นกน้อย สิทธิประเสริฐ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
นกน้อย สิทธิประเสริฐ
ชื่อจริงนเรศ เอี่ยนเหล็ง
รุ่นไลท์ฟลายเวท
ฟลายเวท
ส่วนสูง157.7 เซนติเมตร[1]
เกิด22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2529 (37 ปี)
อำเภอคลองท่อม
จังหวัดกระบี่
ชกทั้งหมด67
ชนะ62
ชนะน็อก38
แพ้5
เสมอ0
ผู้จัดการวิรัตน์ วชิรรัตนวงศ์
ค่ายมวยเพชรยินดีบ็อกซิ่งโปรโมชั่น
เทรนเนอร์ฉัตรชัย สาสะกุล

นกน้อย สิทธิประเสริฐ (ชื่อจริง: นเรศ เอี่ยนเหล็ง; เกิด: 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2529; ที่อำเภอคลองท่อม จังหวัดกระบี่) นักมวยสากลอาชีพชาวไทย ในสังกัดเพชรยินดีบ็อกซิ่งโปรโมชั่น โดยชื่อ "นกน้อย" นั้นมาจากนกแต้วแร้วท้องดำ ซึ่งเป็นนกที่หาได้ยาก ใกล้สูญพันธุ์ โดยพบได้เฉพาะที่อำเภอคลองท่อม จังหวัดกระบี่ อันเป็นถิ่นกำเนิดของนกน้อยเท่านั้น

นกน้อยมีโอกาสขึ้นชิงแชมป์โลกในรุ่นฟลายเวท (112 ปอนด์) ของสมาคมมวยโลก (WBA) กับคาซูโตะ อิโอกะ เจ้าของตำแหน่งชาวญี่ปุ่น ในวันที่ 23 เมษายน พ.ศ. 2560 ที่เอดิออนอารีนา โอซากะ ประเทศญี่ปุ่น โดยในขณะนั้นนกน้อยมีสถิติชนะมาแล้วทั้งหมด 62 ครั้ง และยังไม่เคยแพ้ใครมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2548 ได้ชิงตำแหน่งในฐานะรองแชมป์โลกอันดับ 2 แต่เป็นการชกในต่างประเทศเป็นครั้งแรกของนกน้อย[2][1] ก่อนการชกมีอัตราต่อรองให้นกน้อยเป็นรองถึง 20-1 เมื่อชกจริงแล้วนกน้อยเป็นฝ่ายเสียเปรียบรูปร่างและอายุ เป็นฝ่ายโดนหมัดของอิโอะกะที่ทั้งไวและหนักกว่า ครบ 12 ยก นกน้อยเป็นฝ่ายแพ้คะแนนไปอย่างเอกฉันท์ ด้วยคะแนน 117-110, 116-111, 117-110 โดยหลังจบยกที่ 3 อิโอะกะ เป็นฝ่ายถูกกรรมการห้ามบนเวทีตัดคะแนนไปด้วย 1 คะแนน จากการชกต่ำกว่าเข็มขัด[2]

เกียรติประวัติ[แก้]

  • แชมป์เยาวชนรุ่นไลท์ฟลายเวท WBC
    • ชิง 26 พฤษภาคม 2549 ชนะน็อค ยอดแสนเก่ง พ.ชุมโชค ยก 5 ที่ ตลาดปฐวิกรณ์ กรุงเทพมหานคร
    • ป้องกันแชมป์ครั้งที่ 1, 28 กรกฎาคม 2549 ชนะคะแนน ทอมมี่ เทราโด้ (ฟิลิปปินส์) ที่ หน้าศาลากลาง จังหวัดสระบุรี
    • ป้องกันแชมป์ครั้งที่ 2, 7 กันยายน 2549 ชนะคะแนน หลิว ยัง ชุน (จีน) ที่ จังหวัดสมุทรสงคราม
    • ป้องกันแชมป์ครั้งที่ 3, 4 ธันวาคม 2549 ชนะน็อคยกที่ 3 เจสัน เกด้า (ฟิลิปปินส์) ที่ สนามหลวง กรุงเทพมหานคร
    • ป้องกันแชมป์ครั้งที่ 4, 26 มกราคม 2550 ชนะน็อคยกที่ 3 เจียง กัว หมิง (จีน) ที่ หน้าศาลากลาง จังหวัดตาก
    • ป้องกันแชมป์ครั้งที่ 5, 27 เมษายน 2550 ชนะน็อคยกที่ 8 โจฮัน วาห์ยูดี้ (อินโดนีเซีย) ที่ จังหวัดกระบี่
    • ป้องกันแชมป์ครั้งที่ 6, 29 มิถุนายน 2550 ชนะน็อคยกที่ 4 หลิว ยัง ชุน (จีน) ที่ กรุงเทพมหานคร
    • ป้องกันแชมป์ครั้งที่ 7, 21 กันยายน 2550 ชนะคะแนน หวัง จุน ฮุย (จีน) ที่ จังหวัดชลบุรี
    • ป้องกันแชมป์ครั้งที่ 8, 27 พฤศจิกายน 2550 ชนะน็อคยกที่ 2 หลุยนิก้า โรดอลโฟ (อินโดนีเซีย) ที่ อ.ท่าบ่อ จ.หนองคาย
    • ป้องกันแชมป์ครั้งที่ 9, 25 มกราคม 2551 ชนะน็อคยกที่ 4 โนเซียร์ รูซิมาตอฟ (อุซเบกิสถาน) ที่ จังหวัดสระบุรี
    • ป้องกันแชมป์ครั้งที่ 10, 25 กันยายน 2551 ชนะน็อคยกที่ 4 ออกุส ซิตูโมรัง (อินโดนีเซีย) ที่ วัดปากบึง แขวงคลองสองต้นนุ่น เขตลาดกระบัง กรุงเทพมหานคร
    • ป้องกันแชมป์ครั้งที่ 11, 8 ธันวาคม 2551 ชนะคะแนน อาดี นุกุง (อินโดนีเซีย) ที่ อ.ท่าบ่อ จ.หนองคาย
    • ป้องกันแชมป์ครั้งที่ 12, 29 พฤษภาคม 2552 ชนะคะแนน อาดี นุกุง (อินโดนีเซีย) ที่ เวทีมวยบางลา ต.ป่าตอง อ.กะทู้ จ.ภูเก็ต
    • ป้องกันแชมป์ครั้งที่ 13, 25 กันยายน 2552 ชนะน้อคยกที่ 3 คิด แรนดัล (อินโดนีเซีย) ที่ กรมทหารราบที่ 11 รักษาพระองค์ เขตบางเขน กรุงเทพมหานคร
    • ป้องกันแชมป์ครั้งที 14, 22 ตุลาคม 2552 ชนะน็อคยกที่ 8 โจเอล ราโฟร์ (ฟิลิปปินส์) ที่ จังหวัดกระบี่
    • ป้องกันแชมป์ครั้งที่ 15, 2 ธันวาคม 2552 ชนะคะแนน ดอนนี่ มาบาวว์ (ฟิลิปปินส์) ที่ วิทยาลัยเทคนิคอุบลราชธานี จังหวัดอุบลราชธานี
    • ป้องกันแชมป์ครั้งที่ 16, 26 กุมภาพันธ์ 2553 ชนะน็อคยกที่ 4 บิมโบ้ นาซิโอนาเลส (ฟิลิปปินส์) ที่ สวนสาธารณะ โผน กิ่งเพชร อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์
    • ป้องกันแชมป์ครั้งที่ 17, 27 พฤษภาคม 2553 ชนะคะแนน เฮรี่ เพอร์โนโม (อินโดนีเซีย) ที่ ตลาดโชคชัย4 กทม.
    • ป้องกันแชมป์ครั้งที่ 18, 23 กรกฎาคม 2553 ชนะคะแนน ดอนนี่ มาบาวว์ (ฟิลิปปินส์) ที่ สนามกีฬา จ.ลำปาง
  • แชมป์อินเตอร์เนชั่นแนลรุ่นฟลายเวท WBC
    • ชิง 13 กุมภาพันธ์ 2556 ชนะคะแนน เคนิชิ โฮริกาว่า (ญี่ปุ่น) ที่ วังน้อย พระนครศรีอยุธยา
    • ป้องกันแชมป์ครั้งที่ 1, 28 กุมภาพันธ์ 2557 ชนะคะแนน(ไม่เอกฉันท์) เรโนเอล พาเอล (ฟิลิปปินส์) ที่ สนามมวยเวทีลุมพินี รามอินทรา
    • พฤศจิกายน 2558 ถูกปลดเนื่องจากไม่ได้ป้องกันแชมป์ นานเกินกำหนด [3]
  • ชิงแชมป์ต่อไปนี้แต่ไม่สำเร็จ
    • ชิงแชมป์โลกรุ่นฟลายเวท WBA 23 เมษายน 2560 แพ้คะแนน คาซูโตะ อิโอกะ (ญี่ปุ่น) ที่เอดิออนอารีนา นครโอซากะ ประเทศญี่ปุ่น

ชื่ออื่น[แก้]

  • นกน้อย กระทิงแดงยิม
  • นกน้อย คาราบาวแดงยิม
  • นกน้อย ซีพีเฟรชมาร์ท

อ้างอิง[แก้]

  1. 1.0 1.1 หน้า 19 ต่อจากหน้า 17 กีฬา, เสียเปรียบแล้วไงนกน้อยยังมั่นใจเอาชนะอิโอกะได้. เดลินิวส์ฉบับที่ 24,663: วันเสาร์ที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2560 แรม 11 ค่ำ เดือน 5 ปีระกา
  2. 2.0 2.1 ""นกน้อย" ยืนสู้ "อิโอกะ" ครบ 12 ยก ก่อนพ่ายกำปั้นปลาดิบ". ผู้จัดการออนไลน์. 2017-04-23. คลังข้อมูลเก่าเก็บจากแหล่งเดิมเมื่อ 2017-04-27. สืบค้นเมื่อ 2017-04-24.
  3. "WBC ปลดแชมป์ "โอเล่ห์ดง-นกน้อย" เหตุไม่ขึ้นชก เล็งให้ "ศิริมงคล" คืนสังเวียน". มติชนออนไลน์.[ลิงก์เสีย]

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]