นาโอยะ อิโนอูเอะ
ลิงก์ข้ามภาษาในบทความนี้ มีไว้ให้ผู้อ่านและผู้ร่วมแก้ไขบทความศึกษาเพิ่มเติมโดยสะดวก เนื่องจากวิกิพีเดียภาษาไทยยังไม่มีบทความดังกล่าว กระนั้น ควรรีบสร้างเป็นบทความโดยเร็วที่สุด |
นาโอยะ อิโนอูเอะ | |
---|---|
เกิด | นาโอยะ อิโนอูเอะ 井上 尚弥 Naoya Inoue 10 เมษายน พ.ศ. 2536 (26 ปี) ซามะ ประเทศญี่ปุ่น |
สัญชาติ | ญี่ปุ่น |
ชื่ออื่น | สัตว์ประหลาด (The Monster)[1] ญี่ปุ่น: 怪物 โรมาจิ: Kaibutsu (ไคบูสึ) |
สถิติ | |
น้ำหนัก | ไลท์ฟลายเวท ฟลายเวท ซูเปอร์ฟลายเวท แบนตัมเวท |
ส่วนสูง | 165 เซนติเมตร (5 ฟุต 5 นิ้ว) |
ช่วงชก | 171 เซนติเมตร |
รูปแบบการชก | ออร์ทอดอกซ์ |
สถิติขึ้นชก | |
ชกทั้งหมด | 23 |
ชนะ | 23 |
ชนะน็อก | 20 |
แพ้ | 0 |
เสมอ | 0 |
นาโอยะ อิโนอูเอะ (ญี่ปุ่น: 井上 尚弥; โรมาจิ: Inoue Naoya) นักมวยสากลอาชีพชาวญี่ปุ่น ปัจจุบันเป็นแชมป์โลกของสหพันธ์มวยนานาชาติ (IBF), เดอะริง,แชมป์โลกสมาคมมวยโลก WBA (ซูเปอร์แชมป์) และแชมป์โลก WBC ในรุ่นแบนตัมเวท (118 ปอนด์) เป็นนักมวยสากลชาวญี่ปุ่นที่สามารถครองแชมป์โลก 3 รุ่น ได้เป็นคนที่ 5 ของประเทศญี่ปุ่น
ประวัติ
[แก้]เกิดเมื่อวันที่ 10 เมษายน พ.ศ. 2536 ที่เมืองซามะ จังหวัดคานางาวะ มีน้องชาย 1 คน คือ ทากูมะ อิโนอูเอะ เป็นอดีตแชมป์เฉพาะกาล WBC รุ่นแบนตัมเวท และลูกพี่ลูกน้อง 1 คน โคกิ อิโนอูเอะ
เริ่มต้นการชกมวยจากมวยสากลสมัครเล่น ผ่านการชกมวยสากลสมัครเล่นมาอย่างโชกโชน โดยได้เหรียญทองจากรายการเพรสซิเดนท์คัพ เมื่อปี พ.ศ. 2554 ที่กรุงจาการ์ตา ประเทศอินโดนีเซีย[2][3][4] และตกรอบ 3 ในรายการมวยสากลสมัครเล่นชิงแชมป์โลก 2554 ที่บากู ประเทศอาเซอร์ไบจาน[5] โดยรวมสถิติการชกมวยสากลสมัครเล่นทั้งหมด ชนะ 75 ครั้ง แพ้ 6 ครั้ง (ชนะน็อกหรืออาร์เอสซี 48 ครั้ง[5] )
เมื่อหันมาชกมวยสากลอาชีพ ก็ได้เข้าสังกัดโอฮาชิยิมที่โยโกฮามะ ของฮิเดยูกิ โอฮาชิ อดีตแชมป์โลก 2 สถาบัน คือ สภามวยโลก (WBC) และสมาคมมวยโลก (WBA) ในรุ่นสตรอว์เวท (105 ปอนด์) ซึ่งนาโอยะสร้างปรากฏการณ์เป็นนักมวยชาวญี่ปุ่นที่ชกน้อยครั้งที่สุดแล้วได้ตำแหน่งแชมป์โลก คือ เพียง 6 ครั้งเท่านั้น เมื่อเป็นฝ่ายเอาชนะทีเคโอ ยกที่ 6 อาเดรียน เอร์นันเดซ นักมวยชาวเม็กซิกันได้เมื่อวันที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2557 ที่ศูนย์กีฬาในร่มอเนกประสงค์เขตโอตะ ที่ โตเกียว[6](ต่อมาสถิตินี้ได้ถูกทำลายลงโดย โคเซ ทานากะ ในปี พ.ศ. 2558 ที่ชกเพียง 5 ครั้ง แล้วได้แชมป์โลก[7]) ซึ่งก่อนหน้าที่จะได้แชมป์โลกนั้น นาโอยะได้ทั้งแชมป์ของสหพันธ์มวยภาคตะวันออกไกลและแปซิฟิก (OPBF) และแชมป์ของประเทศญี่ปุ่น ในรุ่นเดียวกันนี้มาแล้ว และเมื่อป้องกันตำแหน่งครั้งแรกก็เป็นฝ่ายเอาชนะทีเคโอ สามารถเล็ก ก่อเกียรติยิม ผู้ท้าชิงชาวไทยไปในยกที่ 11 ที่สนามกีฬาในร่มแห่งชาติโยโยงิ เมื่อวันที่ 5 กันยายน ปีเดียวกัน โดยก่อนชนะนาโอยะเป็นฝ่ายชกเอาสามารถเล็กลงไปให้กรรมการนับ 8 ได้ถึง 2 ครั้ง ในยกที่ 4 และยกที่ 6
ต่อมาในเดือนพฤศจิกายน ปีเดียวกัน นาโอยะได้สละตำแหน่ง เพื่อเลื่อนรุ่นไปชิงแชมป์โลกของ WBO ในรุ่นจูเนียร์แบนตัมเวท กับ โอมาร์ นาร์บาเอซ เจ้าของตำแหน่งชาวอาร์เจนตินา[8] และเป็นฝ่ายเอาชนะน็อกไปได้เพียงยกที่ 2 ในปลายปี[9]
ปี พ.ศ. 2561 นาโอยะ อิโนอูเอะสละตำแหน่งแชมป์องค์กรมวยโลก เพื่อเลื่อนรุ่นไปชิงแชมป์โลกสมาคมมวยโลก รุ่นแบนตัมเวท (WBA) กับ เจมี แมกดอนเนลล์ เจ้าของตำแหน่งแชมป์โลกชาวอังกฤษ ในเดือนพฤษภาคม ปี พ.ศ. 2561 ที่ กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น ผลปรากฏว่า นาโอยะ อิโนอูเอะ สามารถเอาชนะทีเคโอในยกที่ 1 และได้คว้าแชมป์โลก ในรูปแบบที่เจมีแพ้แบบสู้แทบไม่ได้จากหมัดรัวชุดของนาโอยะ[10]
ปีถัดมา ได้ชิงแชมป์โลก IBF กับ เอ็มมานูเอล โรดริเกซ นักชกผู้ท้าชิงชาวปวยร์โตรีโก ที่สกอตแลนด์ ผลการชกนาโอยะสามารถชนะทีเคโอได้อย่างรวดเร็วผิดคาดในยกที่ 2[11]
นาโอยะ อิโนอูเอะ เป็นนักมวยที่ได้รับความนิยมอย่างยิ่งจากแฟนมวยชาวญี่ปุ่น โดยเฉพาะในหมู่วัยรุ่นคนหนุ่มสาว เนื่องจากเป็นนักมวยที่อายุน้อย ประกอบกับหน้าตาดี เป็นนักมวยที่มีความรวดเร็ว ออกหมัดได้ว่องไว แม่นยำ หนักหน่วงและรุนแรงทั้งซ้ายขวา[12] [13]
เพลงที่เปิดประกอบในช่วงเวลาเดินขึ้นเวทีประจำตัวของนาโอยะ คือ "Departure" เป็นเพลงประกอบละครโทรทัศน์ญี่ปุ่นเรื่อง "Good Luck" ในปี พ.ศ. 2545 ของนาโอกิ ซาโตะ
เกียรติประวัติ
[แก้]- แชมป์ประเทศญี่ปุ่น รุ่นไลท์ฟลายเวท
- ชิง, 25 สิงหาคม 2556 ชนะคะแนน เรียวอิจิ ทางูจิ ( ญี่ปุ่น) ที่ สกายอารีนา, ซามะ, ประเทศญี่ปุ่น
- สละแชมป์
- แชมป์ OPBF รุ่นไลท์ฟลายเวท
- ชิง (ที่ว่าง), 6 ธันวาคม 2556 ชนะน็อกโดยเทคนิคยกที่ 5 เจอร์สัน มันชิโอ ( ฟิลิปปินส์) ที่ สนามกีฬาแห่งชาติเรียวโงกุ, มหานครโตเกียว, ประเทศญี่ปุ่น
- แชมป์โลก WBC รุ่นไลท์ฟลายเวท
- ชิง, 6 เมษายน 2557 ชนะน็อกโดยเทคนิคยกที่ 6 อาเดรียน เอร์นันเดซ ( เม็กซิโก) ที่ ศูนย์กีฬาในร่มอเนกประสงค์เขตโอตะ, มหานครโตเกียว, ประเทศญี่ปุ่น
- ป้องกันครั้งที่ 1, 5 กันยายน 2557 ชนะน็อกโดยเทคนิคยกที่ 11 สามารถเล็ก ก่อเกียรติยิม ( ไทย) ที่ สนามกีฬาในร่มโยโยงิที่ 2, มหานครโตเกียว, ประเทศญี่ปุ่น
- สละแชมป์ 3 พฤศจิกายน 2557
- แชมป์โลก WBO รุ่นจูเนียร์แบนตัมเวท
- ชิง, 30 ธันวาคม 2557 ชนะน็อกยกที่ 2 โอมาร์ นาร์บาเอซ ( อาร์เจนตินา) ที่ ศูนย์กีฬาในร่มโตเกียว, มหานครโตเกียว, ประเทศญี่ปุ่น
- ป้องกันครั้งที่ 1, 29 ธันวาคม 2558 ชนะน็อกโดยเทคนิคยกที่ 2 วอลิโต ปาเรนัส ( ฟิลิปปินส์) ที่ อาริอาเกะคอลิเซียม, มหานครโตเกียว, ประเทศญี่ปุ่น
- ป้องกันครั้งที่ 2, 8 พฤษภาคม 2559 ชนะคะแนน ดาบิด การ์โมนา ( เม็กซิโก) ที่ อาริอาเกะคอลิเซียม, มหานครโตเกียว, ประเทศญี่ปุ่น
- ป้องกันครั้งที่ 3, 4 กันยายน 2559 ชนะน็อกโดยเทคนิคยกที่ 10 เพชรบางบอน ส.ธนะภิญโญ ( ไทย) ที่ สกายอารีนา, ซามะ, ประเทศญี่ปุ่น
- ป้องกันครั้งที่ 4, 30 ธันวาคม 2559 ชนะน็อกโดยเทคนิคยกที่ 6 โคเฮ โคโนะ ( ญี่ปุ่น) ที่ อาริอาเกะคอลิเซียม, มหานครโตเกียว, ประเทศญี่ปุ่น
- ป้องกันครั้งที่ 5, 21 พฤษภาคม 2560 ชนะน็อกยกที่ 3 ริคาร์โด โรดริเกซ ( สหรัฐ) ที่ อาริอาเกะคอลิเซียม, มหานครโตเกียว, ประเทศญี่ปุ่น
- ป้องกันครั้งที่ 6, 9 กันยายน 2560 ชนะอาร์ทีดียกที่ 6 อันโตนิโอ นิเอเบส ( สหรัฐ) ที่ ดิกนิตี เฮลท์ สปอร์ด พาร์ก, คาร์สัน, สหรัฐ
- ป้องกันครั้งที่ 7, 30 ธันวาคม 2560 ชนะน็อกโดยเทคนิคยกที่ 3 โยอง โบโยซ์ ( ฝรั่งเศส) ที่ โยโกฮามะ คัลเจอรัล ยิมเนเซียม, โยโกฮามะ, ประเทศญี่ปุ่น
- สละแชมป์ 6 มีนาคม 2561[14]
- แชมป์โลก WBA รุ่นแบนตัมเวท
- ชิง, 25 พฤษภาคม 2561 ชนะน็อกโดยเทคนิคยกที่ 1 เจมี แมกดอนเนล ( สหราชอาณาจักร) ที่ สนามกีฬาในร่มอเนกประสงค์แขวงโอตะ, มหานครโตเกียว, ประเทศญี่ปุ่น
- ป้องกันครั้งที่ 1, 7 ตุลาคม 2561 ชนะน็อกโดยเทคนิคยกที่ 1 ฆวน การ์โลส ปายาโน ( สาธารณรัฐโดมินิกัน) ที่ โยโกฮามะ อารีนา, โยโกฮามะ, ประเทศญี่ปุ่น
- แชมป์โลก IBF และเดอะริงรุ่นแบนตัมเวท
- ชิง (เดอะริง เป็นการชิงตำแหน่งว่าง), 18 พฤษภาคม 2562 ชนะน็อกโดยเทคนิคยกที่ 2 เอ็มมานูเอล โรดริเกซ ( ปวยร์โตรีโก) ที่ เอสเอสอี ไฮโดร, กลาสโกว์, สหราชอาณาจักร
- ป้องกันครั้งที่ 1 และชิงแชมป์โลก WBA (ซูเปอร์แชมป์) ในรุ่นเดียวกัน, 7 พฤศจิกายน 2562 ชนะคะแนน โนนิโต โดแนร์ ( ฟิลิปปินส์) ที่ ไซตามะซูเปอร์อารีนา, ไซตามะ, ประเทศญี่ปุ่น
- ป้องกันครั้งที่ 2 , 31 ตุลาคม 2563 ชนะน็อกโดยเทคนิคยกที่ 7 เจสัน โมโลนีย์ ( ออสเตรเลีย) ที่ เอ็มจีเอ็มแกรนด์ลาสเวกัส, แพราไดส์, สหรัฐ
- ป้องกันครั้งที่ 3 , 19 มิถุนายน 2564 ชนะน็อกโดยเทคนิคยกที่ 3 ไมเคิล ดาสมาริญญัส ( ฟิลิปปินส์) ที่ เวอร์จินโฮเทลลาสเวกัส, แพราไดส์, สหรัฐ
- ป้องกันครั้งที่ 4, 14 ธันวาคม 2564 ชนะน็อกโดยเทคนิคยกที่ 8 แก่นนคร จีพีพีเรือใบไข่มุก ( ไทย) ที่ สนามกีฬาแห่งชาติเรียวโงกุ, มหานครโตเกียว, ประเทศญี่ปุ่น
- ป้องกันครั้งที่ 5 และชิงแชมป์โลก WBC ในรุ่นเดียวกัน, 7 มิถุนายน 2565 ชนะน็อกโดยเทคนิคยกที่ 2 โนนิโต โดแนร์ ( ฟิลิปปินส์) ที่ ไซตามะซูเปอร์อารีนา, ไซตามะ, ประเทศญี่ปุ่น
อ้างอิง
[แก้]- ↑ Eric Armit (August 27, 2013). "Behind the Results". BoxRec.com. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-12-08. สืบค้นเมื่อ December 8, 2013.
- ↑ "Japan Win the Team Event in Jakarta". International Boxing Association. July 13, 2011. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2015-03-22. สืบค้นเมื่อ December 8, 2013.
- ↑ Jerome S. Galunan Jr. (July 10, 2011). "Galunan: Bautista settles for silver medal". Sun.Star. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2013-12-02. สืบค้นเมื่อ December 8, 2013.
- ↑ Toto Pribadi, Luzman Rifqi Karami (July 8, 2011). "Jepang Juara Umum Piala Presiden XXI" (ภาษาอินโดนีเซีย). VIVA News. สืบค้นเมื่อ December 8, 2013.
- ↑ 5.0 5.1 Anson Wainwright (2013). "My first goal is to become world champion". Max Boxing. สืบค้นเมื่อ December 8, 2013.
- ↑ "Naoya Inoue Crushes Adrian Hernandez". boxing.com. 6 April 2014. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-04-12. สืบค้นเมื่อ 11 April 2014.
- ↑ http://thaboxingvoice.com/19-year-old-unbeaten-japanese-kosei-tanaka-wins-wbo-title/45805?var=no
- ↑ "สำเนาที่เก็บถาวร". คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2014-11-09. สืบค้นเมื่อ 2014-11-11.
- ↑ "Naoya Inoue wins second title". อีเอสพีเอ็น. 30 December 2014. สืบค้นเมื่อ 3 January 2015.
- ↑ "naoya inoue posts first round ko victory jamie mcdonnell". อีเอสพีเอ็น. 26 May 2018. สืบค้นเมื่อ 30 June 2019.
- ↑ "Inoue vs Rodriguez results: Naoya Inoue destroys Emmanuel Rodriguez in two rounds". badlefthook. 18 May 2019. สืบค้นเมื่อ 30 June 2019.
- ↑ "มวย สามารถเล็ก ก่อเกียรติยิม vs นาโอยะ อิโนเอะ ชิงแชมป์โลก WBC 1/2". ช่อง 7. 5 September 2014. สืบค้นเมื่อ 6 September 2014.[ลิงก์เสีย]
- ↑ "มวย สามารถเล็ก ก่อเกียรติยิม vs นาโอยะ อิโนเอะ ชิงแชมป์โลก WBC 2/2". ช่อง 7. 5 September 2014. สืบค้นเมื่อ 6 September 2014.[ลิงก์เสีย]
- ↑ "Inoue to fight for 3rd world title in 3rd weight class". KYODO NEWS. 6 March 2018. สืบค้นเมื่อ 20 June 2021.