ข้ามไปเนื้อหา

จาง กั๋วหรง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
จาง กั๋วหรง

เลสลี จาง
ภาพหุ่นปั้นเหมือนจริงของเลสลี
เกิดจาง ฟาจง (จีนกลาง);
เจิ๊ง ฟาดจ๊ง (กวางตุ้ง);
張發宗

12 กันยายน พ.ศ. 2499
เกาลูน ฮ่องกงของบริเตน
เสียชีวิต1 เมษายน พ.ศ. 2546 (46 ปี)
โรงพยาบาลในฮ่องกง เขตบริหารพิเศษฮ่องกง
สาเหตุเสียชีวิตอัตวินิบาตกรรม
สุสานCape Collinson Crematorium ฮ่องกง
อนุสรณ์สถานโรงแรมแมนดาริน โอเรียนทัล ฮ่องกง
สัญชาติฮ่องกง
ชื่ออื่นเลสลี จาง, เลสลี เจิ๊ง
ศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยลีดส์
อาชีพนักร้อง, นักแสดง, นักแต่งเพลง
ปีปฏิบัติงานพ.ศ. 2521 - 2546
ผลงานเด่นโหด ดี เลว ฯลฯ
ส่วนสูง1.74 m (5 ft 8 12 in)[1][2]
คู่รักแดฟฟี่ ถ่ง (พ.ศ. 2526 - 2546)
บิดามารดา
  • Cheung Wut Hoi (บิดา)
  • พูน ยัก-ยู (มารดา)
ครอบครัวโอฟิเลีย เช็ง-แมคเฟอร์สัน (พี่สาว)
เกียรติยศราชาเพลงป็อปแห่งคริสต์ทศวรรษ 1980
อาชีพทางดนตรี
รู้จักในชื่อElder Brother (จีน: 哥哥)[3][4][5]
แนวเพลง
เครื่องดนตรีเสียงร้อง
ค่ายเพลง
Cheung Kwok-wing
อักษรจีนตัวเต็ม
อักษรจีนตัวย่อ
ยฺหวิดเพ็งZoeng1 Gwok3-wing4
Cheung Fat-chung
อักษรจีนตัวเต็ม
อักษรจีนตัวย่อ
ยฺหวิดเพ็งZoeng1 Faat3-zung1
ลายมือชื่อ

จาง กั๋วหรง (จีนตัวย่อ: 张国荣; จีนตัวเต็ม: 張國榮; พินอิน: Zhāng Guóróng; 12 กันยายน พ.ศ. 2499 – 1 เมษายน พ.ศ. 2546) หรือ เจิ๊ง กวอกเหว่ง (ยฺหวิดเพ็ง: Zoeng1 Gwok3 wing4) หรือชื่อภาษาอังกฤษว่า เลสลี เจิ๊ง (Leslie Cheung, ซึ่งในไทยนิยมเรียกผสมระหว่างชื่อภาษาอังกฤษกับชื่อจีนกลางเป็น เลสลี จาง) เป็นนักร้อง นักแสดง และนักแต่งเพลง[6] ชาวฮ่องกงที่มีชื่อเสียงโด่งดังมาก ได้ชื่อว่าเป็นหนึ่งใน "ราชาเพลงป็อปแห่งคริสต์ทศวรรษ 1980" ของเกาะฮ่องกง

ประวัติ

[แก้]

จาง กั๋วหรงเป็นลูกคนสุดท้องในบรรดาพี่น้องทั้งหมด 10 คน โดยพี่คนที่ 9 อายุห่างกันกับเขามากถึง 8 ปี บิดามีอาชีพเป็นช่างตัดเสื้อรายใหญ่ เคยตัดเสื้อให้กับบุคคลที่มีชื่อเสียงมาแล้ว เช่น วิลเลียม โฮลเดน หรือ อัลเฟรด ฮิตช์ค็อก ในวัยเด็ก เขาเคยเผยว่า ตัวเองรู้สึกเหงามากที่ต้องถูกทิ้งให้อยู่โดดเดี่ยวกับบรรดาตุ๊กตาและของเล่นต่าง ๆ บิดาก็ไม่เคยควบคุมอารมณ์ตนเองได้เลย ชีวิตในครอบครัวเต็มไปด้วยการทะเลาะเบาะแว้งและการใช้อารมณ์ เขาจึงโตมาด้วยยายเป็นผู้เลี้ยงดู เข้าศึกษาด้านสิ่งทอที่มหาวิทยาลัยลีดส์ ประเทศอังกฤษ เพื่อสืบทอดกิจการของครอบครัว แต่ต้องกลับมาก่อนเรียนจบ เพราะบิดาป่วยหนัก

จางเริ่มต้นอาชีพวงการบันเทิงตั้งแต่ช่วงปลายทศวรรษ 1970 ด้วยการเข้าประกวดร้องเพลง ซึ่งจัดโดยค่ายสถานีโทรทัศน์แห่งเอเชียฮ่องกง โดยเขาได้รางวัลชนะเลิศอันดับที่สาม และได้เซ็นสัญญาเป็นนักแสดงในสังกัดของค่ายสถานีโทรทัศน์แห่งเอเชียดังกล่าว ต่อมาได้ออกอัลบั้มเพลงและมาประสบความสำเร็จอย่างสูงในช่วงต้นยุค 1980 มีผลงานเพลงโด่งดังมากมาย เป็นหนึ่งในราชาเพลงป็อปของเกาะฮ่องกงในยุคนั้น ทั้งยังโด่งดังเป็นที่ยอมรับในวงการเพลงทั่วเอเชียเป็นอย่างมาก ต่อมาได้รับยกย่องเป็นหนึ่งใน 10 นักร้องชายเพลงจีนที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในรอบ 30 ปี (ทศวรรษ ที่ 1970 - 90) ของเกาะฮ่องกงร่วมกับ สวี่ กว้านเจี๋ย (許冠傑), หลัว เหวิน (羅文), ถาน หย่งหลิน, หลิว เต๋อหัว, จาง เสฺวโหย่ว, หลี หมิง, กัว ฟู่เฉิง, เฉิน อี้ซวิ่น และ หวง เจียจวี (黃家駒, นักร้องนำวง Beyond) เขายังเคยมาโปรโมตผลงานเพลง ในประเทศไทย ที่โรงแรมมณเฑียร กรุงเทพมหานคร เมื่อปี 1982 (พ.ศ. 2525) อีกด้วย ชีวิตส่วนตัว จาง กั๋วหรง คบหากับเพื่อนในวัยเด็ก ชื่อ แดฟฟี่ ถ่ง ซึ่งอายุน้อยกว่าเลสลี่2ปี ซึ่งมีอาชีพนายธนาคารซึ่งการคบหากันในสมัยนั้นยังไม่เป็นที่ยอมรับกลุ่มบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศ โดยเลสลี่ได้บอกว่าการที่เขาคบหากับแดฟฟี่ เพราะเขาเป็นคนดี และเป็นคนที่คอยช่วยเหลือเลสลี่ตอนลำบาก โดยเลสลี่ประกาศในงาน คอนเสิร์ตว่าแดฟฟี่ ถ่ง คือคนรักของเขา และยังมีภาพที่ ปาปารัสซี่ฮ่องกงตามแอบถ่ายเป็นภาพเลสลี่จับมือของแดฟฟี่ หนีการถ่ายรูปของนักข่าว โดยในงานศพของเลสลี่ แดฟฟี่ ถ่ง ก็เป็นคนจัดการให้ตามความปรารถนาของเลสลี่ โดยมีภาพของแดฟฟี่หลังจากจบพิธีถึงกับร้องไห้ เข่าอ่อน และมีเพื่อนพยุงแขนทั้งสองข้าง โดยแดฟฟี่ ถ่ง ไม่มีคนรักใหม่เลยหลังจากที่เลสลี่เสียชีวิตไป และยังโพสภาพของเลสลี่ จาง ทุกๆวันครบรอบต่างๆเสมอ

เขาได้เปิดเผยว่าตัวเองเป็นเกย์[7] ในปี ค.ศ. 2000 เขาได้แต่งตัวเป็นผู้หญิงในการร้องเพลงบนเวทีคอนเสิร์ตของเขาอีกด้วย เมื่อเขาอายุ 22 ปี เขาจะได้ขอ "เหมา ซุ่นหวิน" อดีตแฟนสาวแต่งงานด้วย ตอนนั้นอาจเป็นการสร้างกระแสเพื่อกลบข่าวการเป็นเกย์ของเขา ซึ่งเป็นเรื่องปกติในสมัยก่อนที่ยังไม่ยอมรับการผิดเพศสภาพเหมือนยุคปัจจุบัน[8]

ผลงาน

[แก้]

ส่วนผลงานทางด้านการแสดง จาง กั๋วหรงเริ่มต้นจากการแสดงละครซีรีส์ให้กับค่ายสถานีโทรทัศน์แห่งเอเชียฮ่องกง มีผลงานซีรีส์โดดเด่นในเรื่อง นักสู้ผู้พิชิต (ปี 1978) หลังจากนั้นเข้าสู่วงการภาพยนตร์ด้วยภาพลักษณ์ "เด็กเสเพล" หรือ "แบดบอย" มีผลงานภาพยนตร์โด่งดังหลายเรื่อง เช่น โหด เลว ดี ภาค 1, ภาค 2 ผลงานกำกับของจอห์น วู ร่วมแสดงกับนักแสดงชั้นนำอย่าง โจว เหวินฟะ, ตี๋ หลง ภาพยนตร์จีนชุดเรื่อง โปเยโปโลเย เย้ยฟ้าแล้วก็ท้า ภาค 1, ภาค 2 แสดงคู่กับ หวัง จู่เสียน ภาพยนตร์แนวอาร์ตเหงา ๆ ของผู้กำกับ หว่อง ก๊า ไหว่ หลายเรื่อง เช่น วันที่หัวใจกล้าตัดเส้นขอบฟ้า (阿飛正傳, ปี 1991) โลกนี้รักใครไม่ได้นอกจากเขา (春光乍洩, ปี 1997) แสดงบทเกย์คู่กับเหลียง เฉาเหว่ย์ เป็นต้น แต่บทบาทการแสดงที่ทำให้เขาได้รับการกล่าวขานอย่างมากคือ การรับบทเป็น เตี่ยอี๋ นักแสดงอุปรากรจีนที่เป็นรักร่วมเพศ จากผลงานของผู้กำกับเฉิน ข่ายเกอ ในภาพยนตร์เรื่องหลายแผ่นดิน แม้สิ้นใจ ก็ไม่ลืม (ปี 1993) เลสลี่ จาง สามารถเข้าถึงบทบาทจนตีบทแตกกระจุย ภาพยนตร์เรื่องนี้ประสบความสำเร็จอย่างมากได้เข้าชิงรางวัลออสการ์ สาขาภาพยนตร์ต่างประเทศยอดเยี่ยม และเขาได้รับยกย่องว่า เป็นนักแสดงยอดฝีมือของวงการหนังจีนฮ่องกงและเอเชีย

การเสียชีวิต

[แก้]
โรงแรมแมนดาริน โอเรียนทัล ฮ่องกง

1 เมษายน พ.ศ. 2546 เลสลีได้บอกกับแดฟฟี่แฟนหนุ่มของเขาว่า จะออกไปพบเพื่อนข้างนอกที่ Causeway Bay ตามคำบอกเล่าของ เดโบราห์ ผู้จัดการร้านที่เลสลีได้ไปก่อนที่เขาจะเสียชีวิตว่า เลสลีได้สวมสูทลินิน และดูอารมณ์ดีเป็นปกติของเขา เขายังบอกอีกว่าให้เธอใส่แมสก์ด้วย เพราะช่วงนั้นไข้หวัดซาร์สระเบาดอย่างหนัก เขาใช้เวลากว่า 3 ชั่วโมง ในการนั่งพูดคุยกับเพื่อนของเขาที่ชื่อ "อัลเฟรด ม็อก" อัลเฟรดบอกว่า เลสลีดูผิดปกติไปจากเดิม และมีท่าทีกระสับกระส่ายอีกด้วย ต่อมา เลสลีได้ไปส่งอัลเฟรดที่ทำงาน และได้บอกกับอัลเฟรดว่า "เราคงจะโทรหากันไม่ได้อีก" อัลเฟรดนึกขึ้นว่า นี่เป็นท่าทีของเลสลีที่เขาพยายามจะฆ่าตัวตายก่อนหน้านี้ เขาจึงติดต่อไปยังพี่สาวของเลสลี ในตอนแรกไม่มีใครรับสาย จนเวลา 6 โมงเย็น พี่สาวของเลสลีติดต่อกลับมา และบอกว่า "ทุกอย่างยังคงปกติ" [9]

ผู้คนที่หน้าโรงแรมแมนดาริน โอเรียนทัล ฮ่องกง ขณะนำดอกไม้ไปวางไว้ เพื่อไว้อาลัยการจากไปของเลสลี จาง ในปี ค.ศ. 2018

เลสลีได้เดินทางไปที่ โรงแรมแมนดาริน โอเรียนทัล เขาขึ้นไปยังชั้น 24 ของโรมแรม โดยตอนแรกเขานั่งอยู่ด้านในของชั้น แต่เปลี่ยนใจย้ายมานั่งอยู่หน้าระเบียง เขาได้สั่งน้ำส้มจากพนักงาน ไม่นานนัก เขาได้ขอกระดาษพร้อมปากกาจากพนักงาน ในเนื้อหาของจดหมายสั่งเสียมีการเขียนถึง เพื่อน คนรัก ญาติมิตร และผู้จัดการ โดยช่วงท้ายของจดหมายมีข้อความเชิงตัดพ้อว่า "ตัวเองไม่เคยทำผิด ทำไมต้องพบเจอเรื่องแย่ ๆ แบบนี้"[10][11][12] [13][14][8][15][16][17] เพื่อนของเลสลีได้ติดต่ออยากจะพบ เลสลีได้บอกว่าอยู่ที่โรงแรม โดยตอนแรกติดต่อเลสลีไม่ได้ เพื่อนของเขา ได้ติดต่อเขาบอกว่ามาถึงโรงแรมแล้ว เลสลีได้บอกกับเขาว่ารออยู่ข้างล่าง เขาจะลงไปรับเอง จนเวลาผ่านมากว่า 40 นาที ซึ่งถึงเวลาที่เลสลีมีนัดไปเล่นแบดมินตัน เขาจึงคิดว่าเลสลีคงไม่ลงมาแล้ว เขาจึงจะกลับ ไม่นานเลสลีได้ติดต่อกลับว่า "รออยู่ข้างล่างนั้นแหละ เดี๋ยวจะลงไปหา"

เวลา 18.41 นาที เลสลีตัดสินใจกระโดดจากชั้น 24 ของโรงแรม ร่างของเขาตกลงมากระแทกกับราวที่วนรถหน้าโรงแรม จนเกิดเสียงดังสนั่น เขายังมีชีวิตอยู่ เพื่อนของเขาเห็นพอดี จึงได้ติดต่อเจ้าหน้าที่ให้มาดูที่เกิดเหตุ และนำตัวเลสลีไปส่งที่โรงพยาบาล 20 นาทีต่อมา เขาเสียชีวิต[18][19]

วันต่อมา นักข่าวหลายสำนัก ได้ไปรอที่หน้าบ้านของเลสลีและแดฟฟี่ โดยได้สอบถามว่า เลสลีมีปัญหากับแดฟฟี่หรือเปล่า เพราะที่ผ่านมา มีข่าวว่าเลสลีทะเลาะกับแดฟฟี่ อย่างไรก็ตาม แดฟฟี่ยืนยันว่าไม่จริง เขาบอกว่า เลสลีเป็นโรคซึมเศร้า มานานแล้ว

ในปัจจุบัน เมื่อถึงวันที่ 1 เมษายน[20][21] ของทุก ๆ ปี ที่ฮ่องกงจะมีการจัดงานรำลึกถึงการจากไปของเขาเสมอที่หน้าโรงแรมแมนดาริน โอเรียนทัล เกาะฮ่องกง[22][23]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "Leslie Cheung". IMDb. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 26 July 2021. สืบค้นเมื่อ 28 April 2021.
  2. "張國榮的愛情故事 (Leslie Cheung's Romance Story) - Cheung claimed he was 5 ft 8.5 in tall". Leslie Cheung Cyberworld. สืบค้นเมื่อ 7 April 2023.
  3. Lisa Oldham Stokes (2007). Historical Dictionary of Hong Kong Cinema. Scarecrow Press. p. xxvii. ISBN 978-0-8108-5520-5.
  4. "Sina Entertainment News" (ภาษาจีน). Xinhua News Agency. 3 April 2008. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 4 November 2015. สืบค้นเมื่อ 28 March 2012.
  5. "Sina Entertainment News". Sina Corp. เก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 20 June 2021. สืบค้นเมื่อ 28 March 2012.
  6. "RED MISSION". 繼續張國榮歌影迷國際聯盟. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-11-18. สืบค้นเมื่อ 2020-07-21.
  7. "Leslie Cheung: Asia's gay icon lives on 15 years after his death". BBC News (ภาษาอังกฤษแบบบริติช). 2018-04-08. สืบค้นเมื่อ 2023-11-11.
  8. 8.0 8.1 ชาวฮ่องกงรำลึก 7 ปีการเสียชีวิตของ "จาง กั๋วหรง"[ลิงก์เสีย]จากผู้จัดการออนไลน์
  9. "มื้อสุดท้ายของเลสลี่ จาง - FAROSE.studio" (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน). 2023-06-07. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2023-11-11. สืบค้นเมื่อ 2023-11-11.
  10. Stephen Kelly, "WHY DOES IT HAVE TO BE LIKE THIS?" Leslie Cheung, 1956–2003", 8 May 2003
  11. "Leslie Cheung Kwok-Wing commits suicide.", Hong Kong Entertainment News in Review (2003). Retrieved 17 December 2005
  12. "Actor Leslie Cheung 'found dead'", BBC, 1 April 2003
  13. "Activities to Commemorate Leslie Cheung", Xinhua, 2 April 2005
  14. "๕ ปีแห่งการจากไปของ เลสลี จาง". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2011-09-10. สืบค้นเมื่อ 2010-02-10.
  15. Bruce Einhorn, "Hong Kong: A City in Mourning", BusinessWeek, 14 April 2003
  16. "" พระเอกดังฮ่องกง"เลสลี จาง" โดดตึกดับ หนีมรสุมชีวิต". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2006-10-19. สืบค้นเมื่อ 2010-02-10.
  17. Yu Sen-lun, "The Leslie Cheung Legend Lives on", TaiPei Times, 10 April 2003
  18. "Menu pays homage to Leslie's memory". South China Morning Post (ภาษาอังกฤษ). 2004-03-30.
  19. "เลสลี่ จาง และความจริงของ 'นกไร้ขา' จาก Days of Being Wild ที่อยากให้เป็นเพียงเรื่องโกหก". THE STANDARD. 2019-04-01.
  20. "การจากไปในวันโกหกของ Leslie Cheung ที่ทำให้สังคมตระหนักถึงโรคซึมเศร้าและความเท่าเทียมทางเพศ". VOGUE Thailand (ภาษาอังกฤษ). 2022-03-08.
  21. Phettrakul, Khanakon (2023-04-04). "หวนรำลึกถึง Leslie Cheung ตำนานยุคทองแคนโตป๊อปจากเกาะฮ่องกง - ELLE Men Thailand". ellementhailand.com (ภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน).[ลิงก์เสีย]
  22. "รำลึก 'เลสลี่ จาง'!! สุดยอดดาราศิลปินฮ่องกง จากไปแล้ว 20 ปี แฟนๆ ยังไม่ลืม". https://www.tnnthailand.com. 2023-04-01. {{cite web}}: แหล่งข้อมูลอื่นใน |website= (help)
  23. byWuttichaiNuch. (2021-04-01). "April Fool's Day : 1 เมษายน ความตายเลสลี่ จาง ที่ทุกคนอยากให้เป็นแค่ เรื่องโกหก". springnews.

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]