คาชิวะ เรย์โซล

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก คาชิว่า เรย์โซล)
คะชิวะ เรย์โซล
柏レイソル
Reysol's Logo
ชื่อเต็มสโมสรฟุตบอลคะชิวะ เรย์โซล
ฉายา"ราชาพระอาทิตย์"
"เจ้าชายสุริยะ"
ก่อตั้งพ.ศ. 2483
สนามสนามฟุตบอลฮิตาชิประจำจังหวัดคะชิวะ
คะชิวะ, จังหวัดชิบะ, ญี่ปุ่น
ความจุ15,900
ประธานญี่ปุ่น ชิเกยูกิ โอโนเดระ
ผู้จัดการบราซิล เนลซินโญ บาปิสตา
ลีกเจลีก ดิวิชัน 1
2022เจลีก ดิวิชัน 1,อันดับที่ 7
เว็บไซต์เว็บไซต์สโมสร
สีชุดทีมเยือน

สโมสรฟุตบอลคะชิวะ เรย์โซล ก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2483 เดิมชื่อสโมสรฟุตบอลฮิตาชิ ซึ่งเป็นหนึ่งในสโมสรที่ร่วมก่อตั้งซอกเกอร์ ลีก สโมสรตั้งอยู่ในเมืองคะชิวะ, จังหวัดชิบะ ซึ่งอยู่ห่างออกไปทางตะวันออกเฉียงเหนือของกรุงโตเกียว โดยคำว่า "เรย์โซล" มาจาก "เรย์" ใน ภาษาสเปน แปลว่า ราชา และ "โซล" ใน ภาษาโปรตุเกส แปลว่า ดวงอาทิตย์ เมื่อนำมารวมกันจึงหมายความว่า "ราชาดวงอาทิตย์หรือเจ้าชายสุริยะ" เพื่อต้องการสื่อถึงบริษัทแม่อย่างฮิตาชิ เนื่องจากคำว่า "ฮิ" ใน ภาษาญี่ปุ่น หมายถึง ดวงอาทิตย์ เช่นกัน

ประวัติ[แก้]

สโมสรก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2483 (1940) หรือเมื่อ 72 ปีที่แล้ว เดิมชื่อสโมสรฟุตบอลฮิตาชิ ซึ่งเป็นหนึ่งในสโมสรที่ร่วมก่อตั้ง Japan Soccer League สโมสรตั้งอยู่ในเมืองคะชิวะ, จังหวัดชิบะ ซึ่งอยู่ห่างออกไปทางตะวันออกเฉียงเหนือของกรุงโตเกียว ประมาณ 1 ชม.

ยุคแห่งความสำเร็จของสโมสรอยู่ในช่วงกลางทศวรรษที่ 70 (ช่วง พ.ศ. 2513 - พ.ศ. 2522) โดยสามารถคว้าแชมป์ เอมเพเรอร์ คัพ(เอฟเอ ของญี่ปุ่น)ได้ 2 สมัย รวมทั้งการปั้นนักเตะทีมชาติญี่ปุ่นอีกหลายคน

และเนื่องด้วยเป็นทีมที่มีอายุเก่าแก่ จึงต้องผ่านการขึ้นๆลงๆในลีกของญี่ปุ่นบ่อยครั้ง ปี 1986 ต้องตกลงไปเล่นใน เจลีก2 จากนั้นก็กลับขึ้นมาสู่ลีกสูงสุดได้อีกครั้งในปี 1989 แต่ก็ตกชั้นไปอีกในปีถัดมา (1990) แล้วกลับขึ้นมาลีกสูงสุดทันทีในปีถัดไป(1991) หลังจากนั้นก็ขึ้นๆลงๆเรื่อยมา

ในปี 2010 พวกเขาชนะเลิศ เจลีก2มาครอง และได้เลือนชั้นขึ้นสู่เจลีก1 ตามมาด้วยการทำสิ่งที่ไม่มีใครคาดถึง นั่นคือการชนะเลิศเจลีก ซึ่งเป็นลีกสูงสุดมาครองได้ในปีถัดมาคือปี 2011 ทำให้ Kashiwa Reysol กลายเป็นทีมแรกในประวัติศาสตร์ที่คว้าแชมป์ 2 ดิวิชั่นได้ติดต่อกัน และได้สิทธิ์ไปแข่งขันรายการ ชิงแชมป์สโมสรโลก 2011 ด้วย (จบด้วยการได้อันดับ 4) ซึ่งนัดแรกพวกเขาสามารถเอาชนะ ออคแลนด์ซิตี จากนิวซีแลนด์ได้ ก่อนที่จะมาปราชัยให้กับสโมสรฟุตบอลซานโตส จากบราซิล ไป 3-1

สนามเหย้า[แก้]

สนามเหย้า ของสโมสร ชื่อว่า สนามฟุตบอลฮิตาชิประจำจังหวัดคะชิวะตั้งอยู่ในจังหวัดชิบะ ความจุ 15,900 ที่นั่ง สร้างเสร็จปี พ.ศ. 2528 (1985)

เกียรติประวัติ[แก้]

ฮิตาชิ ซอกเกอร์ คลับ

ชนะเลิศ (1): 1972
ชนะเลิศ (1): 1990-91
ชนะเลิศ (2): 1972, 1975
ชนะเลิศ (1): 1976
  • All Japan Works Football Championship
ชนะเลิศ (2): 1958, 1960
  • All Japan Inter-City Football Championship
ชนะเลิศ (1): 1963

คะชิวะ เรย์โซล

ชนะเลิศ (1): 2011
ชนะเลิศ(2): 2010, 2019
ชนะเลิศ (1): 1999
ชนะเลิศ (1): 2012

รายชื่อนักเตะ[แก้]

หมายเหตุ: ธงชาติที่ปรากฏบ่งบอกให้ทราบว่าผู้เล่นคนนั้นสามารถเล่นให้กับชาติใดตามกฎของฟีฟ่าตามความเหมาะสม เพราะผู้เล่นบางคนอาจถือสองสัญชาติ

เลข ตำแหน่ง สัญชาติ ผู้เล่น
1 GK ญี่ปุ่น Haruki Saruta
2 DF ญี่ปุ่น Hiromu Mitsumaru
3 DF บราซิล Diego
4 DF ญี่ปุ่น Taiyo Koga
5 MF ญี่ปุ่น Tomoki Takamine
6 MF ญี่ปุ่น Keiya Shiihashi
8 MF ญี่ปุ่น Keita Nakamura
9 FW ญี่ปุ่น Yuki Muto
10 MF บราซิล Matheus Sávio
11 MF ญี่ปุ่น Kota Yamada
14 MF ญี่ปุ่น Tomoya Koyamatsu
16 DF ญี่ปุ่น Eiichi Katayama
17 FW เนเธอร์แลนด์ Jay-Roy Grot
19 FW ญี่ปุ่น Mao Hosoya
20 DF ญี่ปุ่น Hayato Tanaka
21 GK ญี่ปุ่น Masato Sasaki
23 DF ญี่ปุ่น Wataru Iwashita
เลข ตำแหน่ง สัญชาติ ผู้เล่น
24 DF ญี่ปุ่น Naoki Kawaguchi
27 MF ญี่ปุ่น Masatoshi Mihara
28 MF ญี่ปุ่น Sachiro Toshima
30 MF ญี่ปุ่น Takuto Kato
31 GK ญี่ปุ่น Tatsuya Morita
34 MF ญี่ปุ่น Takumi Tsuchiya
35 FW ญี่ปุ่น Hidetaka Maie
38 FW ญี่ปุ่น Yugo Masukake
40 MF ญี่ปุ่น Riku Ochiai
41 MF ญี่ปุ่น Keiya Sento
43 MF ญี่ปุ่น Mohammad Farzan Sana
45 FW ญี่ปุ่น Ota Yamamoto
46 GK ญี่ปุ่น Kenta Matsumoto
47 FW ญี่ปุ่น William Owie
48 MF ญี่ปุ่น Kazuki Kumasawa
49 FW บราซิล Douglas
50 DF ญี่ปุ่น Yugo Tatsuta

อ้างอิง[แก้]


แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]