ข้ามไปเนื้อหา

งูเห่าอินเดีย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

งูเห่าอินเดีย
สถานะการอนุรักษ์
CITES Appendix II (CITES)[1]
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ แก้ไขการจำแนกนี้
โดเมน: ยูแคริโอต
Eukaryota
อาณาจักร: สัตว์
Animalia
ไฟลัม: สัตว์มีแกนสันหลัง
Chordata
ชั้น: สัตว์เลื้อยคลาน
Reptilia
อันดับ: กิ้งก่าและงู
Squamata
อันดับย่อย: Serpentes
Serpentes
วงศ์: วงศ์งูพิษเขี้ยวหน้า
Elapidae
สกุล: งูเห่า
Naja
(Linnaeus, 1758)[2][3]
สปีชีส์: Naja naja
ชื่อทวินาม
Naja naja
(Linnaeus, 1758)[2][3]
ที่อยู่อาศัยของงูเห่าอินเดีย
ชื่อพ้อง[2][4]
  • Coluber naja Linnaeus, 1758
  • Naja brasiliensis Laurenti, 1768
  • Naja fasciata Laurenti, 1768
  • Naja lutescens Laurenti, 1768
  • Naja maculata Laurenti, 1768
  • Naja non-naja Laurenti, 1768
  • Coluber caecus Gmelin, 1788
  • Coluber rufus Gmelin, 1788
  • Coluber Naja Shaw & Nodder, 1791
  • Coluber Naja Shaw & Nodder, 1794
  • Naja tripudians Merrem, 1820
  • Naja nigra Gray, 1830
  • Naja tripudians forma typica Boulenger, 1896
  • Naja tripudians var. caeca Boulenger, 1896
  • Naja naja naja Smith, 1943
  • Naja naja gangetica Deraniyagala, 1945
  • Naja naja lutescens Deraniyagala, 1945
  • Naja naja madrasiensis Deraniyagala, 1945
  • Naja naja indusi Deraniyagala, 1960
  • Naja naja bombaya Deraniyagala, 1961
  • Naja naja karachiensis Deraniyagala, 1961
  • Naja naja ceylonicus Chatman & Di Mari, 1974
  • Naja naja polyocellata Mehrtens, 1987
  • Naja ceylonicus Osorio E Castro & Vernon, 1989
  • Naja (Naja) najaWallach, 2009

งูเห่าอินเดีย หรือ งูเห่าเอเชีย หรือ งูเห่าแว่น (อังกฤษ: Indian cobra, Asian cobra, Spectacled cobra; ชื่อวิทยาศาสตร์: Naja naja) เป็นงูพิษชนิดหนึ่ง จำพวกงูเห่า ในวงศ์งูพิษเขี้ยวหน้า (Elapidae)

งูเห่าอินเดีย ถือว่าเป็นงูเห่าที่มีสายพันธุกรรมใกล้ชิดกับงูเห่าไทย (N. kaouthia) และงูเห่าพ่นพิษสยาม (N. siamensis) ซึ่งเดิม (หรือในบางข้อมูลจัดเป็นชนิดย่อยของกันและกัน) เคยเป็นชนิดเดียวกันมาก่อน [5]

งูเห่าอินเดีย พบกระจายพันธุ์ทั่วไปในอนุทวีปอินเดียเช่น อินเดีย, ศรีลังกา, บังกลาเทศ, ปากีสถาน และเนปาล มักอาศัยอยู่ตามพื้นที่ราบ, ป่าโปร่ง หรือท้องทุ่ง, ทุ่งนา กินอาหารจำพวกสัตว์ที่มีขนาดเล็ก ได้แก่ หนู, คางคก, กบ, นก เป็นต้น งูเห่าอินเดียจะออกไข่ในช่วงเดือนเมษายน-กรกฎาคม โดยงูตัวเมียมักจะวางไข่ในรูหนู, จอมปลวก หรือเนินดิน เป็นจำนวน 10 ถึง 30 ฟอง มีระยะเวลาฟักไข่ 48 ถึง 69 วัน ปกติงูเห่าอินเดียมีความยาวประมาณ 1.9 เมตร แต่บางตัวก็ยาวมากถึง 2.4 เมตร แต่ค่อนข้างหายาก นอกจากนี้แล้วยังสามารถพบได้ในพื้นที่ ๆ สูงจากระดับน้ำทะเลถึง 2,000 เมตร (ประมาณ 6,600 ฟุต)[6][7]

พังพานที่ดูเหมือนแว่นตาของงูเห่าอินเดีย ที่ตามความเชื่อของศาสนาฮินดูว่าเป็นรอยเท้าของพระกฤษณะ
หมองูเป่าปี่เรียกงูออกจากตะกร้า

ลักษณะพิเศษของงูเห่าอินเดีย คือ บริเวณด้านหลังของแม่เบี้ยมีรูปวงกลมสองวงที่เชื่อมต่อกันด้วยเส้นโค้งคล้ายรูปแว่นตา ชาวฮินดูเชื่อว่าเป็นรูปรอยเท้าของพระกฤษณะที่ทรงฟ้อนรำอยู่บนหัวของงูตามปกรณัมการปราบพญานาคนามว่ากาลียะ[8]

งูเห่าอินเดีย แม้จะไม่ใช่งูที่มีพิษร้ายแรงที่สุดในโลก แต่พิษของงูเห่าอินเดียก็อาจทำให้เป็นอัมพาต หรืออาจนำไปสู่ทางเดินหายใจล้มเหลวหรือหัวใจวายได้ และจากการศึกษาพบว่า ในแต่ละปีมีประชากรโลกราว 2,000,000 คน ถูกพิษร้ายจากงูเห่าอินเดีย และในจำนวนนี้ประมาณ 50,000 คน ที่ต้องเสียชีวิตจากพิษของงูเห่าอินเดีย จนถูกจัดอันดับให้เป็นหนึ่งในสี่งูพิษที่ร้ายแรงที่สุดที่พบได้ในประเทศอินเดีย และถือเป็นอันดับหนึ่งของงูที่กัดมนุษย์มากที่สุดในอินเดียด้วย[7]

แม้ว่าจะมีอันตราย แต่ทว่าในวัฒนธรรมอินเดียที่นับถือศาสนาฮินดูเป็นหลัก งูเห่าอินเดียได้รับการนับถือและมีความเชื่อต่าง ๆ มากมาย นอกจากรูปรอยบนแม่เบี้ย ที่เชื่อว่าเป็นรอยประทับของพระกฤษณะแล้ว ยังเชื่อว่าเป็นงูที่พันรอบพระศอของพระศิวะ หนึ่งในเทพเจ้าสูงสุด หรือตรีมูรติอีกด้วย จนมีงานเทศกาลบูชางู ที่เรียกว่า "นาคปัญจมี" (เทวนาครี: नाग पंचमी) เป็นเทศกาลประจำปีที่จัดขึ้นทุกปีในช่วงวันขึ้นห้าค่ำ ในเดือนศราวัน หรือราวเดือนกรกฎาคมหรือสิงหาคมตามปฏิทินฮินดู โดยรัฐที่มีเทศกาลนี้ขึ้นชื่อ ได้แก่ รัฐเบงกอล, รัฐมหาราษฏระ ทางภาคใต้และภาคตะวันตกของอินเดีย[9][10]

นอกจากนี้แล้ว ยังเป็นงูเห่าที่มีการละเล่นโดยหมองู โดยจะเป่าปี่หลอกล่องูให้เลื้อยออกมาจากตะกร้าหรือภาชนะที่ใส่อีกด้วย หรือจัดการต่อสู้กับพังพอน[11]

อ้างอิง

[แก้]
  1. "Appendices | CITES". cites.org. สืบค้นเมื่อ 2022-01-14.
  2. 2.0 2.1 "Naja naja". Encyclopedia of Life. สืบค้นเมื่อ 28 March 2014.
  3. "Naja naja". ระบบข้อมูลการจำแนกพันธุ์แบบบูรณาการ. สืบค้นเมื่อ 23 March 2014.
  4. Uetz, P. "Naja naja". The Reptile Database. สืบค้นเมื่อ 28 March 2014.
  5. Wallach, V.; Wüster, W.; Broadley DG. (2009). "In praise of subgenera: taxonomic status of cobras of the genus Naja Laurenti (Serpentes: Elapidae)" (PDF). Zootaxa. 2236: 26–36. สืบค้นเมื่อ 29 March 2014.{{cite journal}}: CS1 maint: multiple names: authors list (ลิงก์)
  6. Asiatic Naja เก็บถาวร 2007-12-13 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. Biology.bangor.ac.uk (2001-10-09). Retrieved on 2013-01-03.
  7. 7.0 7.1 Whitaker, Romulus; Captain, Ashok (2004). Snakes of India: The Field Guide. Chennai, India: Draco Books. ISBN 81-901873-0-9.
  8. Reptiles of Pakistan เก็บถาวร 2020-02-03 ที่ เวย์แบ็กแมชชีน. Wildlifeofpakistan.com. Retrieved on 2013-01-03.
  9. Sharma, Usha (1 January 2008). Festivals In Indian Society (2 Vols. Set). Mittal Publications. ISBN 978-81-8324-113-7.
  10. Jagannathan, Maithily (1 January 2005). South Indian Hindu Festivals and Traditions. Abhinav Publications. ISBN 978-81-7017-415-8.
  11. Prevention of Cruelty to Animals Act 1960. indialawinfo.com

แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้]