คุยกับผู้ใช้:มหายานในประเทศไทย

ไม่รองรับเนื้อหาของหน้าในภาษาอื่น
เพิ่มหัวข้อ
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ยินดีต้อนรับสู่วิกิพีเดียภาษาไทย

ยินดีต้อนรับคุณ มหายานในประเทศไทย สู่วิกิพีเดียภาษาไทย หน้าต่อไปนี้อาจเป็นประโยชน์แก่คุณ:

มือใหม่ขอแนะนำอย่างยิ่งให้คุณเริ่มจากแก้หรือต่อเติมบทความที่มีอยู่แล้วก่อน ไม่ควรรีบสร้างบทความด้วยตัวเองเพราะมักไม่ผ่านและถูกลบ

แนะนำเว็บ

และ

เรียนรู้การแก้ไข (ขอใช้เวลาอ่านไม่นานเพื่อให้ทราบพื้นฐาน)

อีกทางหนึ่ง อ่านหน้า การเข้ามีส่วนร่วมในวิกิพีเดีย ซึ่งสรุปทุกอย่างไว้หน้าเดียว

ฉันอ่านหมดแล้วยังไม่เข้าใจเลย
ถามที่แผนกช่วยเหลือ หรือ ถามในหน้านี้แหละ! หรือ ใช้ แชตดิสคอร์ด

อย่าลืมลงชื่อในหน้าพูดคุย โดยการพิมพ์ --~~~~ จะปรากฏชื่อและวันเวลา

Hello มหายานในประเทศไทย! Welcome to Thai Wikipedia. If you are not a Thai speaker, you can ask a question in our Guestbook.


-- New user message (พูดคุย) 18:21, 27 ตุลาคม 2556 (ICT)

วัดและสำนักสงฆ์ในสังกัดมหายาน (อนัมนิกายแห่งประเทศไทย)[แก้]

วัดในสังกัดคณะสงฆ์อนัมนิกายแห่งประเทศไทย

1. พระมหาคณานัมธรรมปัญญาธิวัตร (เจริญ กิ๊นเจี๊ยวมหาเถระ) เจ้าคณะใหญ่อนัมนิกายแห่งประเทศไทย เจ้าอาวาส วัดกุศลสมาคร (โผเพื้อกตื่อ) เขตสัมพันธวงศ์ กรุงเทพมหานคร

2. พระคณานัมธรรมเมธาจารย์ (ถนอม เถี่ยนถึก) รองเจ้าคณะใหญ่อนัมนิกาย เจ้าอาวาส วัดโลกานุเคราะห์ (ตื้อเต๊ตื่อ) เขตสัมพันธวงศ์ กรุงเทพมหานคร

3. พระคณานัมธรรมเมธาจารย์ (ถนอม เถี่ยนถึก) รองเจ้าคณะใหญ่อนัมนิกาย รักษาการเจ้าอาวาส วัดสุนทรประดิษฐ์ (คั้นอังตื่อ) อำเภอเมือง จังหวัดอุดรธานี

4. พระคณานัมธรรมวิธานาจารย์ (สมาน ว่างเยียน) ผู้ช่วยเจ้าคณะใหญ่อนัมนิกายฝ่ายขวา เจ้าอาวาส วัดอนัมนิกายาราม (กว๋างเพื้อกตื่อ) เขตบางซื่อ กรุงเทพมหานคร

5. พระคณานัมธรรมวุฒาจารย์ (ณรงค์ ติ่นเรียน) ผู้ช่วยเจ้าคณะใหญ่อนัมนิกายฝ่ายซ้าย เจ้าอาวาส วัดสมณานัมบริหาร (เกี๋ยงเพื้อกตื่อ) เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร

6. พระสมณานัมธีราจารย์ (ถาวร มินเอิง) ปลัดขวา เจ้าอาวาส วัดอุภัยราชบำรุง (คั้นเยิงตื่อ) แขวงตลาดน้อย เขตสัมพันธวงศ์ กรุงเทพมหานคร

7. พระบริหารอนัมพรต (บูญชู ติ่นทิน) ปลัดซ้าย เจ้าอาวาส วัดชัยภูมิการาม (ตี๋หง่านตื่อ) แขวงจักรวรรดิ เขตสัมพันธวงศ์ กรุงเทพมหานคร

8. องสรภาณมธุรส (เดชาธร เกวิ๊กซัน) รองปลัดขวา เจ้าอาวาส วัดถาวรวราราม (คั้นถ่อตื่อ) อำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี

9. องสุตบทบวร (ชาติชัย เหยี่ยวคัง) รองปลัดซ้าย เจ้าอาวาส วัดมงคลสมาคม (โห่ยคั้นตื่อ) ถนนแปลงนาม เขตสัมพันธวงศ์ กรุงเทพมหานคร

10. องพจนกรโกศล (ไพรัตน์ เหว่ตี้) ผู้ช่วยปลัดซ้าย เจ้าอาวาส วัดเขตร์นาบุญญาราม (เพื้อกเดี้ยนตื่อ) อำเภอเมือง จังหวัดจันทบุรี

11. องอนนตสรภัญ (ปรีชา เถี่ยนกือ) เจ้าอาวาส วัดอนัมนิกายเฉลิมพระชนมพรรษากาล (หง็อกทันตื่อ) อำเภอสองพี่น้อง จังหวัดสุพรรณบุรี

12. องสรภาณอนัมพจน์ (พิสิษฐ์ เถี่ยนบ๊าว) ประชาสัมพันธ์คณะสงฆ์อนัมนิกายแห่งประเทศไทย รองประชาสัมพันธ์ โทรทัศน์ธรรมาธิปไตย DD-TV เจ้าอาวาส วัดธรรมปัญญารามบางม่วง (ฮึงถั่นตื่อ) อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม

13. องอนันตสรนาท (สมพุฒ มินหลับ) เจ้าอาวาส วัดเจริญบุญไพศาล อำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี

14. องสุตบทอนัมบริหาร เจ้าอาวาส วัดมหายานกาญจนมาสราษฎร์บำรุง อำเภอเมือง จังหวัดยะลา

15. องปลัดธรรมปัญญาธิวัตร (ธีรยุทธ เถี่ยนคาย) เลขาคณะสงฆ์อนัมนิกาย เจ้าอาวาส วัดอุภัยภาติการาม (ตามบ๋าวเผิกตื่อ) อำเภอเมือง จังหวัดฉะเชิงเทรา

16. องปลัดปานชัย เถี่ยนหงือ เจ้าอาวาส วัดถาวรวรารามหาดใหญ่ (คั้นถ่อตื่อ) อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา

17. องวินัยธรเอนก เถี่ยนหลาก เจ้าอาวาส วัดศรัทธายิ้มพานิชวราราม (โผเจี๊ยวตื่อ) อำเภอเมืองฯ จังหวัดสมุทรสาคร

18. องสมุห์วิเชียร เถี่ยนอี๊ เจ้าอาวาส วัดถ้ำเขาน้อย (ล็องเซิงตื่อ) อำเภอท่าม่วง จังหวัดกาญจนบุรี

19. พระสุชาติ ตื่นเยือน รักษาการเจ้าอาวาส วัดหมื่นปีวนาราม (หย่างถ่อตื่อ) อำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี สำนักสงฆ์ ในสังกัดคณะสงฆ์อนัมนิกายแห่งประเทศไทย

20. พระมหาคณานัมธรรมปัญญาธิวัตร (เจริญ กิ๊นเจี๊ยวมหาเถระ) เจ้าคณะใหญ่อนัมนิกายแห่งประเทศไทย รักษาการ เจ้าสำนักสงฆ์วัดป่าสุขาวดี อ.แม่สะเมิง จ.เชียงใหม่

21. พระคณานัมธรรมเมธาจารย์ (ถนอม เถี่ยนถึก) รองเจ้าคณะใหญ่อนัมนิกาย รักษาการ เจ้าสำนักสงฆ์ตาลเลียนอนัมพรต อำเภอกุดจับ จังหวัดอุดรธานี

22. องพจนกรโกศล (ไพรัตน์ เหว่ตี้) ผู้ช่วยปลัดซ้าย รักษาการ เจ้าสำนักสงฆ์มงคงเจริญบุญ จังหวัดจันทบุรี

23. องพจนกรโกศล (ไพรัตน์ เหว่ตี้) ผู้ช่วยปลัดซ้าย รักษาการ เจ้าสำนักสงฆ์ถ้ำกลองทิพย์ อำเภอท่าใหม่ จังหวัดจันทบุรี

24. พระกิจธบุษฐ์ ทั่นตึ่ว เจ้าสำนักสงฆ์ธรรมปัญญาราม เขตดอนเมืองกรุงเทพมหานคร

25. พระคงศักดิ์ เถี่ยนเตื๊อง เจ้าสำนักสงฆ์แดนสุขาวดีวิถีเซน อำเภอสวนผึ้ง จังหวัดราชบุรี

คลังความรู้พระพุทธศาสนามหายาน www.Mahayan.org, www.Mahayan.net

ตุลาคม 2556[แก้]

สวัสดี และยินดีต้อนรับสู่วิกิพีเดียไทย ซึ่งขณะนี้การแก้ไขที่หน้า คณะสงฆ์อนัมนิกายแห่งประเทศไทย ได้ถูกย้อนกลับแล้ว เนื่องจากว่าเนื้อหาที่คุณเพิ่มนั้นไม่เป็นสารานุกรม หรืออาจนำมาจากเว็บไซต์ หรือแหล่งข้อมูลอื่น ซึ่งในกรณีแบบนี้อาจถือว่าเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ได้ ซึ่งเราขอแนะนำให้คุณศึกษาวิธีเขียนอย่างไรไม่ให้ละเมิดลิขสิทธิ์ และแนวทางการเขียนให้ดียิ่งขึ้น ขอบคุณสำหรับความพยายามที่จะปรับปรุงบทความ โปรดทราบว่าผู้ที่ละเมิดลิขสิทธิ์อย่างต่อเนื่อง อาจถูกห้ามมิให้แก้ไขบทความชั่วคราว อย่างไรก็ดีเรายินดีรับเนื้อหาที่คุณเขียนขึ้นเองเสมอ

ข้อความนี้เป็นข้อความที่แจ้งอัตโนมัติโดยบอตคุง กรุณาแจ้งที่หน้านี้หากคุณคิดว่าการแจ้งนี้เป็นความเข้าใจผิด --JBot | แจ้งผู้ดูแล - 23:36, 28 ตุลาคม 2556 (ICT)

สวัสดี และยินดีต้อนรับสู่วิกิพีเดียไทย ซึ่งขณะนี้การแก้ไขที่หน้า คณะสงฆ์มหายาน อนัมนิกายแห่งประเทศไทย ได้ถูกย้อนกลับแล้ว เนื่องจากว่าเนื้อหาที่คุณเพิ่มนั้นไม่เป็นสารานุกรม หรืออาจนำมาจากเว็บไซต์ หรือแหล่งข้อมูลอื่น ซึ่งในกรณีแบบนี้อาจถือว่าเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ได้ ซึ่งเราขอแนะนำให้คุณศึกษาวิธีเขียนอย่างไรไม่ให้ละเมิดลิขสิทธิ์ และแนวทางการเขียนให้ดียิ่งขึ้น ขอบคุณสำหรับความพยายามที่จะปรับปรุงบทความ โปรดทราบว่าผู้ที่ละเมิดลิขสิทธิ์อย่างต่อเนื่อง อาจถูกห้ามมิให้แก้ไขบทความชั่วคราว อย่างไรก็ดีเรายินดีรับเนื้อหาที่คุณเขียนขึ้นเองเสมอ

ข้อความนี้เป็นข้อความที่แจ้งอัตโนมัติโดยบอตคุง กรุณาแจ้งที่หน้านี้หากคุณคิดว่าการแจ้งนี้เป็นความเข้าใจผิด --JBot | แจ้งผู้ดูแล - 17:23, 30 ตุลาคม 2556 (ICT)

ยินดีต้อนรับสู่วิกิพีเดีย เราเปิดให้ทุกคนนั้นช่วยพัฒนาวิกิพีเดียไทยในทางที่สร้างสรรค์ แต่การแก้ไขล่าสุดของคุณในหน้า คณะสงฆ์อนัมนิกายแห่งประเทศไทย (การแก้ไข) นั้นมีลักษณะที่ไม่เป็นสารานุกรม ไม่เหมาะสม หรืออาจถือว่าเป็นการก่อกวน ซึ่งการแก้ไขนั้นได้ถูกย้อนกลับหรือลบทิ้งไปแล้ว กรุณาใช้หน้าทดลองเขียน หากต้องการทดสอบการแก้ไขใดๆที่คุณต้องการ และสามารถอ่านหน้าเริ่มต้น เพื่อศึกษาการร่วมพัฒนาวิกิพีเดีย

หากคุณมีคำถามหรือคำแนะนำเกี่ยวข้องกับบทความ คุณสามารถแสดงความคิดเห็นได้ที่หน้าพูดคุยของบทความ ซึ่งเนื้อหาพูดคุยจะเป็นการอภิปรายเพื่อพัฒนาบทความให้ดีขึ้น ไม่ใช่การสนทนา ขอคำปรึกษา หรือแสดงความคิดเห็นส่วนตัวเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าว ซึ่งคุณเองสามารถแก้ไขบทความดังกล่าวได้ ไม่เพียงแต่เสนอแนะรอให้คนอื่นมาแก้ไข เว้นเสียแต่หน้านั้นถูกล็อกชั่วคราว

ในกรณีที่คุณลบเนื้อหาหรือข้อความจำนวนมากจากบทความ แต่มีเจตนาดี ให้อย่าลืมใส่คำอธิบายอย่างย่อเวลาคุณแก้ไข โดยระบุสาเหตุถึงการลบเนื้อหาดังกล่าวให้ผู้อื่นได้รับทราบ โปรดทราบว่านี่เป็นการเตือนเพียงครั้งเดียว และในกรณีที่ทางเราพบว่าคุณได้ก่อกวนในครั้งต่อไป คุณอาจถูกบล็อกจากการแก้ไขชั่วคราวได้ทันที หากพบว่านี่เป็นความเข้าใจผิด กรุณาแจ้งที่หน้านี้จากนั้นงดการแก้ไขดังกล่าวไปก่อน ซึ่งเมื่อมีการตรวจสอบแล้วและหากพบว่าเป็นความเข้าใจผิด การแก้ไขของคุณจะถูกย้อนกลับขึ้นมาให้ ขออภัยในความไม่สะดวก และขอขอบคุณสำหรับความร่วมมือ และร่วมพัฒนาวิกิพีเดียไทย --JBot | แจ้งผู้ดูแล - 17:26, 30 ตุลาคม 2556 (ICT)

เนื่องจากการแก้ไขล่าสุดในหน้า คณะสงฆ์อนัมนิกายแห่งประเทศไทย อาจถือว่าเป็นการทดลองเขียน ก่อกวน หรือสแปม รวมถึงการก่อกวนก่อนหน้านี้ทำให้คุณได้ถูกบล็อกจากการแก้ไขชั่วคราว อย่างไรก็ตาม เรายังยินดีต้อนรับการช่วยพัฒนาวิกิพีเดียไทยในทางที่สร้างสรรค์เสมอ หลังจากที่การบล็อกหมดเวลาแล้ว --JBot | แจ้งผู้ดูแล - 17:27, 30 ตุลาคม 2556 (ICT)

ประวัติพระสงฆ์อนัมนิกายในประเทศไทย[แก้]

ตำนานพระญวน พระนิพนธ์ของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ

          เรื่องที่พวกญวนมาอยู่ในประเทศสยามนี้จะเป็นมาอย่างไร ในสมัยเมื่อกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานีข้าพเจ้ายังไม่ได้สืบสวนขึ้นไปถึง เคยสืบแต่เรื่องพงศาวดารของพวกญวนที่อยู่ในกรุงเทพฯ นี้ ได้ความว่าเมื่อราว พ.ศ. ๒๓๑๖  เกิดกบฏขึ้นที่เมืองเว้อันเป็นราชธานีของประเทศญวน  พวกกบฏชิงได้เมืองแล้วฆ่าฟันเจ้านายเสียเป็นอันมาก  พวกราชวงศ์ญวนที่รอดอยู่ได้พากันหนีพวกกบฏลงมาทางเมืองไซ่ง่อนหลายองค์ องเชียงซุนราชบุตรที่ ๔ ของเจ้าเมืองเว้มาอาศัยอยู่ที่เมืองฮาเตียน ซึ่งต่อแดนเขมรมณฑลบันทายมาศของเขมร  พวกกบฏยกกองทัพมาติดตาม เจ้าเมืองฮาเตียนเห็นเหลือกำลังที่จะต่อสู้ ก็อพยพครอบครัวพาองเชียงซุนเข้ามายังกรุงธนบุรี เมื่อราวปีวอก พ.ศ. ๒๓๑๙  พระเจ้ากรุงธนบุรีโปรดฯ ให้รับไว้แล้วพระราชทานที่ให้ญวนพวกองเชียงซุน ตั้งบ้านเรือนอยู่นอกพระนครทางฝั่งตะวันออก คือตรงที่แถวถนนพาหุรัดทุกวันนี้  จึงเรียกกันว่าบ้านญวนมาจนสร้างถนนพาหุรัด  อยู่มาองเชียงซุนพยายามจะหนี พระเจ้ากรุงธนบุรีจึงมีรับสั่งให้ประหารชีวิตเสีย  พวกองเชียงซุนเป็นญวนพวกแรกที่อพยพเข้ามาตั้งภูมิลำเนาอยู่ในประเทศนี้  เมื่อภายหลังเสียกรุงศรีอยุธยาแก่พม่าข้าศึกแล้ว
          ต่อมาถึงชั้นกรุงรัตนโกสินทร์ เมื่อรัชกาลที่ ๑ มีราชนัดดาของเจ้าเมืองเว้อีกองค์หนึ่งชื่อเชียงสือ เดิมหนีพวกกบฏมาอาศัยอยู่ที่เมืองไซ่ง่อน พวกญวนที่เมืองไซ่ง่อนนับถือถึงยกย่องให้ครองเมืองแต่รักษาเมืองต่อสู้ศัตรูไม่ไหว  จึงหนีมาอาศัยอยู่ที่เกาะกระบือในแดนเขมร  พระยาชลบุรีคุมเรือรบไทยไปลาดตระเวนทางทะเล  ไปพบองเชียงสือ ๆ จึงพาครอบครัวโดยสารเรือพระยาชลบุรีเข้ามาขอพึ่งพระบารมีอยู่ ณ กรุงเทพฯ เมื่อปีเถาะ พ.ศ. ๒๓๒๖ อันเป็นปีที่ ๒ ในรัชกาลที่ ๑  พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก  ทรงพระกรุณารับทำนุบำรุงและพระราชทานที่ให้ญวนพวกองเชียงสือตั้งบ้านเรือนอยู่ริมแม่น้ำฝั่งตะวันออกที่ตำบลคอกกระบือ  คือตรงที่ตั้งสถานทูตโปรตุเกศทุกวันนี้  พวกญวนที่นับถือองเชียงสือมีมาก  ครั้นรู้ว่าองเชียงสือได้มาพึ่งพระบารมีเป็นหลักแหล่งอยู่ในกรุงเทพฯ  ก็พากันอพยพครอบครัวติดตามเข้ามาอีกเนือง ๆ  จำนวนญวนที่เข้ามาในคราวองเชียงสือเห็นจะมากด้วยกัน  จึงปรากฏว่าองเชียงสือได้ควบคุมพวกญวนไปตามเสด็จในการทำสงครามกับพม่าหลายครั้ง องเชียงสืออยู่ในกรุงเทพฯ ๔ ปี 
            ครั้นถึงปีมะเมีย พ.ศ. ๒๓๒๙  องเชียงสือเขียนหนังสือทูลลาวางไว้ที่บูชาแล้วลอบลงเรือหนีไปกับคนสนิท  เนื้อความในหนังสือนั้นว่า ตั้งแต่เข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภาร  ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ทำนุบำรุงเป็นอเนกประการ ถึงให้กองทัพเข้าไปช่วยตีเมืองไซ่ง่อนพระราชทานก็ครั้งหนึ่ง  แต่การยังไม่สำเร็จเพราะกรุงเทพฯ ติดทำสงครามอยู่กับพม่า จะรอต่อไปก็เกรงว่าพรรคพวกทางเมืองญวนจะรวนเรไปเสีย  ครั้นจะกราบถวายบังคมลาโดยเปิดเผยก็เกรงจะมีเหตุขัดข้องจึงได้หนีไป  เพื่อจะได้คิดอ่านตีเอาเมืองไซ่ง่อนคืน  ถ้าขัดข้องประการใดของพระบารมีเป็นที่พึ่งทรงอุดหนุนด้วย  เมื่อได้เมืองแล้วจะมาเป็นข้าขอบขันธสีมาสืบไป  องเชียงสือหนีไปพักอยู่ที่เกาะกูด  เมื่อข่าวที่องเชียงสือหนีทราบถึงพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกไม่ทรงถือโทษ  แต่กรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาททรงขัดเคืององเชียงสือ  ในครั้งนั้นจึงโปรดให้ญวนพวกองเชียงสือย้ายขึ้นไปตั้งบ้านเรือนอยู่เสียที่บางโพ  ยังมีเชื้อสายสืบมาจนทุกวันนี้

มีพวกญวนที่อพยพเข้ามาอยู่เมืองไทยภายหลัง ครั้งองเชียงสือมาเมื่อในรัชกาลที่ ๓ อีก ๓ คราว คือเมื่อปีมะเมีย พ.ศ. ๒๓๗๗ พระเจ้าแผ่นดินญวนมินมางประกาศห้ามมิให้พวกญวนถือศาสนาคริสตังและจับพวกญวนที่เข้ารีตทำโทษต่าง ๆ จึงมีพวกญวนเข้ารีตอพยพครอบครัวหนีภัยเข้ามาพึ่งพระบารมีอยู่ในประเทศนี้ มาอยู่ที่เมืองจันบุรีโดยมาก ที่เข้ามาอยู่ในกรุงเทพฯ ก็เห็นจะมีบ้าง ชะรอยจะมาอยู่ที่บ้านโปรตุเกศเข้ารีตซึ่งอพยพเข้ามาจากเมืองเขมร และโปรดฯ พระราชทานที่ให้อยู่ที่สามเสนนั้น ภายหลังจึงโปรดให้ญวนเข้ารีตไปอยู่ที่ตำบลนั้นต่อมาอีก ดังจะปรากฏต่อไปนี้ข้างหน้า

           ญวนอพยพอีกคราวหนึ่งเมื่อครั้งเจ้าพระยาบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี)  ไปตีเมืองญวนเมื่อปีมะเส็ง พ.ศ. ๒๓๗๖  ได้ครัวญวนส่งเข้ามาถึงกรุงเทพฯ  เมื่อปลายปีมะเมีย พ.ศ. ๒๓๗๗  ครัวญวนที่เข้ามาคราวนี้เป็น ๒ พวก  คือเป็นพวกถือพระพุทธศาสนาพวกหนึ่ง เป็นพวกถือศาสนาคริสตังพวกหนึ่ง  พวกญวนที่ถือพระพุทธศาสนานั้นโปรดฯ ให้ไปตั้งบ้านเรือนอยู่ที่เมืองกาญจนบุรี  สำหรับรักษาป้อมเมืองใหม่ซึ่งทรงสร้างขึ้นที่ปากแพรก  แต่พวกญวนที่ถือศาสนาคริสตังนั้นเห็นจะเป็นเพราะมีญวนเข้ารีตอยู่ที่สามเสนมาแต่ก่อนบ้างแล้ว จึงโปรดฯ ให้ตั้งบ้านเรือนอยู่ที่ตำบลสามเสนในกรุงเทพฯ  ติดต่อกับบ้านพวกคริสตังเชื้อโปรตุเกศ  ซึ่งอพยพเข้ามาจากเมืองเขมร  และโปรดฯ ให้ขึ้นอยู่ในพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว  เมื่อยังดำรงพระยศเป็นสมเด็จเจ้าฟ้ากรมขุนอิศเรศรังสรรค์ ทรงฝึกหัดเป็นทหารปืนใหญ่
            ญวน ๒ พวกที่กล่าวมานี้ ถึงรัชกาลที่ ๔ พวกญวนคริสตังย้ายสังกัดไปเป็นทหารปืนใหญ่ฝ่ายพระบวรราชวัง (คือญวนพวกพระยาบันฤาสิงหนาท)  พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงทราบว่าพวกญวนที่อยู่เมืองกาญจนบุรี  โดยมากอยากจะมาอยู่ในกรุงเทพฯ เหมือนกับญวนพวกอื่น  จึงพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้เข้ามาตั้งบ้านเรือนอยู่ที่ริมคลองผดุงกรุงเกษม  ซึ่งได้โปรดฯ ให้ชุดใหม่นั้น  แล้วให้จัดเป็นทหารปืนใหญ่ฝ่ายวังหลวงสืบมา  ที่เมืองกาญจนบุรี ยังมีวัดญวนและมีชื่อตำบล เช่น เรียกว่า “ชุกยายญวน”  ปรากฏอยู่จนทุกวันนี้  เชื้อสายพวกญวนที่ไม่อพยพเข้ามากรุงเทพฯ  ยังคงอยู่ที่เมืองกาญจนบุรีก็เห็นจะมีบ้าง 

ครัวญวนที่อพยพเข้ามาครั้งหลังในรัชกาลที่ ๓ นั้น มาเมื่อปีชวด พ.ศ. ๒๓๘๓ มีเรื่องปรากฏในจดหมายเหตุว่า เวลานั้นกองทัพไทยกับเขมรกำลังรบพุ่งขับไล่กองทัพญวนที่เข้ามาตั้งอยู่ในแดนเขมร กองทัพญวนถูกล้อมอยู่หลายแห่ง เผอิญเกิดความไข้ขึ้นในค่ายญวน พวกญวนหนีความไข้ออกมาหาเขมรประมาณ ๑,๐๐๐ คนเศษ เจ้าพระยาบดินทรเดชาบอกส่งเข้ามากรุงเทพฯ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดให้ญวนพวกนี้ไปที่บางโพกับเชื้อสายญวนพวกองเชียงสือ พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวเด็จสวรรคตในปีฉลู พ.ศ. ๒๔๐๘ โปรดฯ ให้ทำพิธีกงเต๊กที่ในพระบวรราชวังอีกครั้งหนึ่ง ต่อนั้นถึงงานพระศพกรมหมื่นมเหศวรศิววิลาศก็โปรดฯ ให้มีพิธีกงเต๊กจึงพวกญวนที่มาอยู่ในประเทศสยาม มีทั้งที่ถือพระพุทธศาสนาและที่ถือศาสนาคริสตัง พวกญวนที่ถือพระพุทธศาสนา มาตั้งภูมิลำเนาอยู่แห่งใดก็นิมนต์พระญวนมา สร้างวัดเป็นที่บำเพ็ญการกุศลของพวกญวนซึ่งอยู่ ณ ที่แห่งนั้น พวกญวนที่ถือศาสนาคริสตังได้อาศัยฝรั่งบาทหลวงเป็นผู้ควบคุมแต่ครั้งยังอยู่ในเมืองเขมร เมื่อมาอยู่ในประเทศสยามนี้ พวกฝรั่งบาทหลวงก็สร้างวัดและดูแลควบคุมพวกญวนคริสตังทำนองเดียวกัน จะกล่าวในตำนานนี้แต่ด้วยเรื่องวัดญวนและพระญวนในพระพุทธศาสนา ในบรรดาศาสนาไม่เลือกว่าศาสนาใด เมื่อท่านผู้ตั้งศาสนาล่วงลับไปแล้ว นานมาผู้ที่เลื่อมใสศาสนานั้นก็เกิดถือลัทธิต่างกัน เช่น ศาสนาคริสตังก็เกิดถือต่างกันเป็นลัทธิคริสต์ ลัทธิโรมันคาโธลิค และลัทธิโปรเตสตันต์ ศาสนาอิสลามก็เกิดถือต่างกันเป็นลัทธิสุหนี่และลัทธิเซียะ (คือแขกเจ้าเซ็น) พระพุทธศาสนาก็เกิดถือต่างกันเป็น ๒ ลัทธิมาตั้งแต่ชาวอินเดียยังถือพระพุทธศาสนากันอยู่แพร่หลาย ลัทธิเก่าซึ่งเกิดขึ้นในมคธราฐทางใต้ได้นามว่า ลัทธิ “หินยาน” ลัทธิใหม่ซึ่งเกิดขึ้นในคันธารราฐทางฝ่ายเหนือ ได้นามว่า ลัทธิ “มหายาน” เมื่อพระพุทธศาสนาแพร่หลายไปยังนานาประเทศ พวกชาวอินเดียที่ถือลัทธิหินยาน เชิญพระพุทธศาสนามาทางทะเลเที่ยวสั่งสอนในลังกาทวีป และประเทศพม่ามอญไทยเขมร จึงถือพระพุทธศาสนาตามลัทธิหินยานมาจนทุกวันนี้ พวกชาวอินเดียที่ถือลัทธิมหายานเชิญพระพุทธศาสนาไปทางบกเที่ยวสั่งสอนในประเทศธิเบต ประเทศอาเซียตอนตอนกลางตลอดไปจนประเทศจีนและญี่ปุ่น ประเทศญวนรับลัทธิพระพุทธศาสนาอย่างมหายานมาจากจีน พวกญวนจึงบวชเรียนและประพฤติกิจในศาสนาผิดกับไทย เพราะฉะนั้นเมื่อพวกญวนมาสร้างวัดและมีพระญวนขึ้นในประเทศนี้ ชั้นเดิมก็มีผู้นับถือและอุดหนุนแต่พวกญวน แต่ในสมัยนั้นยังไม่มีวัดจีนในประเทศนี้ พวกจีนก็มักไปทำบุญที่วัดญวนด้วย เพราะลัทธิศาสนาของญวนกับจีนเหมือนกันและทำพิธีต่าง ๆ เช่น กงเต๊ก เป็นต้น อย่างเดียวกัน ส่วนไทยแม้ไม่สู้นับถือก็ไม่เกลียดชังพวกญวน เพราะเห็นว่านับถือพระพุทธเจ้าองค์เดียวกัน วัดญวนที่มาสร้างขึ้นในประเทศนี้ ก็อนุโลมตามเรื่องที่พวกญวนเข้ามาอยู่ในประเทศสยาม คือ

          ญวนพวกที่มากับองค์เชียงซุนครั้งกรุงธนบุรีมาสร้างวัดขึ้นที่บ้านหม้อ ๒ วัด คือ

๑. วัดกามโล่ตื่อ (วัดทิพยวารีวิหาร)* ยังอยู่ที่หลังตลาดบ้านหม้อ ในพระนคร แต่เดี๋ยวนี้เป็นวัดพระจีนปกครอง ๒. วัดโห่ยคั้นตื่อ (วัดมงคลสมาคม) เดิมอยู่ที่บ้านญวนข้างหลังวังบูรพาภิรมย์ ครั้นจะตัดถนนพาหุรัดวัดนั้นกีดแนวถนน พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงโปรดฯ ให้กระทำผาติกรรมอย่างวัดไทย คือพระราชทานที่ดินและให้สร้างวัดขึ้นใหม่แลก วัดเดิมย้ายไปตั้งที่ริมถนนแปลงนามในอำเภอสัมพันธวงศ์

          พระญวนในประเทศสยามชั้นแรกก็คงบวชเรียนมาจากเมืองญวน แต่เห็นจะมีเช่นนั้นเพียงในรัชกาลที่ ๑  ต่อนั้นมาเมืองญวนกับไทยเกิดเป็นอริกันมาตลอดรัชกาลที่ ๒ และรัชกาลที่ ๓  ชาวประเทศทั้งสองฝ่ายมิได้ไปมาหากันอย่างปกติ  พระญวนในประเทศนี้ก็มีแต่บวชเรียนในประเทศนี้เอง  แต่ยังมีที่เป็นญวนนอกลงมาเพียงพระครูคณานัมสมาณาจารย์ (ฮึง)  และพระครูคณานัมสมาณาจารย์ (กร่าม)  ท่านทั้งสองนี้เมื่อยังเป็นเด็ก  ตามบิดามารดาเข้ามาในรัชกาลที่  ๓ แล้วมาบวชในกรุงเทพฯ นี้  ชั้นต่อมาเป็นญวนเกิดและบวชในประเทศนี้ทั้งนั้น ถึงรัชกาลที่ ๔  และรัชกาลที่ ๕ เมืองญวนกับไทยมิได้เป็นอริกัน  ปรากฏว่ามีพระญวนในประเทศนี้ได้พยายามไปสืบศาสนาในเมืองญวน  แต่การที่ไปไม่สะดวกด้วยเมืองญวนตกอยู่ในอำนาจฝรั่งเศส  พระญวนในประเทศสยามกับพระญวนในประเทศญวนก็มิได้ติดต่อกัน  ต่างฝ่ายต่างก็ถือคติตามประเทศที่ตนอยู่  พระญวนที่มาอยู่ในประเทศสยามมาแก้ไขคติหันมาตามพระสงฆ์ไทยหลายอย่าง  เป็นต้นว่ามาถือสิกขาบทวิกาลโภชน์ไม่กินข้าวเย็น ครองผ้าสีเหลืองแต่สีเดียว  ไม่ใช้ต่างสี  ไม่ใส่เกือกและถุงตีนเหมือนเช่นพระในเมืองจีน เมืองญวน  แต่ส่วนข้อวัตรปฏิบัติอย่างอื่นตลอดจนกิจพิธี คงทำตามแบบในเมืองญวนมาจนในรัชกาลที่ ๕ เมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดฯ  ให้มีสมณฐานันดรศักดิ์ และ โปรดฯ ให้นิมนต์มาทำพิธีกงเต๊กเป็นการหลวงบ่อย ๆ จึงแก้ไขเพิ่มเติมกิจพิธีคล้ายกับพระไทยยิ่งขึ้นอีกหลายอย่าง
         มูลเหตุที่พระญวนจะได้รับความยกย่องในราชการนั้น ได้ยินเล่ากันมาว่าเมื่อพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงผนวชอยู่ในรัชกาลที่ ๓ ใคร่จะทรงทราบลัทธิของพระญวน จึงทรงสอบถามองฮึง (ซึ่งได้เป็นพระครูคณานัมสมณาจารย์องค์แรกเมื่อรัชกาลที่ ๕)  จึงได้ทรงคุ้นเคยชอบพระราชอัธยาศัยมาแต่ครั้งนั้น ครั้นเสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติแล้ว องฮึงได้เป็นอธิการวัดญวนที่ตลาดน้อย  พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงทรงพระกรุณาโปรดฯ ช่วยปฏิสังขรณ์ (ต่อมาถึงรัชกาลที่ ๕ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงช่วยอีก  จึงเป็นเหตุให้พระราชทานนามวัดนั้นว่าวัดอุภัยราชบำรุง)  พระญวนได้มีโอกาสเข้าเฝ้าแหนได้ตั้งแต่รัชกาลที่ ๔ เป็นต้นมา  ข้อนี้ถึงเห็นได้ในงานเฉลิมพระชันษา พระญวนยังเข้าไปถวายธูปเทียนและกิมฮวยอั้งติ๋วอยู่ทุกปีจนบัดนี้  ส่วนพิธีกงเต๊กที่ได้ทำเป็นงานหลวงนั้น ปรากฏว่าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว โปรดฯ ให้ทำเป็นครั้งแรกเมื่องานพระศพสมเด็จพระเทพศิรินทราบรมราชินี เมื่อปีระกา พ.ศ. ๒๔๐๔ ต่อนั้นมา เมื่อได้เข้ามาในระเบียบงานพระศพซึ่งเป็นการใหญ่
           ถึงรัชกาลที่ ๕ ทำพิธีกงเต๊กในงานพระบรมศพ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นครั้งแรก  ต่อนั้นก็มาทำในงานพระศพสมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน เมื่อปีมะโรง พ.ศ. ๒๔๒๓ และงานพระศพอื่นซึ่งเป็นงานใหญ่เป็นประเพณีสืบมา  แต่การกงเต๊กที่ทำเมื่อครั้งพระศพสมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ นั้น เป็นต้นประเพณีที่เกิดขึ้น และมีสืบมาจนทุกวันนี้ ๒ อย่าง คือ อย่างที่ ๑ วิธีทำบุญหน้าศพ ตามประเพณีจีนและญวนนั้น ญาติวงศ์ผู้มรณภาพย่อมทำบุญหน้าศพทุก ๆ วัน นับแต่วันมรณะไปจนครบ ๗ วัน เมื่อครบ ๗ วันแล้วแต่นั้น ทำบุญ ๗ วันครั้งหนึ่ง ไปอีก ๗ ครั้งครบ ๕๐ วัน  แล้วหยุดงานพิธีไปจนถึง ๑๐๐ วัน (สันนิษฐานว่าเมื่อจะฝังหรือเผาศพ)  ทำพิธีเป็นการใหญ่ครั้งสุดท้าย  พิธีกงเต๊กในงานพระศพก็ทำเช่นนั้น เป็นต้นแบบที่ทำบุญหน้าศพซึ่งเรียกว่า สัปตมวาร ปัญญา สมวาร และ ศตมาหะ   ที่ทำกันอยู่ด้วยไม่เกี่ยวข้องแก่กงเต๊กจนทุกวันนี้  อีกอย่างหนึ่งนั้นพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระราชปรารภถึงความภักดีของพระญวนและพระจีนที่มาทำพิธีถวายในครั้งนั้น  ทรงพระราชดำริว่าพวกญวนทั้งพระและคฤหัสถ์ซึ่งมีอยู่ในพระราชอาณาเขตในเวลานั้น ตกมาถึงชั้นนั้นเป็นญวนเกิดในพระราชอาณาเขต  เป็นแต่เชื้อสายญวนที่เข้ามาแต่เมืองญวน  เช่นเดียวกับพวกมอญ สมเด็จพระเจ้าแผ่นดินแต่ก่อนได้ทรงพระกรุณาโปรดฯ ตั้งพระสงฆ์มอญ ให้มีสมณศักดิ์เหมือนอย่างพระสงฆ์ไทยฉันใด สมควรจะทรงตั้งพระสงฆ์ญวนให้มีสมณศักดิ์ขึ้นบ้าง แต่พระสงฆ์ญวนถือลัทธิมหายานจะเข้าทำกิจพิธีร่วมกับพระสงฆ์ไทยไม่ได้เหมือนอย่างพระมอญ จึงทรงพระราชดำริให้มีทำเนียบสมณศักดิ์สำหรับพระญวนขึ้นต่างหาก  ทรงพระกรุณาโปรดฯ ให้มีสมณศักดิ์สำหรับพระจีนด้วยในคราวเดียวกัน และทรงเลือกสรรพระญวนที่เป็นคณาจารย์ตั้งเป็นตำแหน่งพระครู พระปลัด รองปลัด (เทียบด้วยสมุห์)  ผู้ช่วย (เทียบด้วยใบฎีกา)  ส่วนพระจีนนั้นหัวหน้าเป็นตำแหน่งพระอาจารย์ (เทียบด้วยพระครูวิปัสสนา) และมีฐานานุกรมเป็นปลัดและรองปลัดเช่นเดียวกันกับพระญวน พระราชทานสัญญาบัตรมีราชทินนามกับพัดยศซึ่งจำลองแบบพัดพระไทย แต่ทำให้เป็นขนาดย่อมลง
  • ชื่อวัดญวนที่เรียกอย่างไทย แต่งความตามชื่อภาษาญวน พระราชทานในรัชกาลที่ ๕ แทบทั้งนั้น
               ที่มา : หนังสือ บรรพชาอุปสมบทวิธีอนัมนิกาย โดย องสรภาณมธุรส (บ๋าวเอิง) เจ้าอาวาสวัดสมณานัมบริหาร แปลเป็นภาษาไทยโดย นายเสถียรโพธินันทะ,  โรงพิมพ์สหวิทยพาณิชย์ พ.ศ. ๒๕๐๒ คลังความรู้มหายาน www.Mahayan.org, www.Mahayan.net

--ข้อความนี้ไม่ได้ลงชื่อ ซึ่งออกความเห็นโดยผู้ใช้ มหายานในประเทศไทย (พูดคุยหน้าที่เขียน) 19:15, 10 มกราคม 2557 (ICT)

ประวัติพระสงฆ์อนัมนิกายในประเทศไทย[แก้]

ตำนานพระญวน พระนิพนธ์ของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ

          เรื่องที่พวกญวนมาอยู่ในประเทศสยามนี้จะเป็นมาอย่างไร ในสมัยเมื่อกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานีข้าพเจ้ายังไม่ได้สืบสวนขึ้นไปถึง 

เคยสืบแต่เรื่องพงศาวดารของพวกญวนที่อยู่ในกรุงเทพฯ นี้ ได้ความว่าเมื่อราว พ.ศ. ๒๓๑๖ เกิดกบฏขึ้นที่เมืองเว้อันเป็นราชธานีของประเทศญวน พวกกบฏชิงได้เมืองแล้วฆ่าฟันเจ้านายเสียเป็นอันมาก พวกราชวงศ์ญวนที่รอดอยู่ได้พากันหนีพวกกบฏลงมาทางเมืองไซ่ง่อนหลายองค์ องเชียงซุนราชบุตรที่ ๔ ของเจ้าเมืองเว้มาอาศัยอยู่ที่เมืองฮาเตียน ซึ่งต่อแดนเขมรมณฑลบันทายมาศของเขมร พวกกบฏยกกองทัพมาติดตาม เจ้าเมืองฮาเตียนเห็นเหลือกำลังที่จะต่อสู้ ก็อพยพครอบครัวพาองเชียงซุนเข้ามายังกรุงธนบุรี เมื่อราวปีวอก พ.ศ. ๒๓๑๙ พระเจ้ากรุงธนบุรีโปรดฯ ให้รับไว้แล้วพระราชทานที่ให้ญวนพวกองเชียงซุน ตั้งบ้านเรือนอยู่นอกพระนครทางฝั่งตะวันออก คือตรงที่แถวถนนพาหุรัดทุกวันนี้ จึงเรียกกันว่าบ้านญวนมาจนสร้างถนนพาหุรัด อยู่มาองเชียงซุนพยายามจะหนี พระเจ้ากรุงธนบุรีจึงมีรับสั่งให้ประหารชีวิตเสีย พวกองเชียงซุนเป็นญวนพวกแรกที่อพยพเข้ามาตั้งภูมิลำเนาอยู่ในประเทศนี้ เมื่อภายหลังเสียกรุงศรีอยุธยาแก่พม่าข้าศึกแล้ว ต่อมาถึงชั้นกรุงรัตนโกสินทร์ เมื่อรัชกาลที่ ๑ มีราชนัดดาของเจ้าเมืองเว้อีกองค์หนึ่งชื่อเชียงสือ เดิมหนีพวกกบฏมาอาศัยอยู่ที่เมืองไซ่ง่อน พวกญวนที่เมืองไซ่ง่อนนับถือถึงยกย่องให้ครองเมืองแต่รักษาเมืองต่อสู้ศัตรูไม่ไหว จึงหนีมาอาศัยอยู่ที่เกาะกระบือในแดนเขมร พระยาชลบุรีคุมเรือรบไทยไปลาดตระเวนทางทะเล ไปพบองเชียงสือ ๆ จึงพาครอบครัวโดยสารเรือพระยาชลบุรีเข้ามาขอพึ่งพระบารมีอยู่ ณ กรุงเทพฯ เมื่อปีเถาะ พ.ศ. ๒๓๒๖ อันเป็นปีที่ ๒ ในรัชกาลที่ ๑ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ทรงพระกรุณารับทำนุบำรุงและพระราชทานที่ให้ญวนพวกองเชียงสือ ตั้งบ้านเรือนอยู่ริมแม่น้ำฝั่งตะวันออกที่ตำบลคอกกระบือ คือตรงที่ตั้งสถานทูตโปรตุเกศทุกวันนี้ พวกญวนที่นับถือองเชียงสือมีมาก ครั้นรู้ว่าองเชียงสือได้มาพึ่งพระบารมีเป็นหลักแหล่งอยู่ในกรุงเทพฯ ก็พากันอพยพครอบครัวติดตามเข้ามาอีกเนือง ๆ จำนวนญวนที่เข้ามาในคราวองเชียงสือเห็นจะมากด้วยกัน จึงปรากฏว่าองเชียงสือได้ควบคุมพวกญวนไปตามเสด็จในการทำสงครามกับพม่าหลายครั้ง องเชียงสืออยู่ในกรุงเทพฯ ๔ ปี

            ครั้นถึงปีมะเมีย พ.ศ. ๒๓๒๙  องเชียงสือเขียนหนังสือทูลลาวางไว้ที่บูชาแล้วลอบลงเรือหนีไปกับคนสนิท  เนื้อความในหนังสือนั้นว่า ตั้งแต่เข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภาร  

ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ทำนุบำรุงเป็นอเนกประการ ถึงให้กองทัพเข้าไปช่วยตีเมืองไซ่ง่อนพระราชทานก็ครั้งหนึ่ง แต่การยังไม่สำเร็จเพราะกรุงเทพฯ ติดทำสงครามอยู่กับพม่า จะรอต่อไปก็เกรงว่าพรรคพวกทางเมืองญวนจะรวนเรไปเสีย ครั้นจะกราบถวายบังคมลาโดยเปิดเผยก็เกรงจะมีเหตุขัดข้องจึงได้หนีไป เพื่อจะได้คิดอ่านตีเอาเมืองไซ่ง่อนคืน ถ้าขัดข้องประการใดของพระบารมีเป็นที่พึ่งทรงอุดหนุนด้วย เมื่อได้เมืองแล้วจะมาเป็นข้าขอบขันธสีมาสืบไป องเชียงสือหนีไปพักอยู่ที่เกาะกูด เมื่อข่าวที่องเชียงสือหนีทราบถึงพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกไม่ทรงถือโทษ แต่กรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาททรงขัดเคืององเชียงสือ ในครั้งนั้นจึงโปรดให้ญวนพวกองเชียงสือย้ายขึ้นไปตั้งบ้านเรือนอยู่เสียที่บางโพ ยังมีเชื้อสายสืบมาจนทุกวันนี้ มีพวกญวนที่อพยพเข้ามาอยู่เมืองไทยภายหลัง ครั้งองเชียงสือมาเมื่อในรัชกาลที่ ๓ อีก ๓ คราว คือเมื่อปีมะเมีย พ.ศ. ๒๓๗๗ พระเจ้าแผ่นดินญวนมินมางประกาศห้ามมิให้พวกญวนถือศาสนาคริสตังและจับพวกญวนที่เข้ารีตทำโทษต่าง ๆ จึงมีพวกญวนเข้ารีตอพยพครอบครัวหนีภัยเข้ามาพึ่งพระบารมีอยู่ในประเทศนี้ มาอยู่ที่เมืองจันบุรีโดยมาก ที่เข้ามาอยู่ในกรุงเทพฯ ก็เห็นจะมีบ้าง ชะรอยจะมาอยู่ที่บ้านโปรตุเกศเข้ารีตซึ่งอพยพเข้ามาจากเมืองเขมร และโปรดฯ พระราชทานที่ให้อยู่ที่สามเสนนั้น ภายหลังจึงโปรดให้ญวนเข้ารีตไปอยู่ที่ตำบลนั้นต่อมาอีก ดังจะปรากฏต่อไปนี้ข้างหน้า

           ญวนอพยพอีกคราวหนึ่งเมื่อครั้งเจ้าพระยาบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี)  ไปตีเมืองญวนเมื่อปีมะเส็ง พ.ศ. ๒๓๗๖  ได้ครัวญวนส่งเข้ามาถึงกรุงเทพฯ  เมื่อปลายปีมะเมีย พ.ศ. ๒๓๗๗  

ครัวญวนที่เข้ามาคราวนี้เป็น ๒ พวก คือเป็นพวกถือพระพุทธศาสนาพวกหนึ่ง เป็นพวกถือศาสนาคริสตังพวกหนึ่ง พวกญวนที่ถือพระพุทธศาสนานั้นโปรดฯ ให้ไปตั้งบ้านเรือนอยู่ที่เมืองกาญจนบุรี สำหรับรักษาป้อมเมืองใหม่ซึ่งทรงสร้างขึ้นที่ปากแพรก แต่พวกญวนที่ถือศาสนาคริสตังนั้นเห็นจะเป็นเพราะมีญวนเข้ารีตอยู่ที่สามเสนมาแต่ก่อนบ้างแล้ว จึงโปรดฯ ให้ตั้งบ้านเรือนอยู่ที่ตำบลสามเสนในกรุงเทพฯ ติดต่อกับบ้านพวกคริสตังเชื้อโปรตุเกศ ซึ่งอพยพเข้ามาจากเมืองเขมร และโปรดฯ ให้ขึ้นอยู่ในพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อยังดำรงพระยศเป็นสมเด็จเจ้าฟ้ากรมขุนอิศเรศรังสรรค์ ทรงฝึกหัดเป็นทหารปืนใหญ่

            ญวน ๒ พวกที่กล่าวมานี้ ถึงรัชกาลที่ ๔ พวกญวนคริสตังย้ายสังกัดไปเป็นทหารปืนใหญ่ฝ่ายพระบวรราชวัง (คือญวนพวกพระยาบันฤาสิงหนาท)  

พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงทราบว่าพวกญวนที่อยู่เมืองกาญจนบุรี โดยมากอยากจะมาอยู่ในกรุงเทพฯ เหมือนกับญวนพวกอื่น จึงพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้เข้ามาตั้งบ้านเรือนอยู่ที่ริมคลองผดุงกรุงเกษม ซึ่งได้โปรดฯ ให้ชุดใหม่นั้น แล้วให้จัดเป็นทหารปืนใหญ่ฝ่ายวังหลวงสืบมา ที่เมืองกาญจนบุรี ยังมีวัดญวนและมีชื่อตำบล เช่น เรียกว่า “ชุกยายญวน” ปรากฏอยู่จนทุกวันนี้ เชื้อสายพวกญวนที่ไม่อพยพเข้ามากรุงเทพฯ ยังคงอยู่ที่เมืองกาญจนบุรีก็เห็นจะมีบ้าง ครัวญวนที่อพยพเข้ามาครั้งหลังในรัชกาลที่ ๓ นั้น มาเมื่อปีชวด พ.ศ. ๒๓๘๓ มีเรื่องปรากฏในจดหมายเหตุว่า เวลานั้นกองทัพไทยกับเขมรกำลังรบพุ่งขับไล่กองทัพญวนที่เข้ามาตั้งอยู่ในแดนเขมร กองทัพญวนถูกล้อมอยู่หลายแห่ง เผอิญเกิดความไข้ขึ้นในค่ายญวน พวกญวนหนีความไข้ออกมาหาเขมรประมาณ ๑,๐๐๐ คนเศษ เจ้าพระยาบดินทรเดชาบอกส่งเข้ามากรุงเทพฯ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดให้ญวนพวกนี้ไปที่บางโพกับเชื้อสายญวนพวกองเชียงสือ พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวเด็จสวรรคตในปีฉลู พ.ศ. ๒๔๐๘ โปรดฯ ให้ทำพิธีกงเต๊กที่ในพระบวรราชวังอีกครั้งหนึ่ง ต่อนั้นถึงงานพระศพกรมหมื่นมเหศวรศิววิลาศก็โปรดฯ ให้มีพิธีกงเต๊กจึงพวกญวนที่มาอยู่ในประเทศสยาม มีทั้งที่ถือพระพุทธศาสนาและที่ถือศาสนาคริสตัง พวกญวนที่ถือพระพุทธศาสนา มาตั้งภูมิลำเนาอยู่แห่งใดก็นิมนต์พระญวนมา สร้างวัดเป็นที่บำเพ็ญการกุศลของพวกญวนซึ่งอยู่ ณ ที่แห่งนั้น พวกญวนที่ถือศาสนาคริสตังได้อาศัยฝรั่งบาทหลวงเป็นผู้ควบคุมแต่ครั้งยังอยู่ในเมืองเขมร เมื่อมาอยู่ในประเทศสยามนี้ พวกฝรั่งบาทหลวงก็สร้างวัดและดูแลควบคุมพวกญวนคริสตังทำนองเดียวกัน จะกล่าวในตำนานนี้แต่ด้วยเรื่องวัดญวนและพระญวนในพระพุทธศาสนา ในบรรดาศาสนาไม่เลือกว่าศาสนาใด เมื่อท่านผู้ตั้งศาสนาล่วงลับไปแล้ว นานมาผู้ที่เลื่อมใสศาสนานั้นก็เกิดถือลัทธิต่างกัน เช่น ศาสนาคริสตังก็เกิดถือต่างกันเป็นลัทธิคริสต์ ลัทธิโรมันคาโธลิค และลัทธิโปรเตสตันต์ ศาสนาอิสลามก็เกิดถือต่างกันเป็นลัทธิสุหนี่และลัทธิเซียะ (คือแขกเจ้าเซ็น) พระพุทธศาสนาก็เกิดถือต่างกันเป็น ๒ ลัทธิมาตั้งแต่ชาวอินเดียยังถือพระพุทธศาสนากันอยู่แพร่หลาย ลัทธิเก่าซึ่งเกิดขึ้นในมคธราฐทางใต้ได้นามว่า ลัทธิ “หินยาน” ลัทธิใหม่ซึ่งเกิดขึ้นในคันธารราฐทางฝ่ายเหนือ ได้นามว่า ลัทธิ “มหายาน” เมื่อพระพุทธศาสนาแพร่หลายไปยังนานาประเทศ พวกชาวอินเดียที่ถือลัทธิหินยาน เชิญพระพุทธศาสนามาทางทะเลเที่ยวสั่งสอนในลังกาทวีป และประเทศพม่ามอญไทยเขมร จึงถือพระพุทธศาสนาตามลัทธิหินยานมาจนทุกวันนี้ พวกชาวอินเดียที่ถือลัทธิมหายานเชิญพระพุทธศาสนาไปทางบกเที่ยวสั่งสอนในประเทศธิเบต ประเทศอาเซียตอนตอนกลางตลอดไปจนประเทศจีนและญี่ปุ่น ประเทศญวนรับลัทธิพระพุทธศาสนาอย่างมหายานมาจากจีน พวกญวนจึงบวชเรียนและประพฤติกิจในศาสนาผิดกับไทย เพราะฉะนั้นเมื่อพวกญวนมาสร้างวัด และมีพระญวนขึ้นในประเทศนี้ ชั้นเดิมก็มีผู้นับถือและอุดหนุนแต่พวกญวน แต่ในสมัยนั้นยังไม่มีวัดจีนในประเทศนี้ พวกจีนก็มักไปทำบุญที่วัดญวนด้วย เพราะลัทธิศาสนาของญวนกับจีนเหมือนกันและทำพิธีต่าง ๆ เช่น กงเต๊ก เป็นต้น อย่างเดียวกัน ส่วนไทยแม้ไม่สู้นับถือก็ไม่เกลียดชังพวกญวน เพราะเห็นว่านับถือพระพุทธเจ้าองค์เดียวกัน วัดญวนที่มาสร้างขึ้นในประเทศนี้ ก็อนุโลมตามเรื่องที่พวกญวนเข้ามาอยู่ในประเทศสยาม คือ ญวนพวกที่มากับองค์เชียงซุนครั้งกรุงธนบุรีมาสร้างวัดขึ้นที่บ้านหม้อ ๒ วัด คือ

๑. วัดกามโล่ตื่อ (วัดทิพยวารีวิหาร)* ยังอยู่ที่หลังตลาดบ้านหม้อ ในพระนคร แต่เดี๋ยวนี้เป็นวัดพระจีนปกครอง

๒. วัดโห่ยคั้นตื่อ (วัดมงคลสมาคม) เดิมอยู่ที่บ้านญวนข้างหลังวังบูรพาภิรมย์ ครั้นจะตัดถนนพาหุรัดวัดนั้นกีดแนวถนน พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงโปรดฯ ให้กระทำผาติกรรมอย่างวัดไทย คือพระราชทานที่ดินและให้สร้างวัดขึ้นใหม่แลก วัดเดิมย้ายไปตั้งที่ริมถนนแปลงนามในอำเภอสัมพันธวงศ์

พระญวนในประเทศสยามชั้นแรกก็คงบวชเรียนมาจากเมืองญวน แต่เห็นจะมีเช่นนั้นเพียงในรัชกาลที่ ๑ ต่อนั้นมาเมืองญวนกับไทยเกิดเป็นอริกันมาตลอดรัชกาลที่ ๒ และรัชกาลที่ ๓ ชาวประเทศทั้งสองฝ่ายมิได้ไปมาหากันอย่างปกติ พระญวนในประเทศนี้ก็มีแต่บวชเรียนในประเทศนี้เอง แต่ยังมีที่เป็นญวนนอกลงมาเพียงพระครูคณานัมสมาณาจารย์ (ฮึง) และพระครูคณานัมสมาณาจารย์ (กร่าม) ท่านทั้งสองนี้เมื่อยังเป็นเด็ก ตามบิดามารดาเข้ามาในรัชกาลที่ ๓ แล้วมาบวชในกรุงเทพฯ นี้ ชั้นต่อมาเป็นญวนเกิดและบวชในประเทศนี้ทั้งนั้น ถึงรัชกาลที่ ๔ และรัชกาลที่ ๕ เมืองญวนกับไทยมิได้เป็นอริกัน ปรากฏว่ามีพระญวนในประเทศนี้ได้พยายามไปสืบศาสนาในเมืองญวน แต่การที่ไปไม่สะดวกด้วยเมืองญวนตกอยู่ในอำนาจฝรั่งเศส พระญวนในประเทศสยามกับพระญวนในประเทศญวนก็มิได้ติดต่อกัน ต่างฝ่ายต่างก็ถือคติตามประเทศที่ตนอยู่ พระญวนที่มาอยู่ในประเทศสยามมาแก้ไขคติหันมาตามพระสงฆ์ไทยหลายอย่าง เป็นต้นว่ามาถือสิกขาบทวิกาลโภชน์ไม่กินข้าวเย็น ครองผ้าสีเหลืองแต่สีเดียว ไม่ใช้ต่างสี ไม่ใส่เกือกและถุงตีนเหมือนเช่นพระในเมืองจีน เมืองญวน แต่ส่วนข้อวัตรปฏิบัติอย่างอื่นตลอดจนกิจพิธี คงทำตามแบบในเมืองญวนมาจนในรัชกาลที่ ๕ เมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดฯ ให้มีสมณฐานันดรศักดิ์ และ โปรดฯ ให้นิมนต์มาทำพิธีกงเต๊กเป็นการหลวงบ่อย ๆ จึงแก้ไขเพิ่มเติมกิจพิธีคล้ายกับพระไทยยิ่งขึ้นอีกหลายอย่าง มูลเหตุที่พระญวนจะได้รับความยกย่องในราชการนั้น ได้ยินเล่ากันมาว่าเมื่อพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงผนวชอยู่ในรัชกาลที่ ๓ ใคร่จะทรงทราบลัทธิของพระญวน จึงทรงสอบถามองฮึง (ซึ่งได้เป็นพระครูคณานัมสมณาจารย์องค์แรกเมื่อรัชกาลที่ ๕) จึงได้ทรงคุ้นเคยชอบพระราชอัธยาศัยมาแต่ครั้งนั้น ครั้นเสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติแล้ว องฮึงได้เป็นอธิการวัดญวนที่ตลาดน้อย พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงทรงพระกรุณาโปรดฯ ช่วยปฏิสังขรณ์ (ต่อมาถึงรัชกาลที่ ๕ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงช่วยอีก จึงเป็นเหตุให้พระราชทานนามวัดนั้นว่าวัดอุภัยราชบำรุง) พระญวนได้มีโอกาสเข้าเฝ้าแหนได้ตั้งแต่รัชกาลที่ ๔ เป็นต้นมา ข้อนี้ถึงเห็นได้ในงานเฉลิมพระชันษา พระญวนยังเข้าไปถวายธูปเทียนและกิมฮวยอั้งติ๋วอยู่ทุกปีจนบัดนี้ ส่วนพิธีกงเต๊กที่ได้ทำเป็นงานหลวงนั้น ปรากฏว่าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว โปรดฯ ให้ทำเป็นครั้งแรกเมื่องานพระศพสมเด็จพระเทพศิรินทราบรมราชินี เมื่อปีระกา พ.ศ. ๒๔๐๔ ต่อนั้นมา เมื่อได้เข้ามาในระเบียบงานพระศพซึ่งเป็นการใหญ่ ถึงรัชกาลที่ ๕ ทำพิธีกงเต๊กในงานพระบรมศพ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเป็นครั้งแรก ต่อนั้นก็มาทำในงานพระศพสมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน เมื่อปีมะโรง พ.ศ. ๒๔๒๓ และงานพระศพอื่นซึ่งเป็นงานใหญ่เป็นประเพณีสืบมา

  • ชื่อวัดญวนที่เรียกอย่างไทย แต่งความตามชื่อภาษาญวน พระราชทานในรัชกาลที่ ๕ แทบทั้งนั้น
คลังความรู้มหายาน www.Mahayan.org, www.Mahayan.net

--ข้อความนี้ไม่ได้ลงชื่อ ซึ่งออกความเห็นโดยผู้ใช้ มหายานในประเทศไทย (พูดคุยหน้าที่เขียน) 19:25, 10 มกราคม 2557 (ICT)