง จื่อหยาซึ่งเป็นฝ่ายของแห่งราชวงศ์โจว โดยต่อมา ได้รับการสถาปนาเป็นหนึ่งในคณะเทพสามร้อยหกสิบห้าองค์ [8] โดยได้รับการสักการะบูชาและมีหน้าที่อุปถัมป์ค้ำจุนเกื้อหนุนในฐานะของไฉ่สิ่งเอี้ย (เทพเจ้าแห่งโชคลาภจีน) โดยได้รับการยกย่องว่าเป็นประมุขของไฉ่สิ่งเอี้ยอีกสี่พระองค์ซึ่งเป็นขุนพลบริวารของท่าน คือ เซียงเซิง (จีน: 萧升; แปลตรงตัว: "Xiāo shēng") เฉาเป่า (จีน: 曹宝; แปลตรงตัว: "Cáo bǎo") เฉินจิ่วกง (จีน: 陈久公; แปลตรงตัว: "Chénjiǔgōng") เหยาเส้าสือ (จีน: 姚少司; แปลตรงตัว: "Yáo shǎo sī") โดยรวมเป็นเทพเจ้าแห่งโชคลาภจีนทั้งห้าทิศ ซึ่งขนานนามว่า อู่ลู่ไฉเสิน (จีน: 五路财神; แปลตรงตัว: "Wǔ lù cáishén") โดยสืบต่อมา[9]

เทวรูปจ้าวกงหมิง ในฐานะของเทพเจ้าแห่งโชคลาภ ศิลปะแบบประเพณีจีน (ขวา) ประติมากรรมชุด ณ เทพเจ้าในห้องสิน ณ ศาลเจ้าตั๊วแป๊ะกง (大伯公庙, 实兆远) แขวงจาลันปาเซอร์ ปันจัง ซีเตียวัน รัฐเปรัก ประเทศมาเลเซีย และ (ซ้าย) ลายเส้นจิตรกรรมแบบประเพณีจีน

ศาลเจ้าอุทิศถวายในประเทศไทย[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. Wang, Yi'e (2005). Taoism in China (ภาษาอังกฤษ). 五洲传播出版社. ISBN 978-7-5085-0838-2.
  2. Xiaoqing, Ye (January 2003). The Dianshizhai Pictorial: Shanghai Urban Life, 1884–1898 (ภาษาอังกฤษ). University of Michigan Press. ISBN 978-0-89264-162-8.
  3. Davis, Edward L. (2001). Society and the Supernatural in Song China (ภาษาอังกฤษ). University of Hawaiʻi Press. ISBN 978-0-8248-2310-8.
  4. Wang, Yi'e (2005). Taoism in China (ภาษาอังกฤษ). 五洲传播出版社. ISBN 978-7-5085-0838-2.
  5. Brokaw, Cynthia Joanne (2007). Commerce in Culture: The Sibao Book Trade in the Qing and Republican Periods (ภาษาอังกฤษ). Harvard University Asia Center. ISBN 978-0-674-02449-6.
  6. Mukherji, Priyadarśī (1999). Chinese and Tibetan Societies Through Folk Literature (ภาษาอังกฤษ). Lancers Books. ISBN 978-81-7095-073-8.
  7. Museum (Singapore), Asian Civilisations (2003). The Asian Civilisations Museum A-Z Guide to Its Collections (ภาษาอังกฤษ). National Heritage Board. ISBN 978-981-4068-67-3.
  8. Laing, Ellen Johnston; Foundation, Muban (2002). Art and Aesthetics in Chinese Popular Prints: Selections from the Muban Foundation Collection (ภาษาอังกฤษ). Center for Chinese Studies, University of Michigan. ISBN 978-0-89264-154-3.
  9. https://www.somboon.info/default.asp?content=contentdetail&id=9532

ดูเพิ่ม[แก้]