คาซูโตะ อิโอกะ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางจาก คะซุโตะ อิโอะกะ)
คาซูโตะ อิโอกะ
ชื่อจริงคาซูโตะ อิโอกะ
ฉายาThe Samurai
รุ่นสตอร์วเวท
ไลท์ฟลายเวท
ฟลายเวท
ซูเปอร์ฟลายเวท
ส่วนสูง165.2 เซนติเมตร
เกิด24 มีนาคม พ.ศ. 2532
ซาไก จังหวัดโอซากะ
ชกทั้งหมด28
ชนะ26
ชนะน็อก15
แพ้2
เสมอ0

คาซูโตะ อิโอกะ (ญี่ปุ่น: 井岡 一翔โรมาจิIoka Kazuto) นักมวยสากลชาวญี่ปุ่น เป็นนักมวยสากลชายของญี่ปุ่นคนแรกที่ครองแชมป์โลกได้ 4 รุ่น จบการศึกษาจากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โตเกียว

ประวัติ[แก้]

คาซูโตะ อิโอกะ เป็นบุตรชายของคัตสึโนริ อิโอกะ ผู้เป็นพี่ชายของฮิโรกิ อิโอกะ อดีตแชมป์โลก WBC ในรุ่นสตอร์วเวท ของสภามวยโลก และของสมาคมมวยโลก (WBA) รุ่นจูเนียร์ฟลายเวท

เริ่มชกมวยอาชีพในเดือนเมษายน พ.ศ. 2552 ด้วยการเอาชนะ ทองไทเล็ก ส.ธนะภิญโญ นักมวยชาวไทยไปได้ จากนั้นทำการชกเคลื่อนไหวอีกทั้งหมด 5 ครั้ง เป็นการชนะทั้งหมด ไม่มีแพ้หรือเสมอ ซึ่งก่อนหน้านั้นคาซูโตะได้เคยชกมวยสากลสมัครเล่นมาก่อน[1]อย่างโชกโชน โดยมีสถิติการชกถึง 100 ครั้ง ชนะ 95 แพ้ 5 ครั้ง

จากนั้น คาซูโตะ อิโอกะ ได้มีโอกาสชิงแชมป์โลก WBC ในรุ่นมินิมัมเวท ของ กับ โอเล่ห์ดง ศักดิ์เสมอชัย แชมป์โลกชาวไทย ในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554 ที่โคเบะ ซึ่งถ้าหากทำได้ คาซูโตะ จะกลายเป็นนักมวยสากลชาวญี่ปุ่นที่ทำสถิติการชกน้อยที่สุดแล้วได้เป็นแชมป์โลก โดยทำลายสถิติของโจอิจิโร ทัตสึโยชิ[2] ซึ่งคาซูโตะเป็นฝ่ายเอาชนะทีเคโอ โอเล่ห์ดงที่ลดน้ำหนักมาก ไปได้ในยกที่ 5[3] (ปัจจุบันสถิตินี้ถูกทำลายลงโดย นาโอยะ อิโนอูเอะ ในวันที่ 6 เมษายน ค.ศ. 2014 เมื่อเป็นฝ่ายชนะทีเคโอยก 6 อาเดรียน เอร์นันเดซ ได้แชมป์โลก WBC ในรุ่นไลท์ฟลายเวท ด้วยการชกเพียง 6 ครั้ง[4])

หลังจากที่ได้เดิมพันตำแหน่งแชมป์โลกกับแชมป์โลก ของ WBA ในรุ่นเดียวกันกับอากิระ ยาเองาชิ นักมวยชาวญี่ปุ่นด้วยกัน และเลื่อนรุ่นไปได้แชมป์โลก WBA ในรุ่นไลท์ฟลายเวท ของ และป้องกันตำแหน่งได้ 3 ครั้งแล้ว อิโอกะตัดสินใจที่จะเลื่อนรุ่นขึ้นไปชกในรุ่นฟลายเวท และเซ็นสัญญาชิงแชมป์โลกกับ อำนาจ รื่นเริง แชมป์โลกในรุ่นนี้ของสหพันธ์มวยนานาชาติ (IBF) ชาวไทย ในวันที่ 7 พฤษภาคม ค.ศ. 2014 ซึ่งอิโอกะเมื่อครั้งยังชกมวยสากลสมัครเล่นเคยพ่ายแพ้ต่ออำนาจมาแล้ว 7-1 หมัด ในการคัดเลือกตัวไปสู่การแข่งขันกีฬาโอลิมปิก 2008 ที่กรุงปักกิ่ง ซึ่งถ้าหากอิโอกะสามารถเอาชนะได้ ก็จะสร้างประวัติศาสตร์เป็นแชมป์โลก 3 รุ่นเป็นคนแรกของญี่ปุ่นทันที หลังจากที่ฮิโรกิ อิโอกะ ผู้เป็นอา ทำไม่สำเร็จมาแล้วในอดีต เมื่อขึ้นชิงแชมป์โลกในรุ่นเดียวกันนี้ของ WBA แต่เป็นฝ่ายแพ้ทีเคโอยก 10 ต่อ แสน ส.เพลินจิต เมื่อวันที่ 17 ตุลาคม พ.ศ. 2538[5]

ซึ่งในการชกจริงอิโอกะไม่สามารถอะไรอำนาจได้เป็นชิ้นเป็นอันตลอดการชกทั้ง 12 ยก ซ้ำเมื่อระหว่างพักยกให้น้ำ อำนาจยังเป็นฝ่ายยืนให้น้ำโดยไม่นั่งอีกต่างหาก ผลคะแนนเมื่อครบ 12 ยกออกมาปรากฏว่า อิโอกะเป็นฝ่ายแพ้คะแนนไม่เป็นเอกฉันท์ ไปด้วยคะแนน 113-114, 119-108 และ 115-112 [6]

ในวันที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2558 อิโอกะขึ้นชิงแชมป์โลกสมาคมมวยโลก (WBA) ในรุ่นฟลายเวท ที่โรงยิมเนเซียมจังหวัดโอซากะ ปรากฏว่าอิโอกะเป็นฝ่ายเอาชนะคะแนน ฆวน การ์โลส เรเบโก แชมป์โลกชาวอาร์เจนตินา ไปได้อย่างไม่เป็นเอกฉันท์ด้วยคะแนน 114-114,115-113 และ 116-113 ทำให้ได้เป็นแชมป์โลกในรุ่นที่ 3 [7]

แต่ในต้นเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2560 หลังจากป้องกันตำแหน่งไว้ได้ทั้งหมด 5 ครั้ง อิโอกะก็ขอสละตำแหน่ง เนื่องจากไม่พร้อมชกป้องกันตำแหน่งในไฟท์บังคับกับ อาร์เต็ม ดาลาเคียน นักมวยชาวยูเครนรองแชมป์โลก WBA อันดับ 1 และแชมป์ WBA Continental รุ่นฟลายเวท สถิติไร้พ่ายไร้เสมอ ที่กำหนดชกในวันสิ้นปี 2560 หลังจากได้แต่งงานกับนานะ ทามิมูระ นักร้องเจป็อปสาวชื่อดังเมื่อเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา ซึ่งได้ก่อให้เกิดเป็นความขัดแย้งกับคัตสึโนริ อิโอกะ ผู้เป็นพ่อและหัวหน้าค่ายอิโอกะยิมซึ่งเป็นต้นสังกัดด้วย [8] แต่เวลาต่อมาอิโอกะกับทานิมูระได้หย่าร้างกันภายหลัง และอิโอกะได้เปลี่ยนไปสังกัดค่ายแอมบิชัน (ปัจจุบันเปลี่ยนชื่อเป็นชิเซ) ค่ายมวยที่เพิ่งก่อตั้งใหม่ในโตเกียว แทนที่ค่ายของพ่อตัวเองที่เคยสังกัดอยู่ในอดีต

ต่อมาอิโอกะได้ชิงแชมป์โลกที่ว่างของ WBO รุ่นจูเนียร์แบนตัมเวท กับ แอสตัน ปาลิกเต รองแชมป์โลก WBO อันดับ 1 เมื่อวันที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2562 ที่เมืองชิบะ หลังจากที่ดอนนี เนียเตสสละแชมป์โลก WBO รุ่นนี้ ซึ่งทางอิโอกะเคยชิงแชมป์โลกในรุ่นนี้และสถาบันนี้กับเนียเตสในวันสิ้นปี 2561 แต่เป็นฝ่ายอิโอกะแพ้คะแนนไม่เอกฉันท์คือ 116-112,118-110 และ 112-116

ผลการชกอิโอกะชนะทีเคโอปาลิกเตในยก 10 ได้แชมป์โลกที่ว่างมาครอง ส่งผลให้อิโอกะเป็นนักมวยสากลที่สามารถครองแชมป์โลกได้ 4 รุ่น เป็นคนแรกของประเทศ และนับเป็นนักมวยสากลชายญี่ปุ่นที่ครองแชมป์โลกมากรุ่นที่สุดในปัจจุบัน[9]

เกียรติประวัติ[แก้]

  • แชมป์โลก WBC รุ่นมินิมัมเวท
  • แชมป์โลก WBA รุ่นไลท์ฟลายเวท
    • ชิง (ที่ว่าง​), 31 ธ.ค. 2555 ชนะทีเคโอยก 6 โฮเซ อัลเฟรโด โรดริเกซ ( เม็กซิโก) ศูนย์กีฬาในร่มจังหวัดโอซากะ, โอซากะ, ประเทศญี่ปุ่น
    • ป้องกันแชมป์ครั้งที่ 1, 8 พ.ค. 2556 ชนะน็อคยก 9 วิษณุ ก่อเกียรติยิม ( ไทย) ศูนย์กีฬาในร่มจังหวัดโอซากะ, โอซากะ, ประเทศญี่ปุ่น
    • ป้องกันแชมป์ครั้งที่ 2, 11 ก.ย. 2556 ชนะน็อคยก 7 ขวัญไทย ศิษย์หมอเส็ง ( ไทย) ศูนย์กีฬาในร่มจังหวัดโอซากะ, โอซากะ, ประเทศญี่ปุ่น
    • ป้องกันแชมป์ครั้งที่ 3, 31 ธ.ค. 2556 ชนะคะแนน เฟลิกซ์ อัลบาราโด ( นิการากัว) ศูนย์กีฬาในร่มจังหวัดโอซากะ, โอซากะ, ประเทศญี่ปุ่น
  • แชมป์โลก WBA รุ่นฟลายเวท
    • ชิง, 22 เม.ย. 2558 ชนะคะแนน ฆวน การ์โลส เรเบโก ( อาร์เจนตินา) ศูนย์กีฬาในร่มจังหวัดโอซากะ, โอซากะ, ประเทศญี่ปุ่น
    • ป้องกันแชมป์ครั้งที่ 1, 27 ก.ย. 2558 ชนะคะแนน โรเบร์โต โดมิงโก โซซา ( อาร์เจนตินา) ศูนย์กีฬาในร่มจังหวัดโอซากะ, โอซากะ, ประเทศญี่ปุ่น
    • ป้องกันแชมป์ครั้งที่ 2, 31 ธ.ค. 2558 ชนะทีเคโอยก 11 ฆวน การ์โลส เรเบโก ( อาร์เจนตินา) ศูนย์กีฬาในร่มจังหวัดโอซากะ, โอซากะ, ประเทศญี่ปุ่น
    • ป้องกันแชมป์ครั้งที่ 3, 20 ก.ค. 2559 ชนะน็อกยก 11 เกบิน ลารา ( นิการากัว) ศูนย์กีฬาในร่มจังหวัดโอซากะ, โอซากะ, ประเทศญี่ปุ่น
      • 14 กันยายน 2559 ฆวน ฟรันซิสโก เอสตราดา​ สละแชมป์โลก WBA ซูเปอร์​แชมป์​รุ่นฟลายเวท ทำให้อิโอกะเป็นแชมป์โลก WBA รุ่นฟลายเวทแต่เพียงผู้เดียว
    • ป้องกันแชมป์ครั้งที่ 4, 31 ธ.ค. 2559 ชนะทีเคโอยก 7 แสตมป์ เกียรตินิวัฒน์ ( ไทย) ชิมัตซูอารีนา, เกียวโต, ประเทศญี่ปุ่น​
    • ป้องกันแชมป์ครั้งที่ 5, 23 เม.ย. 2560 ชนะคะแนน นกน้อย สิทธิประเสริฐ ( ไทย) ศูนย์กีฬาในร่มจังหวัดโอซากะ, โอซากะ, ประเทศญี่ปุ่น
    • 9 พฤศจิกายน​ 2560 สละแชมป์​
  • แชมป์ WBC Silver รุ่นซูเปอร์ฟลายเวท
    • ชิง , 8 กันยายน 2561 ชนะคะแนน แม็กวิลเลียม อาร์โรโย ( ปวยร์โตรีโก) ที่ ​เดอะฟอรัม, อิงเกิลวูด, ​ สหรัฐ
  • แชมป์โลก WBO รุ่นจูเนียร์แบนตัมเวท
    • ชิง (ที่ว่าง) , 19 มิ.ย. 2562 ชนะทีเคโอยก 10 แอสตัน ปาลิกเต ( ฟิลิปปินส์) ที่ มากูฮาริ เมซเซ, ชิบะ, ประเทศญี่ปุ่น
    • ป้องกันแชมป์ครั้งที่ 1 , 31 ธ.ค. 2562 ชนะคะแนน เฆย์บิเอร์ ซินตรอน ( ปวยร์โตรีโก) ที่ ศูนย์กีฬาในร่มอเนกประสงค์เขตโอตะ, โตเกียว, ประเทศญี่ปุ่น
    • ป้องกันแชมป์ครั้งที่ 2 , 31 ธ.ค. 2563 ชนะทีเคโอยก 8​ โคเซ ทานากะ ( ญี่ปุ่น) ที่ ศูนย์กีฬาในร่มอเนกประสงค์เขตโอตะ, โตเกียว, ประเทศญี่ปุ่น
    • ป้องกันครั้งที่ 3 , 1 ก.ย. 2564 ชนะคะแนน​ ฟรันซิสโก โรดริเกซ ยูนิออร์ ( เม็กซิโก) ที่ ศูนย์กีฬาในร่มอเนกประสงค์เขตโอตะ, โตเกียว, ประเทศญี่ปุ่น
    • ป้องกันครั้งที่ 4 , 31 ธ.ค. 2564 ชนะคะแนน​ เรียวจิ ฟูกูนางะ ( ญี่ปุ่น) ที่ ศูนย์กีฬาในร่มอเนกประสงค์เขตโอตะ, โตเกียว, ประเทศญี่ปุ่น
    • ป้องกันครั้งที่ 5 , 13 ก.ค. 2565 ชนะคะแนน​ ดอนนี เนียเตส ( ฟิลิปปินส์) ที่ ศูนย์กีฬาในร่มอเนกประสงค์เขตโอตะ, โตเกียว, ประเทศญี่ปุ่น
    • ป้องกันครั้งที่ 6 และ ชิงแชมป์ในรุ่นเดียวกันของ สมาคมมวยโลก (WBA), 31 ธ.ค. 2565 เสมอกับ โจซัว ฟรังโก้ ( สหรัฐ) ที่ศูนย์กีฬาในร่มอเนกประสงค์เขตโอตะ, โตเกียว, ประเทศญี่ปุ่น
    • 15 เมษายน 2566 สละแชมป์ เนื่องจากไม่ต้องการป้องกันแชมป์ไฟต์บังคับกับ จุนโตะ นากาตานิ และ ต้องการรีแมตช์กับ โจซัว ฟรังโก้
  • ชิงแชมป์ต่อไปนี้แต่ไม่ประสบความสำเร็จ

อ้างอิง[แก้]

  1. "Kazuto Ioka". boxrec.
  2. ""เจ้ากร" เตือน "โอเล่ห์ดง" ดาวรุ่งซามูไรสุดอันตราย". สยามสปอร์ต.
  3. โอเล่ห์ดงแพ้น็อก!เสียแชมป์โลกเพราะรีดน้ำหนัก จากแนวหน้า
  4. "Naoya Inoue Crushes Adrian Hernandez". boxing.com. 6 April 2014. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-04-12. สืบค้นเมื่อ 11 April 2014.
  5. "'อิโอกะ'ซ่าประกาศล้างแค้นอำนาจ". เดลินิวส์. 30 March 2014. สืบค้นเมื่อ 2 April 2014.
  6. หน้า 17 ต่อ 19 กีฬา, 'อำนาจ'เฮชนะ'อิโอกะ' . เดลินิวส์ฉบับที่ 23,583: วันพฤหัสบดีที่ 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 ขึ้น 10 ค่ำ เดือน 6 ปีมะเมีย
  7. "Ioka beats Reveco to win WBA flyweight title". riotersports. 22 April 2015. สืบค้นเมื่อ 23 April 2015.[ลิงก์เสีย]
  8. หน้า 19 ต่อจากหน้า 17 กีฬา, อิโอกะไม่ชก กิ๊กรอรับโชค ชิงแชมป์ว่าง. เดลินิวส์ฉบับที่ 24,866: วันเสาร์ที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560 แรม 8 ค่ำ เดือน 12 ปีระกา
  9. คาซึโตะ อิโอกะ คว้าแชมป์โลก 4 รุ่น กลายเป็นตำนานมวยโลก ซามูไร ข่าวสด