จตุพล ภูอภิรมย์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก จตุพล ภูอภิรมณ์)
จตุพล ภูอภิรมย์
สารนิเทศภูมิหลัง
ชื่อเกิดจตุพล ภูอภิรมย์
เกิด25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2494
จังหวัดชัยนาท ประเทศไทย
เสียชีวิต20 มีนาคม พ.ศ. 2524 (29 ปี)[1]
กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย
อาชีพนักแสดง
ปีที่แสดงพ.ศ. 2520–2524
ผลงานเด่นทองพูน โคกโพ - ทองพูน โคกโพ ราษฎรเต็มขั้น (2520)
ดร.อนิรุทธิ์ - เมียหลวง (2521)
ทศ - สัญชาตญาณโหด (2522)
ซมพลา - เงาะป่า (2523)
พัน น้ำสุพรรณ - ยอดรักผู้กอง (2524)
รางวัล
พระสุรัสวดีตุ๊กตาเงินนักแสดงหน้าใหม่
พ.ศ. 2520 - ทองพูน โคกโพ ราษฎรเต็มขั้น
นักแสดงนำชายยอดเยี่ยม
พ.ศ. 2522 - สัญชาตญาณโหด
นักแสดงนำชายยอดเยี่ยม
พ.ศ. 2523 - เงาะป่า

จตุพล ภูอภิรมย์ (25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2494 – 20 มีนาคม พ.ศ. 2524) ชื่อเล่น ตุ๊ เป็นอดีตนักแสดงชายชาวไทย

จตุพลได้รับรางวัลตุ๊กตาเงิน สาขานักแสดงหน้าใหม่ ประจำปี พ.ศ. 2520 จากเรื่อง ทองพูน โคกโพ ราษฎรเต็มขั้น และได้รับรางวัลตุ๊กตาทอง สาขานักแสดงนำชายยอดเยี่ยม จากเรื่อง เงาะป่า ประจำปี พ.ศ. 2523

ประวัติ[แก้]

จตุพล ภูอภิรมย์ ภูมิลำเนา เกิดที่ จังหวัดชัยนาท เข้าศึกษาระดับชั้นมัธยมศึกษาที่ โรงเรียนวัดสุทธิวราราม โรงเรียนสันติราษฎร์บำรุง แล้วเดินทางไปศึกษาต่อที่ประเทศอินเดียเป็นเวลาสั้นๆ ก่อนจะกลับมาศึกษาต่อที่โรงเรียนวัดสุทธิวราราม และคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง เข้าสู่วงการจากการเป็นนายแบบโฆษณายาสีฟันใกล้ชิด เมื่อ พ.ศ. 2518-2519 และได้งานแสดงละครโทรทัศน์ทางช่อง 4 บางขุนพรหม [2]

จตุพล ภูอภิรมย์ แสดงภาพยนตร์เรื่องแรก เรื่อง ทองพูน โคกโพ ราษฎรเต็มขั้น (2520) กำกับโดยหม่อมเจ้าชาตรีเฉลิม ยุคล โดยได้แสดงบทบาทที่เดิมสรพงศ์ ชาตรี จะเป็นผู้เล่น แต่บังเอิญไม่มีคิวแสดงว่าง จากภาพยนตร์เรื่องนี้จตุพลได้รับรางวัลตุ๊กตาเงิน ในสาขานักแสดงดาวรุ่ง [3]

การเสียชีวิต[แก้]

จตุพล ภูอภิรมย์ มีผลงานแสดงภาพยนตร์ประมาณ 25 เรื่อง ก่อนจะเสียชีวิตอย่างกะทันหันในปี พ.ศ. 2524 เนื่องจากอุบัติเหตุทางรถยนต์ โดยภาพยนตร์เรื่อง "เงาะป่า" กำกับโดย พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภาณุพันธุ์ยุคล และเปี๊ยก โปสเตอร์ ได้รับรางวัลตุ๊กตาทอง สาขานักแสดงนำชายยอดเยี่ยม ประจำปี พ.ศ. 2523 แต่จตุพลไม่ได้รับรางวัล เนื่องจากประสบอุบัติเหตุทางรถยนต์เสียชีวิตเสียก่อน[4] ต่อมาได้นักแสดงรุ่นน้องที่มีหน้าตาคล้ายกัน อโนเชาว์ ยอดบุตร มารับช่วงแทน[5]

ผลงานภาพยนตร์[แก้]

อ้างอิง[แก้]

  1. "ชีวประวัติจาก thaifilm.com". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 2008-04-03.
  2. "ประวัติ จตุพล ภูอภิรมย์". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2016-03-04. สืบค้นเมื่อ 2008-04-03.
  3. หนึ่งเดียว. พิพิธภัณฑ์หนังไทย ฉบับ "ประวัติการณ์ที่สุดหนังไทย". กรุงเทพ : สำนักพิมพ์ป็อปคอร์น, พ.ศ. 2549. หน้า 328. ISBN 974-94228-8-0
  4. หนังสือพิมพ์ไทยรัฐ
  5. นาทีสุดท้าย หลังนอนป่วย 35 ปี ของ "อโนเชาว์ ยอดบุตร" ข่าวคมชัดลึก สืบค้นเมื่อ 21 มีนาคม พ.ศ. 2562

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]